ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ชาวบ้านแสดงอริยะขัดขืนทวงพื้นที่ทำกิน ต้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 18:23 น. 30 ก.ย 57

ทีมงานบ้านเรา

ศูนย์ข่าวบ้านเรา - เมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Review) ครั้งที่ 3 (ค.3) โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว จ.กระบี่ เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชี้แจงมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะข้อห่วงกังวลของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม

[attach=1]

และในการประชุมดังกล่าว มีกลุ่มผู้คัดค้านมาแสดงอริยะขัดขืนด้วยการใช้ปากรูปกากบาทปิดปากต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในจังหวัดกระบี่ด้วย ซึ่งประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือถ่านหินกระบี่ นั่งปิดปากด้วยสก๊อตเทปเพื่อคัดค้านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการท่าเทียบเรือถ่านหินบ้านคลองรั้ง (ค.3)ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งจัดขึ้น ณ ที่ทำการศาลาประชาคม อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

นายสุริยะ คลองรั้ว ประธานสภา อบต.ตลิ่งชัน ตัวแทนผู้คัดค้านเครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินและเครือข่ายปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำโลก เป็นตัวแทนอ่านคำแถลงการณ์

คำแถลงการณ์มีใจความสำคัญว่า

"ตามสิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ในการปกป้องกระบี่จากถ่านหินอันด้วยว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและตามพันธกรณียกิจระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้

เมื่อเดือนธันวาคม 2556 ทางบริษัท ทีม คอมซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งได้รับจ้างจาก กฟผ. เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EHIA) โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว โดยเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมา กฟผ.ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public  Scoping) (ค.1)และเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นภายในกระบวนการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นขึ้นในพื้นที่จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเดินทางลงพื้นที่เพื่อไต่สวนการละเมิดสิทธิและจัดทำรายงานการไต่สวนดังกล่าว

ในกระบวนการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นทั้งครั้งที่ 1 และ 2 และวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ประชาชนรอบโรงไฟฟ้าเดิม ภาคีภาคเอกชนกระบี่และเครือข่ายประมงได้แสดงเจตนารมณ์ยืนยันมาโดยตลอดว่าคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือถ่านหินกระบี่ เพราะขัดกับวิสัยทัศน์ของกระบี่และปฏิญญาท่องเที่ยวของจังหวัด

กระบวนการศึกษาและจัดทำผลกระทบของโครงการฯ มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญหลายประเด็น ตั้งแต่  กฟผ.ระบุในเอกสารและนำเสนอในเวที ค.1ต่อประชาชนว่าจะดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ใน ค.3กลับเป็นรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว อีกทั้งได้เปลี่ยนแปลงขนาดเรือขนส่งถ่านหินจาก3,000 เดทเวทตัน เป็น10,000 เดทเวท ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง การบิดเบือนข้อมูลตั้งแต่ต้นทำให้เห็นการขาดธรรมาภิบาลของ กฟผ.

การบิดเบือนข้อมูลในกระบวนการศึกษาและจัดทำรายงานดังกล่าว ทางประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฟ้องคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต่อสาลปกครอง เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายนที่ผ่านมาเพื่อยุติระงับหรือเพิกถอนอันไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดขึ้น และในวันนี้ กฟผ.ยังคงรวบรัดเดินหน้าจัดทำเวที ค.3ในจังหวัดกระบี่

การแสดงความคิดเห็นภายใต้สิทธิตามกฎหมายของประชาชนเพื่อคัดค้านถ่านหินภายใต้การดำเนินงานของ กฟผ.ถูกเพิกเฉยมาโดยตลอด ชาวบ้านยืนยันชัดเจนมาตั้งแต่ต้นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ วันนี้มีกระบวนการใช้กำลังผสม ทหาร ตำรวจ อปพร. เพื่อกำกับเวที ค.3 ให้เป็นไปตามที่ กฟผ.ต้องการซึ่งประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิแสดงความเห็นได้ตามกฎหมาย อีกทั้งมีการเกณฑ์ประชาชนมาเพื่อการสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรงต่อกัน ลักษณะดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปเพื่อตอบโจทย์การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแต่เป็นการใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งสัดส่วนครอบครองโรงไฟฟ้าถ่านหินของ กฟผ. โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง

พวกเราจึงมานั่งปิดปากแสดงอาริยะขัดขืนต่อกลไกอันไม่ชอบธรรมเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า เราต้องการพื้นที่อันปลอดภัยต่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดกระบี่ ทั้งนี้เสียงของประชาชนที่ใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อปกป้องจังหวัดกระบี่ไม่มีใครฟัง และกลับเดินหน้าเร่งรัดเวที ค .3ให้เสร็จ สิ่งเหล่านี้คือความไม่ชอบธรรมที่ปิดปากประชาชนและละเมิดสิทธิของประชาชน"


[attach=2]

นายสุริยะ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ที่มาคัดค้านเพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำมากินของคนในชุมชน เสมือนเอทีเอ็ม และที่มาคัดค้านวันนี้เนื่องจากต้องการคำตอบจาก กฟผ.ที่เคยซักถามไปถึงข้อมูลที่ไม่ตรงความจริงที่ปรากฏ และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ทำมาหากินของพวกตน แต่หากไปสร้างพื้นที่อื่น ขนส่งถ่านหินด้วยวิธีการอื่น ก้อยากให้ทาง กฟผ.มาร่วมเจรจากับชาวบ้าน เพราะเข้าใจว่ากระบวนการผลิตขงโรงไฟฟ้ามีมาตรฐาน พวกตนไม่ได้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินและแต่คัดค้านในพื้นที่ก่อสร้างเสียมากกว่า

หลังจากอ่านคำแถลงการณ์จบ กลุ่มผู้คัดค้านได้เคลื่อนย้ายกลับไปยังชุมชนของตนเอง และหากยังไม่มีคำตอบหรือความร่วมมืออีกคงมีการเคลื่อนไหวที่มากกว่านี้
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215