ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ความหมายในแต่ละประเภทของข้าราชการไทย

เริ่มโดย wm5398, 11:53 น. 16 ก.พ 64

wm5398

ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่คอยปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท ได้แก่
       - ประเภทบริหาร
       - ประเภทอำนวยการ
       - ประเภทวิชาการ
       - ประเภททั่วไป

ความหมายในแต่ละประเภทของข้าราชการไทย
ข้าราชการพลเรือนในส่วนพระองค์
ข้าราชการพลเรือนในส่วนพระองค์ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในสังกัดสำนักพระราชวัง จะมีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ โดยจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์นั้นจะเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษานั้น หมายถึง ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ถูกสังกัดเอาไว้ในกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่นับรวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนของราชการ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้ 3 ประเภท ดังนี้
       - ประเภทวิชาการ
       - ประเภทผู้บริหาร
       - ประเภททั่วไป

ส่วนการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จะดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง โดยอิสระซึ่งในปัจจุบันไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว เหลือแต่เพียงการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย เข้ามาแทนที่

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในส่วนสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถแบ่งออกให้เข้าใจได้ง่าย เป็น 3 ประเภท ดังนี้
      - ข้าราชการผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ได้แก่
              - ครูผู้ช่วย
              - ครู
              - อาจารย์
              - ผู้ช่วยศาสตราจารย์
              - รองศาสตราจารย์
              - ศาสตราจารย์
      - ข้าราชผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
              - ผู้อำนวยการสถานศึกษา
              - รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
              - ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
              - ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
      - บุคลากรทางการศึกษาอื่นๆบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดเอาไว้ ซึ่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะมีคณะกรรมการกลางในการบริหารงานบุคคล และคอยกำกับดูแลข้าราชการ คือ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ ก.ค.ศ.

ข้าราชการฝ่ายทหาร
ข้าราชการทหาร หมายถึง บุคคลที่เข้ารับราชการทหารประจำการ หรือข้าราชการกลาโหม และพลเรือนที่ถูกบรรจุลงในอัตราทหาร ทั้งในหน่วยงานทางการทหารซึ่งจะสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทยก็ตาม โดยข้าราชการทหารจะมีคณะกรรมการข้าราชการทหาร (กขท.) คอยกำกับดูแลเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการทหาร ซึ่งข้าราชการฝ่ายทหารยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
      - ข้าราชการทหาร
      - ข้าราชการกลาโหมพลเรือน

ข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการตำรวจ หมายถึง ข้าราชการที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี แบ่งออกเป็น ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร

ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม หมายถึง ข้าราชการที่ถูกบรรจุและแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติราชการในศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม โดยจะมีคณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เป็นคณะกรรมการกลางคอยกำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
      - ข้าราชการตุลาการ(ศาลยุติธรรม)
      - ดะโต๊ะยุติธรรม
      - ข้าราชการศาลยุติธรรม

ข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการ หมายถึง ข้าราชการที่ถูกบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด จะมีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เป็นคณะกรรมการกลางในการกำกับดูแล ข้าราชการฝ่ายอัยการยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
      - ข้าราชการอัยการ
      - ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ

ข้าราชการรัฐสภา
ข้าราชการรัฐสภานั้นสามารถอธิบายความหมายโดยการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
      - ข้าราชการรัฐสภาสามัญ คือ ข้าราชการที่ซึ่งรับการบรรจุ และถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ ใช้วิธีการจำแนกและกำหนดประเภทตำแหน่งแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
      - ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา

ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง หมายถึง ข้าราชการที่รับราชการ ดำรงตำแหน่งในศาลปกครอง และสำนักงานศาลปกครอง โดยจะมีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ซึ่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง จะสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ดังนี้
      - ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
      - ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง

ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ
ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง ข้าราชการที่รับราชการ และดำรงตำแหน่งอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
      - ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ
      - ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ข้าราชการสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้าราชการสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หมายถึง ข้าราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามปี พ.ศ. 2554 โดยการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ โดยตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช.นั้นให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ในคำว่า "ก.พ." จะให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ คำว่า "ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" จะให้หมายถึงสำนักงาน ป.ป.ช. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. จึงแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
      - ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย
      - ข้าราชการทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป

ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการการเมือง หมายถึง ผู้ที่รับราชการในตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่
      - ข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
      - ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร
      - ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น

ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร หมายถึง บุคคลที่ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการ จะได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครแล้วจึงนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยข้าราชการประเภทนี้จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
      - ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
      - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร (เดิมเรียกว่า"ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร") คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
      - ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดหรือในกำกับของกรุงเทพมหานคร (มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช)
ส่วนบุคลากรกรุงเทพมหานคร ที่บางคนสงสัยว่าเหมื่อนกันกับข้าราชการกรุงเทพไหมนั้น ขอตอบว่าไหม่เหมื่อนกัน โดยชื่อที่ใช้เรียก บุคลากรกรุงเทพมหานคร จะหมายถึงลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงานกรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
      - ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครโดยจะได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นค่าจ้างของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
      - พนักงานกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดย จะได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ตามที่มีกฎหมายจัดตั้งเอาไว้ โดยตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้นจะมี 4 ประเภท ได้แก่
      - ประเภทบริหารท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
           - ระดับต้น
           - ระดับกลาง
           - ระดับสูง
      - ประเภทอำนวยการท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
           - ระดับต้น
           - ระดับกลาง
           - ระดับสูง
      - ประเภทวิชาการ มี 4 ระดับ ได้แก่
           - ระดับปฏิบัติการ
           - ระดับชำนาญการ
           - ระดับชำนาญการพิเศษ
           - ระดับเชี่ยวชาญ
      - ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ ได้แก่
           - ระดับปฏิบัติงาน
           - ระดับชำนาญงาน
           - ระดับอาวุโส
*ทั้งนี้ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจะถูกเรียกชื่อ แตกต่างกันออกไปตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆไป

พนักงานอื่นๆของรัฐ
พนักงานอื่นๆของรัฐ หมายถึง พนักงานที่มีลักษณะงานแบบเดียวหรือคล้ายคลึงกับข้าราชการ จะมีลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญในอดีต หรือก็คือจ้างให้รับราชการหรือปฏิบัติงานนั้นๆโดยเฉพาะ หรือไม่ก็ดำรงตำแหน่งประจำแบบข้าราชการ ได้แก่
      - พนักงานราชการ
      - พนักงานมหาวิทยาลัย
      - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
      - พนักงานองค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
      - พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
https://nine100.com/meaning-of-each-type-of-thai-government-officials/