ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

5 วิธีปฏิบัติที่ควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจร่างกาย

เริ่มโดย haileyb, 10:54 น. 11 มี.ค 62

haileyb

นอกจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการเลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่จะช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันได้แก่การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพราะถึงแม้ภายนอกเราจะดูแข็งแรงและไม่มีอาการใดๆ แต่หารู้ไหมว่าภายในร่างกายอาจมีความผิดปกติที่กำลังก่อตัวขึ้น อย่างไรก็ตามการตรวจสุขภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำไม่สามารถทำได้ในทันทีที่ต้องการ เนื่องจากผู้เข้ารับการตรวจร่างกายจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องเสียก่อนจึงสามารถเข้ารับการตรวจได้ ว่าแต่ขั้นตอนที่พูดถึงนี้มีอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันได้เลย


งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด
เพื่อให้ผลการตรวจเลือดออกมาถูกต้อง ผู้เข้ารับการตรวจร่างกายควรงดอาหารและเครื่องดื่มยกเว้นการจิบน้ำเปล่าเพียงเล็กน้อย  8-12 ชั่วโมง โดยสาเหตุที่ต้องงดอาหารก่อนการตรวจเป็นเพราะว่าในอาหารมีส่วนผสมของน้ำตาลและไขมัน ที่มีส่วนทำให้ผลลัพธ์ออกมาคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ผู้เข้ารับการตรวจร่างกายยังควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าที่เป็นจริง ส่วนข้อควรปฏิบัติหลังการเจาะเลือดได้แก่ หลีกเลี่ยงการนวดหรือคลึงบริเวณที่เจาะเพราะอาจทำให้เส้นเลือดภายในแตกได้

พักผ่อนให้เพียงพอ
ผู้เข้ารับการตรวจร่างกายควรนอน 6 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ เพราะการนอนน้อยสามารถส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ  และอุณหภูมิของร่างกาย จนทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่

สุภาพสตรีควรตรวจร่างกายหลังหมดประจำเดือน 7 วัน
หากสุภาพสตรีท่านใดพึ่งพ้นจากการมีประจำเดือนได้ 1-7 วัน ยังไม่ควรเข้ารับการตรวจร่างกายในทันที เนื่องจากในระยะนี้ยังคงมีเลือดตกค้างอยู่ภายในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้ผลการตรวจปัสสาวะคลาดเคลื่อนได้ นอกเหนือไปจากการตรวจปัสสาวะแล้ว ผู้ที่กำลังเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์ (Mammogram) ก็เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน

หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
สำหรับใครที่มีโรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรชี้แจงให้แพทย์ทราบก่อนการตรวจร่างกาย นอกจากนี้อาจจะต้องนำผลการตรวจ รายงานด้านการแพทย์หรือประวัติสุขภาพมายื่นประกอบด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกขั้นตอนการวินิจฉัยให้กับแพทย์

ไม่ควรเอกซเรย์เมื่อกำลังตั้งครรภ์
สำหรับใครที่กำลังตั้งครรภ์หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ ยังไม่ควรตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ เพราหากร่างกายได้รับแสงรังสีในปริมาณที่มากกว่า 100 mGy จะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อลูกน้อยในท้อง เช่น การแท้งบุตร เด็กในครรภ์เติบโตช้า ศีรษะเล็กกว่าปกติ และอวัยวะพิการตั้งแต่กำเนิด

เพราะสุขภาพหาซื้อไม่ได้ดังนั้นเราควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอผ่านการออกกำลังกายและรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนี้การหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปียังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราสามารถตรวจพบความผิดปกติที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือหากตรวจพบก็สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้เราสามารถกลับมามีสุขภาพแข็งแรงได้ครั้งหนึ่ง