ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ม.อ.ชี้ปัจจัยสำคัญทำดินถล่มภาคใต้ แนะวิธีสังเกตพื้นที่เสี่ยง

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 15:54 น. 16 ก.พ 55

ทีมงานบ้านเรา

นักวิจัยธรณีฟิสิกส์ ม.อ. ชี้ปัจจัยสำคัญทำดินถล่มภาคใต้ แนะวิธีสังเกตพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดการสูญเสีย

[attach=1]

นักวิจัยด้านธรณีฟิสิกส์ ม.อ. ระบุหลายปัจจัยเสี่ยงดินถล่มภาคใต้ ทั้งโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีอัตราการผุพังสูง ปริมาณน้ำฝนและระยะเวลาการตกต่อเนื่อง ชี้ให้ความสำคัญกับเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือน การบูรณาการข้อมูลจากหลายฝ่าย รวมทั้งมีแผนแจ้งเตือนและพื้นที่สำหรับอพยพ เพื่อลดการสูญเสีย

รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรภพ ผ่องสุวรรณ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์และนักวิจัยในสถานวิจัยธรณีฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดธรณีพิบัติภัยดินโคลนถล่มและพื้นที่เสี่ยงว่า สาเหตุสำคัญมีอยู่ทั้งปัจจัยด้านสภาพธรณีวิทยา ได้แก่ ชนิดของหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีอัตราการผุพังสูง จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดดินโคลนถล่มได้มาก โดยพื้นที่หินแกรนิตจะมีอัตราเสี่ยงมากที่สุด และโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินที่มีรอยแตกมากและอยู่ในเขตรอยเลื่อนจะมี อัตราการผุพังสูง เช่นเดียวกับชั้นหินที่ถูกแทรกดันด้วยหินอัคนีหรือบริเวณที่มีพุน้ำร้อนและ แหล่งแร่จากสายน้ำแร่ร้อน ด้านสภาพภูมิประเทศ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง (ความชันมากกว่า 30 องศามีโอกาสเกิดดินถล่มได้ง่าย) หรือพื้นที่ที่มีทางน้ำคดเคี้ยวจำนวนมาก และลักษณะภูมิประเทศที่เป็นร่องเขาด้านหน้ารับน้ำฝนและบริเวณที่เป็นหุบเขา กว้างสลับซับซ้อน แต่มีลำน้ำหลักเพียงสายเดียว จะมีโอกาสเกิดดินถล่มได้ง่ายกว่าพื้นที่อื่น

ปัจจัยสำคัญ คือ ด้านปริมาณน้ำฝน การเกิดฝนตกหนักหรือตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน และลักษณะของฝนที่กระจุกตัวในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอย่างปัจจุบัน จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้เร็วขึ้น ดินที่อุ้มน้ำไว้อย่างอิ่มตัวก็เป็นปัจจัยเร่งที่จะทำให้เกิดดินโคลนถล่มได้ และด้านสภาพแวดล้อม พื้นที่เกิดดินถล่มจะอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงชัน ซึ่งส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากมนุษย์ ทั้งการจัดตั้งชุมชนขึ้นใหม่จำนวนมากในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม การปรับพื้นที่สูงชันเพื่อทำการเกษตร การใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การก่อสร้างถนนเข้าสู่ชุมชน การปรับเปลี่ยนความลาดชัน และการรุกพื้นที่ป่า/การจัดสรรพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อทำการเกษตร เพื่อการท่องเที่ยวเป็นผลให้มีประชาชนจำนวนมากเข้ามาอาศัยในพื้นที่ที่มี ความเสี่ยงต่อธรณีพิบัติดินโคลนถล่มเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อเกิดดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงได้ ส่วนของพื้นที่เสี่ยงในแถบภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเขตอำเภอสิชล ขนอม และนบพิตำ และบางส่วนในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพัทลุง "

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรภพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของการแบ่งพื้นที่เสี่ยงเกิดดินถล่มว่า เมื่อปี 2553 กรมทรัพยากรธรณีได้วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่ม เพื่อจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม (Landslide Hazard Map) แบ่งเป็น 3 อันดับ ได้แก่ พื้นที่สีแดงหรือพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มอันดับ 1 เมื่อมีปริมาณฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อ 24 ชั่วโมง พื้นที่สีเหลืองหรือพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มอันดับ 2 เมื่อมีปริมาณฝนมากกว่า 200 มิลลิเมตรต่อ 24 ชั่วโมง และพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มอันดับ 3 เมื่อมีปริมาณฝนมากกว่า 300 มิลลิเมตรต่อ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหน้าดินหนา ขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวและมีความลาดเอียงของพื้นที่มากกว่า 30 องศาประกอบด้วย
     

ท้ายสุด รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรภพ ฝากถึงเรื่องเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ โดยจะต้องบูรณาการข้อมูลจากหลายฝ่าย ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประชาชนในหมู่บ้าน จะต้องช่วยกันแจ้งข่าวสาร สถานการณ์ของพื้นที่และขอบข่ายงานของตนเองให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งการเตรียมแผนแจ้งเตือนและพื้นที่สำหรับอพยพ และการกระจายข่าวให้ประชาชนในแถบพื้นที่เสี่ยงได้รับทราบโดยทั่วกัน เพื่อลดอัตราการสูญเสียและเป็นข้อมูลสำหรับแผนรับมือภัยดินโคลนถล่มที่อาจจะ เกิดขึ้น
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215