ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แสงสีฟ้าอันตรายต่อสายตา ที่มากับอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ป้องกันได้

เริ่มโดย เอยู, 14:21 น. 03 ส.ค 63

เอยู


ในโลกยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตหรือแม้แต่การทำธุรกิจในด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เครื่องมือเหล่านี้นอกจากจะให้คุณอนันต์แล้ว ก็ยังแฝงไปด้วยอันตรายที่เราอาจไม่รู้ นั้นคือ "แสงสีฟ้า"  บทความนี้ aufarm.shop  จะพามาทำความรู้จักกับแสงสีฟ้า ว่ามีอันตรายอะไรต่อดวงตาและจะป้องกันให้ปลอดภัยได้อย่างไร ?
 แสงสีฟ้าคืออะไร ?
แสงสีฟ้าหรือ Blue Light เป็นส่วนผสมระหว่างแสงสีครามและสีน้ำเงิน ให้พลังงานสูงใกล้เคียงกับแสงยูวี มีอยู่ทั่วไปรอบตัวเราเป็นแสงที่สายตาสามารถมองเห็นได้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือแสงสีม่วงและแสงสีฟ้ามีความยาวคลื่น 380-450 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายต่อดวงตามากที่สุด  และแสงสีน้ำเงินมีความยาวคลื่น 450-500 นาโนเมตร 
แหล่งที่มาของแสงสีฟ้าอยู่ที่ใดบ้าง ?
แสงสีฟ้านอกจากจะมีตามธรรมชาติคือจากแสงอาทิตย์แล้ว ก็ยังพบว่ายังมีอยู่ในเครื่องมือที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาอีกด้วย นั่นคือ อุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แทบเลต อุปกรณ์เครื่องใช้ เช่นหลอดไฟฟ้าแบบต่าง ๆ หลอดไฟ LED นาฬิกา Smart Watch ทั้งนี้ก็จะให้พลังงานของแสงสีฟ้าที่สูงหรือต่ำแตกต่างกันออกไป ซึ่งในชีวิตประจำวัน แสงสีฟ้าที่มาจากดวงอาทิตย์ก็นับเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และเครื่องมืออุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น  ซึ่งหากเราใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้  
แสงสีฟ้าทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาอย่างไรบ้าง ?
แสงสีฟ้า ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาของเรา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย โดยแสงสีฟ้าประเภทนี้จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้เวลากินและเวลาง่วงต้องเข้านอน หรือช่วยให้ร่างกายรู้เวลาของนาฬิกาชีวิต ช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานป็นปกติ
ประเภทที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยแสงสีฟ้าสามารถทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกที่สุด ซึ่งตัวกรองทางธรรมชาติที่มนุษย์มี เช่น น้ำตา น้ำหล่อเลี้ยงตา แก้วตา กระจกตาก็ไม่สามารถป้องกันได้ แสงสีฟ้าหากมีการใช้สายตากับอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่ยาวนานต่อเนื่อง จะส่งผลเสียต่อดวงตาได้ ดังนี้
อาการสายตาล้า เกิดจากการที่ดวงตาต้องทำงาน เพ่งหรือจ้องอุปกรณ์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่พักสายตา
ตาแห้ง เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือนาน ๆ มักมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา แสบตา ตาแห้งหรือมีน้ำตาออกมามาก แต่เป็นน้ำตาที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ
จอประสาทตาเสื่อม เป็นเพราะแสงสีฟ้าจะไปกระตุ้นทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะเป็นการทำลายเซลล์ประสาทตา ประกอบกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เสี่ยงกับการเป็นโรคประสาทตาเสื่อมได้สูง ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆจะทำให้ตาบอดได้

วิธีป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า
วิธีป้องกันช่วยไม่ให้แสงสีฟ้าสัมผัสดวงตาให้น้อยที่สุดควรใช้หลาย ๆ วิธีดังต่อไปนี้
ปรับแสงของอุปกรณ์ให้อยู่ในค่าหรือในระดับที่เหมาะสม ไม่ให้มืดหรือสว่างจ้าจนเกินไป ควรให้แสงสว่างมีใกล้เคียงกับความสว่างของไฟในห้องหรือในบริเวณที่ทำงาน
จัดที่นั่งทำงานให้เหมาะสม ควรให้มีแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงเล็กน้อย ไม่ควรนั่งใกล้หน้าต่างจนมีแสงจากด้านนอกเข้ามาสว่างจ้าจนเกินไป หากจำเป็นต้องนั่งควรติดม่านหรือปิดหน้าต่างแล้วเปิดไฟในห้องด้วยแสงที่พอเหมาะจะดีกว่า
เลือกใช้อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างที่พอเหมาะ เช่น ไม่ควรใช้หลอดไฟชนิดที่ให้แสงจ้ามากจนเกินไป ควรเลือกใช้แบบที่ให้แสงสบายตาจะดีกว่า รวมทั้งต้องติดฟิล์มบนหน้าจอของอุปกรณ์เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์เพื่อลดแสงที่จะกระทบกับดวงตาให้น้อยลง
พักสายตา ไม่ควรใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ติดต่อกันนาน ๆ หลายชั่วโมง ควรมีการพักสายตาเป็นระยะทุก 12 ชั่วโมง ประมาณ 5 นาที การพักสายตาที่ดีที่สุดคือการนอน หากทำไม่ได้ก็ควรมองไปไกล ๆเพื่อลดการเพ่ง ลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แว่นสายตาที่ใช้ควรเป็นเลนส์ที่ออกแบบพิเศษ เพราะหากใช้เลนส์ที่มีคุณภาพดี ก็จะสามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ เป็นการตัดหรือลดแสงไม่ให้ดวงตามาสัมผัสแสงโดยตรงได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
ใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความหล่อลื่นให้แก่ลูกตาในกรณีที่เกิดอาการตาแห้งเมื่อจ้องอุปกรณ์เป็นเวลานาน ๆ เป็นการช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง อาการแสบตา ความไม่สบายตาได้ดีที่สุด อีกทั้งควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันอีกด้วย 
เมื่อพบอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพตาทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตาเช่น โรคต้อลม ต้อกระจก ต้อหิน เมื่อพบแล้วจะได้รักษาได้ทันท่วงที
ในเมื่อการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ หรือมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือและเครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องเผชิญกับแสงสีฟ้า จากอุปก์เหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหากเรารู้จักป้องกันตนเอง ทำตามวิธีแก้ป้องกันอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้รู้ทันสามารถถนอมและช่วยชะลอไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสายตา เป็นการรักษาสุขภาพสายตาให้เราใช้งานได้อย่างมีคุณภาพตลอดไป
 
ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/blue-light-from-electronic-devices/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/