ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พลังงานสงขลา รับความเห็นโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล ของ ปตท.สผ.

เริ่มโดย หาดใหญ่ใหม่, 10:54 น. 07 ส.ค 58

หาดใหญ่ใหม่

สำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

[attach=2]
(6 ส.ค.58) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสงขลา  นายสุทธิชัย  สุขสีเสน พลังงานจังหวัดสงขลา ประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ภายใต้การศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ "โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) แหล่งบงกชใต้ แปลง B16 และ B17 อ่าวไทย" โดยมีเจ้าหน้าที่ จากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท เออีคอม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด และผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ทั้งในระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นตลอดจน สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

โครงการบงกชใต้ (แปลงสำรวจหมายเลข บี16 บางส่วนและบี 17) บริเวณอ่าวไทยตอนใต้ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งของจังหวัดสงขลาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 187 กิโลเมตร โดยโครงการฯ มีแผนที่จะดำเนินการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่โครงการบงกชใต้เพิ่มเติม จำนวน 7 หลุม เพื่อศึกษาโครงสร้างชั้นหิน และศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียม รวมทั้งขนาดของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม และนำข้อมูลมาใช้วางแผนสำหรับการพัฒนาปิโตรเลียมต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในปี พ.ศ.2559 จนครบ 7 หลุมในปี พ.ศ.2560
               
ผู้แทนจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากผลการศึกษาของโครงการฯ ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมทางสังคม และสุขภาพ ตามกิจกรรมของโครงการฯ ที่แบ่งออกเป็น 1. ระยะเตรียมการก่อนการเจาะสำรวจ  2. ระยะเจาะสำรวจ  3. ระยะทดสอบหลุม และ 4. ระยะสละหลุม โดยมีมาตรการที่สำคัญต่างๆ ดังนี้

มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำทะเล ลักษณะและคุณภาพตะกอนดินพื้นท้องทะเล สิ่งมีชีวิตในทะเล และระบบนิเวศทางทะเล มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม ได้แก่ การทำประมง และการคมนาคมขนส่งทาน้ำมาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ ได้แก่ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสุขภาพของชุมชนบริเวณฐานสนับสนุนฝั่ง และสุดท้ายคือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบกรณีเหตุการณ์ไม่ปกติ ได้แก่ การเกิดอัคคีภัย การหกรั่วไหลของปิโตรเลียม การตกหล่นของวัสดุ การโดนกันของเรือ และพายุหมุนเขตร้อน (ไต้ฝุ่น)


ยุสรา  วาจิ//ข่าว/ภาพ 
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
หาดใหญ่ใหม่ www.facebook.com/hatyaimai
เมืองหลวงภาคใต้ หลากหลายเรื่องราว บอกเล่าแบ่งปัน