ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

นาฬิกาชีวิต ดูแลสุขภาพตามหลักธรรมะ เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี

เริ่มโดย เอยู, 15:29 น. 10 มี.ค 64

เอยู


การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ต้องอาศัยความมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตอย่างมาก โดยรอบเวลา 24 ชั่วโมง ตามเวลาทั่วไป ต้องมีการบริหารจัดการชีวิตอย่างเป็นระบบ นาฬิกาชีวิต ก็เช่นเดียวกัน เพราะวงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้สามารถใช้ชีวิตไปตามนาฬิกาชีวิตได้อย่าง มีระเบียบวินัย คำถามนี้มี วิริยะ หลักธรรมทางพุทธศาสนากับการดูแลสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพชีวิตที่ดีมาแนะนำ

นาฬิกาชีวิต หมายถึงอะไร
นาฬิกาชีวิต คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายของคนเราที่ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมน การขับถ่าย การที่ร่างกายต้องการอาหารและน้ำ รวมทั้งการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย โดยนาฬิกาชีวิตนั้นจะมีรอบเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง

นาฬิกาชีวิต ทำงานอย่างไร
นาฬิกาชีวิต ภายในร่างกายของคนเรา จะถูกควบคุมโดยแสงและอุณหภูมิ เมื่อร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิในระดับที่เหมาะสม ร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรในแต่ละวัน โดยวงจรดังกล่าวจะถูกควบคุมด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีชื่อว่า นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก ดังนั้นร่างกายของเราไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใด ขึ้นอยู่กับสัญญาณเอสซีเอ็นที่ส่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส นาฬิกาชีวิตจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ หากการใช้ชีวิตของคนเราไม่เป็นไปตามระบบ

ระบบการทำงานของ นาฬิกาชีวิต
05.00 – 07.00 เวลาของลำไส้ใหญ่
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ ตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน และดื่มน้ำ 2–3 แก้ว เพื่อช่วยในระเรื่องระบบขับถ่ายทำให้ของเสียและกากอาหารถูกขับออกจากร่างกายได้ดีที่สุด

07.00 – 09.00 เวลาของกระเพาะอาหาร
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ อาบน้ำ กินข้าว (มื้อหนักและเป็นมื้อสำคัญต่อสุขภาพ) ห้ามงดอาหารเช้าเพราะช่วงนี้กระเพาะอาหารจะแข็งแรง สามารถย่อยอาหาร และดูดซึมได้ดีที่สุด

09.00 – 11.00 เวลาของม้าม และตับอ่อน
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ การปฏิบัติภารกิจประจำวัน การประกอบสัมมาอาชีพ ช่วงนี้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะกระปรี้กระเปร่า พร้อมทำงาน เนื่องจากม้ามจะดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ จากอาหารเช้า และส่งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น สมองทำงานได้ดี

11.00 – 13.00 เวลาของหัวใจ
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ การผ่อนคลายหรือพักเบรกจากการทำงาน เพราะเมื่อหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั้งร่างกาย ระดับความดันเลือดในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เพราะหัวใจทำงานหนักการพักเบรกเป็นการพักผ่อนลดภาวะเครียด และเตรียมร่างกายเข้าสู่เวลาอาหารเที่ยง

13.00 – 15.00 เวลาของลำไส้เล็ก
กิจวัตรประจำวันของคนเราได้แก่ การปฏิบัติภารกิจประจำวัน เป็นช่วงเวลาที่สมองซีกขวาทำงานดี ทั้งเรื่องความจำ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการวางแผนต่าง ๆ การดูแลสุขภาพให้เป็นไปตามระบบ ควรงดทานของจุกจิก เพราะจะเป็นการรบกวนการทำงานของลำไส้เล็ก





15.00 – 17.00 เวลาของกระเพาะปัสสาวะ
กิจวัตรประจำวันของคนเรา เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงเวลานี้กระเพาะปัสสาวะ รอกำจัดของเสียออกจากร่างกาย จึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และช่วงเวลานี้หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่อ

17.00 – 19.00 เวลาของไต
กิจวัตรประจำวันของคนเราในช่วงนี้ ควรเป็นเวลาผ่อนคลายไม่ควรรีบเข้านอน เนื่องจากเป็นเวลาทำงานของไตในการกรองของเสียออกจากเลือด และรักษาสมดุลในร่างกาย 

19.00 – 21.00 เวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ
กิจวัตรประจำวันของคนเราในช่วงนี้ เข้าสู่ช่วงเวลาพักผ่อนร่างกายพร้อมที่เข้านอน ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานหรือทำให้รู้สึกตื่นเต้นเช่น ออกกำลังหนัก ๆ หรือทานอาหารปริมาณมาก เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวและนอนไม่หลับ

21.00 – 23.00 เวลาการทำงานของระบบอุณหภูมิในร่างกาย
กิจวัตรประจำวันที่เหมาะสม ได้แก่ การทำให้ร่างกายอบอุ่น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเย็น ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย พร้อมปรับสมดุลในร่างกาย อุณหภูมิในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลง ร่างกายเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงควรนอนหลับพักผ่อน

23.00 – 01.00 เวลาของถุงน้ำดี
กิจวัตรประจำวันที่เหมาะสม ได้แก่ การจิบน้ำก่อนนอน เพราะช่วงเวลานี้จะมีผลกับถุงน้ำดีพร้อมส่งไปช่วยย่อยไขมันในลำไส้เล็ก หรือถ้าอวัยวะใดในร่างกายขาดน้ำ จะดึงน้ำจากถุงน้ำดี ถ้ามีการดึงมากเกินไป ทำให้น้ำดีข้น เป็นผลทำให้สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ปวดหัว การจิบน้ำก่อนนอนจึงเป็นการดูแลสุขภาพที่ดี

01.00 – 03.00 เวลาของตับ
กิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมในช่วงนี้ คือการพักผ่อนนอนหลับ เพราะขณะที่เรานอนหลับ ตับจะกำจัดของเสียออกจากร่างกาย พร้อมเก็บสะสมเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด หากนอนหลับพักผ่อนน้อย จะส่งผลให้ตอนเช้าเวียนศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย กลายเป็นคนขี้หงุดหงิดง่าย

03.00 – 05.00 เวลาของปอด
กิจวัตรประจำวัน กิจวัตรประจำวันในช่วงนี้ ได้แก่ การนอนหลับให้เต็มตื่นหรือนอนหลับสนิท เตรียมตัวตื่นนอนในช่วงเช้า เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ ทำให้ระบบหายใจทำงานเต็มที่ เป็นช่วงเวลาที่ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่

การรักษาสุขภาพหรือการดูแลตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลัก นาฬิกาชีวิต นอกจากจะต้องมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต ยังต้องอาศัยความอดทนและใช้ระยะเวลาเพื่อปรับเปลี่ยนและฝึกฝนตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้เป็นไปตามระบบ นาฬิกาชีวิต โดยอาจใช้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้วยความบากบั่นและมีความเพียรหรือมีความวิริยะ ในการใช้ชีวิตให้เป็นไปตามระบบเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี



ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/biological-clock/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/