ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

วงการแพทย์ยืนยันวัคซีนของซิโนแวคปลอดภัยฉีดได้

เริ่มโดย supergreat, 08:38 น. 15 ม.ค 64

supergreat

กลายเป็นประเด็นแซะกันสนุกปาก ไปได้อีกหลายวันของชาวโซเชียล กับข่าวจากบราซิลว่า วัคซีนของซิโนแวค จากประเทศจีน มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้แค่ 50.4% ขณะที่แพทย์หลายสาขาของไทยพยายามออกมาอธิบาย แต่ไม่ค่อยมีใครฟัง

ข้อมูลจากคุณหมอยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณหมอศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, คุณหมอสุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, คุณหมอเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ สรุปได้ว่า

https://www.youtube.com/embed/zrHJWukFpWc 

ซิโนแวค ใช้เทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิม ที่เรียกว่า Inactivated Vaccine หรือ วัคซีนเชื้อตาย โดยการนำเอาเชื้อก่อโรคที่ต้องการป้องกัน คือ เชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 มาทำให้ตาย แล้วนำซากเชื้อฉีดกลับเข้าไปในร่างกายของผู้ที่ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกัน

หลักการทำงานของวัคซีนเชื้อตาย
-   แม้จะเป็นเชื้อตาย แต่คุณลักษณะของเชื้อและสารเคมีที่ผสมอยู่ในวัคซีน สามารถไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงาน
-   พร้อม ๆ กับทำหน้าที่เหมือนเปิดสวิตช์ความจำของระบบภูมิคุ้มกัน ให้จดจำคุณลักษณะของเชื้อไว้ในระยะยาว ส่งผลให้ร่างกายสามารถป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้ในอนาคต
-   เพราะเป็นเชื้อตาย จึงไม่ส่งผลให้เกิดอาการป่วยขึ้น แม้ผู้ได้รับวัคซีนจะเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื้อรังในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่แล้วก็ตาม

ข้อดี
-   มีความปลอดภัยสูง
-   ระบบการผลิตมีเสถียรภาพสูง
-   สามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิตู้เย็นธรรมดาคือ 2-8 องศาเซลเซียส ทำให้สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา โดยเฉพาะการส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล
-   เทคโนโลยีเชื้อตาย เป็นวิธีการที่ใช้ผลิตวัคซีนให้กับมนุษย์หลายชนิด เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ
-   ฉีดในหลายแสนคนมาแล้ว แต่ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง ซึ่งต่างจากวัคซีนอื่นที่พบผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น ผู้ที่ได้รับวัคซีนไปแล้วไม่สามารถไปปฏิบัติงานได้ หรือต้องการการดูแลจากแพทย์และพยาบาลจำนวนไม่น้อย

ข้อเสีย
-   อาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าวัคซีนเชื้อเป็นและเอ็มอาร์เอ็นเอ ทำให้อาจจำเป็นต้องฉีดครั้งละหลายเข็ม และมีการฉีดกระตุ้น (บูสเตอร์โดส) เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง
-   ใช้ระบบชีวนิรภัยทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และไม่สามารถผลิตได้คราวละมาก ๆ ได้





ทำไมตัวเลขแสดงประสิทธิผลของวัคซีนจึงต่างกัน
-   การแถลงตัวเลขต้องดูว่าเป็นตัวเลขของการป้องกันประเภทใด เช่น วัคซีนของซิโนแวค สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ 100%, ป้องกันอาการเล็กน้อยได้ 78%, ป้องกันการติดเชื้อได้ 50%

-   การศึกษาทดลองกับประชากรกลุ่มใด เช่น วัคซีนของซิโนแวคศึกษาในกลุ่มประชากรเสี่ยงสูง คือ บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าประชาชนทั่วไป 3-6 เท่า ย่อมมีประสิทธิภาพในการป้องกันต่ำกว่าการศึกษาในประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ำ

-   วัคซีนของซิโนแวค ประสิทธิภาพโดยรวมที่ประเทศจีนประกาศ 79%, ตุรกีประกาศผลการศึกษาในประชากรทั่วไปได้ 91%, อินโดนีเซียได้ 65% และบราซิลได้ 50.4% เป็นการศึกษาในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นด่านหน้าในการป้องกันโรค และอาสาสมัครกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงทั้งนั้น

ฉีดวัคซีนของซิโนแวคแล้วจะปลอดภัยหรือไม่

-   วัคซีนที่นำมาใช้ ได้ผ่านการพิจารณาถึงคุณภาพเรียบร้อยแล้ว อิงตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่า วัคซีนที่มีคุณภาพมากกว่า 50% ขึ้นไปสามารถนำมาใช้ได้ จึงขอให้ประชาชนมั่นใจ

-   วัคซีนจะนำมาใช้ภายในประเทศไทยได้ จะต้องผ่านการรับรองจาก อย. ซึ่งจะตรวจสอบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีน โดยจะระดมผู้เชี่ยวชาญแทบทุกคนทั่วประเทศ มาช่วยกันประเมินและพิจารณาวัคซีน เพื่อให้พิจารณาได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว

ข้อมูลอื่น ๆ
-   วัคซีนที่มีอยู่ทั่วโลกในตอนนี้อาจจะมีหลายชนิด แต่ที่ผ่านการทดลองในคนในระยะที่ 3 และมีการอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินในหลายประเทศเวลานี้มีอยู่ 6 ตัว ได้แก่ ไฟเซอร์/ไบออนเทค, โมเดอร์นา, แอสทราเซเนกา, สปุตนิควี, ซิโนฟาร์ม และ ซิโนแวค ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการกับประชากรทั่วโลก จึงต้องมีการแย่งกัน
-   วัคซีนของซิโนแวคไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง จึงนับว่ามีความปลอดภัยสูงกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่นที่มีอยู่ตอนนี้ จึงสามารถนำมาใช้ได้
-   ขณะนี้หลายประเทศเริ่มฉีดวัคซีนของซิโนแวคแล้ว
-   วัคซีนที่ไทยสั่งจากซิโนแวคจะมาถึงก่อนวัคซีนชนิดอื่นในเดือนก.พ.

วันนี้คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาให้ความมั่นใจกับพวกเราว่า วัคซีนที่ไทยได้เลือกซื้อได้มาตรฐาน สามารถนำมาใช้ฉีดได้ มีความปลอดภัย ถ้าเรายังไม่ฟังหมอ ไม่เชื่อหมอ แล้วเราจะไปเชื่อใคร!!!