ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เข้าใจ เรียนรู้และปรับตัว เตรียมพร้อมรับมือเมื่อคนใกล้ชิดมี อาการโรคซึมเศร้า

เริ่มโดย unyanamah, 16:21 น. 13 มิ.ย 64

unyanamah

   เมื่อกล่าวถึงโรคซึมเศร้าอัตราการฆ่าตัวตายก็ตามกันมาติด ๆ เพราะ โรค ซึม เศร้า สาเหตุ อันดับหนึ่งของการฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทยมากถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขน้อย ๆ เลย อีกทั้งท่ามกลางความเครียดความกดดันของการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันนั้นเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้ผู้คนเกิดอาการซึมเศร้ากันได้ง่ายมาก วันนี้เราจะพาทุกท่านไปเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ อาการโรคซึมเศร้า สู่ความพร้อมในการรับมือหากตนเองและคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงที่จะมีอาการซึมเศร้า




เข้าใจอาการของโรคซึมเศร้า
   สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้านั้นมากจากความผิดปกติของการหลั่งสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงไม่ใช่เพียงแค่ความผิดปกติทางอารมณ์เท่านั้น การจะรักษาเยียวยาจึงไม่ใช่แค่พูดให้กำลังใจหรือหาสิ่งกระตุ้นทางอารมณ์เท่านั้น แต่ยังต้องได้รับยาเพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานของสารสื่อประสาทอย่างต่อเนื่องด้วย

สาเหตุของโรคซึมเศร้า
   ปัจจัยที่ไปกระตุ้นให้สารสื่อประสาททำงานผิดปกตินั้นมีได้หลายทาง เช่น กรรมพันธุ์ ความเครียดสะสม ความพลัดพรากสูญเสีย ความผิดหวังซ้ำ ๆ หรือการเติบโตขึ้นมาพร้อมกับประสบการณ์มรสุมชีวิตที่โหดร้าย ขาดความอบอุ่น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เมื่อจมทุกข์สะสมเป็นเวลานานก็เสี่ยงที่สารสื่อประสาทจะขาดสมดุลได้

ลักษณะอาการของโรคซึมเศร้า
   ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการทางอารมณ์และสภาพจิตใจที่หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ เครียด วิตกกังวล ดูถูกตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกต่อไป บางรายอาจมีอารมณ์เกรี้ยวกราดง่าย หงุดหงิด ซึ่งอาการเหล่านี้มักมาพร้อมกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เบื่ออาหารหรือกินอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากกว่าเดิม ไม่ค่อยมีสมาธิ เบื่อง่าย ไม่มีความสุขกับสิ่งของหรือกิจกรรมที่ชอบ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความเศร้าได้ บุคคลใกล้ชิดต้องเข้าใจและเรียนรู้ว่าอาการเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยจงใจหรือแสร้งทำ แต่เพราะสารสื่อประสาทกระตุ้นให้เกิด การเบี่ยงเบนความสนใจหรือวิธีรับมือจึงไม่ควรพูดให้หายเศร้า แต่ควรรับฟังอย่างเข้าใจเขาจริง ๆ

ปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคซึมเศร้า
   เมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวป่วยด้วย อาการโรคซึมเศร้า แล้ว ไม่ควรพูดจาแสดงความไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเศร้าด้วย ยิ้มสิ มีความสุขสิ หรือพยายามชวนให้หากิจกรรมผ่อนคลาย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยซึมเศร้ารู้สึกดีขึ้น กลับจะยิ่งทับถมทำให้เขาคิดว่าตัวเองไม่มีค่า ตัวเองเป็นภาระ ควรจะใช้คำพูดที่ให้กำลังใจดี ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยซึมเศร้าเห็นคุณค่าในตัวเอง แสดงให้เขาเห็นว่ายังมีเราอยู่ข้าง ๆ เสมอ เขาไม่ได้อยู่ลำพังเพียงคนเดียว พยายามเป็นผู้ฟังที่ดีรับฟังอย่างเข้าใจ ไม่ตัดสินซ้ำเติม ให้เวลาผู้ป่วยได้ระบายความในใจออกมา และที่สำคัญควรพูดคุยพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาทางจิตวิทยาและรับยาปรับสมดุลสารสื่อประสาทได้ตามโรงพยาบาลแผนกจิตเวช international hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช หรือ medical clinic ที่มีจิตแพทย์ ขอเพียงแค่เข้าใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ปรับตัวไปพร้อมกับผู้ป่วย เราก็จะสามารถรับมือและใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อย่างมีความสุข

   สำหรับใครก็ตามที่กำลังหาข้อมูลว่าควร  ตรวจสุขภาพ ที่ไหนดี สามารถดูข้อมูล โรงพยาบาลหรู medpark เพื่อประกอบการพิจารณาไว้ก่อนได้เลย เผื่อจะได้ตอบคำถามในครั้งต่อไปได้ว่า ตรวจร่างกายที่ไหนดี หรือสามารถอ่านเพิ่มเติมจากที่เรารวบรวมเป็นทางเลือกไว้ให้ที่นี่เลย https://www.wongnai.com/articles/healthy-check