ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไมเกรน หายได้ไม่ต้องพึ่งยา เรียนรู้เพื่อการป้องกันอาการ

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 14:11 น. 28 ก.ย 61

ทีมงานบ้านเรา

 โรค "ไมเกรน" หลายคนมีอาการอยู่เป็นประจำ ส่วนใหญ่จะปวดศีรษะข้างเดียว หรือบางคนก็ปวดศีรษะทั้งสองข้าง มักปวดแบบตุ้บๆ เป็นจังหวะและปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำๆ โดยวิธีรับมือกับโรคไมเกรน ถ้าไม่ไปหาหมอก็กินยา แต่หากเราใช้ยาไปนานๆ ทราบหรือไม่ว่ามันจะส่งผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร ตับ และไต วันนี้มีสาระข้อมูลเกี่ยวกับโรคไมเกรนมาฝาก มาดูกันการแก้ไมเกรน แบบไม่ต้องพึ่งยา ทำอย่างไรบ้าง

แต่ก่อนอื่นมารู้จักกับ ไมเกรน (Migraine) กันก่อน "ไมเกรน" คืออาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพหรือสาเหตุในโพรงกะโหลกศีรษะ (primary headache) เกิดจากมีการหลั่งสารสื่อประสาทที่จะนำไปสู่ขบวนการอักเสบ (proinflammatory peptides) ที่ปมประสาทของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (trigeminal ganglion) ทำให้เกิดการอักเสบปราศจากเชื้อโรคที่เยื่อหุ้มสมอง (sterile meningeal inflammation) ไมเกรนมักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ โดยมีตัวกระตุ้น เช่น แสง เสียง กลิ่น ควัน อากาศร้อนและอบอ้าว เป็นต้น แม้ว่าจะรักษาไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปวด และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

อาการของไมเกรน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 อาการบอกเหตุล่วงหน้า
ระยะที่ 2 อาการนำ
ระยะที่ 3 อาการปวดศีรษะ
ระยะที่ 4 กลับเข้าสู่สภาวะปกติ

โดยอาการปวดศีรษะในระยะที่ 3 มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

สำหรับความชุกของอาการปวดศีรษะไมเกรน จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า เพศหญิงมีความชุกมากกว่าเพศชายเป็นสัดส่วน 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 และความชุกจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยมีความชุกสูงสุด ที่อายุประมาณ 40 ปี อาการปวดศีรษะไมเกรนสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ อาการปวดศีรษะเป็นครั้งคราว (episodic migraine) โดยมีความถี่อาการปวดศีรษะน้อยกว่า 15 วันต่อเดือน และอาการปวดศีรษะเรื้อรัง (chronic migraine) โดยมีความถี่อาการปวดศีรษะอย่างน้อย 15 วันต่อเดือนเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน

การรักษาไมเกรน มีการรักษาขณะที่มีอาการปวดศีรษะอยู่ 2 วิธี ได้แก่ 1) วิธีที่ไม่ต้องใช้ยา เช่น นอนพัก บีบนวด ประคบเย็น หรือฝังเข็ม แต่ยังไม่เป็นการรักษามาตรฐาน และ 2) วิธีที่ใช้ยา

การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ผู้ป่วยไมเกรนแต่ละรายควรสังเกตปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึ่งมักจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ปัจจัยกระตุ้นเป็นได้ทั้งจากสภาวะแวดล้อม หรืออาหารบางประเภท ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นได้ ก็จะช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะได้ ในกรณีที่ไม่ทราบปัจจัยกระตุ้นหรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ บริหารจัดการความเครียด ก็จะช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะได้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ดังนี้ 1) ภาวะอดนอน นอนดึก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ 2) อาการเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือเล่นกีฬา 3) ความเครียด 4) การอยู่ในที่ที่มีแสงจ้า ๆ 5) สถานที่ที่มีเสียงดังอึกทึก 6) อาหารบางประเภท เช่น เนย ช็อคโกแลต ถั่ว อาหารหมักดอง 7) เครื่องดื่มที่มีแอลอฮอลล์ ได้แก่ ไวน์แดง เบียร์ หรือ แชมเปญ 8) รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือภาวะอดอาหาร

หากยังมีอาการปวดศีรษะถี่ หรืออาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215