ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

หัวใจโต โรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกันรักษา

เริ่มโดย เอยู, 11:32 น. 14 ส.ค 63

เอยู


หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยปกติหัวใจของคนจะเต้นประมาณ 80 ครั้งต่อนาที และในทุก ๆ วันหัวใจของคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณ 2,000 แกลอน ส่วนอาการผิดปกติของหัวใจที่พบได้ก็คือ หัวใจโต หรือภาวะหัวใจโต  โรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจโตและโรคหัวใจเกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันรักษาหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
หัวใจโต และสาเหตุของภาวะหัวใจโต
หัวใจโต ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่หรือหนากว่าปกติ หัวใจโตที่มีขนาดโตว่าปกตินั้นอาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่
หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือลิ้นหัวใจตีบ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น
หัวใจโต เพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น
อาการของหัวใจโตและโรคหัวใจ
ผู้ที่มีภาวะหัวใจโตส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยแสดงอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ กรณีหัวใจทำงานผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจเร็ว เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย ใจสั่น บวมบริเวณเท้าช่วงสายของวันไอ โดยเฉพาะเวลานอนและนอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่นหน้าอก 
สัญญาณบ่งบอกของโรคหัวใจและภาวะหัวใจโต
โดยทั่วไป อาการที่เป็นสัญญาณความเสี่ยงของหัวใจโตและโรคหัวใจ มีลักษณะอาการที่สามารถบ่งบอกได้ ดังนี้
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่น คนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่จะรู้สึกเหนื่อยเมื่อออกกำลังไปได้ระดับหนึ่ง แต่ในกรณีของคนที่เริ่มต้นมีอาการของโรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยมากผิดปกติ ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก จะรู้สึกแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายมีของหนักทับ ทำให้รู้สึกเหนื่อยและหายใจอึดอัด หากอาการรุนแรงอาจเป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากร่างกาย จะพบว่าปริมาณออกซิเจนในเลือดมีน้อยลง เนื่องจากทางเดินของเลือดในหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทรายสาเหตุ
อาการผิดปกติที่พบจากการตรวจร่างกาย เช่น ในคนที่มีการตรวจร่างกายประจำปี หรือตรวจพบร่วมกับโรคประจำหรือโรคเรื้อรังที่ต้องไปพบแพทย์ตามนัด และอาจตรวจพบความผิดปกติที่บ่งบอกได้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น พบไขมันในเลือดสูง หรือมีอาการของโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของภาวะหัวใจโตและโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ และภาวะหัวใจโต เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด และสาเหตุอื่น ๆ  เช่น
กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก
เกิดจากพันธุกรรม  คนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจเต้นเร็วและทำงานหนัก เนื่องจากหัวใจต้องใช้พลังงานในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติ
ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง
.ความเครียด เพราะความเครียดทำให้หัวใจเต้นแรงโดยที่เป็นไม่รู้ตัว
.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันในเส้นเลือดสูง และโรคอ้วน
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์   

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและภาวะหัวใจโต
การซักประวัติและตรวจร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพรังสีของทรวงอก
การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร
การรักษาภาวะหัวใจโตและโรคหัวใจ
การรักษาภาวะหัวใจโตและโรคหัวใจ แบ่งออกเป็นการป้องกัน เช่น หมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ งดบุหรี่และสุรา ส่วนการรักษาอาการของโรค หรือภาวะหัวใจโต ได้แก่ การรับประทานยา  สวนหลอดเลือดหัวใจ จี้ไฟฟ้าหัวใจและผ่าตัดทั้งนี้ขึ้นกับอาการหรือรักษาตามลักษณะอาการ
วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และภาวะหัวใจโต
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที และควรเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมอาหารให้มีความพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
หากิจกรรมนันทนาการเพื่อคลายเครียด ควบคุมอารมณ์และดูแลสุขภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
งดเว้น หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
หัวใจโต ไม่ใช่โรคและสามารถรักษาได้หากตรวจพบอาการและไม่อยู่ในขั้นรุนแรง หรือแม้แต่โรคหัวใจที่ถือเป็นภัยเงียบ หากหมั่นดูแลสุขภาพและตรวจพบความผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งบอกได้เร็ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ โดยวิธีการรักษาหรือแนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ และร่างกายของคนไข้ ว่าเหมาะกับการรักษาวิธีใด โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/cardiomegaly-risk-factors-prevented/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/