ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

5 ข้อควรระวัง เกี่ยวกับ การรักษาโรคเบาหวาน และการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เริ่มโดย unyanamah, 12:19 น. 25 เม.ย 64

unyanamah

5 ข้อควรระวัง เกี่ยวกับ การรักษาโรคเบาหวาน และการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

          สาเหตุของโรคเบาหวาน มาจากกรรมพันธุ์และปัจจัยภายนอก เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ขาดการออกกำลังกาย หรืออายุมาก ทำให้เซลล์ตับอ่อนเสื่อมถอยและผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หากสังเกตเห็นอาการระยะเริ่มต้น การรักษาโรคเบาหวาน อย่างรวดเร็ว จะลดความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคไต เบาหวานเข้าตา โรคหลอดเลือดแดงตีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนถึงขั้นเป็นอัมพาตได้

การดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานมี 5 ข้อควรระวัง ดังนี้
1.อาหาร ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันให้อยู่ในระดับปกติ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
- อาหารแนะนำสำหรับผู้ป่วยคือผักใบเขียว ได้แก่ คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง แตงกวา น้ำเต้า ฟัก ตำลึง บวบ ผักกาดขาว มะเขือม่วง ถั่วฝักยาว และถั่วงอก เนื่องจากพลังงานแคลอรี่ต่ำและมีใยอาหารสูงจึงดูดซับน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าและได้รับน้ำตาลพอดีกับความต้องการของร่างกาย
- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ขนมหวาน ผลไม้รสหวาน นมรสหวาน อาหารไขมันสูง และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
2.บาดแผลเรื้อรังหายยาก
ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระมัดระวังบาดแผลอาจติดเชื้อลุกลามกลายเป็นแผลเรื้อรังง่ายกว่าคนทั่วไป ถ้าควบคุมน้ำตาลไม่ดีจะหายยาก โดยเฉพาะแผลที่เท้าที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้เส้นเลือดตีบและระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลายเสื่อมเกิดอาการชา จึงชะล่าใจปล่อยทิ้งไว้ให้แผลรุนแรงและยากแก่การรักษา จนถึงขั้นตัดเนื้อ ตัดนิ้ว หรือตัดเท้า หากเกิดบาดแผลควรรีบพบแพทย์ thailand hospital และรักษาโดยเร็ว
3.การใช้อินซูลิน
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ที่ตับอ่อนสร้างขึ้น ซึ่งจำเป็นมากในการใช้รักษาโรคเบาหวาน แต่การใช้อินซูลินต้องระมัดระวังหลายอย่าง ถ้าใช้อินซูลินมากเกินไปทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมาก ตาลาย เป็นลม ในขณะที่บางรายมีปัญหาเกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดผื่นคันจากอาการแพ้ ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เป็นลม หัวใจเต้นผิดปกติ
4.ระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเฉียบพลัน สาเหตุของโรคเบาหวาน เกิดจากการทำงานหนัก เกิดขึ้นหลังออกกำลังกาย กินอาหารน้อยไปหรือกินไม่ตรงเวลา กินยาหรือฉีดอินซูลินมากเกินไป ผู้ป่วยควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ และเตรียมของหวานอาหารว่างพกติดตัวตลอดเวลาเพื่อแก้ไขทันทีเมื่อเริ่มมีอาการต่อไปนี้ สายตาพร่า ปวดหัว เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หากมีอาการชักหรือหมดสติ ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาดเพราะอาจสำลักเข้าปอดได้ ของหวานที่รับประทานได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำตาล 2 ก้อน ลูกอม 2 เม็ด น้ำผลไม้คั้นสดหรือน้ำหวานเข้มข้นครึ่งแก้ว น้ำผึ้งหรือน้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
5.เบาหวานขึ้นตา
อาการเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ถือเป็นสาเหตุของการตาบอดเป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก ทำให้เส้นเลือดในจอประสาทตาเสื่อมและเปราะแตกง่าย ในช่วงแรกอาจรู้สึกว่าตาพร่ามัวเล็กน้อย หากอาการเข้าสู่ระยะรุนแรงอาจถึงขั้นตาบอดถาวร
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเข้า โปรแกรม ตรวจ สุขภาพ ประ จํา ปี เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจติดตามผลทุกปี พร้อมกับกินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนัก ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด พร้อมกับกินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

ที่มาข้อมูล
https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/บทความ-เบาหวาน-ความดัน/รู้ได้อย่างไร-ว่าเป็นเบาหวาน-#:~:text=การตรวจเลือดปลายนิ้ว (capillary,ซ้ำทุก 1-3 ปี
https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/dm-and-endocrinology-center-th/diabetes-articles-th/item/451-diabetes-2-th.html
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/May-2016/diabetes-risk-prevention-treatment
https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/dm-and-endocrinology-center-th/diabetes-articles-th/item/451-diabetes-2-th.html