ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทางรอดยางพาราไทย แสงไฟที่ปลายอุโมงค์ (บทความ)

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 09:35 น. 03 ธ.ค 58

ทีมงานบ้านเรา

ทางรอดยางพาราไทย  แสงไฟที่ปลายอุโมงค์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง
นายสิงหนาท  เอียดจุ้ย
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งโหมกระหน่ำเกษตรกรชาวสวนยางอย่างต่อเนื่อง และนับวันยิ่งทวีความเดือดร้อนมากขึ้น  ทำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำนวนมากได้ระดมความคิดเพื่อหาทางช่วยเหลือปัญหาราคายางตกต่ำ โดยการหาทางออกให้กับผู้ประกอบการยางพาราและเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้  โดยในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558  ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ได้จัดสัมมนา  เรื่อง "เศรษฐกิจภาคใต้กับบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ" ณ  โรงแรมหรรษาเจบี  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

และได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเชิงลึกของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เรื่อง ความสามารถของการส่งออกยางไทยภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลก พบว่า ผลผลิตยางพาราไทยปี พ.ศ. 2557 มีผลผลิตประมาณ 4.2 ล้านตัน จากทั้งหมดทั่วโลก 12 ล้านตัน นับว่าผลผลิตยางพาราของไทยเป็น 1 ใน 3 ของโลก  โดย 85% เป็นการส่งออกในรูปแบบวัถุดิบ และ 15% ใช้ในประเทศ  มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับยางพาราไทยประมาณ 1 ล้านครอบครัว  รายได้จากยางพารา คิดเป็น 4% ของ GDP ของประเทศ และสถานการณ์ราคายางพารา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบันอยู่ในสภาวะตกต่ำอย่างต่อเนื่อง   ดังภาพ

[attach=1]   
สถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัว  แต่ผลผลิตยางพารากลับมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากในปี พ.ศ. 2547 ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้น  ทำให้มีการปลูกยางพาราในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านไร่  ประกอบกับประเทศใกล้เคียงก็หันมาปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จึงทำให้ผลผลิตยางพาราในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณยางพาราที่ต้องการขายมีปริมาณมากกว่าความต้องการซื้อ ประกอบกับที่ผ่านมีการเก็บ สต๊อกยางของนักลงทุนเพื่อเก็งกำไร 

โดยวิกฤตสถานการณ์ราคายางนี้ไม่สามารถคลี่คลายได้ในเวลาอันสั้นอย่างแน่นอน  ปัญหานี้จึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับยางแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งได้รับความเดือดร้อนและประสบภาวะขาดทุนอย่างมาก รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เนื่องจากปัจจุบันค่าครองชีพต่าง ๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาหนี้สินครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น นักเรียน  นักศึกษาที่เป็นลูกหลานเกษตรกรชาวสวนยาง ส่วนหนึ่งต้องออกจากการเรียนกลางคัน เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่งเสียให้เรียน 

จากปัญหาราคายางตกต่ำ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ออกมาตรการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างต่อเนื่อง อาทิ  โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบยาง  แต่ปัญหาก็ยังไม่คลี่คลาย และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เครือข่ายแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาชาวสวนยาง 6 ข้อ คือ

1) แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ  2) ชดเชยราคายาง      3) ดูแลคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง  4) ลดต้นทุนขบวนการผลิต  5) ลดค่าครองชีพชาวสวนยาง และ 6) ขึ้นทะเบียนชาวสวนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์  แต่การเรียกร้องนี้รัฐบาลมองว่าไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างถาวร ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่มีนโยบายการแทรกแซงราคายาง แต่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำอาชีพเสริม รวมถึงหารายได้อื่น ๆ เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้ 

ทั้งนี้ หากรัฐบาลปัจจุบัน และรัฐบาลที่จะเข้ามาในอนาคตไม่เข้าไปแทรกแซง ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด  แต่ให้การช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เกษตรกรชาวสวนยางก็จะเกิดการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และเมื่อถึงจุดนั้น อุปสงค์และอุปทานจะเกิดความสมดุลกัน ประกอบกับหากเศรษฐกิจโลกมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ราคายางพาราอาจจะปรับขึ้นถึงร้อยบาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากในช่วงที่ราคายางตกต่ำ ปริมาณยางที่ผลิตออกมาทั้งโลกสามารถขายได้ทั้งหมด  และยอดขายล้อรถยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 3-5%  อีกทั้งพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยางในประเทศไทยได้ทำการปลูกยางหมดแล้ว  นอกจากนี้เกษตรกรสวนยางจำนวนหนึ่งได้โค่นต้นยางพารา เพื่อปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนเร็วและคุ้มค่ากว่า  อีกทั้งเกษตรกรบางส่วนได้หันไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทดแทน เนื่องจากมีรายได้สูงกว่าการกรีดยาง

การหาทางออกให้กับยางพาราไทยต้องหาวิธีการในการนำยางส่วนหนึ่งที่เป็นผลผลิตมาใช้ในประเทศให้มากขึ้น  ทั้งนี้ภาครัฐ  เอกชน และชาวสวนยางควรร่วมมือกันพัฒนาสินค้ายางพาราให้เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำให้มากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพารา  อีกทั้งนักวิชาการ และนักวิจัยทั้งหลายต้องช่วยทำการศึกษาและวิจัยเพื่อค้นหาว่ายางพาราสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใดได้บ้าง  และต้องการให้ภาครัฐบาลหน่วยงานใดส่งเสริม สนับสนุนอย่างไร 
อีกทั้งภาครัฐต้องบริหารจัดการพื้นที่ปลูกยางอย่างเหมาะสม  พื้นที่ใดเหมาะสมที่จะปลูกยางก็สนับสนุนเฉพาะพื้นที่   

นอกจากนี้ควรมีการร่วมมือระหว่างบริษัทร่วมทุนต่างประเทศในการเข้ามาตั้งฐานการผลิต แปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ   อย่างไรก็ตามทางออกที่เกษตรกรสามารถทำได้ขณะนี้ คือ การปรับตัว ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปลูกพืชอื่นแซมเพื่อเพิ่มรายได้  มุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ให้สูงขึ้น  โดยช่วง 5 ปีนี้หากอดทนได้  อนาคตข้างหน้าทางรอดยางพาราไทย ต้องเห็นแสงไฟที่ปลายอุโมงค์อย่างแน่นอน...
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

สะตอหวานจากแดนใต้

   ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น  ผมคิดว่าอนาคตเกษตรกรยางไทยไปไม่รอดเเน่ เพราะจีนปลูกใช้เองพามาทำผลิตภัณฑ์เอง
ยางของไทยจะขายใคร ส.โขกกำแพง ส.โขกกำแพง ส.โขกกำแพง      หากเป็นอย่างนี้ราคาคงจะตกลงเรีอยๆเเน่นอน
ถึงวันนั้นน่าจะเป็นวันตายของชาวสวนยางเเน่  เพราะทุกวันนี้ชาวสวนยางก็ไม่ค่อยพอจะกินแล้ว ขายยางได้วันละ500-700  เเต่ยางก็ไม่ได้ตัดทุกวันฝนตกบ้างหยุดหน้ายางบ้าง เเล้วเฉลี่ยได้วันเท่าไร คิดดูไหนจะซื้ิอข้าวปลาอาหารอีก ค่าไฟ ค่านำ้ ค่าลูกไปโรงเรียน ค่าภาษีสังคม  เเล้วมันจะพอกับอะไร ต้นยางก็ต้องใส่ปุ๋ย   
เเต่ต้องไปเปลืยนยางมอเตอรไซค์450 ตอนขายไปถูกซื้อกลับมาแพงทำไม่ไม่ตั้งโรงงานผลิตยางรถใช้เองในประเทศ  รัฐพูดว่าจะเอาไปทำถนนคงจะเป็นไปไม่ได้   เพราะยางมอตอยถูกกว่ายางมากคงได้แต่พูดไปถ่วงไป     หาได้เเก้ปัญหาจริงจัง  เมื่อยางราคาถูกน่าจะนำพื้นที่ไปปลูกอย่างอื่นบ้างเช่นถั่วเหลือง ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างชาติ70% เเล้วทำไม่รัฐไม่สงเสริม  หรือใครเสียผลประโยชน์  ครั้นจะให้ชาวบ้านปลูกใครจะรับซื้อเจ้าเล็กเล็ก โรงงานผลิตนำ้มันพืชก็อยู่ในไทย   ส.โกรธอย่างแรง ส.โกรธอย่างแรง ส.โกรธอย่างแรง คนไม่มีจะกินก็ต้องปล้นเข้าคุกหาข้าวคุกกินดีกว่าอดตายอยู่ข้างนอก  ส.ร้อง ส.ร้อง ส.ร้อง






ไข่ใหญ่

จำโครงการกล้ายางสามล้านต้นได้ไม๊ครับเมื่อ10 ปีที่แล้ว..ให้พากันปลูกแถวเหนืออิสาน..พอยางตัดได้..ราคาร่วงทันทีเพราะยางทะลักเข้าตลาดมากเกิน..สมัยก่อนจำได้จีนต้องมาง้อไทยขอซื้อยางบ้านเรา..เดี๋ยวนี้เค้าปลูกเองได้แล้ว..เชื่อเถอะครับ..บ้านเราหันไปปลูกอย่างอื่นเถอะ..อย่ารอยางขึ้นราคาเลย..ไม่ทันรุ่นเราแล้วละ..รุ่นลูกๆก้อยาก..ปลูกลูกตอ..ไม้สำหรับอุตสาหกรรม..ดีกว่ามั้งครับ..

เด็กบ้านนา

ปัญหาของยางพาราคือ นโยบายข้าราชการ ทิฐิ กับ การแปลงสารแบบผิดๆโดยเจตนาทางการเมือง

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับราคายาง 100 บาทขึ้นไป เพราะราคาในช่วง15ปีที่ผ่านมา มีช่วงที่ราคายางร่วงหนักๆสั้นๆประมาณ 6-8 เดือนตอน วิกฤต Hamberger Crisis ราคาช่วงนั้นก็ต่ำลงมาขนาดนี้เช่นกัน แต่หากย้อนไปตอนเหตุการณ์ 911 ราคาทุกสิ่งอย่างตกต่ำหมด ราคายางไม่ถึง 30 บาทหรือ หนึ่งเหรียญดอลลาร์ต่อกิโลด้วยซ้ำ

แปลงสารหลอกคน
1 รัฐบาลทักษิณต้องการช่วงชิงเสียงทางภาคใต้ จึงประกาศนโยบาย Rubber City และอ้างว่าได้คุยกับต่างประเทศว่าจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนสามประเทศ ผู้ใช้ยางจะต้องซื้อยางไปต่ำกว่า 1 USD ต่อกิโล ซึ่งจริงๆแล้วทีมเศรษฐกิจของทักษิณเองรับรู้อยู่แล้วว่าจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในการซื้อขายยางมากขึ้น เพราะเอกสารที่เปิดเผยในหมู่คนค้ายางระหว่างประเทศรู้อยู่แล้วว่าถ้า GDP จีนเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ยังไงยางต้องขาดตลาดแน่นอนในอีก 1-2ปี

2 ราคายางขึ้นจริงและสูงกว่าที่ตัวทักษิณคาดเพราะจีนนอกจากต้องการใช้จริงเพิ่มขึ้น การเก็งกำไรก็เริ่มต้น เหมือนเทสบู่ลงในอ่างแต่ยังไม่เริ่มตีฟอง จุดแปลงสารอยู่ตรงนี้ พอราคาขึ้นก็นำเอาคำอ้างว่าเป็นผู้ทำให้ยางขึ้นเพื่อคะแนนเสียง

3 รัฐบาลปชปที่มีนายสุเทพมาดูแลยาง นายสุเทพเรียกภาคเอกชนมาคุยเชิงขู่เชิงช่วยให้ราคายางไม่ต่ำกว่า 80 เพื่อเป็นการหักหน้าทักษิณ บริษัทยางขนาดใหญ่ซึ่งหลายบริษัทซึ่งมีนักวิเคราะห์เก่งๆได้เห็นว่าราคายางสามารถขึ้นได้แต่ตอนนั้นไม่คิดว่าจะถึง 80 ได้ แต่ต้องรับปากว่าไปก่อน ปรากฎว่าราคาขึ้นทะลุไปไกลเกินฝัน เลยอ้างเครดิตเขาตัวเช่นกัน ถึงตอนนี้ชาวสวน 80%ขึ้นไป เชื่อว่ารัฐบาลทำให้ราคาขึ้นลงไดั ตอนนี้สบู่ยางโตเต็มที่

ทิฐิ
คำถามเรื่องแปรรูปถูกพูดมาตั้งแต่สมัยนโยบาย Rubber City ครั้งแรกของรัฐบาลทักษิณเพราะนโยบายนี้ โดยอาจารย์ท่านนึงจากจุฬา (ขออภัยด้วยที่จำนามไม่ได้เนื่องจากผมรู้สึกท่านเหมือนโดนหลอกมาทำโครงการนี้โดยหวังผลเรื่องการเมืองแอบแฝงมากกว่าตั้งใจให้โครงการเกิดจริงๆ) หลักของ Rubber City มี 4 ข้อ
1 เป็นแหล่งผลิต โดยมีclusterที่เด่นชัดข้อนี้มันแน่นอนอยู่แล้ว
2 เป็นผู้ใช้ เรื่องถนนยางพาราตอนนี้ก็มีแล้ว ทำยางล้อ โต๊ะนักเรียนทำจากไม้ยางใช้ทุกโรงเรียนในสงขลา ใช้ยางมากๆ
3 เป็นผู้นำด้านการค้า โดยจะต้องอ้างอิงราคาไทยในตลาดโลก เพราะไทยไม่มีตัวตนในขณะนั้น คนดูแต่ Tocom Sicom ไทยพึ่งมาตั้ง Afet
4 เป็นผู้นำด้านข้อมูลและวิจัยด้านยางของโลก เรื่องนี้ตลกมากเพราะเขียนเพื่อให้อาจารย์มหาลัยไปของบและไปเป็นทาสระบบทักษิณอย่างเต็มตัว (ที่กล้าพูดเพราะเห็นงานวิจัยของคนที่ขอทำงานวิจัยแล้ว บอกได้เลย ตามมาเล 20ปี ยังมีหน้าบอกว่าเทคโนโลยีใหม่

ทั้งหมด4ข้อ นี้ดีไหม ต้องบอกเลยว่าไม่ต้องทำให้สุดก็ทำให้ยางไทยยั่งยืนได้ แต่มันพังเพราะราคายางที่พุ่งสูงขึ้น หลายคนมีความสุขคิดว่าได้ทำไปแล้ว แท้จริงแล้วงบรั่วไหลไปให้หัวคะแนน มีแต่พาชาวสวนไปเที่ยว เอาไปลงเรื่องกล้ายาง นักวิจัยขี้เป็ดก็ขอเงินไปถลุง

นโยบายจากข้าราชการ
นิสัยข้าราชการและนักการเมืองเพื่อรักษาตำแหน่งก็จะคล้ายๆกัน
เคยสังเกตไหม ทุกครั้งคนกลุ่มนี้จะเริ่มป้ายความผิดให้โรงงาน พ่อค้า traderต่างประเทศ แล้วจะเอากลุ่มแกนนำชาวสวนมาเป็นพวกตัว เพื่อหวังผลอะไรคงคิดได้อยู่

คนเหล่านี้บอกชาวสวนว่า พวกนั้นกดราคาเราต้องทำเอง เราซื้อยางขายเองจะได้ราคาดีๆ เพราะอะไร ชาวสวนมีปัญญาบริหารโรงงานใหญ่ๆเหรอ โรงรมร้างๆเป็นร้อยๆแห่งทำไมไม่เคยพูดถึงว่าค้าขายไม่เป็น เพราะเขาเหล่านี้ต้องการแค่เงินมาสร้างเพื่อทิ้งรึเปล่า

ความยั่งยืน ต้องเกิดจากความเข้มแข็งของแต่ละส่วน ชาวสวนต้องดูแลสวนเพิ่มผลผลิตให้ตัวเองได้ พ่อค้าต้องเป็นผู้จัดส่งที่มีประสิทธิภาพ โรงงานต้องมีการปรับปรุงต้นทุนการผลิตให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด แล้วนำเอาข้อดีของกลุ่มมารวมกัน แต่นี่อะไรมาถึงก็ให้เขาตีกันเองก่อนตัวเองจะได้ประโยชน์

ทำไมต้องประกันราคา พอให้เงินสนับสนุนโดยตรงแล้วมาต่อต้าน เพราะไม่มีช่องทางหาปรโยชน์ไง

มีอีกเยอะที่เป็นสิ่งเน่าเฟะที่ทั้งข้าราชการบวกกับกลุ่มที่อ้างตัวเป็นผู้นำเกษตรกรทำยางพาราไทยชิบหายได้ไม่น้อยกว่าจำนำข้าว มีโอกาสจะมาพิมพ์เพิ่มให้

เด็กบ้านนา

กูรูพี่กูเกิ้ล

ชาวบ้านชาวสวนชาวนา อย่าหวังพึ่งรัฐบาลฝ่ายเดียว เพราะจะกี่ยุคกี่รัฐบาล เค้าไม่ค่อยจะมาใส่ใจให้ความสำคัญกับเราๆ หร๊อก แต่เค้าจะไปให้ความสำคัญกับพวกนายทุนที่มีโรงงาน อุตสาหกรรมแทน ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ดังนี้
1.ชาวนา-สวน ปลูกข้าว-ยาง-มันสำปะหลัง ฯลฯ(สินค้ามีประโยชน์ต่อคน/ชาติ)     
2.นายทุน มีโรงงานผลิตเบียร์-เหล้า-บุหรี่ (สินค้าไม่มีประโยชน์ต่อคน/ชาติ และยังไม่พอต้องนำเข้าประเทศด้วย)
สรุป จะกี่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้การส่งเสริมพวกชาวบ้านอย่างเราๆ อย่างแท้จริง กลับไปอุ้มพวกนายทุน และนำเอาสินค้า(ไร้ประโยชน์)ของพวกนายทุนมามอมเมาพวกชาวบ้าน และจะกี่ยุคกี่สมัยก็จะต้องมีความต่างชนชั้นแน่นอน แต่!!!..ช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้ง พวกนักการเมืองจะให้ความสำคัญกับเราแค่ช่วงสั้นๆ เพื่อผลประโยชน์ตนเท่านั้น
(ปล.) อยากให้เมืองไทยมี"โรบินฮู้น" ที่ปล้นเงินพวกนายทุน-นักการเมือง แล้วนำมาแจกจ่ายให้ชาวบ้านยากจนจังเลย     
http://www.meekhao.com/news/27-amazing-art

เลือกหมาดีกว่าเลือกพวกนี้

อ้างจาก: กูรูพี่กูเกิ้ล เมื่อ 10:32 น.  16 ธ.ค 58
ชาวบ้านชาวสวนชาวนา อย่าหวังพึ่งรัฐบาลฝ่ายเดียว เพราะจะกี่ยุคกี่รัฐบาล เค้าไม่ค่อยจะมาใส่ใจให้ความสำคัญกับเราๆ หร๊อก แต่เค้าจะไปให้ความสำคัญกับพวกนายทุนที่มีโรงงาน อุตสาหกรรมแทน ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ดังนี้
1.ชาวนา-สวน ปลูกข้าว-ยาง-มันสำปะหลัง ฯลฯ(สินค้ามีประโยชน์ต่อคน/ชาติ)     
2.นายทุน มีโรงงานผลิตเบียร์-เหล้า-บุหรี่ (สินค้าไม่มีประโยชน์ต่อคน/ชาติ และยังไม่พอต้องนำเข้าประเทศด้วย)
สรุป จะกี่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้การส่งเสริมพวกชาวบ้านอย่างเราๆ อย่างแท้จริง กลับไปอุ้มพวกนายทุน และนำเอาสินค้า(ไร้ประโยชน์)ของพวกนายทุนมามอมเมาพวกชาวบ้าน และจะกี่ยุคกี่สมัยก็จะต้องมีความต่างชนชั้นแน่นอน แต่!!!..ช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้ง พวกนักการเมืองจะให้ความสำคัญกับเราแค่ช่วงสั้นๆ เพื่อผลประโยชน์ตนเท่านั้น
(ปล.) อยากให้เมืองไทยมี"โรบินฮู้น" ที่ปล้นเงินพวกนายทุน-นักการเมือง แล้วนำมาแจกจ่ายให้ชาวบ้านยากจนจังเลย     
http://www.meekhao.com/news/27-amazing-art

สมัยหน้า โปรดเลือกผมเข้ามารับใช้พี่น้องประชาชนคนบ้านเราด้วยนะครับ ผมกราบละ ถุย.....ฟายๆเพ