ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อาการเอ็นเข่าฉีกขาดหรือ รักษาได้ด้วยผ่าตัดส่องกล้องโดยมีข้อดีอย่างไรบ้าง

เริ่มโดย daruneek, 16:06 น. 02 ก.พ 64

daruneek


อาการเอ็นเข่าฉีกขาดมักพบได้บ่อย โดยเฉพาะสาเหตุจากการเล่นกีฬาและเกิดจากการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ทำให้เส้นเอ็นเกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับการเล่นกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น นักฟุตบอล นักวอลเลย์บอล หรืออาจเกิดจากกิจกรรมอื่นทั่วไป เช่น ตกบันได อุบัติเหตุ แม้แต่เดินสะดุดก็อาจทำให้เอ็นเข่าฉีก หรือเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดได้เช่นกัน

อาการเอ็นเข่าฉีกขาดหรือ เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเป็นอย่างไร?
- รู้สึกมีอะไรดีดอยู่ข้างในขา
- หัวเข่าใช้งานไม่ได้ในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ
- หัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง
- มีอาการเจ็บปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้

     โดยบางรายหลังจากเอ็นเข่าฉีกขาด อาการปวด บวม อักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อย ๆ ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดปกติ แต่เมื่อกลับไปเล่นกีฬาหรือใช้งานอีก จะรู้สึกว่าเข่าไม่มั่นคงและจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหมอนรองข้อฉีกขาด ส่งผลให้เกิดอาการงอเข่าไม่ลง ปวดบริเวณข้อ ตามมา

การรักษาเส้นเอ็นเข่าฉีกขาดหรือ เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด
     ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดจำเป็นต้องจำกัดกิจกรรมและทำการรักษา หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ข้อเข่าแย่ลงเรื่อย ๆ และทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่ามากขึ้น นอกจากนี้อาการกระดูกอ่อนเสื่อมก็อาจทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นแล้ว แพทย์จึงจะทำการตรวจวิเคราะห์เข่าอีกครั้งเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ในระดับใด หากผู้ป่วยยังไม่สามารถใช้งานเข่าได้เหมือนเดิม ก็จำเป็นจะต้องลดกิจกรรมลง ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขได้ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดต่อไป

     ทั้งนี้มีการศึกษาที่ทำการเปรียบเทียบการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 94 ที่เข้ารับการผ่าตัดฟื้นตัวเร็ว และเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าจะสามารถใช้ข้อเข่าได้ตามปกติต่อไปเป็นเวลา 15-20 ปี และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดข้อเข่าเสื่อมน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีดั้งเดิมค่ะ