ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรคเครียดลงกระเพาะ และวิธีป้องกันรักษา

เริ่มโดย เอยู, 13:38 น. 30 ก.ค 63

เอยู


โรคเครียดลงกระเพาะ มักเกิดกับกลุ่มคนวัยทำงานที่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน จนทำให้ร่างกายอ่อนล้ามีความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้ การที่เรารู้ทันโรค มีวิธีรับมือและป้องกันรักษาอย่างตรงจุด ทำให้เราห่างไกลจากโรคเครียดได้ไม่ยาก สำหรับคนที่มีภาวะเครียดจากการทำงานหรืออาจกังวลว่าจะเป็นโรคเครียดลงกระเพาะ บทความนี้ เรามีความรู้และวิธีป้องกันรักษามาแนะนำ

โรคเครียดลงกระเพาะ คืออะไร ?
ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ โรคเครียดลงกระเพาะ เป็นอาการของโรคที่มีผลมาจากความเครียด เมื่อเกิดความเครียดมาก ๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายความแปรปรวนและเส้นเลือดบีบตัวทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งก็เป็นผลให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติจนทำให้กระเพาะเป็นแผลและลำไส้บีบตัวอย่างรุนแรง นอกจากทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวดยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้านแรงได้

ความเครียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร?
ภายในร่างกายของคนเรา อวัยวะในระบบย่อยอาหารเป็นส่วนที่อ่อนไหว และมีเส้นประสาทจำนวนมาก เมื่อเกิดความวิตกกังวลหรือความเครียดบ่อย ๆ ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เส้นประสาทเหล่านี้สั่งการให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ดังนี้

ระบบย่อยอาหารหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง
ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานน้อยลง
กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดเกร็งและมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น 
ส่งผลทำให้ในกระเพาะอาหารและระบบย่อยมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนมากกว่าแบคทีเรียชนิดดี
ส่งผลให้มีอาการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อน
อาจส่งผลทำให้มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย

Food photo created by freepik – www.freepik.com

สัญญาณเตือนเมื่อมีภาวะเครียดลงกระเพาะ
มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เสียดทรวงอกหลังกินอาหาร
หลังทานอาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง จะเริ่มมีอาการปวดหลัง ซึ่งเป็นเวลาที่กระเพาะอาหารเริ่มทำหน้าที่ย่อยอาหาร
มีอาการปวดบริเวณลิ้นปี่ โดยเฉพาะเวลาท้องว่างจะเริ่มมีอาการปวด
รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง เหมือนมีลมในกระเพาะ
หายใจเร็ว เนื่องจากรูจมูกขยาย จากการที่ปอดขยายตัว
มีอาการขนลุกบ่อย ๆ  โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังหดตัว
หายใจเร็วกว่าปกติ เนื่องจากรูจมูกขยายจากการที่ปอดขยายตัว
วิธีรับมือ เมื่อภาวะเครียดลงกระเพาะ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายยังกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นด้วย
เมื่อรู้สึกตัวเองว่ามีภาวะเครียด ควรหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดทำ เช่น อ่านหนังสือ เล่นโยคะ หรือ เล่นดนตรี ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เพื่อทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและลืมความเครียดความวิตกกังวลลงได้
อาจใช้วิธีฝึกสมาธิและกำหนดลมหายใจ โดยนั่งในท่าที่รู้สึกสบายและหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ หลับตา เพ่งสมาธิไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทีละส่วน เพื่อให้รู้สึกถึงกระบวนการต่าง ๆ ตามธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้นในร่างกาย เมื่อทำเป็นประจำจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ก็ทำให้ห่างไกลจากโรคเครียดลงกระเพาะได้
เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือเริ่มมีภาวะเครียด การขอคำแนะนำปรึกษาจากเพื่อน จากครอบครัว หรือจากคนรอบข้าง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้นได้ หรืออาจปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อให้คำแนะนำหรือช่วยแนะนำวิธีรับมือกับความเครียด ซึ่งวิธีนี้ทำให้ห่างไกลความเครียดได้อย่างเห็นผล และสามารถป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะได้อีกทางหนึ่ง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น จัดตารางการทำงานอย่างเหมาะสม ไม่ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน และจัดสรรงานที่ต้องทำให้เป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ
เมื่อประสบกับปัญหาชีวิต หรือปัญหาจากการทำงาน พยายามหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา พิจารณาที่ต้นเหตุหรืออาจเปลี่ยนมุมมองความคิดต่อปัญหานั้น ๆ ให้เป็นไปในแง่ดีหรือมองปัญหาอย่างเข้าใจ มองในมุมบวกก็จะช่วยลดความเครียดลงได้
ระวังและควรหลีกเลี่ยงการรับมือกับความเครียดด้วยวิธีที่ผิด เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียด และยังส่งผลต่อกระบวนการย่อยได้
พบแพทย์ และทานยาตามแพทย์สั่ง โรคเครียดลงกระเพาะ หากมีอาการที่รุนแรงทรมานจากอาการปวดท้อง ไม่สบานตัว ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตามแนวทาง และพบแพทย์หรือทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
โรคเครียดลงกระเพาะ สาเหตุสำคัญมาจากความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในช่วงวันทำงาน ความเครียดเมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้  การกำจัดความเครียดหรือเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ ก็คือแนวทางสำคัญที่ช่วยป้องกันให้ทุกคนห่างไกลจากโรคเครียดลงกระเพาะได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/stress-affect-stomach/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/