ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เคล็ดลับการบริหารหนี้ ความรู้ดีๆจาก แบงก์ชาติใต้

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 14:28 น. 17 เม.ย 58

ทีมงานประชาสัมพันธ์

เคล็ดลับการบริหารหนี้

ทุกวันนี้เราๆ ท่านๆ ทั้งหลายอาจจะมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระกันเกือบทุกคนไม่ว่าเป็นหนี้จากการซื้อบ้านหรือจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ในการบริหารหนี้เหล่านี้ เรามีเคล็ดลับมาแนะนำท่าน เพื่อให้ท่านได้รับประโยชน์สูงสุดหรือมีต้นทุนการชำระหนี้ที่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
   
เคล็ดลับข้อแรก การเปลี่ยนเจ้าหนี้หรือรีไฟแนนซ์  เมื่อท่านผ่อนชำระหนี้เงินกู้ซื้อบ้านใกล้ครบหรือครบ 3 ปีแล้ว  อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดไว้แบบคงที่จะถูกปรับเพิ่มขึ้นไปเป็นอัตราอ้างอิง MLR (ลูกหนี้รายใหญ่ชั้นดี) หรือ MRR (ลูกหนี้รายย่อยชั้นดี) โดยทั่วไปประมาณ 7 – 8 % ท่านควรเปลี่ยนเจ้าหนี้ (รีไฟแนนซ์) เพื่อรับโปรโมชั่นจากเจ้าหนี้รายใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเจ้าหนี้รายเก่า โดยท่านสามารถเลือกโปรโมชั่นของแต่ละแบงก์ได้ที่งานมหกรรมทางการเงินหรือเข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละแบงก์ เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันว่าโปรโมชั่นของแบงก์ไหนมีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดและหากท่านผ่อนชำระหนี้เงินกู้เดิมตามเงื่อนไขมาโดยตลอด การขอสินเชื่อใหม่ก็จะมีโอกาสได้รับอนุมัติสูงมาก
     
สำหรับท่านที่มีเงินต้นคงค้างอยู่เป็นจำนวนสูงและอัตราดอกเบี้ยใหม่ลดลงจากเดิมมาก ท่านจะได้รับประโยชน์จากการรีไฟแนนซ์โดยสามารถประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้ ดังตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้

[attach=2]

เคล็ดลับข้อที่สอง การใช้บัตรเครดิตจะดีกว่า  วิธีการใช้บัตรเครดิตให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ท่านควรตรวจสอบว่าบัตรเครดิตของท่านมีกำหนดสรุปยอดบัญชีแจ้งหนี้ทุกวันที่เท่าใดของเดือน และกำหนดจ่ายเงินวันไหน เช่น สรุปบัญชีแจ้งหนี้ทุกวันที่ 25 ของเดือน และต้องจ่ายหนี้ค่าใช้บัตรเครดิตในวันที่ 9 ของเดือนถัดไป ท่านควรใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละเดือนตั้งแต่วันที่ 26 ของเดือนหรือหลังจากนั้นเล็กน้อย และหากท่านชำระหนี้ทั้งหมดทุกรอบบัญชีตามใบแจ้งสรุปยอดหนี้ จะทำให้ท่านมีระยะเวลาปลอดหนี้นานสูงสุดถึง 45 วัน โดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยจากการใช้บัตรเครดิต นอกจากที่กล่าวแล้วท่านไม่ควรใช้บัตรเครดิตในการเบิกถอนเงินสด เพราะว่าท่านต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี รวมถึงต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการเบิกถอนอีกร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่ถอนอีกด้วย

เคล็ดลับข้อที่สาม ควรงดใช้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค  ในปัจจุบันมีทั้งธนาคาร บริษัทในเครือของธนาคารและบริษัทของเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออุปโภคบริโภค โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ขอมีบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลจะต้องมีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท หรือ 180,000 บาทต่อปี เหมือนกัน ดังนั้น เราขอแนะนำให้ท่านทำบัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าที่ต้องการ (จำเป็น) แทนการขอสินเชื่อบุคคลเพื่อการอุปโภคบริโภค เพราะมีข้อแตกต่างที่ได้ประโยชน์กว่า ดังนี้

[attach=3]

หลายท่านเคยได้ยินคำว่า "การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ" แต่หากท่านได้เป็นหนี้ที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินและรู้จักการจัดการหนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองโดยใช้เคล็ดลับที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็จะกลับกลายเป็นว่าได้ลาภอันประเสริฐมากกว่า

ข้อมูลและที่มาจาก
วันชัย ชยานันต์นุกูล