ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

คำว่าประชาชนเป็นผู้เลือกเข้ามา VS มันคือเทคนิคการหาเสียง

เริ่มโดย Probass, 22:10 น. 01 ก.ย 54

Probass

เวลาฟังข่าวได้ยินคำว่า ชนะการเลือกตั้งโดยเสียงจากพี่น้องประชาชนเลือกเข้ามา มักจะแวบไปถึงประโยคที่ว่า มันคือเทคนิคการหาเสียง  (ทำได้หรือไม่ก็ไม่รู้)

ใช้เทคนิคหาเสียงแบบนั้น แสดงว่า 3 กค.54 ดักควายไปได้หลายตัว

TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

บ๊ะ !!


จับฉ่าย

หัวหน้าควายที่ดักได้ตอนนั้น

ตอนนี้ได้ดิบได้ดีเป็นข้าราชการการเมืองหลายตัวครับ

ส่วนควายกระจ๊อกก็ต๊อกต๋อยเหมือนเดิม

ควายกร่างหน่อยก็ไปทำเนียบ

ไล่ขวิดคนไปทั่ว ทำให้หัวหน้าควายเห็น

เผื่อเขาแบ่งเศษหญ้ามาให้บ้าง

ขี้แพ้ชวนตีมีเยอะ

ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของใครฉลาดหรือโง่ ใครเป็นควาย หรือใครเป็นบัณฑิต ใครจนหรือใครรวย อย่าหลงประเด็น.

KOMOL1

แสดงว่าตอนหาเสียงจะใช้เทคนิคอะไรก็ได้เพื่อให้ได้รับเลือกโดยไม่ต้องรับผิดชอบคำพูดตัวเอง  เมื่อพูดหรือรับปากประชาชนแล้วทำไม่ได้ก็บอกว่าเป็นเทคนิค  สุดท้ายใครโง่ ส.อืม

ประชาธิปไตย์ของใคร

ประชาธิปไตย์ คือ เสียงข้างมาก แต่ถ้าเสียงข้างที่มากมาจากคนที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีความรู้  มันคือประชาธิปไตย์เฮงซวยนั่นเอง

ประเทศนี้เป็นของใคร

คนที่ไม่จบ ม.6 เป็นอย่างต่ำ ไม่มีสิทธิ์เลือก สส.ปาร์ตี้ลิส แต่เลือก สส.แบ่งเขตได้ นี่คือความคิดเห็นส่วนหนึ่ง ท่านคิดว่าไงบ้าง  (อย่าซีเรียส แสดงความคิดเห็นกันได้)

บ้านนี้


ปชปหัวก้าวหน้า

อ้างจาก: บ้านนี้ เมื่อ 11:36 น.  02 ก.ย 54
.




....กบโดนต้ม โดนหลอก มาเถียงกัน



แม้เขียนเซียะ เห็นภาพเลยนะ 5555 อย่่าว่าเค้าหน่า บางทีผมว่า กะลาใหญ่มันครอบมิดทั้งภาคนะ

ถ้าลองแลกเปลี่ยน มองต่างมุมกับคนภาคอื่นบ้าง ความคิดแบบนี้ มันจะมลายไปเอง แต่นี่เล่นปิดตัวเอง ไม่ฟังความเห็นจากที่อื่น ไม่เปิดใจ คงยากจริงๆ

ล ลิง

ตราบเท่าที่พี่น้องเรายังเชื่อเรื่อง "พญานาค" , "ปอบ" , "มัคนารีผล" , "ขูดเลขตามต้นไม้"
กระไหนเลยจะเชื่อ พท.โดย "เทคนิคการหาเสียง" ไม่ได้ 555+



โชคดีประเทศไทย  โชคดี "บาบู"  555+


ปล.ได้ข่าวเค้าอิ ปล้นคลังหลวงแล้วโดว่...ใช้ชื่อเพราะอีกต่างหาก "กองทุนมั่งคั่ง" 555+
"คนอย่างแม้ว ผิดไม่ได้แพ้ไม่เป็น ผิดไม่เป็นแพ้ไม่ได้" (บัญญัติ บรรทัดฐาน : รายการลงเอยอย่างไร?)

ยามแพ้อย่ามัวโทษคนอื่น

การว่าใครโง่ ไม่มีการศึกษา ผมว่ามันไม่แฟร์  ประชาธิปไตยไม่ได้มีไว้เพื่อปกครองคนมีการศึกษา คนจบปริญญา หรือคนมีฐานะดี แล้วการจำกัดสิทธิ์ใครโดยใช้พื้นฐานทางการศึกษา เพื่อไม่ให้เขามีสิทธิ์เลือกตั้งนั้น ผมว่าเป็นอุดมการณ์ความคิดที่น่าละลายอย่างมากในสังคมระบอบประชาธิปไตย.

บ๊ะ !!

อ้างจาก: ประเทศนี้เป็นของใคร เมื่อ 09:30 น.  02 ก.ย 54
คนที่ไม่จบ ม.6 เป็นอย่างต่ำ ไม่มีสิทธิ์เลือก สส.ปาร์ตี้ลิส แต่เลือก สส.แบ่งเขตได้ นี่คือความคิดเห็นส่วนหนึ่ง ท่านคิดว่าไงบ้าง  (อย่าซีเรียส แสดงความคิดเห็นกันได้)

ผมว่านะความคิดนี้มันต่ำไป ถ้าหากบ้านเราการศึกษาทั่วถึงก็ว่าไปอย่าง ดูอย่างรุ่นพ่อ รุ่นแม่สิครับ พวกท่านๆก็เรียนจบแค่ ป.3 ป.4 ผมว่านะพวกมีการศึกษาต่างหากที่ทำตัวมีปัญหา ดูในสภาสิครับพวกคนมีการศึกษา ผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ทำบ้านเมืองฉิบหายไปเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นอย่าโทษการศึกษาเลย โทษที่ "สันดาน" ของคนจะดีกว่า

ปชปหัวก้าวหน้า

เอาอ่านบทความนี้ เผื่อนึกออกว่า อดีตนายกคนหล่อ ท่านทำงานเป็นอย่างไร

   
จุดต่าง เชิงคุณภาพ ระหว่าง อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ จุดต่าง เชิงบริหาร

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับลดราคาน้ำมัน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบางระกำ โมเดล
ไม่ว่าจะเป็นความพยายามปรับบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เป็นเรื่องของ "การบริหารจัดการ"

เรียกตามสำนวนของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ก็ต้องสรุปอย่างรวบรัดว่า
เป็นกระบวนการแห่งการแมนเนจ

ถามว่า สมบูรณ์ เรียบร้อย ราบรื่น หรือไม่

ตอบได้เลยว่า ไม่เรียบร้อย ไม่ราบรื่น ยังไม่สมบูรณ์
เพราะว่ามีความต่อเนื่อง
มีผลสะเทือนจากปัจจัยอันอยู่นอกเหนือความคาดหมาย

ฟังจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก็จะรู้ในสภาวะที่ยังบกพร่องอยู่

ฟังจากเสียงท้วงติงด้วยความห่วงใยจากนักวิชาการและคนที่อยู่ในวงการ
ก็จะสัมผัสได้ในความไม่สมบูรณ์ ครบถ้วน

กระนั้น ข้อดีก็ปรากฏขึ้นให้เกิดการเปรียบเทียบ

อย่างน้อยที่สุดการลงมือทำ "ทันที"
ก็เป็นเงาสะท้อนแห่งความสำนึกตระหนักในคำมั่น
ที่ได้ให้ไว้กับประชาชนในระหว่างการหาเสียง

เพราะการลงมือ "ทำ" นั่นแหละ
ที่ทำให้เห็น "ปัญหา" และนำไปสู่กระบวนการ "แก้ไข" ได้

มีความแตกต่างอย่างแน่นอนระหว่าง
กระบวนการบริหารจัดการของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นี่คือจุดดี จุดเด่นแห่งระบอบประชาธิปไตย

ทาง 1 มีคณะบุคคลอันอยู่ในฝ่ายบริหาร
ทำหน้าที่ในการนำเอานโยบายซึ่งเคยประกาศไปลงมือปฏิบัติในทางเป็นจริง

ทาง 1 มีคณะบุคคลอันอยู่ในฝ่ายค้านคอยตรวจสอบและควบคุม

เพียง 1 วันหลังแถลงนโยบายในที่ประชุมรัฐสภาเป็นเวลา 3 วัน (23-24-25 สิงหาคม)
การลงมือทำก็ปรากฏให้เป็นที่ประจักษ์

การขับเคลื่อนเช่นนี้อยู่ในสายตาของประชาชน

การขับเคลื่อนเช่นนี้อยู่ในสายตาฝ่ายค้าน
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านในระบบรัฐสภา
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านนอกระบบรัฐสภา

เมื่อออกมาเคลื่อนไหว วิพากษ์วิจารณ์ ย่อมอยู่ในการตรวจสอบของประชาชนเช่นกัน

แน่นอน ตาของประชาชนมิได้เป็นตาไม้ หูของประชาชนมิได้เป็นหูกระทะ
การเปรียบเทียบตามความเป็นจริงระหว่าง
ฝ่ายที่ลงมือทำกับฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

อย่าคิดว่าจะหลุดรอดไปจากวิจารณญาณของสังคมได้อย่างลอยตัว

ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาวิจารณ์รัฐบาลในเรื่องน้ำท่วม
ชาวบ้านก็เกิดนัยประหวัดไปภาพของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อเดินทางไปยังนครราชสีมา

หรือเมื่อเดินทางไปยืนโบกไม้โบกมือคนละฟากสะพานกับชาวบ้านที่สุราษฎร์ธานี

ยิ่งเมื่อมีการขยับเพื่อปรับเปลี่ยนตัว
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ยิ่งนึกถึงกรณีการจัดการกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ

ยิ่งนึกถึงความพยายามที่จะผลักดันให้
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เข้ามาแทนที่แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ

ทั้งๆ ที่เปลี่ยนตัวคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ(กตช.) คนแล้วคนเล่า

ในที่สุดไม่เพียงแต่ไม่สำเร็จ
หากมีผลสะเทือนรุนแรงกระทั่งพวกกันเองคือ
นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ก็ต้องอำลาตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไปด้วยความปวดร้าว

นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

มีภาพเปรียบเทียบอย่างแน่นอนระหว่างกระบวนการบริหารจัดการ
ในแบบของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับในแบบของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รวมถึงในแบบของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับ ในแบบของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

ที่สำคัญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรู้ตัวหรือไม่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะรู้ตัวหรือไม่

หากนับจากวันที่ 25 สิงหาคม
ก็เป็นเวลาเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ ชินวัตร

เพียง 1 สัปดาห์ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำนโยบายระหว่างหาเสียง
มาลงมือทำได้คึกคักมากกว่า 2 ปีเศษของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอย่างมาก

เท่ากับยืนยันการลงมือทำ เท่ากับยืนยันกระบวนการบริหารจัดการ