ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ทำไมไม่ใช่วันมาฆบูชา แล้วปีอธิกมาสคืออะไร

เริ่มโดย ฅนสองเล, 16:48 น. 03 ก.พ 58

ฅนสองเล

วันนี้ 3 ก.พ.58 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แล้วทำไมไม่ใช่วันหยุดราชการ ไม่ใช่วันมาฆบูชาที่เราท่องอยู่ในวัยเด็กทุกวันว่าวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา เมื่อลองย้อนนึกดูก็จำได้ว่าถ้าปีไหนมีเดือน 8 2 หนให้เลื่อนไปหนหลัง วันมาฆบูชา จึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 และวันอาฬาหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8-8 ซึ่งก็คือเดือน 8 หนหลังนั่นเอง

[attach=1]

ทำไมถึงมีเดือน 8 2หนถ้าก๊อปปี้จากที่อื่นมาให้อ่านก็คงยาวเหยียด สรุปตามความเข้าใจของผมง่ายๆ ปฏิทินจันทรคติไทย นับวันจากการหมุนของดวงจันทร์ ส่วนปฏิทินสากลที่เราดูกันทั่วไปนับจากการหมุนของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าสุรยคติสากล พระพุทธองค์บัญญัติวันแรม 1 คำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา เพื่อให้ภิกษุจำพรรษาอยู่วัดเป็นเวลา 3 เดือนไม่ให้เดินทางไปไหนเพราะจะเหยียบย่ำนาข้าวที่อยู่ในช่วงหว่านไถของชาวบ้านเสียหาย

เดือนไทย เดือนคี่จะมี 29 วัน (สังเกตปฏิทินวันพระแรมหลังจะตรงกับ 14 ค่ำ) เดือนคู่ 30 วัน ปฏิทินสากล 1 ปีมี 365-366 วันส่วนปีไทยมี 354 วัน หากนับตามนี้ทุกปีวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ก็จะร่นมาเป็นช่วงฤดูแล้งแทนที่จะเป็นฤดูฝน ในทุก 3 ปีจึงมีการกำหนดให้มีเดือน 8 2หน เพื่อให้วันเข้าพรรษาตรงกับช่วงหน้าฝนในทุกๆ ปี

ทำไมต้องมานับ 2 หนที่เดือน 8 เพราะเดือนแห่งการเข้าพรรษาและง่ายต่อการจำโดยในเดือน 8 หนหลังจะเขียนว่า 8-8 และเรียกปีที่มีเดือน 8 2หนว่าปีอธิกมาส ซึ่งหมายถึงว่าในปีนั้นจะมี 13 เดือนนั่นเองครับ

ผิดถูกยังไงท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ

ผีดำ1


ชอบธรรม

ใม่แน่ใจตรงวันเดือนคู่ กับวันเดือนคี่ ถูกต้องหรือไม่     
เพราะจากการที่ได้นับตามปฏิทินจัทรคติของไทยย้อนหลัง
พบว่าเดือนคู่ มี 30 วัน เดือนคี่มี 29 วัน

แต่ที่ระบุในกระทู้นี้ เดือนคู่มี 29 วัน เดือนคี่ มี 30 วัน ขอให้ช่วยกันตรวจสอบหลายๆท่านน่ะครับ เรื่องนี้เป็นประโยขน์มากสำหรับชาวพุทธเรา ขอขอบคุณสำหรับเจ้าของกระทู้นี้มากกกกกกกก ครับ   ผมเองก็สงสัยเรื่องนี่อยู่พอดี ขอบคุณอีกครั้ง
[/color]

ฅนสองเล

อ้างจาก: ชอบธรรม เมื่อ 15:34 น.  07 ก.พ 58
ใม่แน่ใจตรงวันเดือนคู่ กับวันเดือนคี่ ถูกต้องหรือไม่     
เพราะจากการที่ได้นับตามปฏิทินจัทรคติของไทยย้อนหลัง
พบว่าเดือนคู่ มี 30 วัน เดือนคี่มี 29 วัน

แต่ที่ระบุในกระทู้นี้ เดือนคู่มี 29 วัน เดือนคี่ มี 30 วัน ขอให้ช่วยกันตรวจสอบหลายๆท่านน่ะครับ เรื่องนี้เป็นประโยขน์มากสำหรับชาวพุทธเรา ขอขอบคุณสำหรับเจ้าของกระทู้นี้มากกกกกกกก ครับ   ผมเองก็สงสัยเรื่องนี่อยู่พอดี ขอบคุณอีกครั้ง
[/color]

ถูกต้องตามที่ท่านแนะนำครับ จะแก้ไขบทความข้างต้นนะครับ
ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะครับช่วยกันแนะนำเพื่อสร้างสรรค์ความรู้และสืบทอดพระพุทธศาสนาของเรา
วันนี้เรื่องราวดีๆ ของศาสนาถูกปกคลุมด้วยข่าวลบโดยเฉพาะสื่อกระแสหลักและโซเชียลมุ่งแต่จะขายข่าวอย่างเดียว

ฟ้าเปลี่ยนสี

ขอบคุณ คุณต้อม_รัตภูมิ กับเพื่อนๆ ทุกๆท่านน่ะครับ น่าสนใจมากครับ

พึ่งได้มาเปิดเจอ คุณต้อม_รัตภูมิ อธิบายความของปี อธิกมาสได้รัดกุม จำกัดความได้ดีมากครับ ผิดนิดหน่อยไม่เป็นไร

ไม่ใช่สาระ ผิดพลาดทางเทคนิคนิดหน่อย พอดีไปเจออยู่ Blog หนึ่งของคุณ Trang Suwannasilp

เขามีรูปประกอบ และ เขียนเป็นภาษาธรรมดาๆ เหมือน คุณต้อม_รัตภูมิ เหมาะกับคนไม่มีพื้นฐานในเรื่อง ปฎิทิน

อ่าน และ ทำความเข้าใจได้ไม่ยากครับ

ไม่ใช่ของคุณต้อม_รัตภูมิ เข้าใจยากน่ะครับ เพียงแต่เหมาะกับคนเข้าใจเรื่องปฎิทินแล้วครับ เริ่มกันเลยครับ


ปีอธิกมาสคืออะไร? วันสำคัญทางศาสนาต้องเลื่อน ๑ เดือน จริงหรือ?

ปีนี้เป็นปี "อธิกมาส" ครับ ... เราส่วนใหญ่ก็จะพอคุ้นกันว่า เป็นปีที่มีเดือน๘ สองหน ... และ เราก็ท่องๆจำกันมาว่า ปีอธิกมาสนั้น วันสำคัญทางศาสนาให้เลือนไป 1 เดือน

ลองมาดูกันหน่อยนะครับ ว่าทำไมต้องมีเดือน๘ สองหน ... และปีอธิกมาสนี้มีผลอะไรต่อศาสนาพุทธ

ฟ้าถูกแบ่งออกเป็น 12 ช่วง

ก่อนอื่นต้องบอกว่า คนโบราณเค้าแบ่งท้องฟ้าออกเป็นหลายๆช่วงเท่าๆกันครับ แต่ละช่วงนั้นก็มีกลุ่มดาวเป็นเจ้าของที่อยู่ แต่ละช่วงนี้เราเรียกมันว่า "ราศี" หรือ "ฤกษ์"

ซึ่งแต่ละประเทศก็มีจำนวนช่องต่างกัน และ กำหนดดาวประจำโซนต่างกัน เช่นฝรั่งแบ่งเป็น 12 ราศี อินเดียแบ่งเป็น 27 ฤกษ์ และ ฝรั่งอาจจะเรียกช่วงของฟ้าตรงนี้ว่า "ราศีตุลย์" (กลุ่มดาวตุลย์เป็นเจ้าของพื้นที่) ในขณะที่อินเดียเรียกว่า "วิสาขฤกษ์" (กลุ่มดาววิสาขะเป็นของพื้นที่)

กลับเข้ามาสู่เรื่องเดือนของเราครับ ... เดือนทางพุทธเรานั้น ดูตามพระจันทร์ โดย1ปีมีพระจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง พระจันทร์ไปเต็มดวงในฤกษ์อะไร ก็เรียกว่าชื่อเดือนตามฤกษ์นั้น เช่นว่า เพ็ญเดือน๖ นั้นปรกติจะไปตรงกับ วิสาขฤกษ์ เราก็เรียกว่า เดือนวิสาขะ วันสำคัญทางศาสนาวันนี้ก็จะถูกเรียกว่า "วิสาขบูชา" แปลว่า การบูชาในเดือนวิสาขะ

ข้างล่างนี้เป็นรูปฟ้าถูกแบ่งเป็น 12 ช่วงเท่าๆกันครับ (จินตนาการหน่อยนะครับ สมมุติว่าโลกเป็นศูนย์กลาง)

[attach=1]

ปีปรกติ

ที่นี้พระจันทร์เนี่ย 1 รอบของการเต็มดวงจะเท่ากับ 29.5 วัน (แป๊ะๆก็ 29.530589 วัน) นั่นคือ ปฏิทินพุทธเราที่ดูดวงจันทร์เป็นหลักนั้น จะมี 1 เดือนยาวเท่ากับ 29.5 วัน พอครบ12เดือน ก็จะได้ว่ามีทั้งหมด 354.37 วัน ในขณะที่ 1 ปีนั้นโลกโคจรรอบพระอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน (แป๊ะๆก็ 365.2587 วัน )

นั่นก็คือ 1ปีของระบบดวงจันทร์(จันทรคติ) จะน้อยกว่า ระบบพระอาทิตย์(สุริยคติ) อยู่ประมาณ 11 วัน ลองดูรูปข้างล่างนะครับ

[attach=2]

และมันก็จะยิ่งเหลือมออกไปอีกครับ เมื่อถึงสิ้นปีที่2! ตอนนี้รวมเป็นวันหายไป 22 วันแล้ว

[attach=3]

ปัญหาเกิดปีที่3 (ปีประหลาด)

และทีนี้มันจะเกิดปัญหาขึ้นมาเมื่อถึงสิ้นปีที่ 3 เพราะว่าตอนนี้วันมันหายไป 33 วันแล้ว หรือนั่นคือ มันเหลือมไป1เดือนเลยครับ

[attach=4]

[attach=5]

ถ้าสังเกตุให้ดี เราจะเห็นว่า ราศีที่12 (ราศีสุดท้ายของปี)นั้น ไม่มีพระจันทร์เต็มดวงเลย! นั่นแปลว่า ถ้าเราต้องการให้ปีที่3นี้ มีพระจันทร์เต็มดวงครบทุกราศี เราต้องให้มีพระจันทร์เต็มดวง 13 ครั้ง

[attach=6]

และที่น่าสนใจอีกอย่างของปีที่3นี้คือ ปีนี้จะมีอยู่ราศีนึง ที่มีพระจันทร์เต็มดวง 2 ครั้งอีกต่างหาก!

[attach=7]

สรุปปัญหาของปฏิทินระบบดวงจันทร์ (จันทรคติ)

1 เดือนมี 29.5 วัน ... ไม่ลงตัว
เมื่อผ่านไปถีงประมาณ 3 ปี
วันจะเหลื่อมไปประมาณ 33 วัน บางราศีจะไม่มีพระจันทร์เต็มดวง
ถ้าจะให้มีจันทร์เต็มดวงทุกราศี ... ต้องมีวันเพ็ญ 13 ครั้ง ... ซึ่งทำให้ชดเชยวันคืนมาได้ 29.5 วัน (แต่ก็ยังเหลื่อมอยู่ 3.5 วันอยู่ดี)
บางราศีจะมีจันทร์เพ็ญ 2 ครั้ง
และปีที่3 มีปัญหานี้หล่ะครับ เค้าเรียกว่า "ปีอธิกมาส"

ทางแก้ไขปัญหาที่ ปราชญ์โบราณได้สร้างไว้

ทีนี้นักปราชญ์โบราณท่านวางระบบแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ไว้แล้วครับ

1) แก้ปัญหา 1 เดือนมี 29.5 วัน

เพื่อให้ง่ายต่อการนับ คนโบราณเลยกำหนดออกมาดังนี้ครับ

เดือนคู่ มี 30 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น15 ข้างแรม 15
เดือนคี่ มี 29 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น15 ข้างแรม 14

2) แก้ปัญหา เดือนขาดไป 1 เดือน

ถ้าปีไหน เกิดปรากฏการณ์เดือนขาด เค้าก็จะกำหนดให้เป็น "ปีอธิกมาส" และ ให้เพิ่มเดือนที่ 13 เข้ามา เพื่อให้ ชดเชยวันที่หายไป และยังทำให้ทุกราศีได้มีวันเพ็ญ ซึ่งทำให้ปีอธิกมาสนี้มี 384 วัน

ทีนี้ เราจะเห็นว่าปีอธิกมาสนั้น สมควรจะเกิดทุกๆ 3 ปี หรือคือ 6 ครั้งใน 18 ปี แต่ว่าถ้าคำนวนแบบละเอียดๆแล้วเราพบว่า ปีอธิกมาสจะเกิด 7 ครั้งใน 19 ปี (ทุก 3 ปีบ้าง ทุก 2 ปีบ้าง)

จริงๆแล้ว เดือนอธิกมาสเนี่ย(เดือนที่1ราศีมีเพ็ญ2ครั้ง) สามารถเกิดกับเดือนไหนๆก็ได้ครับ แต่เพื่อความง่ายต่อประชาชน เค้าเลยทำเป็นข้อตกลงไปว่า ให้ไปเพิ่มเดือน8หนที่2เข้าไป ทำให้ปีอธิมาสนั้น มีเดือน8สองหน อย่างที่เราๆทราบมานี้แหล่ะครับ

ทีนี้เราก็ทราบกันแล้วนะครับว่า เดือน 8 หนที่ 2 นั้น เป็นแค่ อธิกมาสเสมือน ส่วนเดือนอธิกมาสจริงๆนั้น ต้องลงไปดูกันอีกที

ถามว่าทำไมต้องเป็นเดือน 8 เค้าอธิบายไว้ว่า เดือน 8 เป็นหน้าฝนครับ ... การทำแบบนี้ ทำให้พระได้เข้าพรรษาเดือนแปดในหน้าฝนอย่างถูกต้อง

3) แก้ปัญหา เศษวันที่ขาดไปอีก 3.5 วัน

เศษวันที่ขาดไปนี้ จะถูกกระจายลงไปยังปีต่างๆ โดยจะถูกแจกไปให้กับเดือน7 ทำให้เดือน7ของปีนั้นๆมี ข้างขึ้น15 ข้างแรม 15 (รวม 30วัน) ทำให้ปีนั้นจะมี 355 วัน

ซึ่งปีนี้จะถูกเรียกว่า "อธิกวาร" .... ปีอธิกวารนี้จะไม่เกิดทุกปีนะครับ เค้ามีหลักการกำหนดต่างหากว่า จะให้ปีไหนเป็นอธิกวาร

ถามว่าทำไมต้องเป็นเดือน 7 ... ก็คงไม่มีเหตุผลมากหรอกครับ เหมือนๆกับวันที่ 29 กุมภา

สรุปหลักการปฏิทินจันทรคติ

ปีปรกติ (ปรกติวาร) มี 354 วัน
เดือนคู่ มี 30 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น15 ข้างแรม 15
เดือนคี่ มี 29 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น15 ข้างแรม 14

ปีอธิกวาร มี 355 วัน (บวก 1 วันให้เดือน7 –> ข้างขึ้น15 ข้างแรม 15)

ปีอธิกมาส มี 384 วัน (เพิ่มเตือน8 หนที่ 2)

ซึ่งเค้าก็กำหนดลงไปอีกว่า ถ้าปีไหนเพิ่มเดือน 8 แล้ว ก็ไม่ต้องไปบวกวันให้เดือน7 ... นั่นคือ ทำแค่ปีละอย่างครับ


อันนี้เป็นส่วนเสริมครับ แต่ก็สำคัญมาก เพราะคนจะสับสนมากเกี่ยวกับ เดือนซ้ำ ซึ่งจริงๆแล้ว เดือนซ้ำไม่จำเป็นทุกครั้ง ที่จะต้องเป็น เดือน 8 น่ะครับ ปฎิทินทางจันทรคติ ไม่ว่าของไทย หรือ ของจีน เดือนซ้ำเกิดได้ทุกๆเดือน แต่เรื่องนี้ต้องศึกษาให้ลึกกว่านี้จะทราบครับ หรือ ใครต้องการทราบสามารถศึกษา จากปฎิทินทางโหราศาสตร์  ได้ครับ ว่าปีนั้นเดือนซ้ำคือเดือนอะไร ครับ

คุณ Trang Suwannasilp ได้เขียนส่วนนี้ไว้ดีมากครับ ดังนี้

ความสับสนจากการท่องจำ

พวกเราถูกสอนให้ท่องมาตั้งแต่เด็กว่า "ถ้าปีไหนเป็นปีอธิกมาส ปีนั้นวันสำคัญทางศาสนาให้เลือนไป 1 เดือน"

อันนี้เป็นการท่องจำที่ผิดหลักการครับ เพราะที่ถูกต้องเป็น

ถ้าเดือนอธิกมาสจริงมาก่อน ให้เลื่อนวันสำคัญไป 1 เดือน
ถ้าเดือนอธิกมาสจริงมาที่หลัง ไม่ต้องเลื่อนวันสำคัญ


ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างครับ วันวิสาขบูชา เราจะจัดกันวันเพ็ญเดือน 6 เพราะปรกติแล้วมันจะไปตรงกับวิสาขฤกษ์ (ชื่อก็บอกแล้ว ว่าวิสาขบูชา) ทีนี้เราก็จะเห็นว่า ถ้าเดือนอธิกมาสจริงมาก่อนวิสาขฤกษ์ เดือนที่เป็นวิสาขบูชาจะโดนขยับไปเป็น วันเพ็ญเดือน7

[attach=8]

[attach=9]

[attach=10]

ขอขอบคุณข้อมูล

คุณ Trang Suwannasilp จาก  Being Buddhist ~ Blog ~
https://trang82.wordpress.com/2012/05/04/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11655656/Y11655656.html

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=stl&month=02-2012&date=01&group=1&gblog=1

http://en.wikipedia.org/wiki/Vesak
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฅนสองเล

สำหรับคนที่สนใจข้อมูลของท่านฟ้าเปลี่ยนสีน่าอ่านน่าศึกษามากครับ สิ่งที่ผมสรุปอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมดเพียงแต่อยากให้คนอ่านเอาไปสื่อสารต่อได้แบบง่ายที่สุด เหมือนกัเดือนกุมภาเราทราบกันดี 4 ปีมีครั้ง เดือน 8 2 หนเราก็ควรรู้ว่า 3 ปีมีครั้ง ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน คนที่ชื่นชอบแบบลึกๆ ยาวๆ หน่อยก็ต้องมาอ่านที่ท่าแนะนำครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ