ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ธปท.ใต้ แจงภาวะเศรษฐกิจใต้ปรับตัวดีขึ้น “เกษตร-ท่องเที่ยวดีขึ้น แต่ส่งออกลด”

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 14:14 น. 08 พ.ค 58

ทีมงานประชาสัมพันธ์

ศูนย์ข่าวบ้านเรา-.ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคใต้ สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่1 ปี 2558 เผย โดยรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง การผลิตภาคเกษตรและท่องเที่ยวยังขยายตัวดี แต่มูลค่าการส่งออกลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอลง

[attach=2]

วานนี้(7 พฤษภาคม 2558) นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคใต้ แถลงข่าว เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่1 ปี 2558 กล่าวว่า โดยรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากผลผลิตปาล์มน้ามันและกุ้งขาวที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการ ท่องเที่ยวยังขยายตัวดีจากนักท่องเที่ยวเอเชีย นอกจากนี้การลงทุนของภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ การอุปโภคบริโภคกระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังทรงตัว และมูลค่าการส่งออกลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอลง ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาอาหารสดและพลังงาน

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การผลิตภาคเกษตรปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนตามผลผลิตปาล์มน้ามันและกุ้งขาวที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนผลผลิตยางและปาล์มน้ามันยังคงลดลงจากผลกระทบภัยแล้งในปีก่อน และการชะลอเลี้ยงกุ้งขาวในช่วงมรสุมปลายปี ส่วนราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ปรับดีขึ้นโดยเฉพาะยางมีปัจจัยบวกจากการเข้ารับซื้อยางในโครงการมูลภัณฑ์กันชน (Buffer Funds)

การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดี จากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและจีนเป็นส้าคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากช่วงเดียวกันปีก่อนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองและเหตุระเบิดในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลา ส่งผลให้อัตราเข้าพักแรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ จ้านวนนักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ

นอกจากนี้ยังได้รับแรงส่งจากการเบิกจ่ายภาครัฐในงบลงทุนเร่งตัวถึงร้อยละ 63.9 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ตามการปรับปรุงและซ่อมสร้างโครงการของกรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวง อย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายโดยรวมยังต่้ากว่าไตรมาสเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของรายจ่ายประจ้า เนื่องจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้กับท้องถิ่นโดยตรง รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้น้าระบบการจ่ายเงินเดือนให้กับข้าราชการโดยไม่ผ่านระบบงานของคลังจังหวัด ด้านรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสุราและน้ามัน ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ลดลง

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น
จากการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวและขนส่งที่ขยายตัว นอกจากนี้การใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากราคาน้ามันที่ลดลง แต่ก้าลังซื้อของครัวเรือนยังอยู่ในระดับต่ำตามราคาสินค้าเกษตร สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากธุรกิจค้าปลีกค้าส่งลดลง ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังไม่มีปัจจัยกระตุ้น โดยเฉพาะพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างยังหดตัวสูง

การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวหลังจากปรับลดลงต่อเนื่องมา 2 ไตรมาส แต่หดตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ตามการผลิตยางแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง ถุงมือยาง เนื่องจากอุปสงค์จากคู่ค้าชะลอลง โดยจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ชะลอตัวจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับราคาน้ามันดิบโลกที่เป็นปัจจัยชี้น้าอยู่ในช่วงขาลง ส่วนการผลิตน้ามันปาล์มดิบลดลงตามปริมาณวัตถุดิบที่เข้าโรงงาน ขณะที่การผลิตอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นจากแรงหนุนของราคาวัตถุดิบทูน่าอยู่ในระดับต่้าจูงใจให้มีค้าสั่งซื้อจากคู่ค้าเพิ่มขึ้น และการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมให้โค่นยางท้าให้มีวัตถุดิบเข้าโรงงานมากขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งออกได้รับปัจจัยลบด้านราคาที่ยังต่้า ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน

ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2558 เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลงร้อยละ 6.6 ตามการหดตัวของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ประกอบกับสถาบันการเงินบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบันทึกบัญชีไปที่ส่วนกลาง อย่างไรก็ตามสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้น

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนส้าหรับราคาน้ามันดิบโลกที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีตามราคาอาหารสดและพลังงาน เป็นส้าคัญ