ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สคร.12 ควงแขนสื่อพาไป “เชี่ยวหลาน” จัดหนักให้ความรู้ “เมอร์ส–ไข้เลือดออก”เข้มข้น

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 15:22 น. 02 ก.ค 58

ทีมงานประชาสัมพันธ์

สคร.12 ควงแขนสื่อพาไป "เชี่ยวหลาน" จัดหนักให้ความรู้ "เมอร์ส – ไข้เลือดออก"แบบเข้มข้น

[attach=1]

ศูนย์ข่าวบ้านเรา-.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 (สคร.12) พาสื่อมวลชนใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มาสัมมนาที่เขื่อนรัชประภา (เชี่ยวหลาน) จ.สุราษฎร์ธานี ติวเข้มหนัก โรค เมอร์ส เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่าภาคอื่น และลงพื้นที่ดูงานโรคไข้เลือดออก แนวทางบัดดี้โมเดล ของเทศบาลตำบลขุนทะเล จ.สุราษฎร์ฯ

28 – 30 มิถุนายน 2558 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 (สคร.12) จังหวัดสงขลาจัดสัมมนาสื่อมวลชนเตรียมความพร้อมรับมือโรคเมอร์ส และย้ำประชาชนอย่าตื่นตระหนก ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคล กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ผู้มีโรคประจำตัวหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าออกพื้นที่เสี่ยง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ รวมถึงเกาหลีใต้ ทั้งประกอบพิธีศาสนา ท่องเที่ยว ทำงาน ศึกษา ติดต่อธุรกิจ ปฎิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนใต้ (สงขลา,ปัตตานี , สตูล , ยะลา , นราธิวาส) มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเมอร์ส เนื่องจากมีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปมา ประเทศแถบตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่พบการระบาดของโรค เพื่อไปประกอบพิธีศาสนา ท่องเที่ยว ทำงาน ศึกษา ติดต่อธุรกิจตลอดทั้งปี และล่าสุดมีการระบาดหลายจุดในประเทศเกาหลีใต้ ดังนั้นขอให้ประชาชนที่เดินทางไปพื้นที่เหล่านี้ดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้นำโรคกลับมาติดต่อคนใกล้ชิดในครอบครัว

[attach=2]

การติดต่อของโรคเมอร์ส นี้ เป็นการติดต่อจากคนสู่คนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ดูแลใกล้ชิด แพทย์ พยาบาล และผู้สัมผัสใกล้ชิด และในผู้ป่วยบางรายมีประวัติสัมผัสกับอูฐ และดื่มน้ำนมดิบจากอูฐ สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยจากการไอ จาม และสัมผัสใกล้ชิด กับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลโรคนี้มีระยะเวลาฟักตัว 2 -14 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เมอร์ส มักมีอาการไข้ ไอ และบางรายมีอาการ ท้องร่วง ร่วมด้วย บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการไข้ หายใจหอบเหนื่อย และปอดบวม

สำหรับการป้องกัน ควรจะหลีกเลี่ยงการไปประเทศที่เสี่ยง ขอให้เคร่งครัด การรักษาสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอจาม ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ควรระวังเป็นพิเศษ ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีความเสี่ยงเป็นเวลา 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับบุคคลอื่น สวมหน้ากากป้องกันโรค ล้างมือให้สะอาด และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปประเทศเสี่ยงดังกล่าวด้วย

ข่าวการแพร่ระบาดไวรัสเมอร์สที่ประเทศตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ ทำให้พี่น้องชาวมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์เกิดความกังวล เรื่องนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีอัจญ์ในปี 2558 นี้จำนวน 13,000 คน ในจำนวนนี้จะเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง 8,000 คน โดยกระทรวงสาธารณสุขให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และไข้กาฬหลังแอ่นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงขอให้พี่น้องมุสลิมได้รับสิทธิ์เดินทางปีนี้ให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่าสายพันธุ์ 2012 สามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

[attach=3]

นอกจากนี้การสัมมนาในวันที่ 29 มิถุนายน 2558 ก็ยังได้มีการลงพื้นที่เทศบาลตำบลขุนทะเล  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เพื่อดูแนวทางรูปแบบ บัดดี้ โมเดล ป้องกันโรคไข้เลือดออกเชิงรุกในกลุ่มนักศึกษาในหอพักและชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราภัฎสุราษฎร์ฯ

สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 11 ได้ริเริ่มแนวคิดแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีและในปี 2557 พบผู้ป่วยสูงสุดในระดับประเทศ จำนวน 6,291 ราย เสียชีวิต 13 ราย โดยการใช้รูปแบบ Buddy model ในพื้นที่ตำบลเสี่ยงสูงของแต่ละอำเภอเสี่ยง มุ่งเน้นการทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่เรียนรู้การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกเชิงรุกร่วมกัน

รูปแบบ Buddy model มีหลักการดำเนินงานอย่างง่าย คือ การทำงานร่วมกันใน 2 ระดับ โดยระดับที่ 1 จะเป็นความร่วมมือกันในระดับเขตระหว่างสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตบริการสุขภาพที่ 11 จำนวน 7 จังหวัด มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ เสนอแนะแนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ร่วมกันผลักดันนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรม และในระดับที่ 2 จะเป็นความร่วมมือกันในระดับอำเภอโดยมีศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้คำปรึกษากับหน่วยงานในพื้นที่ระดับตำบล เพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมและความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาไขเลือดออก

[attach=4]

โดยในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเน้นนักไปที่นักศึกษาบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยราภัฎสุราษฎร์ฯ  และจะขอความร่วมมือหอพักต่างๆ ให้เข้าร่วมโครงการหอพักปลอดลูกน้ำยุงลาย เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาน้ำขัง ในหอพัก และจัดให้ความรู้แก่นักศึกษา จะจัดให้มีนักศึกษาอาสาสมัครประจำหอเพื่อเฝ้าระวังการป่วยของเพื่อนในหอพัก รณรงค์สนับสนุนการใช้ปูนแดงกำจัดลูกน้ำยุงลายในพอพัก และจัดกิจกรรมรณรงค์กระตุ้นเตือนนักศึกษาและประชาชนในชุมชนบริเวณใกล้เคียง เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้และมีความตระหนักร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่อาศัยอยู่อีกด้วย

การสัมมนาในครั้งนี้ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา นอกจากจะได้ความรู้แล้วยังได้ความสนุกและเครือข่ายด้านการประชาสัมพันธ์ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มีแนวทางในการทำงานและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการดูแลตนเองให้ปลอดภัยทั้งจากโรคเมอร์ส และ โรคไข้เลือดออก ย้ำกันอีกครั้งสำหรับท่านใดมีปัญหาสงสัยเกี่ยวกับโรคติดต่อ ก็สามารถติดต่อได้เลยที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ทีมงานประชาสัมพันธ์

 ส-ดีใจ

[attach=9]

ทีมงานประชาสัมพันธ์

แถมท้ายภาพบรรยากาศของเขื่อนเชี่ยวหลาน ครับ

[attach=2]