ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

Nine100.com ประกาศสอบ ข่าวสารราชการ นายสิบตำรวจ นายร้อยตำรวจ

เริ่มโดย wm5398, 14:34 น. 06 พ.ค 64

wm5398

20 เรื่อง หอสมุดกองทัพอากาศ

ภารกิจของหอสมุดกองทัพอากาศ
หอสมุดกองทัพอากาศอยู่ในการกำกับดูแลของ กองวิทยบริการ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ มีหน้าที่ดำเนินการ วางแผน อำนวยการประสานงาน ควบคุมและกำกับการเกี่ยวกับกิจการห้องสมุดในการรวบรวม จัดหา เก็บรักษาและให้บริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ทั้งในด้านของเอกสาร สิ่งพิมพ์ วารสาร สารคดีและหนังสือประกอบอื่นๆที่มีประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าวิจัยทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ ด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
รวมทั้งยังเผยแพร่ข่าวสารและกิจการเกี่ยวกับห้องสมุด และมีบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือและประสานงานกับห้องสมุดอื่นๆ โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ประวัติ หอสมุดกองทัพอากาศ
เมื่อปี พ.ศ. 2540 กองทัพอากาศได้จัดตั้งโครงการหอสมุดกองทัพอากาศเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช เนื่องในมหามงคลวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเฉลิมพระเกียติและเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิชาการด้านต่างๆของนายทหารนักเรียนสถาบันต่างๆภายในกองทัพอากาศ รวมทั้งให้ข้าราชการ ลูกจ้างและครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วๆไปก็สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากในนหอสมุดกลางได้
โดยตัวของอาคารหอสมุดนี้ได้ถูกออกแบบโดยกรมช่างโยธา ทหารอากาศ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2540 แล้วเสร็จในวันที่ 27 ธันวาคม 2542 โดยจะมีพื้นที่ใช่สอยมากถุง 5,562 ตารางเมตร ทั้งยังตัวอาคารมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและลิฟท์ไว้ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมประมาณ 80 ล้านบาท ซึ่งมีกองเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการนี้
ต่อมาในเดือน เม.ย. 2552 กองทัพอากาศได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานใหม่ขึ้น โดยได้ยุบกองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ ส่งผลให้หอสมุดกองทัพอากาศต้องย้ายไปสังกัดอยู่ภายใต้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยมี หก.กองวิทยบริการดำรงตำแหน่ง หัวหน้าหอสมุดกองทัพอากาศ

การสมัครสมาชิกหอสมุดกองทัพอากาศ (Requirements)
       - ใบสมัครสมาชิก (สามารถติดต่อขอรับบริเวณที่รับสมัคร)
       - รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
       - สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ

ระเบียบการยืม-คืนหอสมุดกองทัพอากาศ (Library Membership)
       - ผู้ยืมจะต้องแสดงบัตรสมาชิกหอสมุดต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง และส่งคืนด้วยตนเอง
       - ทรัพยากรสารสนเทศให้ยืมได้ (ยกเว้น วารสาร จุลสารล่วงเวลา) ยืมได้ครั้งละไม่เกิน 3 เล่ม/สัปดาห์
       - วารสารและจุลสารล่วงเวลาให้ยืมได้ครั้งละไม่เกิน 3 เล่ม/3 วัน
       - การต่อระยะเวลาการยืม ให้ผู้ยืมนำทรัพยากรหอสมุดมาส่งตามกำหนดก่อนเพื่อลงหลักฐานการคืน แล้วจึงจะยืมต่อได้อีก 1 ครั้ง (เว้นแต่กรณีผีผู้อื่นสั่งจองไว้) เมื่อยืมครบ 2 ครั้งติดต่อกันแล้ว ต้องนำมาส่งคืนและจะยืมได้อีกหลังส่งคืนแล้ว 7 วัน
       - ผู้ยืมจะต้องส่งคืนทรัพยากรหอสมุดที่ยืมออกไปจากหอสมุดภายในเวลาที่กำหนดทุกครั้ง และต้องคืนกับเจ้าหน้าที่หอสมุดโดยตรง
       - ผู้ที่ส่งหนังสือคืนเกินกำหนด จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ และจ่ายค่าบำรุง ผู้ที่ไม่แจ้งให้หอสมุดทราบและค้างค่าบำรุงจะมีชื่อปรากฎในระบบ และจะขอยืมทรัพยากรสารสนเทศให้ยืมอื่น ๆ อีกไม่ได้จนกว่าจะจ่ายค่าบำรุงให้เรียบร้อย
       - สมาชิกที่ใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้ยืมได้ ที่ยืมจากหอสมุดเสร็จก่อนกำหนดส่ง ขอให้นำมาคืนหอสมุดเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้ต่อไป

ข้อปฏิบัติในการใช้หอสมุดกองทัพอากาศ (Regulation)
       - ห้ามนำกระเป๋าเอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่สามารถใช้บรรจุสิ่งของ หรือหนังสือ แฟ้มเอกสาร หรือสิ่งของอื่นๆ เข้าไปในหอสมุดกองทัพอากาศ ผู้ใช้บริการจะต้องฝากสิ่งของดังกล่าวไว้กับเจ้าหน้าที่จนกว่าจะออกจากหอสมุดกองทัพอากาศ และเจ้าหน้าที่หอสมุดกองทัพอากาศ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจค้นผู้ใช้บิรการในกรณีจำเป็น
       - การใช้งานทรัพยากรสารสนเทศ และอุปกรณ์ของหอสมุดกองทัพอากาศ ด้วยความระวัง ห้ามขีดเขียน ตัด พับ หรือทำลาย หรือใช้งานผิดวัตถุประสงค์สำหรับสิ่งของหรืออุปกรณ์นั้นๆ
       - ผู้ใช้บริการต้องเคารพต่อสถานที่ ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น หรือกระทำการใดๆ ที่อาจจะทำให้ผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ขาดสมาธิ
       - ห้ามนำอาหาร เข้าไปในหอสมุดกองทัพอากาศ ยกเว้นเครื่องดืมสำหรับการประชุม หรือสัมมนาเท่านั้น

รูปแบบและการให้บริการหอสมุดกองทัพอากาศ
       - บริการยืม-คืนหนังสือ และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
       - บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ
       - บริการสืบค้นฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย
       - การบริการสื่อผสม
       - บริการค้นหาข้อมูลทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
       - บริการเครือข่ายไร้สาย (Wifi)
       - บริการแนะนำการใช้หอสมุด
       - ห้องประชุมและห้องศึกษากลุ่ม

ผู้มีสิทธิเข้าใช้บริการหอสมุดกองทัพอากาศ
       - ข้าราชการ ลูกจ้างพนักงานราชการกองทัพอากาศ
       - ผู้เข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาของกองทัพอากาศ
       - ประชาชนทั่วไป
*ผู้มีสิทธิเข้าใช้บริการ สามารถสมัครเป็นสมาชิกหอสมุด ทอ. ยกเว้นประชาชนทั่วไปให้ใช้หลักฐานในการสมัครดังนี้ใบสมัครสมาชิก (ติดต่อขอรับบริเวณที่รับสมัคร)

ส่วนชั้น 1 ของ หอสมุดกองทัพอากาศ
       - บริเวณชั้น 1ให้บริการวารสาร / จุลสาร / หนังสือพิมพ์ โดยจัดที่นั่งเดี่ยว และกลุ่ม การสืบค้นผ่าน OPAC จำนวน 2 จุด บริเวณชั้นนี้มีส่วนของบริการยืม -คืน
      - บริเวณชั้นลอยจัดเป็นห้องประชุม จำนวน 139 ที่นั่ง มีระบบฉาย ระบบเสียงที่ทันสมัยและบริเวณหน้าห้องประชุมมีพื้นที่โล่ง เหมาะสำหรับการจัดนิทรรศการ

ส่วนชั้น 2 ของ หอสมุดกองทัพอากาศ
       - จัดบริเวณสำหรับหนังสือสารคดี บันเทิงคดี โดยแบ่งเป็นหนังสือ ภาษาไทยและหนังสือต่างประเทศ การจัดที่นั่งอ่านมีแสงสว่างที่เพียงพอ บรรยากาศสงบเป็นวิชาการมากกว่าชั้น 1 สืบค้นข้อมูลผ่าน OPAC ได้ นอกจากนี้มีมุมคุณธรรมของศูนย์คุณธรรมด้วย

ส่วนชั้น 3 ของ หอสมุดกองทัพอากาศ
       - ห้องเอกสารวิจัย ขณะนี้จัดเก็บเอกสารวิจัยของนักศึกษา วทอ.ฯ นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ เอกสารวิจัยของสถาบันการศึกษาอื่นบางส่วน ตลอดจนวิทยานิพนธ์ของข้าราชการ ทอ. ที่ศึกษาต่อเนื่อง สืบค้นข้อมูลผ่าน OPAC ได้ที่ห้องนี้
       - ห้องหนังสืออ้างอิง รวบรวมหนังสืออ้างอิงที่มีคุณภาพ และที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางทหารที่หาได้ยากในห้องสมุดแห่งอื่นๆ ในห้องนี้จะแยกหนังสืออ้างอิงภาษาไทย และภาษาต่างประเทศไว้คนละส่วน
       - ห้องบริการสื่อประสมให้บริการด้านโสตทัศนวัสดุ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแถลงผลงาน หรือผลิตสื่อการเรียนการสอน สำหรับโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ
       - ห้องเอกสารอ้างอิงจะเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารต่างๆ เชิงวิชาการของหน่วยงานภายใน ทอ. แบบธรรมเนียม และคู่มือต่างๆ ที่ข้าราชการควรรู้

ส่วนชั้น 4 ของ หอสมุดกองทัพอากาศ
       - บริเวณชั้น 4 เป็นส่วนของสำนักงาน ห้องดูแลระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นได้แบ่งเป็นห้องสัมมนากลุ่ม จำนวน4ห้อง
อ่านเพิ่มเติมได้จาก  https://nine100.com/subjects-air-force-library

wm5398

20 เรื่อง ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ


ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ คือ
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ คือ หน่วยงานที่ได้รับการในด้านการเป็นหน่วยงาน วิชาการด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงชั้นเลิศ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่คอยให้การด้านการศึกษาอบรมทางยุทธศาสตร์ ทั้งยังมีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ประวัติศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2520 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ (สวศ.) ขึ้น เพื่อให้ทำหน้าที่เสนอแนะในด้านยุทธศาสตร์การเมือง การเศรษฐกิจ การสังคมจิตวิทยาและการทหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับสูง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 22 ก็ได่ทำการจึงได้จัดตั้ง สวศ. ตามคำสั่ง บก.ทหารสูงสุด ให้เป็นหน่วยขึ้นตรง วปอ. โดยจะมี รอง ผอ.วปอ. ฝ่ายวิชาการ เป็น ผอ.สวศ. และ ผอ.กองวิชาการต่างๆ ของ วปอ. จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายต่างๆของ สวศ. ทั้งนี้การจัดตั้ง สวศ. ยังเป็นการจัดตั้งโดยใช้อัตราเพื่อพลางไปจนถึงปี พ.ศ. 2532 จึงได้เปิดอัตรา สวศ. ขึ้นเป็นอัตราแยกต่างหาก

ต่อมาในปี 2533 ก็ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างซึ่งส่งผลให้ สวศ. มีฐานะเป็นหน่วยขึ้นตรง สปท. ตั้งแต่ 25 มี.ค. 34 แล้วหลังจากนั้นก็ได้มีการให้ใช้อัตราของส่วนราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ตามคำสั่งกองทัพไทย ในเรื่อง อัตรากองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพไทย เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 52 เพื่อปฏิบัติตาม พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2552 ส่งผลทำให้ สวศ.สปท. ปรับเปลี่ยนเป็น ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (ศศย.สปท.) มาจนถึงปัจจุบัน

ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ
- วางแผน จัดทำโครงการและดำเนินการเพื่อการศึกษา วิจัยทางยุทธศาสตร์และความมั่นคง
- ศึกษา พิจารณาวัตถุประสงค์ นโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
- ดำเนินการวิเคราะห์และประเมินสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
- ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ และความมั่นคงแก่หน่วยงานของกองทัพและรัฐบาล
- วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการเชิญและแต่งตั้งที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ร่วมดำเนินการศึกษา วิจัยทางยุทธศาสตร์ ณ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
- วางแผนและดำเนินการจัดการประชุม การสัมมนา การวิจัยหรือการประเมินสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์
- วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลงานกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งวิจัยหรือประเมินสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์กับบุคคลหรือองค์กรอื่นๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- ประสานการวิจัย แลกเปลี่ยนข้อมูล และร่วมศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางยุทธศาสตร์กับบุคคลหรือองค์กรอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศและต่างประเทศ
- วางแผนและดำเนินการ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานการวิจัยทางยุทธศาสตร์ในระดับชาติและระดับนานาชาติ
- วางแผนและดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้านยุทธศาสตร์และจัดทำระบบฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
- วางแผนและดำเนินการจัดทำระบบสารสนเทศสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางยุทธศาสตร์ การประชุมทางไกล การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- วางแผนและดำเนินการให้การศึกษาอบรมทางยุทธศาสตร์แก่บุคลากรของกองทัพและนอกกองทัพ

กองสนับสนุน ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
กองสนับสนุนของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ นั้นจะมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการและกำกับดูแลงานด้านการสารบรรณ การธุรการ การกำลังพล การงบประมาณ การเงิน การบัญชี การพิธีและการรับรอง การส่งกำลังบำรุง การสื่อสาร การพลาธิการ การประชาสัมพันธ์ การสาธารณูปโภค การสุขาภิบาล การออกแบบสิ่งพิมพ์ การผลิต การแจกจ่ายเอกสารทางวิชาการ การจัดสำนักงานและการรักษาความปลอดภัย จนไปถึงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด โดยจะสามารถแบ่งส่วนราชการออกได้ดังนี้
- แผนกธุรการและกำลังพล มีหนาที่วางแผน ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการสารบรรณ การธุรการ กำลังพล การพิธีและการรับรอง การกุศล การสวัสดิการ และการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
- แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการ มีหน้าที่วางแผน ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี การบริหารทรัพยากร การตรวจสอบและประเมินผล การควบคุม ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ การส่งกำลังบำรุง การสื่อสาร การพลาธิการ การขนส่ง การกีฬา การสาธารณูปโภคและการสุขาภิบาล การผลิตและแจกจ่ายเอกสารทางวิชาการ งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโสตทัศนูปกรณ์ทั้งปวง การประชาสัมพันธ์ การจัดทำระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบสิ่งพิมพ์ การบันทึกภาพและเสียง รวมถึงการบริการอื่นๆในกิจการของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์

กองแผนและโครงการ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
กองแผนและโครงการของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ จะมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการและกำกับดูแลงานด้านนโยบาย แผนงานและโครงการ รวมไปถึงการพัฒนาระบบราชการ การตรวจสอบและการประเมินผล จนไปถึงดำเนินการด้านการศึกษาอบรมทางยุทธศาสตร์แก่บุคลากรของกองทัพอีกด้วย

กองศึกษาวิจัยทางยุทธศาสตร์และความมั่นคง ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
กองศึกษาวิจัยทางยุทธศาสตร์และความมั่นคงของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ จะมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการและกำกับดูแลงานด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ รวมไปถึงสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในประเทศและต่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งยังมีหน้าที่ในการจัดประชุม การรวบรวมข้อมูลและจัดทำเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้รับทราบ ตลอดไปจนถึงการผลิตบุคลากรด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทั้งปวงให้กับข้าราชการในกระทรวงกลาโหมและพลเรือน

กองภูมิภาคศึกษา ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
กองภูมิภาคศึกษาของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ จะมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการและกำกับดูแลงานด้านการศึกษา วิจัย เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา รวมไปถึงการติดตามสถานการณ์ความมั่นคงด้านต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งยังต้องคอยรวบรวมข้อมูลและจัดทำเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆให้กับผู้บังคับบัญชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้รับทราบ

วิสัยทัศน์ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
"เป็นองค์กรชั้นนำในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงด้วยการเป็น DIGITAL และ SMART ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในอาเซียน"

ปรัชญา ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
ความมั่นคงของชาติเกิดจากการกำหนดยุทธศาสตร์อย่างรอบคอบ และกว้างไกล

ปณิธาน ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
กำหนดแนวคิด ผลิตนักยุทธศาสตร์ พัฒนาชาติให้มั่นคง

พันธกิจ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
- รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ เพื่อการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะทางยุทธศาสตร์และความมั่นคง แก่หน่วยงานของกองทัพ และรัฐบาล
- พัฒนาศักยภาพองค์กรในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และร่วมศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางยุทธศาสตร์และความมั่นคงกับบุคคล หรือองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ผลงานวิชาการทางยุทธศาสตร์และความมั่นคง ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติและนานาชาติสร้างนักยุทธศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ

อ่านเพิ่มเติม https://nine100.com/subjects-center-for-strategic-studies/

wm5398

20 เรื่อง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง


สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง คือ
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง คือ สถานวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยจะมีภารกิจในการประศาสน์วิทยาการทางด้านสังคมจิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสาร แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน พนักงานองค์กรรัฐ และบุคลากรอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยจะมีผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ประวัติ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
กองบัญชาการทหารสูงสุด (กรมเสนาธิการกลาโหมในขณะนั้น) ได้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนสงครามจิตวิทยา เพื่อทำการเปิดการศึกษาอบรมให้กับนายทหารผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้านนี้โดยเฉพาะขึ้นเป็นรุ่นแรก (รุ่นพิเศษ) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2498 และถูกสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พฤษภาคม 2498 โดยใช้เวลาศึกษาอบรมรวม 23 วัน ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะให้นายทหารที่จบการศึกษาไปแล้ว สามารถเตรียมการจัดตั้งหน่วยรับผิดชอบดำเนินงานด้านนี้ได้โดยตรง จึงกำหนดให้วันเปิดการศึกษาครั้งแรกของหลักสูตร คือวันที่ 4 พฤษภาคม 2498 เป็นวันสถาปนาหน่วยนั่นเอง
หลังจากนั้นการปฏิบัติการจิตวิทยา ได้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติการของฝ่ายเราและฝ่ายตรงข้ามที่ต่างก็ใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาอย่างกว้างขวางและได้ผลมาโดยลำดับ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ข้าราชการระดับบริหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านนี้เข้ารับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ และเพื่อให้มีขีดความสามารถในการตอบโต้และปฏิบัติการจิตวิทยาในเชิงรุกแก่ฝ่ายตรงข้าม แต่เนื่องจากทางโรงเรียนสงครามจิตวิทยาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทางราชการได้อย่างเต็มที่เพราะการดำเนินงานกระทำได้ภายในขอบเขตจำกัด ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการด้านวิชาการ และความต้องการของสถานการณ์ในปัจจุบันขณะนั้นทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้ง "สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง" ขึ้นแทนโรงเรียนสงครามจิตวิทยา โดยถูกกำหนดให้เป็นสถาบันการศึกษาที่ขึ้นตรงต่อกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2521

เมื่อในปี พ.ศ. 2525 ได้มีคำสั่งจากกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 185/25 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2525 และคำสั่งกองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ที่ 71/2526 ลงวันที่ 19 มกราคม 2526 ให้มอบการบังคับบัญชา สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง กรมยุทธการทหาร ขึ้นกับ สำนักงานสารนิเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด โดยจะมีพิธีส่งและรับมอบการบังคับบัญชาขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2526 ดังนั้นสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงจึงเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ สำนักงานสารนิเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม 2533 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2533 และคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 55/34 เรื่องแก้ไขอัตรากองบัญชาการทหารสูงสุด ให้สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สำนักงานสารนิเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด ให้ขึ้นการบังคับบัญชากับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2534

หลังจากได้ใช้หลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการมานาน ได้ถูกมีการปรับปรุงเนื้อหาวิชามาอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็นหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง โดยมีการฝึกอบรมปีละ 1 รุ่น ระยะเวลา 22 สัปดาห์ และยังเพิ่มเติมเนื้อหาวิชาการปฏิบัติการข่าวสารในหลักสูตรและมีการฝึกร่วมกับวิทยาลัยเสนาธิการทหาร เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและสามารถกำหนดแนวทางการการปฏิบัติการข่าวสารได้ โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้สถาบันจิตวิทยาความมั่นคงมีความมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถนำแนวทาง ตามหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก่อให้เกิดความมั่นคง และประโยชน์ต่อประเทศไทยให้มากที่สุด

ภารกิจ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย มีภารกิจในการประศาสน์วิทยาการทางด้านสังคม จิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสาร แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดจนพนักงานองค์กรรัฐ และบุคลากรอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ศึกษาวิจัยและพัฒนาหลักนิยมด้านสังคม จิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสาร ให้เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ
- พิจารณาเสนอแนะนโยบาย แผนและโครงการเกี่ยวกับการสังคม จิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสารที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
- ให้การศึกษาอบรมด้านสังคม จิตวิทยา การปฏิบัติการข่าวสารแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน รัฐวิสาหกิจ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและบุคคลอื่น ตามนโยบายที่ได้รับ
- ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาสัมพันธ์ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
- ฝึกอบรมพัฒนาสัมพันธ์ระดับสูงให้กับผู้บริหารจากทุกภาคส่วน
- ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านการศึกษาที่เกี่ยวกับสังคม จิตวิทยา การปฏิบัติการข่าวสาร ประเมินผลการศึกษา จัดทำสถิติ ทะเบียนประวัติ รายงานผลการศึกษา รายงานเอกสารศึกษาเป็นคณะและงานด้านสารสนเทศ
- ดำเนินการส่งเสริมให้มีความร่วมมือและประสานการปฏิบัติทางด้านวิชาการปฏิบัติการข่าวสาร โดยเฉพาะการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินงานเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางการศึกษา

สัญลักษณ์ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
สัญลักษณ์สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง คือเข็มจิตวิทยาความมั่นคง มีลักษณะเป็นรูปโล่ซ้อนทับบนคบเพลิง พื้นโล่จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยสีดำ สีเทาและสีขาว โดยเป็นรูปจักรมีสมอขัดในจักรด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกางล้อมรอบทั้งหมดนี้ด้วยช่อชัยพฤกษ์ ซ้อนทับตรงกลางโล่ และยังมีแพรแถบสีทองเป็นแผ่นครึ่งวงกลมมีตัวอักษรบาลีเขียนไว้ว่า "สจฺเจนาลิกวาทินํ"
ความหมายของส่วนประกอบแต่ละส่วนมีดังนี้
- คบเพลิง หมายถึง ความรู้ ความรุ่งเรือง เจริญก้าวหน้า
- รูปโล่ หมายถึง เกราะป้องกันอันตราย
- สีดำ หมายถึง แหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อที่ปกปิด
- สีเทา หมายถึง แหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อที่คลุมเครือ
- สีขาว หมายถึง แหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อที่เปิดเผย
- จักร หมายถึง เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพบก
- สมอ หมายถึง เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพเรือ
- ปีกนกกาง หมายถึง เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพอากาศ
- ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นหน่วยรวมการบังคับบัญชา อำนวยการและประสานกิจการของกองทัพทั้งสาม
- อักษรคำบาลี สจฺเจนาลิกวาทินํ พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

คำขวัญ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
"สจฺเจนาลิกวาทินํ" พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

ปรัชญา สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
การปฏิบัติการจิตวิทยา นำพาสู่ความมั่นคงของชาติ

วิสัยทัศน์ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
เป็นองค์กรชั้นนำ ในการประศาสน์วิทยาการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้านการปฏิบัติการข่าวสาร เพื่อความมั่นคงของชาติ

ปณิธาน สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
มุ่งผลิตนักปฏิบัติการข่าวสาร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://nine100.com/institute-of-psychology/

wm5398

20 เรื่อง โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ


โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
โรงเรียนทหารราบถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 21 ธ.ค. 2492 เป็นหน่วยในบังคับบัญชาของโรงเรียนทหาราบ ศูนย์การทหารราบ โดยที่ตั้งของหน่วยได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง 3 ครั้ง จนมาถึงปัจจุบันดังนี้
- พ.ศ.2492 ตั้งอยู่ที่ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี
- พ.ศ.2510 ย้ายเข้าไปตั้งที่ใหม่ ค่ายธนะรัชต์ หมู่ที่ 3 ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
- พ.ศ.2538 ย้ายเข้าที่ตั้งปัจจุบัน (อาคารหลังใหม่) ภายในพื้นที่ค่ายธนะรัชต์

หลักสูตรโรงเรียนทหารราบ
โรงเรียนทหารราบมีหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติให้ทำการฝึกศึกษารวมทั้งสิ้น 33 หลักสูตร โดยโรงเรียนทหารราบจะถูกแบ่งหลักสูตรออกเป็นประเภทได้ 4 ประเภท ได้แก่
- หลักสูตรหลัก (หลักสูตรตามแนวทางการรับราชการ)
- หลักสูตรการผลิตกำลังพล
- หลักสูตรเฉพาะหน้าที่
- หลักสูตรผู้ชำนาญการ

เครื่องหมายโรงเรียนทหารราบ
เครื่องหมายโรงเรียนทหารราบจะใช้เครื่องหมายเดียวกับศูนย์การทหารราบเป็นรูปช่อชัยลตกษ์, ตะเกียงและดาบปลายปืนด้านล่างจะมีแถบปลายแพกสะบัดปลายทั้งสองข้าง ส่วนภายในแถบมีคำว่า "เกียรติความรู้ลลัง" ส่วนของใต้เครื่องหมายมีนามหน่วย "โรงเรียนทหารราบศูนย์การทหารราบ" โค้งรับกับการจัดองค์ประกอบส่วนบนซึ่งมีลักษณะโค้งเป็นวงกลมโดยมีความหมายดังต่อไปนี้
- ช่อชัยลตกษ์หมายถึงเกียรติ
- ตะเกียงหมายถึงแสงสว่างคือการให้ความรู้
- ดาบปลายปืนหมายถึงลลังและอำนาจ
- แถบปลายแพกที่บรรจุข้อความเกียรติความรู้พลังคือปณิ
- ธานของโรงเรียนทหารราบ

สีประจำโรงเรียนทหารราบ
สีประจำโรงเรียนทหารราบ คือ สีม่วง–ขาว

ปรัชญาโรงเรียนทหารราบ
"สร้างองค์ความรู้ คู่คุณธรรม สร้างผู้นำทางทหาร วิทยาการทันสมัย มีวิสัยทัศน์"

วิสัยทัศน์ โรงเรียนทหารราบ
โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการของทหารราบ เพื่อดำเนินการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติวัฒนธรรมองค์กรทหารและฝึก ศึกษากำลังพล ของเหล่าทหารราบให้มีความรอบรู้ทันสมัยและมีขีดความสามารถปฎิบัติการในสงคราม และมิใช่สงครามเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการฝึก – ศึกษาร่วมด้านความมั่นคงของ ASEAN ตามกรอบนโยบายของกองทัพบก

พันธกิจ โรงเรียนทหารราบ
- ปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ วัฒธรรมองค์กรทหารแก่ผู้เข้ารับการศึกษาและกำลังพลของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- จัดการฝึกศึกษาและสนับสนุนพื้นที่ฝึกให้กับกำลังพลเหล่าทหารราบและเหล่าอื่นๆ ตามนโยบายของกองทัพบก
- ผลิตนายทหารชั้นประทวนของเหล่าทหารราบตามที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการศึกษา วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับหลักนิยมทางยุทธวิธีเทคนิคของเหล่า ทหารราบร่วมกับกองวิทยาการ ศูนย์การทหารราบและส่วนราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาคุณภาพครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและอุปกรณ์การฝึกศึกษาให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ให้การบริการทางวิชาการแก่สังคมชุมชน
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ภารกิจของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- วางแผนอำนวยการและดำเนินการฝึกศึกษาให้แก่กำลังพลของเหล่าทหารราบและเหล่าอื่นๆ ตามนโยบายของกองทัพบก
- ศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับหลักนิยมยุทธวิธีและเทคนิคของเหล่าทหารราบร่วมกับกองวิทยาการและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
​ - ผลิตนายทหารชั้นประทวนของเหล่าทหารราบและกำลังพลประเภทอื่นตามที่ได้รับมอบภายในขอบเขตของขีดความสามารถ
- ปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการศึกษา
- บันทึกและรายงานสถิติผลงานตามหน้าที่

ภารกิจของกองการศึกษา โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- ดำเนินการให้การฝึกและศึกษาแก่นักเรียนในหลักสูตรต่างๆ ของเหล่าทหารราบ
- จัดอาจารย์และครู ไปทำการสอนวิชาทหารราบ ให้กับโรงเรียนทหารราบอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบ
- ดำเนินการให้การศึกษาและปรับปรุงความรู้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ อาจารย์ และครูในโรงเรียนทหารราบ
- พิจารณาและเสนอความต้องการในการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายในโรงเรียนทหารราบ
- บันทึกและรายงานสถิติผลงานตามหน้าที่

ภารกิจของกรมนักเรียน โรงเรียนทหารราบศูนย์การทหารราบ
- ดำเนินการให้การศึกษากับนายทหารนักเรียนนายสิบนักเรียนและนักเรียนนายสิบเหล่า ร. ในหลักสูตรต่างๆตามที่ได้รับมอบ
- จัดอาจารย์และครูไปสอนวิชาทหารราบให้กับโรงเรียนทหารอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบ
- ดำเนินการให้การศึกษาและปรับปรุงความรู้แก่นายทหารและนายสิบที่จะทำหน้าที่ อาจารย์ ครูในโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พิจารณาและเสนอความต้องการในการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายในโรงเรียนทหารราบ
- บันทึกและรายงานสถิติผลงานตามหน้าที่

เป้าหมาย โรงเรียนทหารราบศูนย์การทหารราบ
- สามารถจัดการศึกษาได้ตามความต้องการของหน่วย/กำลังพลเหล่าทหารราบ และนโยบายของกองทัพบก
- ผู้เข้ารับการศึกษาได้รับการพัฒนาครบทุกมิติทั้งด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญา และมีคุณลักษณะทางทหารอันพึงประสงค์ของกองทัพ
- มีหลักสูตรการศึกษาที่ทันสมัยตรงความต้องการของหน่วยทหารราบและนโยบายของกองทัพบก
- มีครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถตรงกับงาน

การแต่งกายของโรงเรียนทหารราบ
การแต่งกายนั้นจะต้องใส่ชุดปกติกากีแกมเขียวคอลับแขนสั้น หากในวันที่มีการฝึกในสนามต้องแต่งกายชุดฝึกพราง
*อาจมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งให้ยึดถือตารางกำหนดการฝึก/สอน และนโยบายของผู้บังคับบัญชา
อ่านเพิ่มเติม https://nine100.com/infantry-school/