ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เผยไวรัสตับอักเสบบีคุกคามคนไทยชี้อันตรายกว่าโรคเอดส์ร้อยเท่า

เริ่มโดย น้าเต่า, 11:44 น. 17 ม.ค 55

น้าเต่า

ทั่วโลกมีผู้เป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกว่า 350 ล้านคน และมีผู้ได้รับเชื้อชนิดนี้กว่า2,000 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยพบว่ามีผู้เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีกว่า 3.5 ล้านคน

รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นภัยคุกคามคนไทยและคนในเอเชียอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่าทั่วโลกมีผู้เป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกว่า 350 ล้านคน และมีผู้ได้รับเชื้อชนิดนี้กว่า2,000 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยพบว่ามีผู้เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีกว่า 3.5 ล้านคน ซึ่งมีสถิติพบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคไวรัสตับอักเสบบีที่ไม่ได้รับการรักษา1 ล้านคนต่อปีส่งผลให้สถิติการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงตามไปด้วยและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันคนไทยยังมองข้ามอันตรายของโรคไวรัสตับอักเสบบี โดยเห็นว่าโรคนี้เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวจึงละเลยในการดูแลรักษา รวมถึงบางรายไม่รู้ตัวเองว่าเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบด้วยซ้ำไป

โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคที่รุนแรงกว่าโรคเอดส์ถึง 100 เท่า เพราะโรคนี้ไม่แสดงอาการและสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ และเมื่อแพทย์ตรวจพบก็มีระยะโรคที่รุนแรงแล้ว เช่น ตับแข็ง ตับวาย มะเร็งตับเป็นต้น ทางสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย   โดยจะต้องมีการป้องกันและดูแลรักษาโรคไวรัสตับอักเสบอย่างถูกต้อง เพราะตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลากหลายประการในการช่วยซักฟอกระบบร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพดีเสมือนเป็นแบตเตอรี่สำหรับผลิตพลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับ ควบคุมสารเคมีและฮอร์โมน และช่วยป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อเป็นสาเหตุของตับอักเสบและนำไปสู่มะเร็งตับประมาณร้อยละ 80 ที่มีอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ทั้งนี้โรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อผ่านคนได้โดยจากการสัมผัสเลือดและน้ำคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อซึ่งการแพร่ของเชื้อชนิดนี้แตกต่างกัน ขึ้นกับพื้นที่ หรือภูมิภาค ในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่เชื้อจะแพร่ทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกันสำหรับในเอเชียและตะวันออกกลาง ส่วนใหญ่เชื้อจะแพร่จากแม่สู่ลูก และระหว่างเด็กๆ ด้วยกัน นอกจากนี้เชื้ออาจจะแพร่โดยการใช้ของมีคม ของใช้ส่วนตัว เช่นแปรงสีฟันร่วมกับกับผู้ติดเชื้อ และการใช้เครื่องมือที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อในการสักผิวหนัง ทั้งนี้มีผลการสำรวจของหลายสถาบันได้พบสถิติว่าผู้ที่เป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับสูงถึง 80%

รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี (HBV) เรื้อรังให้หายขาด แต่มีการรักษา 2 แบบซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้โรคเลวร้ายลงและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งแบบแรกเป็นการรักษาโดยใช้ยาอินเทอเฟอรอนเพื่อช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในการติดเชื้อ และแบบที่สองเป็นการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสซึ่งจะทำงานโดยการรบกวนการเพิ่มจำนวนไวรัส ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณไวรัสในเลือด เป้าหมายการรักษา คือ การลดจำนวนไวรัสในเลือด หรือการรักษาระดับไวรัสให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้

ทางด้าน พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ เลขาธิการมูลนิธิโรคตับ กล่าวว่า  มูลนิธิโรคตับร่วมกับสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ได้จัดโครงการ หยุดไวรัสตับอักเสบบี ต้านภัยมะเร็งตับ...เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา มหาราชา และเพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการดูแลสุขภาพที่ดีรู้จักโรค รู้อาการ รู้อันตรายและรู้วิธีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีที่ถูกต้องเหมาะสม โดยในปี 2555 ได้จัดกิจกรรมตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีฟรี จำนวน 8,400 ราย ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิดเตรียมพร้อมรับมือเมื่อรู้ว่าเป็นพาหะของเชื้อและเป็นการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับที่มาจากไวรัสตับอักเสบบี รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนอย่างต่อเนื่องทั้งปีอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/26411

หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop)

แต่โชคดีที่ hepatitis B สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ครับ  ส.ยกน้ิวให้
คลินิกหมอพิชญานนท์ แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.อ. (สามแยกคลองเรียน อ.หาดใหญ่) แผนที่ https://goo.gl/wp5jbc
โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เก๊าท์ ฉีดยา เจาะเลือด ยาคุม ใบรับรองแพทย์สุขภาพ
กระเพาะ กรดไหลย้อน ผื่นแพ้ ลมพิษ เชื้อรา ซึมเศร้า แพนิค โทร. 080-488-9555 Line@ : @Pitchayanont
Facebook : http://www.facebook.com/pitchayanontclinic Website : http://www.pitchayanont.com