ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

..สาวตรังที่ไม่ยอมก้มหัวให้นายทุน..

เริ่มโดย ฟานดี้, 09:50 น. 01 ต.ค 57

ฟานดี้

ต่อสู้กับความถูกต้องอย่างเด็ดเดี่ยว..สุภิณญา กลางณรงค์
นึกถึง..นายหัวชวนขึ้นมาทันที...



Supinya Klangnarong  (@supinya) ทวีตเมื่อ 11:09 หลังเที่ยง on อ., ก.ย. 30, 2014:
ทุกปัญหามีทางออก แต่ถ้าไม่ประสงค์จะเดินออก ก็มิอาจบังคับใจ แต่ก็ต้องตกอยู่ในสภาพที่กติกากลางกำหนด ถ้าแหกกฏ จะกระทบต่อคนอื่นๆทั้งหมด
(https://twitter.com/supinya/status/516983279006670849)

ดาวน์โหลดแอพทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการที่ https://twitter.com/download

ฟานดี้

สุดท้าย..ช่อง 3 ก็ยื้อไม่ไหวยอมออกคู่ขนานเหมือนช่องชาวบ้านเขา
.ต้องขอบคุณ กสท.เสียงข้างมากที่ไม่ยอมก้มหัวให้นายทุนหมื่นล้าน
โดยเฉพาะสาวใต้คนนี้..เธอแกร่งจริง ๆ ครับ...


  ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้]

เด็กป้อม6(ไม่หก)

จำหน้า จำชื่อไว้นะพี่น้องคนใต้ทั้งหลาย เธอผู้นี้ไม่เพียงแสดงออกถึงความเถรตรงเป็นไม้บรรทัด แม้เป็นเด็กตรังเหมือนนายหัวชวนผู้ซื่อสัตย์ตลอดกาล(ตัวท่านนะ บริวารไม่เกี่ยว)ที่ลดบทบาทตัวเองลงแล้ว แต่สำหรับเธอ อนาคตเส้นทางชีวิตเพิ่งจะเริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่ และจะขยายได้อย่างไม่จำกัด ติดตามกันให้ดีๆ

ฟานดี้

..โทษทีครับ..ผิดพลาดด้านข้อมูล..แฮะๆๆ..เธอเป็น
สาวสุราษฏร์ธานี โดยกำเนิดคร๊าบบ..



สุภิญญา กลางณรงค์ (เกิด พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นนักกิจกรรมทางสังคมด้านการปฏิรูปสื่อ เริ่มต้นทำงานที่บริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น จากนั้นได้เข้ามาทำงานที่ฝ่ายเผยแพร่ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเป็นผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามมาตรา 40 และ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง รวมทั้งดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธาน (คปส.) และผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต

สุภิญญาเป็นที่รู้จักเมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ฟ้องคดีหมิ่นประมาทในคดีอาญาในฐานะจำเลยที่ 1จากนั้นในปลายปี พ.ศ. 2547 ก็ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านบาท เนื่องจากการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, พรรคไทยรักไทย และ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น ศาลตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549โดยเห็นว่าสุภิญญาให้สัมภาษณ์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การสู้คดีชินคอร์ปทำให้สุภิญญาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งยังเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการแทรกแซงสื่อสมัยรัฐบาลทักษิ
สุภิญญาเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2549 สุภิญญาแสดงความเสียใจต่อสาธารณะต่อบทบาทดังกล่าว และได้ลดบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยยุติการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คปส. หลังจากครบวาระ โดยมีนายสุเทพ วิไลเลิศ เป็นผู้ได้รับเลือกเพื่อดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ คปส. แต่สุภิญญาเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธาน คปส. และเป็นอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาภายใต้การสนับสนุนของ ส.ว.แต่งตั้ง

ปัจจุบันสุภิญญาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.[1]