ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทำไมพระพุทธเจ้าโคดม ทรงโปรดโลกเพียง 80 พรรษา

เริ่มโดย กิมหยง, 22:54 น. 17 พ.ย 54

กิมหยง

ในกัปล์นี้พระพุทธเจ้ามี 5 พระองค์ (นะโมพุทธายะ)
แต่ละองค์ล้วนโปรดโลกนานนับหมื่นปี

แต่ทำไมองค์โคดม คงโปรดเพียงแค่ 80 พรรษา

ถามด้วยความไม่รู้
และหวังให้ผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยเผยแพร่บุญเป็นทาน ณ เวทีออนไลน์แห่งนี้ด้วยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

และถ้าพระพุทธเจ้าโปรดนานกว่านี้

แปลว่า เราทั้งหลาย อาจมีโอกาศได้เฝ้าพระองค์ใช่หรือเปล่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ปัจเจกพุทธ

มันเป็นนิทานครับ

เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น...เหมือนกับเรื่องที่พระเจ้าส่งอดัมกับอีฟ...มายังโลก...สองคนมีความสัมพันธ์กัน....มีลูกก็มีสัมพันธ์กับลูก...กับหลานเรื่อยไป...ใครหรือเด็กคนไหนถามเรื่องนี้ขึ้นมาก็มักไม่ได้รับคำตอบ...และถูกดุ....เพราะผู้ใหญ่เองก็พยายามที่จะลืมนิทานแบบนี้



ฟ้าเปลี่ยนสี

เท่าที่ได้อ่าน สาเหตุที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาจากการที่ท่านเป็นโรคชนิดหนึ่ง อาจจะ ณ เวลานั้นไม่มีใครได้ล่วงรู้ได้ว่า ท่านไม่สบาย หรืออาจจะสมัยนั้นทางการแพทย์ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่ท่านเป็นครับ แต่มองอีกมุมหนึ่งเหมือนท่านจงใจเพราะท่านมีณาญ รู้ถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกับว่าท่านทรงรู้ล่วงหน้าแล้ว เหมือนกับรู้ว่าชีวิตของท่านมีเพียงเท่านี้ ครับผม (ปลง)

ผมได้นำบทความซึ่งเป็นมุมมองของแพทย์ในแง่พิษวิทยา  เป็นการศึกษาการปรินิพพานของพระพุทธองค์  ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร ผมเห็นว่าเป็นอีกมุมมองที่น่าสนใจจึงคัดลอกมานำเสนอ เพื่อมาศืกษากันครับ

คงศักดิ์ ตันไพจิตร, นงนุช ตันไพจิตร, สุนทร พลามินทร์

- ตีพิมพ์ครั้งแรกในรายงานการประชุมประจำปีครั้งที่ 20
ของTPAA (Thai Physicians Association of America) หน้า 14-20, 2541
- ตีพิมพ์ใหม่ในวารสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับที่ Vol. 254, 1 ธันวาคม 2543


วันสุดท้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เช้าของวันก่อนพุทธศักราช ที่บ้านของนายจุนทะ เมืองปาวา ประเทศอินเดีย
      "จุนทะ !  สูกรมัททวะ ที่จัดไว้  จงนำมาเลี้ยงเรา,   ขาทนียะ (ของเคี้ยว) โภชนียะ (ของกิน)  อย่างอื่น  ที่ตกแต่งไว้  จงนำไปเลี้ยงภิกษุสงฆ์. จุนทะ!  สูกรมัททวะ ที่เหลือนี้ท่านจงฝังเสียในบ่อ    เราไม่มองเห็นใครในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก   หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์   พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์  ที่บริโภคแล้ว จักให้ย่อยได้,  นอกจากตถาคต"   ต่อจากนี้ก็ประชวร   ด้วยโรคปักขันธิกาพาธอย่างกล้า   จวนสิ้นพระชนมายุ
     (ปักขันธิกา แปลว่า โรคลงแดง คือ ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือด, โรคบิด, ตกเลือด)
     ในคัมภีร์เถรวาท   เป็นที่ถกเถียงกันว่า   สูกรมัททวะ   ที่นายจุนทะถวายให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉันนั้น เป็นอาหารอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ชัดคือ พระพุทธองค์ได้ทรงเล็งเห็นแล้วว่า  อาหารนี้เป็นพิษ  จึงให้ถวายแต่พระองค์เพียงผู้เดียว  ส่วนสูกรมัททวะที่เหลือ   ทรงสั่งให้นายจุนทะฝังเสีย    โดยพระองค์ทรงให้เหตุผลว่า    ผู้อื่นนอกจากพระองค์รับประทานแล้วจะไม่ย่อย
     ในพระคัมภีร์มหายาน   ได้กล่าวไว้ว่า   สูกรมัททวะที่พระองค์ทรงฉันนั้น  คือ เห็ดชนิดหนึ่ง   จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับฝ่ายมหายาน
     ส่วนทางเถรวาทนั้น ได้เคยแปลตามๆกันมาว่า  เนื้อสุกรอ่อน  หรือ เนื้อหมูอ่อน (สูกร = สุกร หรือ หมู,   มัททวะ = อ่อน)   คัมภีร์ชั้นอรรถกถาและมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลายยังไม่ลงรอยกัน   บางมติว่าได้แก่ เห็ดชนิดหนึ่ง   และบางมติว่าได้แก่ ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวายแก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด เช่น เทพเจ้าเป็นต้น เป็นอาหารประณีตชั้นหนึ่งยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส บางมติว่าอาจเป็นโอสถ หรือ อาหารที่เป็นยาอย่างหนึ่ง ที่นายจุนทะปรุงขึ้นถวายเพื่อรักษาโรค ด้วยทราบข่าวว่า พระพุทธองค์ได้เคยทรงประชวร และจะทรงปรินิพพานในระยะเวลาอันใกล้นั้น
     ข้อสันนิษฐานอื่นของสูกรมัทวะ  คือ  อาจหมายถึง  อาหารอันอ่อนนุ่มหรือโอชะที่หมูชอบ  ซึ่งอาจเป็นไปได้ โดยเฉพาะมีเห็ดชนิดหนึ่งซึ่งงอกอยู่ใต้ดิน จากโคนไม้ส่วนที่ฝังอยู่ในดิน เรียกกันว่า เห็ดทรัฟเฟิล (Truffle)
    เห็ดทรัฟเฟิล (Truffle)  เป็นเห็ดที่หมูชอบกิน   แต่ไม่ใช่หมูจะชอบเท่านั้น   คนก็ชอบกินด้วย เพราะมีกลิ่นหอมหวาน  ใช้ปรุงอาหารโดยฝานใส่กับอาหาร ทำให้อาหารจานนั้นหอมกลมกล่อมมีรสชาด  ถือว่าเป็นอาหารโอชะที่มีค่า (delicacy) และเป็นของที่หาได้ยาก ซึ่งนิยมกันมากโดยเฉพาะในยุโรป เช่น ประเทศฝรั่งเศส อิตาลี่  อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา  การค้นหาเห็ดทรัฟเฟิล นั้นไม่ใช่ของง่าย  เพราะงอกอยู่ใต้ดิน  เฉพาะผู้ชำนาญในการล่าเห็ดชนิดนี้เท่านั้น จึงจะพอรู้ว่ามีอยู่แถวไหน   นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ช่วยคือ หมูที่ฝึกดีแล้วเป็นกำลังสำคัญในการค้นหา แต่ก็ต้องระวังมิฉะนั้นผู้ช่วยคือ หมูจะแย่งกินหมด จึงต้องตกรางวัลปันส่วนแบ่งให้หมูด้วยตามสมควร ดังนั้นในสมัยปัจจุบัน จึงได้มีการฝึกสุนัขไว้ช่วยดมขุดคุ้ยค้นหาเห็ดนี้ด้วย  (แต่ต้องคอยถนอมจมูกสุนัข เพราะไม่ทนทานเท่าจมูกหมู)  การล่าเห็ดชนิดนี้  นักล่าเห็ดมักจะปกปิดแหล่งที่ตนเคยค้นพบเห็ดนี้ได้เป็นประจำ  เพราะเห็ดนี้ราคาแพงมาก ไม่ต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อเห็ดหนักหนึ่งปอนด์
  นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้ค้นพบว่า เห็ดทรัฟเฟิล (Truffle) ผลิตสารเคมีชนิดหนึ่ง คือ เฟอโรโมน (Pheromone) ซึ่งคล้ายกับฮอร์โมนเพศผู้ของหมู (Androgen analog substance) เป็นตัวที่ทำให้เห็ดมีกลิ่นหอม และ เป็นตัวล่อดึงดูดให้หมูคุ้ยเขี่ยหากินเห็ดทรัฟเฟิลนี้  ฮอร์โมนเพศผู้ (Androgen hormone) เป็นตัวสำคัญที่หมูด้วยกันใช้ในการเสาะแสวงหาคู่ในฤดูผสมพันธุ์  ดังนั้นเห็ดทรัฟเฟิลจึงใช้วิธีอันชาญฉลาดนี้โดยอาศัยกลิ่นจาก  เฟอโรโมน (Pheromone) หลอกล่อหมูให้ขุดคุ้ยหาตัวมันจนพบได้สำเร็จ  เพื่อหมูจะได้เป็นพาหะช่วยเผยแพร่พันธุ์ให้ โดยการกระจายสปอร์ (Spore) ของมันออกไป (หลักฐานที่ค้นพบในภายหลัง พบว่าเห็ดทรัฟเฟิล (Truffle) ผลิตสารเคมีอีก 9 ชนิด ซึ่งเป็นตัวที่สำคัญยิ่งกว่าสารคล้ายฮอร์โมนเพศผู้ของหมู (Androsternol) และเป็นตัวล่อให้หมูทั้งตัวผู้และตัวเมียขุดคุ้ยหาและชอบกินเห็ดชนิดนี้ – Discover: November 2000 issue, page 40)

มีต่อครับ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

หลังจากพระพุทธองค์ ทรงฉันสูกรมัททวะของนายจุนทะแล้ว ได้ทรงแสดงธรรมให้นายจุนทะฟังเป็นที่ชื่นชม  แล้วทรงอำลานายจุนทะเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินารา
     ระหว่างทางเสด็จไปเมืองกุสินารา  พระพุทธองค์ทรงประชวรด้วยพระโรคปักขันธิกาพาธ (ท้องเสียเป็นบิดถ่ายเป็นเลือด) อย่างหนัก จวนเจียนจะเสด็จปรินิพพาน ณ ที่นั้น แต่ทรงระงับอาพาธนั้นด้วยขันติบารมี คือ ทรงอดกลั้นอย่างแรงกล้า  มีพระสติสัมปชัญญะ  ไม่ทรงทุรนทุราย
     ระหว่างทางแห่งหนึ่ง มีแม่น้ำลำเล็กๆไหลผ่าน พระพุทธองค์ทรงแวะลงข้างทางเข้าประทับใต้ร่มไม้  ตรัสบอกพระอานนท์องค์อุปัฏฐากให้พับผ้าสังฆาฏิเป็น 4 ชั้น แล้วปูลาดถวาย เสด็จนั่งพักผ่อน แล้วตรัสให้พระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำในแม่น้ำว่า "อานนท์ ! เธอจงนำน้ำดื่มมาให้เรา เรากระหายนัก" แสดงถึงว่าพระองค์ทรงเริ่มมีอาการร่างกายขาดน้ำ (Dehydration) เนื่องจากสูญเสียน้ำหรือเลือดภายในกาย (Volume depletion) ไปพอสมควร
     พระอานนท์กราบทูลว่า แม่น้ำนี้ตื้นเขิน  เกวียนประมาณ 500 เล่มของพวกพ่อค้าเพิ่งข้ามแม่น้ำผ่านไปเมื่อสักครู่นี้ เท้าโคล้อเกวียนบดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่นแล้ว กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "อีกไม่ไกลแต่นี้   มีแม่น้ำสายหนึ่ง ชื่อ กกุธนที  มีน้ำใส  จืดสนิท  เย็น  มีท่าน้ำสำหรับลง เป็นที่รื่นรมย์  ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปที่แม่น้ำนั้นเถิด  พระเจ้าข้า"
     พระพุทธองค์ทรงตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง 3 ครั้ง คงเป็นด้วยทรงกระหายน้ำมากด้วยพระวรกายขาดน้ำ พระอานนท์จึงอุ้มบาตรเดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำ ครั้นเห็นน้ำ พระอานนท์ก็อัศจรรย์ใจนักหนา พลางรำพึงว่า
     "ความที่พระตถาคตพุทธเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้ เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก แม่น้ำนี้ขุ่นนัก เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตัก น้ำกลับใสไม่ขุ่นมัว" ครั้นแล้วพระอานนท์ก็นำบาตรตักน้ำนั้นไปถวายพระพุทธเจ้า
     ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ภายใต้ร่มไม้แห่งนี้  ได้มีชายผู้หนึ่งนามว่า  ปุกกุสะ  บุตรของมัลลกษัตริย์  ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองกุสินาราไปเมืองปาวา ผ่านมาจึงเข้าไปเฝ้า  ทรงสนทนาและแสดงธรรมอันเป็นสันติ ตลอดถึงเรื่องสมาธิอย่างยิ่งให้ฟัง  ปุกกุสะเกิดความเลื่อมใส  รับไตรสรณะเป็นที่พึ่ง  แล้วถวายผ้าเนื้อดีสองผืน
     นี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สุขภาพและอาการโดยทั่วไปยังทรงดีอยู่ พอที่จะปฏิสันถารสนทนาธรรม  และ สมาธิอันลึกซึ้งได้อย่างดี เป็นที่ประทับใจแก่ปุกกุสะ  จนถึงกับแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
     ปุกกุสะกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า  ผ้าสิงคิวรรณ (ผ้าเนื้อละเอียดอย่างดี มีสีดังทอง, สิงคี แปลว่า ทองคำ) คู่นี้ ผืนหนึ่งสำหรับห่ม อีกผืนหนึ่งสำหรับนุ่งเป็นผ้าพิเศษเนื้อเกลี้ยง ตัวเขาเคยนุ่งห่มเป็นครั้งคราว เขาได้เก็บรักษาไว้ แต่บัดนี้จะถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งทรงบอกให้ปุกกุสะนำไปถวายพระอานนท์ ชายผู้นี้ได้ทำตามพุทธประสงค์ กราบถวายอภิวาทพระบาทพระพุทธเจ้าแล้วเดินทางต่อไป
     หลังจากนั้น  พระอานนท์ได้นำผ้าที่ชายผู้นั้นถวายท่านเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า   พระองค์ทรงนุ่งผืนหนึ่งและห่มอีกผืนหนึ่ง    พอพระพุทธเจ้าทรงนุ่งและห่มผ้าสิงคิวรรณแล้ว  ปรากฏว่าพระกายของพระพุทธเจ้าฉายพระรัศมีเปล่งปลั่ง  และผุดผ่องผิดปกติยิ่งกว่าครั้งใดๆที่พระอานนท์เคยเห็นมา  พระอานนท์จึงกราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์มาก

มีต่อครับ....
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

 "อานนท์ !  เป็นอย่างนั้น, กายของตถาคต  ย่อมมีฉวีผุดผ่องในกาลสองครั้ง   คือ  ในราตรีที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ,  และ ราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (เป็นการดับกิเลสโดยไม่มีกายสังขารเหลืออยู่ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต). อานนท์ !   การปรินิพพานของตถาคตจักมีในระหว่างต้นสาละคู่  ในสวนสาละอันเป็นที่แวะพักกลางทางของพวกมัลลกษัตริย์  ใกล้เมืองกุสินารา  ในตอนปัจฉิมยามแห่งคืนนี้"
     "มาเถิด, อานนท์ !  เราจักไปยังแม่น้ำกกุธนทีด้วยกัน"  ทรงสรงในแม่น้ำกกุธนทีแล้ว   เสด็จเข้าสวนอัมพวัน (สวนมะม่วง)  ประทับนอนสีหเสยยา  เพื่อพักผ่อนบนสังฆาฏิพับเป็นสี่ชั้นปูถวายโดยพระจุนทกะ
พระพุทธองค์ทรงตรัสปรารภถึงนายจุนทะ ด้วยมีพระทัยเป็นห่วงเป็นใยนายจุนทะว่า อาจจะถูกตำนิติเตียนกล่าวร้ายได้ ไว้ดังนี้
     "อานนท์ !    คงมีใครทำความเดือดร้อนให้แก่   จุนทะ  กัมมารบุตร   โดยกล่าวว่า 'จุนทะ !  การที่ท่านถวายบิณฑบาตเป็นครั้งสุดท้าย   ซึ่งหาได้โดยยากนั้น  ไม่เป็นลาภเสียแล้ว'  ดังนี้.  อานนท์ !  เธอพึงกำจัดความเดือดร้อนนั้นเสีย  โดยกล่าวว่า 'จุนทะ ! การถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้ายของท่านเป็นความดีแล้ว  เป็นลาภของท่านแล้ว,  เราได้ฟังมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ว่า บิณฑบาตทั้งสอง มีผลเสมอกัน มีผลยิ่งยอดกว่าบิณฑบาตอื่นๆ คือ  บิณฑบาตที่ตถาคตเจ้าเสวยแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างหนึ่ง  และที่เสวยแล้วเสด็จปรินิพพาน  ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อย่างหนึ่ง.  กุศลกรรมที่นายจุนทะสร้างสมแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  ยศ  สวรรค์  และ ความเป็นใหญ่'  อานนท์ !  เธอพึงกำจัดความเดือดร้อนของนายจุนทะ  กัมมารบุตร  ด้วยการกล่าวอย่างนี้ แล".  แล้วทรงเปล่งพระอุทานนี้:


"บุญ  ย่อมเจริญ  งอกงาม  แก่ทายก  ผู้ให้อยู่ๆ,
เวร  ย่อมไม่สืบต่อ  แก่บุคคลผู้ระงับเวรเสียได้,
คนฉลาดเท่านั้น,  ละบาปเสียได้แล้ว  ก็นิพพาน
เพราะความสิ้นไปแห่ง   ราคะ  โทสะ  และโมหะ".

     พระพุทธองค์พร้อมกับพระสงฆ์บริวารเสด็จไปถึงชานเมืองกุสินาราในเวลาจวนค่ำ เสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญวดี  แล้วเสด็จเข้าไปในอุทยานนอกเมืองนั้นชื่อว่า 'สาลวโนทยาน'   ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่สองต้นเคียงคู่กันอยู่ เรียกว่า 'ต้นสาละ'  อุทยานแห่งนี้จึงได้นามตามต้นสาละว่า สาลวโนทยาน ดังกล่าว
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอุทยานแห่งนี้แล้ว  ตรัสสั่งให้พระอานนท์ตั้งเตียง  หันทางเบื้องศีรษะไปทางทิศเหนือ  ให้เตียงอยู่ระหว่างใต้ต้นสาละทั้งคู่  ตรัสว่า  "เราลำบากและเหน็ดเหนื่อยมาก  จักนอนระงับความลำบากนั้น"
     พระอานนท์จัดตั้งเตียงและปูผ้ารองเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จบรรทมตะแคงข้างขวา หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ  ตั้งพระบาทซ้อนเหลื่อมกัน  ดำรงสติสัมปชัญญะแล้วตั้งพระทัยจะเสด็จบรรทมเป็น ไสยาวสาน (นอนเป็นครั้งสุดท้าย)    เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  'อนุฐานไสยา'  แปลว่า  นอนโดยจะไม่ลุกขึ้นอีก

มีต่อครับ....
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

ระยะทางจากบ้านนายจุนทะมาถึงสาลวโนทยาน ซึ่งทรงประทับปรินิพพานนั้น เป็นระยะทางรถยนต์ในปัจจุบันถึง 24 กิโลเมตร (14 ไมล์) และ แม่น้ำกกุธนทีอยู่ห่างจากบ้านนายจุนทะ 10  กิโลเมตร (6 ไมล์)
     แสดงให้เห็นว่าแม้พระองค์จะทรงประชวรหนัก จนถึงกับเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน (การตายของพระอรหันต์) ในค่ำวันเดียวกันนั้นก็ตาม  พระองค์ยังทรงสามารถเสด็จดำเนินได้เป็นระยะทางถึง 24 กิโลเมตร (14 ไมล์)  ภายในวันเดียว (และคงใช้เวลาไม่เกิน 10 ชั่วโมง เพราะถึงเมืองกุสินาราเวลาจวนคํ่า) ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลพอควร แม้สำหรับคนที่สบายดีเป็นปกติ  โดยทรงพักกลางทางเพียง 2  แห่ง ที่แม่น้ำลำเล็กแห่งหนึ่ง  และ ที่แม่น้ำกกุธนที-สวนอัมพวัน อีกแห่งหนึ่งในระหว่างทาง  จึงเป็นที่น่าสังเกตได้ว่า  การป่วยอาพาธของพระองค์คงเป็นการป่วยอย่างกะทันหัน และสุขภาพโดยทั่วไปของพระองค์ทรงอยู่ในสภาพที่ดีมากก่อนหน้านั้น  เพราะโดยปกติ พระองค์ทรงเดินทางด้วยพระบาทได้โดยเฉลี่ย ประมาณวันละ  28  กิโลเมตร (16.5 ไมล์) ซึ่งต่างจากวันสุดท้ายไม่มากนัก
  การที่ทราบเช่นนั้น เพราะหลังจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ณ  พุทธคยาแล้ว  ทรงประทับอยู่เสวยวิมุติสุข  ณ  พุทธคยาต่ออีก  7  สัปดาห์  คือ 49 วัน ก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปโปรดปัญจวัคคีย์ (สาวก 5 องค์แรก) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เมืองสารนาท ซึ่งอยู่ห่างไป 250 กิโลเมตร (147ไมล์)  โดยเสด็จถึงสถานที่แห่งนั้น 1 วันก่อนวันอาสาฬหบูชา (วันเพ็ญเดือน  คือ  58  วัน หลังวันตรัสรู้  นั่นคือ พระองค์ทรงใช้เวลา   9  วัน  ในการเดินทาง  250  กิโลเมตร  หรืออาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงสามารถเดินทางได้โดยเฉลี่ยวันละ  28  กิโลเมตร (16.5ไมล์) ในเวลาที่ทรงสบายดีเป็นปกติ  ไม่ได้ต่างมากไปจากการเดินทางในวันสุดท้ายของพระพุทธองค์  ซึ่งทรงเดินทางได้ถึง 24  กิโลเมตร (14ไมล์)  ในขณะที่กำลังทรงประชวรหนัก  จึงบ่งบอกว่า เป็นการป่วยกะทันหัน  ไม่ใช่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจนทำลายพระวรกายและสุขภาพโดยทั่วไปให้อ่อนเพลียมา กมายก่อนหน้านั้น  หากแต่อาหารมีพิษร้ายแรงและทำให้เกิดอาการของโรครุนแรงมาก (หรืออาจทำให้โรคเก่าที่หายแล้วกลับกำเริบ) จนทำให้พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานภายในวันเดียวกันกับที่ทรงเสวยสูกรมัท ทวะนั้น  และก่อนหน้านั้น สุขภาพของพระองค์ทรงแข็งแรงดีมากสำหรับวัย  80  พรรษา  ซึ่งเมื่อเทียบกับสมัยตรัสรู้ใหม่ๆเมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้  35  พรรษาแล้ว ยังทรงสามารถเดินทางได้โดยเฉลี่ยไล่เลี่ยกัน  เพียงแต่ต้องหยุดพักระหว่างทาง 2 แห่ง และชี้บ่งให้เห็นว่าแม้พระองค์จะทรงเคยประชวรหนักเมื่อประมาณ  3  เดือนเศษก่อนหน้านั้น  คือ สมัยที่ทรงประทับอยู่  ณ  บ้านเวฬุวคามก็ตาม ด้วยโรคปักขันธิกาพาธ คือโรคบิด, ตกเลือด, ลงแดง ซึ่งอาจหมายถึงโรคบิดที่ถ่ายเป็นเลือด ได้แก่ โรคบิดมีตัว (Amoebic dysentery) หรือ โรคบิดไม่มีตัว (Shigellosis)  พระองค์ได้ทรงหายจากการประชวรครั้งนั้นแล้วเป็นอย่างดี
     เมื่อทรงหายประชวรครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงรู้สึกสบาย จนถึงกับทรงสามารถเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในนครเวสาลีได้  ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตและเสวยภัตตาหารแล้ว  พระองค์ได้รับสั่งให้พระอานนท์นำผ้าสำหรับรองนั่งตามเสด็จไปยัง ปาวาลเจดีย์  เพื่อทรงพักผ่อนสำราญอิริยาบถในเวลากลางวัน  ขณะประทับนั่งในร่มพฤกษาแต่ลำพังพระองค์เดียว  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำรงพระสติสัมปชัญญะ  ปลงพระชนมายุสังขาร  โดยทรงกำหนดในพระทัยของพระองค์เองว่า  อีกสามเดือนต่อจากนี้พระองค์จะปรินิพพาน เมื่อพระอานนท์เข้ามาเฝ้า  พระองค์ได้ตรัสว่า  "อานนท์  ตถาคตปลงใจจักปรินิพพานใน วันเพ็ญเดือนวิสาขะ  อีกสามเดือนต่อจากนี้แล้ว."
     แม้หลังจากปลงอายุสังขารแล้ว  พระองค์ยังทรงเสด็จไปสู่ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี  บ้านภัณฑคาม  บ้านหัตถิคาม  บ้านอัมพคาม บ้านชัมพุคาม  และ โภคนคร  ก่อนจะมาถึง เมืองปาวา  ณ  บ้านนายจุนทะ ซึ่งชี้บ่งว่า  พระองค์ได้เดินทางอยู่โดยตลอด   3  เดือนสุดท้าย  ไม่ได้นอนซมอยู่ด้วยโรคเรื้อรังแต่ประการใด  และไม่มีการกล่าวถึงว่ามีอาการโรคกำเริบแต่ประการใดในระหว่าง 3 เดือนสุดท้ายนั้น  จนกระทั่งทรงประชวรหนักหลังจากที่ทรงฉันสูกรมัททวะ  ซึ่งจัดถวายโดยนายจุนทะในเช้าวันสุดท้ายนั้น

มีต่อครับ...
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

กล่าวได้ว่า สูกรมัทวะซึ่งพระองค์ทรงฉันในวันนั้น มีโทษมหันต์ หรือ มีพิษร้ายแรงมาก พระองค์เองได้ทรงเล็งเห็นแล้วว่า หากทรงฉันอาหารนี้เข้าไปแล้วจะต้องประชวรหนัก จึงรับสั่งให้นายจุนทะถวายแต่พระองค์เพียงผู้เดียว และให้ฝังส่วนที่เหลือเสีย
     หากสูกรมัทวะเป็นเนื้อหมูอ่อน หมูนั้นย่อมเป็นโรคหรือติดเชื้อ จึงทำให้พระองค์ประชวรเมื่อทรงฉันเขัาไป โรคที่น่าจะเป็นได้มี อาทิ ทริคิโนซิส (Trichinosis) หรือ ซิสติเซอร์โคซิส (Cysticercosis จากการกินหมูที่เป็นเม็ดสาคูซึ่งเกิดจากพยาธิตัวตืด นายจุนทะย่อมมองเห็นเม็ดสาคูในเนื้อหมูนั้น  และย่อมจะไม่ปรุงถวายแน่นอน)  แต่อาการของโรคจะไม่เป็นอย่างกะทันหัน  และไม่มีอาการในลักษณะดังกล่าวไว้ในพุทธประวัติข้างต้น
   อาการของทริคิโนซิส (Trichinosis) เกิดจากการกินหมูที่ติดเชื้อพยาธิ ทริคิเนลล่าสไปราลลิส  (Trichinella Spiralis)  ซึ่งจะฟักตัวผสมพันธุ์อยู่ในลำไส้  6  สัปดาห์  หลังจากนั้นตัวอ่อนจะชอนไชไปเข้าตามกล้ามเนื้อ  ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ  พยาธิจะเจริญเติบโตเป็นถุงไต  (encyst)  บางครั้งมีหินปูนมาเคลือบ  (calcify)  และพยาธิสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นปีๆ ผู้ป่วยมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตัวตามกล้ามเนื้อ แม้กระทั่งปวดลิ้น และปวดเสียดที่กล้ามเนื้อกระบังลม  (Diaphragm)  อาจมีอาการท้องเสีย  24 - 72  ชั่วโมงหลังจากกินหมูที่ติดเชื้อพยาธินี้ แต่อาการของโรคนี้จะไม่ตายทันทีภายในระยะเวลาเพียงวันเดียว
     ส่วน ซิสติเซอร์โคซิส (Cysticercosis) เกิดจากการกินหมูที่ติดเชื้อพยาธิตัวตืดชนิดที่เป็นกับหมู ทีเนียโซเลี่ยม (Taenia Solium) หรือ เอคไคโนคอกคัส (Echinococcus) หรือหมูที่เป็นเม็ดสาคู ซึ่งเมื่อกินเข้าไปแล้ว พยาธิจะเติบโตเป็นพยาธิตัวตืดในลำไส้  บางรายพยาธิตัวอ่อน (Larva) ลุกลามชอนไชเข้าไปในกล้ามเนื้อ เติบโตเป็นถุง  (cyst)  คือ  ซิสติเซอร์โคซิส (Cysticercosis)   หรือ เม็ดสาคู  ซึ่งอยู่ได้เป็นปีๆ  บางครั้งอาจลุกลามไปที่สมอง  หรือตามผิวหนัง  บางรายมีอาการ  4 - 5 ปีหลังจากพยาธิได้ตายไปแล้ว  อาการเป็นลักษณะเรื้อรังไม่ป่วยอย่างกะทันหัน  โดยอาจมีอาการเป็นตุ่มจากถุงไต (cyst) หรือ มีอาการเนื่องด้วยแรงกดผลักดันจากก้อน  (mass effect)   อาจมีท้องเสีย  หรือ ถ่ายมีปล้องตัวตืด  เป็นต้น

จบครับ
ขอบคุณมากครับ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

กิมหยง

แล้วพระพุทธองค์ องค์ก่อน ๆ ที่มีอายุหลายหมื่นปี

ทางปรินิพพาน แบบไหนครับท่าน

สร้าง & ฟื้นฟู

ฟ้าเปลี่ยนสี

เท่าที่ผมทราบก่อนหน้านั้น น่าจะมีมาก่อนหลายพระองค์มากกว่า ๕ องศ์ ขอผมค้นในหนังสือก่อนน่ะครับ ท่านกิม แล้วค่อยมาสนทธรรมกันต่อ ครับผม  ส.ตากุลิบกุลิบ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

กิมหยง

การตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นยากมาก ๆ

นาน ๆ ถึงจะอุบัติเกิดขึ้นบนโลกสักที

แต่ยุคนี้เราบาปกันมากหรือเปล่า
เลยทำให้ท่านโปรดธรรมเราแค่เพียง 80 ปี

ในขณะที่อังค์ถัดไป
พระศรีอริยเมตไตรย์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้
ได้ทรางโปรดแสดงธรรมนาน 80,000 ปี เลยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ฟ้าเปลี่ยนสี

 ส.อ่านหลังสือ ท่านกิม เราพลาดไปหรือเปล่า พระพุทธเจ้าในอดีตที่อยู่เป็นกัลป์ๆ รวมถึงท่านเป็นฆราวาสด้วย พระพุทธเจ้าองศ์ปัจจุบันก้ต้องรวม ชาติอดีตท่านด้วยสิครับ พระพุทธเจ้า ๑๐ ชาติ ไง และแต่ละชาติกินเวลาเท่าไรครับ นิ...  ส.อืม
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณาพร.

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 10:53 น.  18 พ.ย 54
เท่าที่ผมทราบก่อนหน้านั้น น่าจะมีมาก่อนหลายพระองค์มากกว่า ๕ องศ์ ขอผมค้นในหนังสือก่อนน่ะครับ ท่านกิม แล้วค่อยมาสนทธรรมกันต่อ ครับผม  ส.ตากุลิบกุลิบ

  ^

  ^

  ^

  ^

  หากจะกล่าวกันถึงเรื่องการเวียนเกิด-เวียนตายของพระพุทธเจ้า  เรามักกล่าวกันถึงเรื่อง " ชาดก "
  ชาดก....หมายถึง  เรื่องเกี่ยวกับการเกิด-ตาย ของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเเต่ละชาติ
  ซึ่งพระโพธิสัตว์ในเเต่ละชาติก่อนหน้านี้ก็มักที่จะพบกับเรื่องที่ดีบ้าง เลวบ้าง  คละเคล้ากันไปจนตรัสรู้

  ชาดก หรือ นิบาตชาดก(ยกเว้น 10 ชาติสุดท้ายเรียก มหานิบาต)....ในตำนานทางพระพุทธศาสนา
  ที่ผมเคยศึกษามีทั้งหมด 28 เล่ม
 
  ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 1-27 มี 525 เรื่อง
  ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง
  พระไตรปิฎก รวม 28 เล่มจึงมีชาดกทั้งหมดรวม 547 เรื่อง(เเสดงว่าพระพุทธเจ้ามีมากมายหลายพระองค์)
 
 
  อนึ่ง  พระโพธิสัตว์ ที่จะสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น  มีอยู่ 3 จำพวก  ดังนี้
  1. อุคฆติตัญญูโพธิสัตว์  หมายถึง  พระโพธิสัตว์ประเภทมีปัญญามากกว่าศรัทธา
  2. วิปจิตัญญูโพธิสัตว์  หมายถึง  พระโพธิสัตว์ประเภทมีศรัทธามากกว่าปัญญา
  3. เนยยโพธิสัตว์  หมายถึง  พระโพธิสัตว์ประเภทมีความเพียรมากกว่าปัญญา
 

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

ฟ้าเปลี่ยนสี

ขอบคุณมากครับ คุณ คุณาพร

ผมอยากทราบว่า ในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทมีพูดถึงเรื่อง พระโพธิสัตว์ ในหมวดไหนครับ ผมอยากศึกษา เพราะคำนี้ผมเจอในพระพุทธฝ่ายมหายาน ครับผม

ขอความรู้ด้วย ครับผม  ส.ตากุลิบกุลิบ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณหลวง

    สบายดี...

    ทำไมพระพุทธองค์จึงโปรดโลกแค่ ๘๐ ปี ขณะที่องค์อื่นๆมากกว่านั้น

    ความจริงพระพุทธองค์โปรดโลกแค่ ๔๕ ปีครับท่าน ๘๐ นั้นเป็นพระชนมายุทั้งสิ้นของพระองค์ พระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าตอน ๓๕ ปี หลังจากนั้น โปรดสัตว์มาจน ๘๐

    แล้วทำไมพระองค์จึงโปรดแค่นั้น ทำไมไม่อยู่มาจนทุกวันนี้ บางทีเราอาจได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์ได้ ก็เพราะว่าอายุขัยของคนในยุคนี้เต็มที่แค่ ๑๒๐ ปี โดยเฉลี่ย (สมัยพระองค์ท่าน ตอนนี้ลดลงกว่านั้น) ไม่มีพระพุทธเจ้าองค์ใดฝืนธรรมชาติในขณะนั้นๆหรอกครับ อย่างพระพุทธองค์ทรงเปรียบรอยเท้าที่ใหญ่ที่สุดว่าเป็น ช้าง ทั้งๆที่ความจริงนั้นมีไดโนเสาร์ที่มีรอยเท้าใหญ่กว่านั้น แต่ทำไมพระองค์ไม่เปรียบ เพราะมันไม่มีในยุคที่พระองค์ดำรงอยู่ไงครับ

    ในขณะที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆอุบัติขึ้นมาในช่วงเวลาที่มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยมากกว่านี้ องค์แรก (พระพุทธเจ้าโกนาคมน์?) ผู้คนมีอายุเฉลี่ย ๘๐๐๐๐ ปี องค์ที่สอง(กุกกุสันโธ?) ๔๐๐๐๐ ปี องค์ที่สาม(กัสสปะ) ๒๐๐๐๐ ปี องค์ที่สี่พุทธโคตมะ ๑๒๐ ปี เท่านั้น ส่วนพระศรีอริยะเมตตรัยนั้นจะอุบัติขึ้นเมื่อมนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยที่ ๘๐๐๐๐ ปี ครับ นั่นก็คือ ภัทรกัปป์นี้ เริ่มต้นในพระพุทธเจ้าองค์แรกเจริญสุดๆในธรรมะแห่งใจคน จึงทำให้คนมีอายุยืน แล้วเสื่อมมาเรื่อยๆ พระพุทธองค์โคตมะเกิดมาในยุคเสื่อมมากแล้วครับ คนจึงมีอายุแค่ ๑๒๐

    หลังจากนี้อายุคนจะน้อยลงๆจนถึงกลียุค ที่คนไร้ธรรมะฆ่ากัน ปฏิบัติต่อกันอย่างต่ำทรามสุดๆ จนเหลือคนน้อยมากจึงเริ่มคิดได้ว่าเลวกันเกินไปแล้ว สำนึกได้เลยทำตัวดีขึ้น สำนึกในธรรมมากขึ้น อายุขัยจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนยุคพระศรีอาริย์นั้นเพิ่มกลับไปที่ ๘๐๐๐๐ ปี โดยเฉลี่ย ๑๐๐ ปี อายุขัยเฉลี่ยจะลดลง ๑ ปี ก็ลองคิดดูครับ ว่าแต่ละพระองค์อุบัติห่างกันกี่ปี

    ในพระสูตร(จำชื่อพระสูตรไม่ได้)หนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงภูเขาลูกหนึ่งว่า สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคมน์นั้น ต้องใช้เวลาขึ้นลง ๘ วัน องค์ต่อมา ๔ วัน องค์ที่สาม ๒ วัน ในสมัยพระองค์ท่านเพียงวันเดียวในการขึ้นลงเขาลูกนี้ ในความหมายนี้คืออะไร ก็หมายความว่าโลกใหญ่ขึ้นใช่ไหม

    ในทางวิทยาศาสตร์ที่ผมเคยอ่านเจอ เขาว่า โลกนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน โดยเฉลี่ยมีฝุ่นผงจากอวกาศตกลงสู่พื้นโลกวันละ (ถ้าจำไม่ผิด) ๒๑ ตัน เท่ากับ สองหมื่นหนึ่งพันกิโลกรัม และโลกเราหมุนช้าลงไปเรื่อยๆ เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี่เอง ทุกวันนี้ เราถูกทำให้เชื่อว่าโลกนี้มีวันละ ๒๔ ชั่วโมง แต่ความจริง ขณะนี้ โลกนี้มีวันละ ๒๓ ชั่วโมง ๕๗ นาที และ........วินาทีเท่านั้น เมื่อเอาเวลาที่ขาดหายไปในแต่ละวันมารวมกัน สามปี ก็จะได้ ๒๔ ชั่วโมง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมต้องมีปีอธิกสุรทิน ๓๖๖ วันขึ้นมาในรอบปีที่สี่ เพื่อให้ลงตัวกับการโคจรของโลกและดวงอาทิตย์นั่นเอง (คิดดูครับว่ากี่วิฯ)

    ในขณะที่การนับแบบจันทรคติ ในรอบปีที่สี่ จะมี เดือน ๘ เพิ่มมาครั้งหนึ่ง เพราะวัดด้วยการโคจรของโลกกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์นั้นหมุนรอบตัวเอง ๔๙ วัน และหมุนรอบโลกก็ใช้เวลา ๔๙ วันเช่นกัน นั่นจึงเกิดความต่างในวัน เพราะแต่ละปีมีวันดับตรงกับ แรม ๑๔ ค่ำ บ่อยครั้ง เพราะการโคจรของทั้งคู่นี่เอง สามปีขาดไปเดือนหนึ่งก็ชดเชยในปีที่สี่ให้มีเดือนแปดสองหน เพื่อให้ลงตัวกันของการโคจร จึงสามารถเข้ารอบปี ตรงฤดูกาล การโคจรจึงสม่ำเสมอ เพราะปัญญาของมนุษย์ที่เห็นความต่างและชดเชยกันนี่เอง   

    และในอีกประมาณ ๓๐๐ ปีข้างหน้า โลกเราจะมีเวลา ๒๔ ชั่วโมงเต็ม (ลดลงประมาณ ๑๐๐ ปี ต่อ ๑ นาที) หลังจากนั้น อีกคงจะหลายร้อยปีระบบเวลาก็อาจต่างไปจากทุกวันนี้ เพราะเมื่อเวลาเกิน ๒๔ ชั่วโมงต่อวัน คนก็ต้องคำนวณให้ลงตัวกันใหม่อีกที

     ในเรื่องนี้จึงว่าโลกใหญ่ขึ้น ระบบเวลา ความยาวนานของเวลาอาจต่างกันก็มีส่วนบ้างก็ได้ครับ แต่เมื่อว่าไป ในยุคพระศรีอาริย์ภูเขาลูกนั้นก็เรียบเสมอกับพื้นดินทั้งโลก แต่คนมีอายุมากถึง ๘๐๐๐๐ ปีอยู่ดี ในกรณีนี้ จึงต้องยกให้กรรมเป็นผู้รับหน้าที่ไป เพราะช่วงที่คนอายุขัยมากก็เท่ากับว่าคนส่วนใหญ่มีคุณธรรมสูงมาก

    และอาจเป็นไปได้เช่นกันว่า พระศรีอาริย์อาจโปรดคนได้น้อยกว่าพระพุทธองค์โคดม เพราะคนมีความสุขดั่งสรวงสวรรค์(ตามที่เขาว่า)การเห็นทุกข์ ใส่ใจต่อทุกข์ก็น้อยลงไปด้วย การหาทางดับทุกข์จึงอาจเป็นเรื่องไกลตัวเขาเหล่านั้นก็ได้

    แล้วทำไมพระพุทธองค์จึงไม่อยู่ให้ครบ ๑๒๐ ปี ทั้งๆที่พระองค์ทำได้ ส่วนหนึ่งนั้น พระองค์ทรงรับปากพญามาราธิราช เมื่อมาทูลขอให้พระองค์ดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์รับปากพญามารว่า เมื่อใดที่พระองค์ประดิษฐาน บริษัท ทั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่มีความเข้าใจ สามารถสืบทอดธรรมได้แล้ว พระองค์จะปลงสังขาร

    เมื่อพระองค์ทำได้ครบแล้วตามที่รับปากพญามาร พญามารก็มาทูลทวงสัญญา พระองค์ทรงแสดง(บอกใบ้)แก่พระอานนท์เชิงให้พระอานนท์ทูลอาราธนาให้อยู่ต่อ แต่ขณะนั้น พระอานนท์โศกเศร้ามากเกินไปต่อการประชวรของพระองค์จึงมิได้ณัฐวุฒิ อ้อ มิได้สะกิดใจ เมื่อไม่มีผู้อาราธนาให้อยู่ต่อ พระองค์ก็ปลงสังขารตามที่รับปากไว้กับพญามาร 

    ตามประวัติว่า พญามารนี้ก็เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ปรารภโพธิญาณ แต่ทำไมจึงเป็นผู้ขัดขวาง ทั้งตอนจะบรรลุธรรมของพระพุทธองค์ ทั้งยังทำให้คนเข้าใจผิดต่อพระพุทธองค์ก็หลายที และเป็นคนรบเร้าให้พระองค์ดับขันธ์ไวๆอีก นี่เป็นปัญหาอีกข้อหนึ่ง ว่าทำไมพญามารจึงทำอย่างนั้น

    ธรรมดา แม้ผู้ปรารถนาโพธิญาณ จะเคารพในพระพุทธเจ้า แต่ในขั้นของการบำเพ็ญบารมีนั้น ก็ยังเป็นคนกิเลสอย่างเราๆนี่เอง ลดลงเรื่อยๆตามบารมีก็จริง แต่ก็คนธรรมดาที่สามารถหลงผิดได้ อย่างในพุทธประวัติเอง พระองค์ก็ทรงเล่าถึงความหลงผิด ความชั่วของพระองค์ในสมัยชาติก่อนๆอยู่เช่นกัน แม้ชาตินั้นๆจะปรารถนาพระพุทธภูมิแล้วก็ตาม แม้ชาติหนึ่งยังเคยปรามาสพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน

    เหตุผลของพญามาร จึงเป็นเรื่องของตนกิเลสหนาที่เมื่อมองสังคมปัจจุบัน เราน่าจะสามารถเห็นคนเช่นนั้นได้มากมาย (ร่วมนาวาเดียวกัน แต่คอยขัดขาเพื่อนร่ำไป)

    ในมุมที่ผมรู้มาบ้างก็อย่างนี้ครับ แต่เอามาพูดแล้วฟังยากบ้างก็ทำใจนะครับ บางทีนี่ก็เป็นนิทานอีกเรื่องหนึ่งที่ผมอ่านเจอๆมา เมื่อไม่ตรงกับตรรกะหรือความเชื่อของตน มันก็เป็นเรื่องโกหกเท่านั้นเอง จริงมั้ยครับ ท่านปัจเจกพุทธ รบกวนถามท่านว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านกล่าวเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าไว้บ้างไหมครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ฟ้าเปลี่ยนสี

อนุโมทนา ครับ

นับถือ นับถือ  ส.ยกน้ิวให้ ขอบคุณมากครับ คุณ คุณหลวง
ข้อเท็จจริงจาก มหาปรินิพพานสูตร บันทึกเหตุการณ์ช่วงสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ครับผม
มีบันทึกอยู่ในพระสุตตันตปิฏก เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๖๗ – ๑๖๒  หน้าที่ ๘๕ – ๑๙๕ ในพระไตรปิฎก ครับ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

สาวก

พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ และ นิทานพระยากาเผือก

คือเรื่องการกำเนิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัทรกัลป์ ( กัป )
โดยเกิดจากไข่กาเผือก ๕ ฟอง ซึ่งพลัดกันไป
และมี ไก่ นาค เต่า โค และสิงห์ นำไปเลี้ยง

พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์นั้นคือ

๑ ไก่ ........ นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระกกุสันธะ
๒ นาค ...... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระโกนาคมน์
๓ เต่า ....... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระกัสสป
๔ โค ......... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระสมณโคดม
๕ สิงห์ ...... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระศรีอาริยเมตไตร

ความแตกต่างของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้

1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสังไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา
พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน
พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)

2. พระโกนาคมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 30,000 พรรษา
พระสรีระสูง 30 ศอก หรือ 15 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 1 เดือน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์

3. พระกัสสปพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 20,000 พรรษา
พระสรีระสูง 20 ศอก หรือ 10 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์

4. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า (องค์ปัจจุบัน) อ่านต่อทำไมถึงอายุไขยเพียง80พรรษา (ด้านล่าง) 

เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 4 องไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก 24 พระองค์ ซึ่งน้อยมาก
เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย 80 พรรษา
พระสรีระสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 6 ปี
พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ

5. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 16 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 477,029 พระองค์
เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย 80,000 พรรษา
พระสรีระสูง 80 ศอก หรือ 40 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้

----------------------------------------------

อ่านต่อทำไมถึงอายุไขยเพียง80พรรษา(http://board.palungjit.com/f10/พระพุทธเจ้าบอกใบ้พระอานนท์-3-ครั้ง-108733.html)

เรื่อง:พระพุทธเจ้าบอกใบ้พระอานนท์ 3 ครั้ง

"อานนท์! เพราะอบรมอิทธิบาทสี่มาอย่างดีแล้วทำจนแจ่มแจ้งแล้วอย่างเรานี้ ถ้าปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้"
พระโลกานาถตรัสดังนี้ถึงสามครั้ง แต่พระอานนท์ก็คงเฉยมิได้ทูลอะไรเลย ความวิตกกังวลและความเศร้าของท่านมีมากเกินไป จึงปิดบังดวงปัญญาเสียหมดสิ้น ความจงรักภักดีเหลือล้น ที่ท่านมีต่อพระศาสดานั้น บางทีก็ทำให้ท่านลืมเฉลียวใจ ถึงความประสงค์ของผู้ที่ท่านจงรักภักดีนั้น ปล่อยโอกาสทองให้ล่วงไปอย่างน่าเสียดาย
เมื่อเห็นพระอานนท์เฉยอยู่ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
"อานนท์ ! เธอไปพักผ่อนเสียบ้างเถิด เธอเหนื่อยมากแล้ว แม้ตถาคตก็จะพักผ่อนเหมือนกัน" พระอานนท์จึงหลีกไปพักผ่อน ณ โคนต้นไม้อีกต้นหนึ่ง
ณ บัดนั้น พระตถาคตเจ้าทรงรำพึงถึงอดีตกาลนานไกล ซึ่งล่วงมาแล้วถึงสี่สิบห้าปี สมัยเมื่อพระองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ท้อพระทัยในการที่จะประกาศสัจธรรม เพราะเกรงว่าจะทรงเหนื่อยเปล่า แต่อาศัยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ จึงตกลงพระทัยย่ำธรรมเภรี และครานั้นพระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ว่า ถ้าบริษัททั้งสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคง ยังไม่สามารถย่ำยีปรูปวาท คือ คำกล่าวจ้วงจาบล่วงเกินจากพาหิรลัทธิที่จะพึงมีต่อพระพุทธธรรมคำสอนของพระองค์ยังไม่แพร่หลายเพียงพอตราบใด พระองค์ก็จะยังไม่นิพพานตราบนั้น

ก็แลบัดนี้ พระธรรมคำสอนของพระองค์แพร่หลายเพียงพอแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฉลาดสามารถพอที่จะดำรงพรหมจรรย์ศาสโนวาทของพระองค์แล้ว เป็นการสมควรที่พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน

ทรงดำริดังนี้แล้วจึงทรงปลงอายุสังขาร คือตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า พระองค์จะปรินิพพานในวันวิสาขะปูรณมี คือ วันเพ็ญเดือนหก

อันว่าบุคคลผู้มีกำลังกลิ้งศิลามหึมาแท่งทึบจากหน้าผาลงสู่สระ ย่อมก่อความกระเพื่อมสั่นสะเทือนแก่น้ำในสระนั้นฉันใด การปลงพระชนม์มายุสังขารอธิษฐานพระทัยว่า จะปรินิพพานของพระอนาวรณญาณก็ฉันนั้น ก่อความวิปริตแปรปรวนแก่โลกธาตุทั้งสิ้น มหาปฐพีมีอาการสั่นสะเทือนเหมือนหนังสัตว์ที่เขาขึงไว้ แล้วตีด้วยไม้ท่อนใหญ่ก็ปานกัน รุกขสาขาหวั่นไหวไกวแกว่ง ด้วยแรงวายุโบกสะบัดใบอยู่พอสมควร แล้วนิ่งสงบมีอาการประหนึ่งว่า เศร้าโศกสลดในเหตุการณ์ครั้งนี้ เหมือนกุมารีน้อยคร่ำครวญปริเวทนาถึงมารดาผู้จะจากไปจนสลบแน่นิ่ง ณ เบื้องบนท้องฟ้าสีครามกลายเป็นสีแดงเข้มดุจเสื่อลำแพนซึ่งไล้ด้วยเลือดสด ปักษาชาติร้องระงมสนั่นไพรเหมือนจะประกาศว่า พระผู้ทรงมหากรุณากำลังจะจากไปในไม่ช้านี้

พระอานนท์สังเกตเห็นความวิปริตแปรปรวน ของโลกธาตุดังนี้ จึงเข้าเฝ้าพระจอมมุนี ทูลถามว่า "พระองค์ผู้เจริญ! โลกธาตุวิปริตแปรปรวนผิดปกติไม่เคยมีไม่เคยเป็น ได้เป็นแล้วเพราะเหตุอะไรหนอ?"

พระทศพลเจ้าตรัสว่า "อานนท์เอ๋ย! อย่างนี้แหละ คราใดที่ตถาคต ประสูติ ตรัสรู้ หมุนธรรมจักร ปลงอายุสังขารและนิพพาน ครานั้นย่อมจะมีเหตุการณ์วิปริตอย่างนี้เกิดขึ้น"
พระอานนท์ทราบว่า บัดนี้พระตถาคตเจ้าปลงพระชนม์มายุสังขารเสียแล้ว ความสะเทือนใจและความว้าเหว่ประดังขึ้นมาจนอัสสุชลธาราไหลหลั่งสุดห้ามหัก เพราะความรักเหลือประมาณที่ท่านมีในพระเชฏฐภาดา ท่านหมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ! ขอพระองค์อาศัยความกรุณาในข้าพระองค์และหมู่สัตว์ จงดำรงพระชนม์ชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย" กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่อาจทูลอะไรต่อไปอีก เพราะโศกาอาดูรท่วมท้นหทัย

"อานนท์เอ๋ย!" พระศาสดาตรัสพร้อมด้วยทอดทัศนาการไปเบื้องพระพักตร์อย่างสุดไกล ลีลาแห่งความเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์

"เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจ ตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะอีกสามเดือนข้างหน้านี้
อานนท์! เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่าสิบหกครั้งแล้วว่า คนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดี ถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์ หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ มิได้ทูลเราเลย เราตั้งใจไว้ว่า ในคราวก่อนๆ นั้น ถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไป เราจะห้ามเสียสองครั้ง พอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอ แต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก"ศาสดาหยุดอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสต่อไปว่า

"อานนท์! เธอยังจำได้ไหม ครั้งหนึ่ง ณ ภูเขาซึ่งมีลักษณะยอดเหมือนนกแร้ง อันมีนามว่า "คิชฌกูฏ" ภายใต้ภูเขานี้มีถ้ำอันขจรนามชื่อ "สุกรขาตา" ที่ถ้ำนี้เอง สาวกผู้เลื่องลือว่าเลิศทางปัญญาของเราคือ สารีบุตร ได้ถอนตัณหานุสัยโดยสิ้นเชิง เพียงเพราะฟังคำที่เราสนทนากับหลานชายของเธอผู้มีนามว่า "ทีฆนะขะ" เพราะไว้เล็บยาว

เมื่อสารีบุตรมาบวชในสำนักของเราแล้ว ทีฆนะขะปริพาชกเที่ยวตามหาลุงของตน มาพบลุงคือสารีบุตรถวายงานพัดเราอยู่จึงพูดเปรยๆ เป็นเชิงกระทบกระเทียบว่า พระโคดม! ทุกสิ่งทุกอย่างข้าพเจ้าไม่พอใจหมด ซึ่งรวมความว่าเขาไม่พอใจเราด้วย เพราะตถาคตก็รวมอยู่ในคำว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เราได้ตอบเขาไปว่า

"ถ้าอย่างนั้นเธอก็ควรไม่พอใจความคิดเห็นอันนั้นของเธอเสียด้วย"

"อานนท์! เราได้แสดงธรรมอื่นอีกเป็นอเนกปริยาย สารีบุตรถวายงานพัดไปฟังไป จนจิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"
"อานนท์ เอ๋ย! ณ ภูเขาคิชฌกูฏดังกล่าวนี้ เราเคยพูดกับเธอว่า คนอย่างเรานี้ถ้าจะอยู่ต่อไปอีกหนึ่งกัปป์หรือเกินกว่านั้นก็พอได้ แต่เธอก็หารู้ความหมายแห่งคำที่เราพูดไม่"

"อานนท์! ต่อมาที่โคตมนิโคธร, ที่เหวสำหรับทิ้งโจร, ที่ถ้ำสัตตบรรณ ใกล้เวภารบรรพต, ที่กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิซึ่งเลื่องลือมาแต่โบราณกาลว่า เป็นที่อยู่อาศัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอันมาก เมื่อท่านเข้าไป ณ ที่นั้นแล้วไม่มีใครเห็นท่านออกมาอีกเลยจึงกล่าวขานกันว่า อิสิคิลิบรรพต, ที่เงื้อมเขาชื่อสัปปิโสณฑิกา ใกล้ป่าสีตวันที่ตโปทาราม, ที่เวฬุวันสวนไผ่อันร่มรื่นของจอมเสนาแห่งแคว้นมคธ, ที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์. ที่มัททกุจฉิมิคทายวันทั้งสิบแห่งนี้มีรัฐเขตแขวงราชคฤห์"

"ต่อมาเมื่อเราทิ้งราชคฤห์ไว้เบื้องหลัง แล้วจาริกสู่เวสาลีนคร อันรุ่งเรื่องยิ่ง เราก็ให้นัยแก่เธออีกถึงหกแห่ง คือที่อุเทนเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ โคตมกเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ และปาวาลเจดีย์ เป็นแห่งสุดท้ายคือสถานที่ซึ่งเราอยู่ ณ บัดนี้ แต่เธอก็หาเฉลียวใจไม่ ทั้งนี้เป็นความบกพร่องของเธอเอง เธอจะคร่ำครวญเอาอะไรอีก"

พระโลกานาถตรัสดังนี้ถึงสามครั้ง แต่พระอานนท์ก็คงเฉยมิได้ทูลอะไรเลย ความวิตกกังวลและความเศร้าของท่านมีมากเกินไป จึงปิดบังดวงปัญญาเสียหมดสิ้น ความจงรักภักดีเหลือล้น ที่ท่านมีต่อพระศาสดานั้น บางทีก็ทำให้ท่านลืมเฉลียวใจ ถึงความประสงค์ของผู้ที่ท่านจงรักภักดีนั้น ปล่อยโอกาสทองให้ล่วงไปอย่างน่าเสียดาย
ขณะนั้นพระอานนท์ยังอยู่ในอารมณ์ พระโสดาบัน
ซึ่งยังละสังโยชน์ กามราคะ และปฏิฆะไม่ได้จึงเกิด วิตกและเศร้าใจ
๔. กามราคะ - ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ

ฅ ฅนหลง