ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สุดท้าย...เราจะหวังพึ่งสิ่งใดในเป้าหมายแห่งชีวิตของชาวพุทธ..

เริ่มโดย คุณหลวง, 11:02 น. 09 ก.พ 55

คุณหลวง

อ้างถึงเพราะเริ่มไม่มั่นใจว่า พุทธศาสนาที่ว่าจะดำรงเพียง 5 พันปีนั้น...บัดนี้ก้าวล่วงเพียงมัชฉิมกาลเพียงไม่นาน ก็มีสัญญานอันไม่พึงไว้ใจขึ้นมากมาย...

สุดท้าย...เราจะหวังพึ่งสิ่งใดในเป้าหมายแห่งชีวิตของชาวพุทธ.......

    คัดลอกมาจากการตอบกระทู้ของท่านมิตรอันดียิ่ง Mr.No โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าท่านไม่ได้ท้อแท้ขนาดที่ท่านว่าหรอก แต่ในบางอารมณ์เท่านั้น

    ที่จริง ก็ไำม่ได้อยากทำลายความเชื่อของใครเลย ดังนั้น การอรรถาคราวนี้ก็จะเป็นเพียงชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมแสดงข้อคิดเห็นประกอบเท่านั้น

    ในข้อที่ว่า พระพุทธศาสนามีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปีนั้น เป็นความเชื่อของคนไทยมายาวนา่น แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นความเชื่อของชาวพุทธชาติอื่นด้วยหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีมาในอรรถกถาชั้นหลัง มิได้เป็นพุทธพจน์ ไม่ได้มีมาในพระไตรปิฎก เป็นเพียงการตีความของพระอรรถกถาจารย์เท่านั้น และเป็นสิ่งที่น่าแปลกมากที่พระสงฆ์ไทยชอบสอนคำสอนที่มาจากอรรถกถามากกว่าพระไตรปิฎก

    ซึ่งมันต้องทำความเข้าใจว่า ผู้ที่มาตีความครั้งหลังๆนั้น อาจมิใช่พระอรหันต์หรือผู้รู้จริงทั้งหมด ควรสอบสวนอย่างละเอียด อย่างเรื่องพระพุทธศาสนามีอายุ ๕,๐๐๐ ปีนี้ มาจากการที่พระอรรถกถาจารย์ท่านตีความจากพุทธประวัติตอนที่พระองค์อนุญาตให้มีการบวชภิกษุณี หลังจากที่พระอานนท์อ้อนวอนขอด้วยเหตุผลอันควรแล้วนั้น พระิองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การอนุญาตให้สตรีบวชได้นั้นจะทำให้อายุพระศาสนาสั้นลง ดุจตระกูลใดที่มีสตรีมากบุรุษน้อย ตระกูลนั้นย่อมมีอายุสั้นลง ดุจนาที่มีเพลี้ยลงย่อมทำให้นาเสียหายมาก และตรัสตัวอย่างว่า

    "หากพระศาสนามีอายุ ๑,๐๐๐ ปี เมื่ออนุญาตให้สตรีบวชก็จะมีอายุเพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น" แล้วทรงวางกฏที่เข้มงวดต่อผู้ที่มาบวชเป็นภิกษุณี จึงทำให้ภิกษุณีหมดไปในระยะเวลาที่รวดเร็ว

    (พอมาถึงตอนนี้ สตรีบางท่านว่าพระพุทธเจ้ากดขี่สิทธิสตรีเสียอีก แต่สตรีบางท่านก็เข้าใจเหตุผลของะพุทธองค์ได้ ด้วยยอมรับความแตกต่างระหว่างเพศ ซึ่งอาจจะต้องคุยกันในภายต่อไป)

    ด้วยถ้อยพุทธวาจาเพียงเท่านี้ ที่พระอรรถกถาเอามาร้อยเรียง แจกแจง ออกมาว่า พระพุทธศาสนามีอายุ ๕,๐๐๐ ปี โดยช่วง ๐-๕๐๐ ปีนั้น ยังมีพระอรหันต์ที่พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา วิชชา (และสมบูรณ์แบบน่ะครับ) หลังจากนั้นก็ลดหลั่นระดับลงมา กลายเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสโก เหลือแต่อนาคามี สกิทาคามี โสดาบัน.....จนกระทั่งเหลือแต่สัญลักษณ์ผ้าเหลืองห้อยหูหรือผูกข้อมือเป็นสัญลักษณ์(ระดับสูงสุดที่มีได้ขณะนั้นๆ) และสูญสิ้นเมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี

    แต่พระพุทธพจน์ที่จะทรงตรัสว่าพระศาสนามีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปีนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีมาจากพระไตรปิฎกไม่ว่าฉบับใดก็ตาม(ขออภัยที่จำชื่ออรรถกถาเล่มนั้นไม่ได้ แต่สามารถหาข้อมูลได้จาก มิลินทปัญหา ข้อที่ว่าด้วยอายุพระศาสนา) สิ่งที่พอจะอนุมานได้ว่าพระพุทธองค์กล่าวถึงอายุพระศาสนานั้นมีเพียงประโยคเดียวว่า

    "สุภัททะ!ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มี สมณะที่ ๑ คือโสดาบัน สมณะที่ ๒ คือสกทาคามี สมณะที่ ๓ คืออนาคามี สมณะที่ ๔ คืออรหันต์
    สุภัททะ! ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์ ๘ จึงมีสมณะ ที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๓, ที่ ๔ สุภัททะ! ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจาก พระอรหันต์ทั้งหลายแล"

(อ้างจาก มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที.๑๐/๑๗๕/๑๓๘ ตรัสแก่สุภัททปริพพาชก)

    ประโยคเดียวนี้ ก็มิใช่จะเป็นการพยากรณ์อายุพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด แต่ตรัสว่า หากยังมีภิกษุที่เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์เท่านั้น และเป็นการยืนยันว่าการปฏิบัติจนมีผลแก่ใจเท่านั้นจึงจะเรียกได้ว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

    มาถึงตอนนี้ ผมก็เริ่มจะไม่เข้าใจตัวเองว่าพูดเรื่องนี้ทำไม แต่เพียงรู้สึกว่า ชาวพุทธเรามักเอาใจไปผูกกับอะไรที่มันไม่มีสาระมากไปหรือไม่ อย่างเรื่องอายุพระศาสนาก็ถือเป็นจริงจัง จนเกิดความทุกข์ใจกันว่า แค่กึ่งหนึ่งยังย่ำแย่ขนาดนี้ แล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร

    ผมเข้าใจถึงความเป็นห่วง ความรักที่เกิดจากศรัทธา แต่มันจะมีประโยชน์อันใด พระพุทธศาสนานั้น เป็นศาสตร์แห่งการรู้จักตนเอง พระธรรมนี้เป็นความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง เป็นปัจเจกและเป็นสาธารณะไปในขณะเดียวกัน เรามิอาจทำสิ่งใดๆเหมือนกันทั้งสิ้น แต่เราสามารถสร้างผลสะท้อนจากการกระทำของเรา และการกระทำของเรา (แม้เป็นเรื่องส่วนตัวในที่ลับ)ก็ส่งผลถึงสรรพสิ่งในด้านหนึ่งจนได้

    ซึ่งเรื่องนี้ ต้องอธิบายมาถึงว่า จิตของเราเป็นกระแสพลังงาน เมื่อจิตของเรามีการกระทำก็จะส่งคลื่นนั้นออกมา และส่งผลไปยังสิ่งอื่นได้ เคย สังเกตุไหมว่า ทำไมเด็กเล็กๆจึงไม่กล้าเข้าใกล้คนที่เครียดหนัก หรือ มีความระแวงต่อคนที่มีอาการอย่างนั้น เพราะเขาสัมผัสความกดดันนั้นได้ เคยสังเกตุไหมว่า ทำไมบางคนเข้าใกล้วิทยุแล้วสัญญาณแทรกทันที ขณะที่บางคนกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น บางคนกลับทำให้สัญญาณชัดขึ้นด้วยซ้ำ

    อย่างเวลาที่เราเข้าไปในสถานที่ที่มีแต่คนเครียดๆเราจะรู้สึกถึงความกดดันนั้นไปด้วย นั่นเพราะกระแสจิตของเราสัมผัสกับกระแสแห่งความเครียดนั้นนั่นเอง นอกจากส่งผลกระทบกับคนด้วยกันแล้ว แม้สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งอื่นก็สามารถได้รับผลกระทบเช่นกัน กระแสแห่งความสุขส่งผลให้ต้นไม้งอกงามเร็วขึ้น กระแสความสงบทำให้น้ำเกิดความแตกต่าง

    อย่างการทดลองของชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่เขานำน้ำมาจากแหล่งต่างๆมาทำให้ตกผลึก ปรากฏว่าน้ำที่มาจากการสวดมนต์(น้ำมนต์)มีผลึกที่งดงามที่สุด และเมื่อเอาน้ำจากที่เดียวกันมากระทำต่างกัน ส่วนหนึ่งด่้าทอด้วยคำหยาบให้ฟังเป็นระยะเวลาหนึ่ง อีกส่วนสวดมนต์และพูดเพราะๆให้(น้ำ)ฟังในระยะเวลาเท่ากัน แล้วนำมาทำให้เกิดผลึก ปรากฏว่าน้ำส่วนแรกเกิดผลึกที่ไม่สวย ไร้ระเบียบ ส่วนที่สองเป็นผลึกสวยงาม มีระเบียบ

    อย่าแปลกใจ หากวันหนึ่งอาหารสูตรเดียวกันที่ภรรยาทำให้กินด้วยอารมณ์ขุ่นมัว เกลียดโกรธคุณจะไม่อร่อยเท่าวันที่เธอทำให้ด้วยอารมณ์แห่งความรักและหวังดี

    ท่านพุทธทาสกล่าวแก่ศิษย์ของท่านคนหนึ่งว่า "คุณไม่ต้องหวังจะทำประโยชน์โลกให้มากๆหรอก แค่คุณมีความสงบใจ ก็เท่ากับคุณสร้างประโยชน์แก่โลกมากแล้ว"

    เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระแสจิตนั่นเอง เลยไม่น่าแปลกใจว่าทำไใมพระพุทธองค์กล่าวว่า บ้านเมืองใดที่มีผู้ปกครองไร้คุณธรรม จะทำให้ฟ้าฝนผิดฤดู เกิดภัยธรรมชาติมาก เพราะกระแสจิตแห่งความฉ้อฉล ทุกข์ทนของคนทั้งบ้านเมืองมันมีผลต่อกระแสธรรมชาติ เมื่อกระแสผิดเพี้ยนไป ปรากฏการณ์ต่างๆก็ผิดเพี้ยนตาม เรื่องนี้ ฟังดูเหมือนเพ้อเจ้อนะครับ เมื่อก่อนผมเองก็พาลว่าพระพุทธองค์ตรัสอะไรของท่านกันนะ เป็นไปไม่ได้

    แต่เมื่อศึกษาเรื่องจิตมากขึ้น ก็เห็นสิ่งเหล่านั้นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ต่อสิ่งที่ท่านกล่าวว่า สุดท้าย...เราจะหวังพึ่งสิ่งใดในเป้าหมายแห่งชีวิตของชาวพุทธ.. นั้น

    ก็หวังว่าท่านจะไม่คิดเปลี่ยนโลกเปลี่ยนคน ไม่ท้อใจ ไม่หวังใจในคนมากว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพียงพัฒนาจิตของตนให้ยิ่งขึ้นไปในความพ้นทุกข์ ซึ่งเท่ากับเป็นการชะลอกระแสแห่งความตกต่ำของโลกได้บ้าง ยิ่งเมื่อเกิดการเผยแผ่(แพร่?)ต่อคนอื่นๆต่อไปก็จะเป็นการเพิ่มแรงชะลอมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าสุดท้ายจะไม่สามารถต้านให้มันกลับมาไหลขึ้นบนได้ แต่ช้าลงได้บ้างก็ยังดี

    จิตและธรรมอันดีเท่านั้นจะเป็นที่พึ่ง การรู้จักจิตและธรรมเท่านั้นจึงเป็นเป้าหมายแห่งชีวิต เราเกิดมาได้พบพระศาสนา พบพระดี(แม้เพียงประวัติ) พบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้มีพระหทัยยิ่งใหญ่ขนาดที่ใส่สรรพสัตว์ลงไปได้นับไม่ถ้วน การเสียสละเพื่อสรรพสัตว์เหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่จิตของท่านตระหนักอย่างยิ่ง แม้ยามพระประชวรอย่างหนักก็ตาม นี่มิใช่สิ่งที่เราควรภาคภูมิใจอย่างยิ่งดอกหรือ? คนไม่รู้กี่พันล้านคน แต่มีกี่คนที่จะได้พานพบมหาบุรุษเช่นนี้

    โลกนี้ไม่มีคำว่าบังเอิญ มันเป็นเหตุปัจจัยเนื่องกันมา การที่เราได้มาพบพระองค์ท่าน ได้เห็นสิ่งที่พระองค์ท่านเป็น นับเป็นวาสนาที่มีต่อกัน และเชื่อเถอะว่า ผู้ที่คิดทำลายพระองค์ท่านจะพ่ายแพ้ภัยตัวเองอย่างราบคาบ เฉกเช่นเทวทัตมิอาจชำนะต่อพระพุทธองค์ได้ สุดท้ายพ่ายแพ้ต่อใจตนในที่สุด

    พระพุทธองค์ไม่ได้หวังว่าทุกคนจะเป็นคนดี เข้าใจ และมุ่งมั่นต่อพระธรรมดอกจึงตัดสินพระืทัยเผยแผ่พระศาสนาและอนุญาตให้มีการบวชสืบมา แต่เพราะรู้ว่ายังมีคนที่สามารถรู้ได้อยู่ต่างหาก(แม้จำนวนน้อยนักก็ตาม)

   


สะบายดี...ในวันกระแสลมเย็นพัดผ่านแดดแผด
๐๙/๐๒/๒๕๕๕/๑๑๐๒


สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

Mr.No

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 11:02 น.  09 ก.พ 55
    คัดลอกมาจากการตอบกระทู้ของท่านมิตรอันดียิ่ง Mr.No โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าท่านไม่ได้ท้อแท้ขนาดที่ท่านว่าหรอก แต่ในบางอารมณ์เท่านั้น

    ที่จริง ก็ไำม่ได้อยากทำลายความเชื่อของใครเลย ดังนั้น การอรรถาคราวนี้ก็จะเป็นเพียงชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมแสดงข้อคิดเห็นประกอบเท่านั้น

    ในข้อที่ว่า พระพุทธศาสนามีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปีนั้น เป็นความเชื่อของคนไทยมายาวนา่น แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นความเชื่อของชาวพุทธชาติอื่นด้วยหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีมาในอรรถกถาชั้นหลัง มิได้เป็นพุทธพจน์ ไม่ได้มีมาในพระไตรปิฎก เป็นเพียงการตีความของพระอรรถกถาจารย์เท่านั้น และเป็นสิ่งที่น่าแปลกมากที่พระสงฆ์ไทยชอบสอนคำสอนที่มาจากอรรถกถามากกว่าพระไตรปิฎก

    ซึ่งมันต้องทำความเข้าใจว่า ผู้ที่มาตีความครั้งหลังๆนั้น อาจมิใช่พระอรหันต์หรือผู้รู้จริงทั้งหมด ควรสอบสวนอย่างละเอียด อย่างเรื่องพระพุทธศาสนามีอายุ ๕,๐๐๐ ปีนี้ มาจากการที่พระอรรถกถาจารย์ท่านตีความจากพุทธประวัติตอนที่พระองค์อนุญาตให้มีการบวชภิกษุณี หลังจากที่พระอานนท์อ้อนวอนขอด้วยเหตุผลอันควรแล้วนั้น พระิองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การอนุญาตให้สตรีบวชได้นั้นจะทำให้อายุพระศาสนาสั้นลง ดุจตระกูลใดที่มีสตรีมากบุรุษน้อย ตระกูลนั้นย่อมมีอายุสั้นลง ดุจนาที่มีเพลี้ยลงย่อมทำให้นาเสียหายมาก และตรัสตัวอย่างว่า

    "หากพระศาสนามีอายุ ๑,๐๐๐ ปี เมื่ออนุญาตให้สตรีบวชก็จะมีอายุเพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น" แล้วทรงวางกฏที่เข้มงวดต่อผู้ที่มาบวชเป็นภิกษุณี จึงทำให้ภิกษุณีหมดไปในระยะเวลาที่รวดเร็ว

    (พอมาถึงตอนนี้ สตรีบางท่านว่าพระพุทธเจ้ากดขี่สิทธิสตรีเสียอีก แต่สตรีบางท่านก็เข้าใจเหตุผลของะพุทธองค์ได้ ด้วยยอมรับความแตกต่างระหว่างเพศ ซึ่งอาจจะต้องคุยกันในภายต่อไป)

    ด้วยถ้อยพุทธวาจาเพียงเท่านี้ ที่พระอรรถกถาเอามาร้อยเรียง แจกแจง ออกมาว่า พระพุทธศาสนามีอายุ ๕,๐๐๐ ปี โดยช่วง ๐-๕๐๐ ปีนั้น ยังมีพระอรหันต์ที่พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา วิชชา (และสมบูรณ์แบบน่ะครับ) หลังจากนั้นก็ลดหลั่นระดับลงมา กลายเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสโก เหลือแต่อนาคามี สกิทาคามี โสดาบัน.....จนกระทั่งเหลือแต่สัญลักษณ์ผ้าเหลืองห้อยหูหรือผูกข้อมือเป็นสัญลักษณ์(ระดับสูงสุดที่มีได้ขณะนั้นๆ) และสูญสิ้นเมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี

    แต่พระพุทธพจน์ที่จะทรงตรัสว่าพระศาสนามีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปีนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีมาจากพระไตรปิฎกไม่ว่าฉบับใดก็ตาม(ขออภัยที่จำชื่ออรรถกถาเล่มนั้นไม่ได้ แต่สามารถหาข้อมูลได้จาก มิลินทปัญหา ข้อที่ว่าด้วยอายุพระศาสนา) สิ่งที่พอจะอนุมานได้ว่าพระพุทธองค์กล่าวถึงอายุพระศาสนานั้นมีเพียงประโยคเดียวว่า

    "สุภัททะ!ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มี สมณะที่ ๑ คือโสดาบัน สมณะที่ ๒ คือสกทาคามี สมณะที่ ๓ คืออนาคามี สมณะที่ ๔ คืออรหันต์
    สุภัททะ! ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์ ๘ จึงมีสมณะ ที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๓, ที่ ๔ สุภัททะ! ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจาก พระอรหันต์ทั้งหลายแล"

(อ้างจาก มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที.๑๐/๑๗๕/๑๓๘ ตรัสแก่สุภัททปริพพาชก)

    ประโยคเดียวนี้ ก็มิใช่จะเป็นการพยากรณ์อายุพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด แต่ตรัสว่า หากยังมีภิกษุที่เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์เท่านั้น และเป็นการยืนยันว่าการปฏิบัติจนมีผลแก่ใจเท่านั้นจึงจะเรียกได้ว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

    มาถึงตอนนี้ ผมก็เริ่มจะไม่เข้าใจตัวเองว่าพูดเรื่องนี้ทำไม แต่เพียงรู้สึกว่า ชาวพุทธเรามักเอาใจไปผูกกับอะไรที่มันไม่มีสาระมากไปหรือไม่ อย่างเรื่องอายุพระศาสนาก็ถือเป็นจริงจัง จนเกิดความทุกข์ใจกันว่า แค่กึ่งหนึ่งยังย่ำแย่ขนาดนี้ แล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร

    ผมเข้าใจถึงความเป็นห่วง ความรักที่เกิดจากศรัทธา แต่มันจะมีประโยชน์อันใด พระพุทธศาสนานั้น เป็นศาสตร์แห่งการรู้จักตนเอง พระธรรมนี้เป็นความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง เป็นปัจเจกและเป็นสาธารณะไปในขณะเดียวกัน เรามิอาจทำสิ่งใดๆเหมือนกันทั้งสิ้น แต่เราสามารถสร้างผลสะท้อนจากการกระทำของเรา และการกระทำของเรา (แม้เป็นเรื่องส่วนตัวในที่ลับ)ก็ส่งผลถึงสรรพสิ่งในด้านหนึ่งจนได้

    ซึ่งเรื่องนี้ ต้องอธิบายมาถึงว่า จิตของเราเป็นกระแสพลังงาน เมื่อจิตของเรามีการกระทำก็จะส่งคลื่นนั้นออกมา และส่งผลไปยังสิ่งอื่นได้ เคย สังเกตุไหมว่า ทำไมเด็กเล็กๆจึงไม่กล้าเข้าใกล้คนที่เครียดหนัก หรือ มีความระแวงต่อคนที่มีอาการอย่างนั้น เพราะเขาสัมผัสความกดดันนั้นได้ เคยสังเกตุไหมว่า ทำไมบางคนเข้าใกล้วิทยุแล้วสัญญาณแทรกทันที ขณะที่บางคนกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น บางคนกลับทำให้สัญญาณชัดขึ้นด้วยซ้ำ

    อย่างเวลาที่เราเข้าไปในสถานที่ที่มีแต่คนเครียดๆเราจะรู้สึกถึงความกดดันนั้นไปด้วย นั่นเพราะกระแสจิตของเราสัมผัสกับกระแสแห่งความเครียดนั้นนั่นเอง นอกจากส่งผลกระทบกับคนด้วยกันแล้ว แม้สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งอื่นก็สามารถได้รับผลกระทบเช่นกัน กระแสแห่งความสุขส่งผลให้ต้นไม้งอกงามเร็วขึ้น กระแสความสงบทำให้น้ำเกิดความแตกต่าง

    อย่างการทดลองของชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่เขานำน้ำมาจากแหล่งต่างๆมาทำให้ตกผลึก ปรากฏว่าน้ำที่มาจากการสวดมนต์(น้ำมนต์)มีผลึกที่งดงามที่สุด และเมื่อเอาน้ำจากที่เดียวกันมากระทำต่างกัน ส่วนหนึ่งด่้าทอด้วยคำหยาบให้ฟังเป็นระยะเวลาหนึ่ง อีกส่วนสวดมนต์และพูดเพราะๆให้(น้ำ)ฟังในระยะเวลาเท่ากัน แล้วนำมาทำให้เกิดผลึก ปรากฏว่าน้ำส่วนแรกเกิดผลึกที่ไม่สวย ไร้ระเบียบ ส่วนที่สองเป็นผลึกสวยงาม มีระเบียบ

    อย่าแปลกใจ หากวันหนึ่งอาหารสูตรเดียวกันที่ภรรยาทำให้กินด้วยอารมณ์ขุ่นมัว เกลียดโกรธคุณจะไม่อร่อยเท่าวันที่เธอทำให้ด้วยอารมณ์แห่งความรักและหวังดี

    ท่านพุทธทาสกล่าวแก่ศิษย์ของท่านคนหนึ่งว่า "คุณไม่ต้องหวังจะทำประโยชน์โลกให้มากๆหรอก แค่คุณมีความสงบใจ ก็เท่ากับคุณสร้างประโยชน์แก่โลกมากแล้ว"

    เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระแสจิตนั่นเอง เลยไม่น่าแปลกใจว่าทำไใมพระพุทธองค์กล่าวว่า บ้านเมืองใดที่มีผู้ปกครองไร้คุณธรรม จะทำให้ฟ้าฝนผิดฤดู เกิดภัยธรรมชาติมาก เพราะกระแสจิตแห่งความฉ้อฉล ทุกข์ทนของคนทั้งบ้านเมืองมันมีผลต่อกระแสธรรมชาติ เมื่อกระแสผิดเพี้ยนไป ปรากฏการณ์ต่างๆก็ผิดเพี้ยนตาม เรื่องนี้ ฟังดูเหมือนเพ้อเจ้อนะครับ เมื่อก่อนผมเองก็พาลว่าพระพุทธองค์ตรัสอะไรของท่านกันนะ เป็นไปไม่ได้

    แต่เมื่อศึกษาเรื่องจิตมากขึ้น ก็เห็นสิ่งเหล่านั้นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ต่อสิ่งที่ท่านกล่าวว่า สุดท้าย...เราจะหวังพึ่งสิ่งใดในเป้าหมายแห่งชีวิตของชาวพุทธ.. นั้น

    ก็หวังว่าท่านจะไม่คิดเปลี่ยนโลกเปลี่ยนคน ไม่ท้อใจ ไม่หวังใจในคนมากว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพียงพัฒนาจิตของตนให้ยิ่งขึ้นไปในความพ้นทุกข์ ซึ่งเท่ากับเป็นการชะลอกระแสแห่งความตกต่ำของโลกได้บ้าง ยิ่งเมื่อเกิดการเผยแผ่(แพร่?)ต่อคนอื่นๆต่อไปก็จะเป็นการเพิ่มแรงชะลอมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าสุดท้ายจะไม่สามารถต้านให้มันกลับมาไหลขึ้นบนได้ แต่ช้าลงได้บ้างก็ยังดี

    จิตและธรรมอันดีเท่านั้นจะเป็นที่พึ่ง การรู้จักจิตและธรรมเท่านั้นจึงเป็นเป้าหมายแห่งชีวิต เราเกิดมาได้พบพระศาสนา พบพระดี(แม้เพียงประวัติ) พบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้มีพระหทัยยิ่งใหญ่ขนาดที่ใส่สรรพสัตว์ลงไปได้นับไม่ถ้วน การเสียสละเพื่อสรรพสัตว์เหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่จิตของท่านตระหนักอย่างยิ่ง แม้ยามพระประชวรอย่างหนักก็ตาม นี่มิใช่สิ่งที่เราควรภาคภูมิใจอย่างยิ่งดอกหรือ? คนไม่รู้กี่พันล้านคน แต่มีกี่คนที่จะได้พานพบมหาบุรุษเช่นนี้

    โลกนี้ไม่มีคำว่าบังเอิญ มันเป็นเหตุปัจจัยเนื่องกันมา การที่เราได้มาพบพระองค์ท่าน ได้เห็นสิ่งที่พระองค์ท่านเป็น นับเป็นวาสนาที่มีต่อกัน และเชื่อเถอะว่า ผู้ที่คิดทำลายพระองค์ท่านจะพ่ายแพ้ภัยตัวเองอย่างราบคาบ เฉกเช่นเทวทัตมิอาจชำนะต่อพระพุทธองค์ได้ สุดท้ายพ่ายแพ้ต่อใจตนในที่สุด

    พระพุทธองค์ไม่ได้หวังว่าทุกคนจะเป็นคนดี เข้าใจ และมุ่งมั่นต่อพระธรรมดอกจึงตัดสินพระืทัยเผยแผ่พระศาสนาและอนุญาตให้มีการบวชสืบมา แต่เพราะรู้ว่ายังมีคนที่สามารถรู้ได้อยู่ต่างหาก(แม้จำนวนน้อยนักก็ตาม)

   


สะบายดี...ในวันกระแสลมเย็นพัดผ่านแดดแผด
๐๙/๐๒/๒๕๕๕/๑๑๐๒



อรุณสวัสดิ์ขอรับ.. ท่านคุณหลวง

วันนี้ ผมตื่นเช้าเป็นพิเศษ เห็นกระทู้นี้ก็เลยต้องแวะเข้ามาขอบพระคุณที่นำเอา บางถ้อยความที่เคยรำพึงในทำนองท้อแท้ มาเป็นหัวข้อเสวนาธรรม....

จะว่าไปจริงๆ ก็เป็นเพราะอารมณ์นั่นละขอรับ... บางครั้งมันก็นำพาไปให้รู้สึกว้าเหว่ และรู้สึกประหนึ่งว่า พวกเรากำลังปล่อยให้ศาสนากลายเป็นเครื่องมือ...กลายเป็นเรื่องของกู แบบกู วัดกู,อารามกู และพระไตรปิฏกแบบของตูไปเสียแล้ว

ในที่สุด ความผิดเพี้ยนในการเข้าถึงเป้าหมายสำคัญอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงวางไว้ ก็จะเริ่มกลายเป็นคดเลี้ยว เลี้ยวไปมา จนหาเป้าสุดท้ายไม่ได้กลายเป็นเขาวงกตแห่งความหลงไปในที่สุด

เพราะนับวันแก่นแห่งธรรมมันดูเล็กลง ...และเปลือกแห่งธรรมอันไร้สาระ ยิ่งพอกพูนหนาเตอะ

สิ่งที่จะเราอาจพบน้อยลงในอนาคตกาลอันใกล้ก็คือ พระอริยสงฆ์จะกลายเป็นเพียงวัตถุมงคลบนแผงเช่า, แต่ตัวตนคนจริง ๆ จะน้อยลง ๆ จนเหลือแค่ สมมุติสงฆ์ที่ยังหลงว่าตน..ว่าเจ้าตูนี่ละใช่

เรื่องพุทธทำนายเรื่องศาสนานั้น จะจริงเท็จหรือเป็นเพียงอรรถกถาที่ครูบา ท่านบรรจงร้อยเรียงรจนาไว้ในพระไตรปิฏก
หรือแห่งใดนั้น ผมไม่ทราบในเบื้องลึกอย่างแท้จริง..

ทว่า..ถ้าจะเป็นจริง ก็นับว่า เป็นโศลกธรรมอันสำคัญที่สะท้อนถึง แก่นธรรมที่ว่าด้วยกฎแห่งความไม่เที่ยง ...

เพราะแม้แต่ ธรรมะของพระองค์เอง ท่านก็ยังทรงกล่าวว่า .."สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ".
.แม้แต่ตัวธรรมะของท่านเองหนีไม่พ้นกฎของไตรลักษณ์ คือมันไม่มีความแน่นอน...สุดท้ายมันก็ไม่มีตัวตน

ประสาอะไรกับศาสนาพุทธเอง...ก็ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกฎไตรลักษณ์ว่าด้วย ความไม่เที่ยง เช่นกัน.....

เพราะเริ่มเข้าใจ...จึงรู้แจ้งว่า ทุกสรรพสิ่งมันล้วน  เกิด ๆ  ดับ ๆ (รวมทั้งจิต)
ดังนั้น...เมื่อมันเกิด..มันก็จะดับ..และก็เกิด..แล้วก็ดับ สลับกันเป็นวัฎฎะ
ดังนั้น.... มันจึงเป็นเรื่องของ กฎธรรมชาติ ...ธรรมดา

ผมยังเคยนึกขำตัวเอง...ที่ดันมาเข้าใจธรรมะว่าด้วยกฎไตรลักษณ์และการเวียนว่ายตายเกิด.... จากปากกาเล่มเดียว 

วันหนึ่งที่ผมลองวาดวงกลม ลงบนกระดาษ...แล้วลองเอาปลายปากกาไล่ไปตามเส้นวงกลม..มันก็บรรจบกัน...เออ มันเป็นวงกลม สุดท้ายมันก็เวียนมาบรรจบ??

ผมลองเขียนเส้นตรงยาวเกือบคืบ เพื่อจะปฎิเสธว่าทุกสรรพสิ่ง มันไม่ใช่กฎของการเวียนว่าย...
นั่น..เห็นไหม เส้นตรงมันไม่ได้มาบรรจบแบบวงกลมสักหน่อย....

นั่งหัวร่อได้แป๊บ..เมื่อสติมา ก็ลองหาแว่นขยายมาส่องเส้นตรงเล็ก ๆ ...
สิ่งที่เห็นคือ เส้นตรงเส้นนั้นกลายเป็นสี่เหลี่ยมใหญ่ และถ้าลองไล่ขอบเส้นนั่น สุดท้าย เส้นตรง กลายเป็น สี่เหลี่ยมที่เส้นรอบก็วิ่งมาบรรจบกันอยู่ดี!!

เอนกายลงนอน...เงยหน้ามองเพดาน.. มันก็เป็นสี่เหลี่ยมมีเส้นรอบมาบรรจบ, หลอดไฟจะกลม,จะเหลี่ยม เมื่อลองลากเส้นรอบนอกมันก็วนมาเจอกันอยู่ดี, จอคอมฯ ก็มีเส้นรอบมาบรรจบ, แก้วน้ำ กระถางดอกไม้ ต้นไม้ ฯลฯ สารพันล้วนเป็นเช่นนี้จริง ๆ

ถ้าเขียนมากกว่านี้...คุณหลวงอาจเริ่มแคลงใจว่า ผมอาจเริ่มแปลก ๆ เพี้ยน ๆ หรือไม่...หรือว่างมากหรือที่เอาเวลามานั่งคิดเรื่องเหล่านี้....อันนี้ ผมเองก็ยังไม่กล้าฟันธงตัวเอง....ฮา

สรุปว่า...สิ่งที่ผมเขียนในบทอ้างอิงที่ท่านคุณหลวงยกมาเสวนานั้น ก็เป็นเพียงอารมณ์ของความห่วงใยพุทธศาสนาในแง่ของชาวพุทธที่จะต้องมีหน้าที่จรรโลงให้ยืนยาวจริง ๆ ..

แต่สำหรับแก่นธรรม แล้วผมไม่เคยท้อแท้ใน ธรรมะแห่งพุทธองค์ เลยแม้แต่น้อย
เพราะนับเป็นแก่นแห่งการเข้าใจชีวิตและเพื่อการดับทุกข์อย่างถาวร อย่างที่ วิทยาศาสตร์เอง ก็อาจกลายเป็นได้แค่เปลือกกระพี้ที่ยังต้องตามหลังกันอีกหลายปีแสง....เท่านั้นละครับ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

คุณหลวง

อ้างถึง
ถ้าเขียนมากกว่านี้...คุณหลวงอาจเริ่มแคลงใจว่า ผมอาจเริ่มแปลก ๆ เพี้ยน ๆ หรือไม่...หรือว่างมากหรือที่เอาเวลามานั่งคิดเรื่องเหล่านี้....อันนี้ ผมเองก็ยังไม่กล้าฟันธงตัวเอง....ฮา

        ถ้าเริ่มเพี้ยนแสดงว่าเริ่มคุยกันได้ นี่คุยกันมานานแสดงว่าเพี้ยนแน่ๆ(ฮากว่า)

    เป็นจังหวะที่แปลกประหลาดดี ที่ใจพี่มา"โพล่ง"เอากับสิ่งใกล้ตัวปานนั้น ธรรมมันจะเกิดกับใจเมื่อเราหมั่นน้อมมาใส่ใจเสมอๆ แม้กับเรื่องประจำวันหากเราน้อมมาใส่ตัวก็ทำให้เราเข้าใจธรรมได้

    อย่าแปลกใจหากท่านเว่ยหล่าง(ฮุ่ยเน้ง)จะ"โพล่ง"ธรรมขณะตัดไม้ไผ่ และอย่าแปลกใจหากการ"โพล่ง"ที่ว่า ยังมิใช่การบรรลุธรรม เพียงเห็นกระแส มิใช่เข้าถึงกระแส อันนี้มิใช่ตัดสินท่านพี่หรือใคร เพียงพบประสบการณ์ครูบาอาจารย์ท่านว่าเท่านั้น

    ความจริงก็รู้สึกอยู่ว่าเรื่องอายุพระศาสนานั้น ผู้คนเค้าอาจมิได้ใส่ใจมากปานคิด แต่บ่อยครั้งรู้สึกว่าคนเค้าท้อแท้ใจแล้วจึงรำพึงเรื่องนี้ออกมา แล้วก็ปล่อยเลยตามเลย แทนที่จะเข้าใจว่าสิ่งนั้นๆจะคงอยู่ได้ดีและนานแค่ไหนอยู่ที่เราร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งนั้นๆมากน้อยปานใด

    กลับมาปล่อยใจเสียว่า มันสมควรแก่อายุแล้วล่ะ หรือท้อแท้ใจเสียว่าเพิ่งมาแค่นี้ยังขนาดนี้ ต่อไปเล่าหนอ แล้วตัวเล็กๆอย่างเราจะทำอะไรได้?

    พระสัทธรรมเป็นของจริง คงอยู่ ปรากฏ เป็นไปในสรรพสิ่งตลอดกาล มิมีเว้นวรรค แต่ศาสนาพุทธเป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่เราสมมติเรียกขึ้นมา แล้วกำหนดเอาสิ่งต่างๆมาประกอบกันเรียกว่าศานาพุทธ มันย่อมไม่ยั่งยืนตลอดกาลนานเทอญ สิ่งสมมติย่อมแปรเปลี่ยนกลับกลายไปตามเหตุปัจจัย


อ้างถึงในที่สุด ความผิดเพี้ยนในการเข้าถึงเป้าหมายสำคัญอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงวางไว้ ก็จะเริ่มกลายเป็นคดเลี้ยว เลี้ยวไปมา จนหาเป้าสุดท้ายไม่ได้กลายเป็นเขาวงกตแห่งความหลงไปในที่สุด

    ผมว่ามีบางส่วนครับ ที่ตั้งใจแล้วหาไม่เจอ แล้วหลง แต่ส่วนใหญ่เข้ามาด้วยหลง ด้วยหวังอาศัยเป็นเครื่องหากิน เป็นเครื่องมือสร้างสิ่งที่ประสงค์ที่ไม่สามารถทำได้จากเพศคฤหัสถ์ อย่างพวกที่เข้ามาหาเงินเลี้ยง(อดีต)เมีย? อย่างคนที่เข้ามาเพื่อเกียรติการยอมรับจากสังคม ฯลฯ

    แต่ในส่วนที่ว่า
อ้างถึงเพราะแม้แต่ ธรรมะของพระองค์เอง ท่านก็ยังทรงกล่าวว่า .."สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ".
.แม้แต่ตัวธรรมะของท่านเองหนีไม่พ้นกฎของไตรลักษณ์ คือมันไม่มีความแน่นอน...สุดท้ายมันก็ไม่มีตัวตน
ภาวะ "อนัตตา"นั้น เป็นภาวะที่เป็นสมบัติของสรรพสิ่ง เป็นคุณสมบัติของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีสิ่งใดที่อาจยึดถือได้ว่าเป็นตัวเป็นตน แต่มิใช่ธรรมะในส่วนที่สมมติเรียกมาว่า "พระนิพพาน" เพราะพระนิพพานนั้น นอกเหตุเหนือผลไปแล้ว ไม่ขึ้นต่อเหตุปัจจัยใดๆทั้งสิ้น ดังที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับภาวะพระนิพพานในตอนหนึ่งว่า

    "อายตนะ  คือ  พระนิพพานนั้นมีอยู่ แต่ในนิพพานนั้น ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีลม ไม่มีไฟ ไม่ใช่อรูปฌาน ๔ (อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ)ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีพระอาทิตย์ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่เป็นไป ไม่มีอารมณ์ แต่ที่มีนั้นคือ ที่สุดแห่งทุกข์"

    ฟังยากสุดๆครับ

    แต่สิ่งที่เรียกว่าศาสนาพุทธนั้น เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังสมมติ รวบรวมเรียกขึ้นมา โดยอิงคำสอนและพระศาสดา พระสาวกเป็นหลัก ก็เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย และสูญสิ้นเป็นอันตรกัปป์(กัปป์ที่ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า)ธรรมดา อย่าคิดมากครับ

    ผมไม่แปลกใจเรื่องเมื่อปฏิบัติธรรมแล้วหลงหรอกครับ ผมเองเคยบรรลุอรหันต์มาแล้ว(ฮา) มันโล่ง โปร่ง สบาย อะไรๆก็รู้ได้โดยไม่ต้องคิดเลย(ตอนนั้น) คิดว่า เฮ้ย อรหันต์แล้วโว้ย เวลาเห็นภิกษุรูปอื่นๆนั่งคุยกันก็จะหันไปมองแล้วคิด

    "เพราะอยู่กันอย่างนี้ไงเล่า เลยไม่เป็นอรหันต์อย่างเรา"

    กว่าจะรู้ตัว พี่เอ๊ย....ความทุกข์มันเกาะเต็มหัวจนเครียดแทบบ้านั่นแหละ จึงฉุกคิดว่าพระอรหันต์ท่านไม่เป็นอย่างนี้แน่ ก็เลยตั้งหลักคิดกันใหม่

    แต่บางท่านไม่โชคดีอย่างผมครับ เพราะไม่ยอมรับว่าตนทุกข์ คิดว่าตัวเองพ้นทุกข์แล้วก็เอาความคิดนั้นแหละมาปิดกั้นตัวเอง กลายเป็นความเลวหมกเม็ดไป ก็น่าเสียดายอยู่

    ค่อยว่ากันใหม่ครับ..........................................................สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

sardius

เดี๋ยวเรียนจบปี 56 คงได้บวชช่วงเดือน กุมภาเป็นต้นไป รอเวลานี้มานานแสนนาน  จะไปหาคำตอบเรื่องนรกและสวรรค์ ได้ยินต่อๆๆๆๆมาอีกทีว่า นั่งสมาธิวันละ6ชั่วโมง ซักวันอาจจะได้พบคำตอบนั้น  = =''

คุณหลวง

อ้างจาก: sardius เมื่อ 02:41 น.  12 ก.พ 55
เดี๋ยวเรียนจบปี 56 คงได้บวชช่วงเดือน กุมภาเป็นต้นไป รอเวลานี้มานานแสนนาน  จะไปหาคำตอบเรื่องนรกและสวรรค์ ได้ยินต่อๆๆๆๆมาอีกทีว่า นั่งสมาธิวันละ6ชั่วโมง ซักวันอาจจะได้พบคำตอบนั้น  = =''

    อนุโมทนาล่วงหน้าครับ ขอความตั้งใจนั้นจงสำเร็จอย่างราบรื่น

   
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ลูกครัย

...



...แก่นแท้ ง่ายๆ



.....หิวก้อกิน ง่วงก้อนอน อยากก้อเอา........ ส.โอ้โห ส.โกรธอย่างแรง

คุณหลวง

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 11:53 น.  12 ก.พ 55
    อนุโมทนาล่วงหน้าครับ ขอความตั้งใจนั้นจงสำเร็จอย่างราบรื่น



    เมื่อวานเขียนไม่จบ ต้องอธิบายต่ออีกนิดว่าการ "อนุโมทนาล่วงหน้าครับ ขอความตั้งใจนั้นจงสำเร็จอย่างราบรื่น"นั้นเป็นแต่เพียงเรื่องการบวชนะครับ

    ส่วนเรื่องค้นหานรก-สวรรค์นั้น หากเป็นการค้นหานรก-สววรค์แบบวัตถุ หรือแบบมิติใดมิติหนึ่งนั้น ผมไม่คัดค้านแต่ก็ไม่เห็นด้วยหรอกครับ จริงอยู่การพบเห็นสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรากลัวบาป ทำดีมีมอรอล(Moral)ได้ระดับหนึ่ง แต่บางทีก็หลงไปกับมันได้ง่าย

    หากคุณค้นหานรก-สวรรค์ที่เกิดจากความหลง-คายความหลง ความโกรธ-คายความโกรธ ความโลภ-คายความโลภไปด้วยก็สนับสนุนอย่างยิ่งครับ เพราะการค้นหาใจจนพบนั้น แม้คุณไม่เห็นนรก-สวรรค์ทางวัตถุ แต่คุณจะหมดสงสัยได้เช่นกัน

    ก็ลองดูครับ สงสัยก็คลายด้วยตน เชื่อผมเลยก็อาจจะไม่ถูกหรอกครับ  ส.อืม

   
อ้างถึง...



...แก่นแท้ ง่ายๆ



.....หิวก้อกิน ง่วงก้อนอน อยากก้อเอา........ ส.โอ้โห ส.โกรธอย่างแรง

    ในส่วนข้อความนี้ของคุณลูกครัยนั้น ผมว่าอารมณ์ขันแกมประชด(บางสิ่งที่เคยพบเจอ)ของคุณนั้นน่ารักดีครับ
เป็นธรรมดาที่เราจะพบคนอวดดีประเภท "วิปัสสนาขี้โกรธ สันโดษขี้ขอ" และพวกเน่าใน

    แต่ก็ยินดีที่คุณเป็นส่วนหนึ่งของการจรรโลงสังคมครับ....สาธุ   ส.มองลอดแว่น
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

wareerant

บางทีคนเรา คิดมากไปมันก็ปวดหัว กลายเป็นคิดซ้ำๆ ซ้อนๆ


เวลามีค่า

คุณหลวง

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 10:53 น.  13 ก.พ 55
บางทีคนเรา คิดมากไปมันก็ปวดหัว กลายเป็นคิดซ้ำๆ ซ้อนๆ


เวลามีค่า

ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

wareerant

อ้างถึง...



...แก่นแท้ ง่ายๆ



.....หิวก้อกิน ง่วงก้อนอน อยากก้อเอา...

นี่คือปรัชญาเซนเลยนะ

คุณหลวง

หิวก็กิน  ง่วงก็นอน

         ในขณะที่ท่านอาจารย์บันเกอิสอนศิษย์อยู่ที่วัดริมมอนนั้น  พระนิกายชินชูองค์หนึ่ง (เป็นนิกายที่ถือว่าการกล่าวนามของพระพุทธเจ้าแห่งความรัก(อมิตตาพุทธะ)อยู่เสมอนั้นจะทำให้ถึงความหลุดพ้นได้)  มีความอิจฉาริษยาที่ท่านอาจารย์บันเกอิมีศิษย์มากมาย  จึงเดินทางมาเพื่อทำการโต้วาทีกับท่านอาจารย์บันเกอิ

         พระนิกายชิชู  ได้เดินทางเข้ามาสู่ที่ประชุมซึ่งอาจารย์บันเกอิกำลังเทศนาสั่งสอนศิษย์อยู่จึงส่งเสียงรบกวนอยู่ไปมา  ท่านอาจารย์ได้หยุดเทศนาและถามถึงการส่งเสียงเช่นนั้น

         พระนิกายชินชูองค์นั้นได้กล่าวขึ้นด้วยท่าทางวางโตว่า

         "นี่แน่อาจารย์บันเกอิ  อาจารย์ผู้ก่อตั้งนิกายของเรานั้นสามารถแสดงอภินิหารได้อย่างมหัศจรรย์  คือ  ตัวท่านยืนชูพู่กันอยู่บนแม่น้ำฝั่งนี้  แล้วให้ลูกศิษย์ชูกระดาษอยู่บนอีกฝั่งหนึ่ง  ท่านสามารถเขียนพระนามอมิตาภาพุทธะในอากาศให้ไปติดบนกระดาษได้  ท่านบันเกอิล่ะ  สามารถทำอะไรที่มหัศจรรย์อย่างนี้ได้ไหม?"

         ท่านอาจารย์บันเกอิตอบอย่างสงบว่า

        "บางทีสุนัขจิ้งจอกของท่านอาจจะสามารถแสดงกลเช่นนั้นได้  แต่นั่นมันไม่ใช่วิธีการของเซน  อภินิหารของฉันมีดังนี้  คือเมื่อฉันรู้สึกหิวฉันก็กิน  และเมื่อง่วงฉันก็นอน" (บางฉบับว่า่ และเมื่อรู้สึกกระหายฉันก็ดื่ม)

    ฉะนี้ คำกล่าวที่ว่า "หิวก็กิน ง่วงก็นอน" จึงกลายเป็นวาทะที่เด่นมากของนิกายเซน การที่คุณลูกครัยกล่าวว่า".....หิวก้อกิน ง่วงก้อนอน อยากก้อเอา..."แล้วผมกล่าวว่านั่นเป็นการกล่าวด้วยอารมณ์ขันแกมประชดนั้น ผมคะเนว่ามาจากสาเหตุ ๒ ประการ

    ๑.อารมณ์ขัน แซวๆกัน
    ๒.ประสบการณ์จากการที่เจอพระที่เลวๆ จึงประชดต่อมาว่า "อยากก้อเอา" ซึ่งคะเนจาก   ส.โอ้โห ส.โกรธอย่างแรง

    ผมจึงประทับใจที่คุณwareerant ว่า "คิดมากไปมันก็ปวดหัว กลายเป็นคิดซ้ำๆ ซ้อนๆ" ซึ่งผมเข้าใจได้ว่าหมายถึงผม เพราะบางทีผมก็คิดมากไปจริงๆ แต่ความที่อยากรู้ว่า เรื่องใดกันแน่ที่คุณพูดถึง ผมก็เลยต้องตอบคำถามนั้นด้วยการยกนิ้วให้

    เซน นั้น ไม่ใช่ของง่ายเลยครับ ประเทศไทยของเรารับเซนเบื้องต้นมาจากการรวบรวมโกอาน และประวัติตอนสำคัญของครูบาอาจารย์ท่านต่างๆในสายเซนมาเผยแพร่ แต่แทบจะไม่มี หรือไม่มีเลยที่ใครจะเอาเซนมาอธิบายตั้งแต่กฏเกณฑ์ภายในวัด ระเบียบ วินัย มีแต่เอาส่วนผลมาเล่าบอกกันเท่านั้น

    และด้วยวาทะแปลกๆของเซน พระเถรวาทบ้านเรา(บางท่าน)จึงกล่าวหาว่าเซนเป็นพวกนอกรีต เดียรถีย์อะไรไปโน่น บางส่วนที่ยอมรับนำมาใช้ นำมาศึกษาก็ใช้ไปในทางที่ผิดก็มาก อย่างการที่เซนกล่าวว่าไม่มีวินัยสำหรับยึดถือ บางท่านถึงกับไม่สนใจพระวินัยไปเลย และตำหนิผู้เคร่งวินัยว่า งมงาย

    ซึ่งผู้เผยแพร่เซนก็ไม่ยอมที่จะนำพระวินัยของเซนมาเผยแพร่ ทั้งๆที่ความจริงแล้ววัดเซนมีความเคร่งครัดในระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก

    การที่นำมาแต่ส่วนผล ซึ่งเป็นบทสนทนาสั้นๆมาเผยแพร่นั้น สำหรับผู้ตีความได้ก็ดีไป แต่ที่ไม่เข้าใจก็ยึดถือไปแบบผิดๆก็มาก ซึ่งความจริงอาจารย์เซนที่ใช้คำพูดนั้นๆมาใช้นั้น ท่านไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ แต่ท่านใช้กับผู้ที่ฝึกตนมาพร้อมแล้วที่จะได้รับการสะกิดให้หลุดพ้นไปได้ หรือสั่งสอนคนที่ยึดถือมากๆเท่านั้น อย่างในเรื่องนี้ท่านอาจารย์บันเกอิใช้เพื่อตักเตือนพวกที่บ้าอิทธิปาฏิหาริย์จนไม่สนใจธรรมแท้เท่านั้น

    การปล่อยวาง กับ การปล่อยปละละเลย นั้นห่างกันเพียงเส้นผมผ่าซีกเท่านั้นครับ ดังนั้น การใช้เรื่องเหล่านี้จะต้องพิจารณากันอย่างละเอียดทีเดียว หากพูดเอาแต่ผล การหลุดพ้นแล้ว พระมาจากไหน นิกายใดก็ไม่ต่างครับ เหมือนกับที่เราอาจไม่เข้าใจประวัติตอนหนึ่งของท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ท่านกล่าวว่า

    "การอาบัติหรือไม่ มันอยู่ที่ว่าใจเรายึดถืออีกหรือไม่เท่านั้น" นั่นหมายถึงว่าใจท่านหลุดพ้นจากสิ่งสมมติเหล่านั้นแล้ว แต่คนที่ยังอยู่ในสมมติ ยังติดสมมติอยู่มาพูดอย่างนี้ก็เป็นแค่คนโง่คนหนึ่งเท่านั้น มิใช่อริยะอย่างหลวงปู่มั่นแน่นอน

    รู้สึกยินดีมากครับ ที่หลายท่านได้เข้ามาร่วมรังสรรค์พื้นที่แห่งนี้ ผมหวังว่าธรรมะจะเบิกบานในใจทุกคน และเผยแพร่เพื่อสันติสุขของโลกต่อไป

   

สะบายดี...ในความรู้สึกขอบคุณยิ่ง
คุณหลวง
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป