ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

นอนไม่หลับ ปัญหากวนใจ แก้ไขอย่างไรดี ?

เริ่มโดย เอยู, 13:54 น. 30 ก.ค 63

เอยู


อาการนอนไม่หลับที่บางครั้งดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ นอกจากเป็นปัญหาต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมไปถึงมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนมีอาการนอนไม่หลับบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ต้องพึ่งยานอนหลับและการใช้ยานอนหลับต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานที่อาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ  ใครที่นอนไม่หลับ หลับยากหรือนอนหลับไม่สนิท ปัญหานี้ เรามีความรู้มาแนะนำครับ
อาการนอนไม่หลับ คืออะไร ?
อาการนอนไม่หลับ คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับ มีอาการหลับยาก หลับไม่สนิท หลับสั้น นอนหลับไม่เต็มตื่น ตื่นง่าย หรือตื่นเร็ว เมื่อตื่นแล้วนอนไม่หลับอีก เป็นภาวะที่ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีคุณภาพ อาการนอนไม่หลับแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะซึ่งผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับอาจจะมีอาการเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีหลายข้อรวมกัน ดังนี้
อาการหลับยาก เป็นภาวการณ์นอนไม่หลับที่สามารถนอนหลับได้ปกติแต่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะหลับ เช่น ใช้เวลาเป็นชั่วโมง
อาการหลับไม่ทน เป็นอาการนอนไม่หลับที่มักมักตื่นกลางดึก ในบางคนอาจตื่นแล้วนอนไม่หลับอีก
อาการหลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นลักษณะของอาการนอนไม่หลับที่รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้มไปเป็นพัก ๆ และเมื่อตื่นนอนแล้วจะรู้สึกคล้ายไม่ได้นอนหรือนอนไม่เต็มตื่น

People photo created by jcomp – www.freepik.com

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ
เริ่มจากมีอาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งคืน
นอนหลับปกติหรือนอนหลับง่าย แต่นอนไม่นานและตื่นบ่อย
หากตื่นนอนในช่วงดึกๆ เมื่อตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีกจนถึงเช้า
อาการนอนไม่หลับที่ควรพบแพทย์ ได้แก่นอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน 
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งโรคทางจิตเวช ภาวะทางจิตใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม ดังนี้
อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการปรับตัว สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก ผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุ มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น เปลี่ยนสถานที่นอน มีเรื่องตื่นหรือมีเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น
ปัญหาด้านจิตใจ เช่น มีความเครียด วิตกกังวล หรือมีภาวะซึมเศร้า
เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการนอน เช่น เกิดเสียงดังรบกวน ห้องแคบ หรือมีแสงสว่างมากเกินไป สภาพอากาศที่อาจร้อนหรือหนาวเย็นเกินไป
การใช้ยาหรือกินบางชนิดเนื่องจากมีโรคประจำตัว
เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงานที่ทำให้นอนไม่เป็นเวลา การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์

Hand photo created by jcomp – www.freepik.com

ผลกระทบจากการนอนไม่หลับ
หน้าตาหมองคล้ำ สังเกตได้ง่าย ๆ ขอบตาจะคล้ำดำมากกว่าปกติ
อ่อนเพลีย เหนื่อยล้ามากกว่าปกติ สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดอะไรได้ช้า 
อารมณ์หงุดหงิด เหวี่ยงวีน โกรธง่ายโดยไม่รู้สาเหตุ
ง่วงนอนระหว่างวัน หรือมีนั่งหลับช่วงทำงานบ่อย ๆ มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับทำให้เกิดความเครียด
มีปัญหาด้านความจำและความสนใจในการทำกิจกรรม การทำงานต่าง ๆ ขาดประสิทธิภาพ
มีอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน ถือเป็นอาการนอนไม่หลับเรื้อรังที่ต้องทำการรักษา โดยแพทย์จะวินัจฉัยอาการของโรคจาก สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอน อาจให้ทำแบบสอบถามและจดบันทึกพฤติกรรมการนอน การตรวจสอบทางด้านร่างกาย และการตรวจคุณภาพการนอนหลับจากเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อหาสาสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ก่อนทำการรักษาซึ่งมี 2 แนวทาง ได้แก่
การใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่จะช่วยให้ผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล และทำให้นอนหลับได้ง่าย ทำให้หลับสนิทมากขึ้น
การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการบำบัด เป็นการรักษาเพื่อทำให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด หรือกิจกรรมบำบัดรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของผู้ป่วย

วิธีป้องกันและแก้ไขอาการนอนไม่หลับ
กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
ดื่มน้ำอุ่น ๆ ก่อนนอน พยายามผ่อนคลายหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำชา กาแฟ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว และควรงดเว้นการดื่มหลังมื้อเที่ยง
งดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการตื่นตัวก่อนนอน เช่น การเล่นเกมส์ต่อสู้ การดูหนังสยองขวัญ การดูหนังต่อสู้
จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนได้แก่ มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อยหรือจะทำให้ห้องนอนมืดสนิท
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
เมื่อถึงเวลาเข้านอนแล้วยังนอนไม่หลับ ลองนั่งสมาธิ อ่านหนังสือ หรือฟังเพลงเบา ๆ อาจช่วยให้ง่วงนอนและทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
นอนไม่หลับ อาจเป็นเพียงปัญหากวนใจที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ป้องกันรักษา จนมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะกลายเป็นนอนไม่หลับเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต นอกจากทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงแล้ว ยังเป็นปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/insomnia/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/