ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ สังเกตได้ไม่ยากยิ่งรู้ไวยิ่งรักษาง่าย

เริ่มโดย unyanamah, 00:12 น. 01 ก.ค 64

unyanamah

ปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากทุกเพศทุกวัยที่เป็น โรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke) โดยมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้
โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นโรคอันตรายอีกชนิดที่มีสาเหตุมาจากภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดเกิดการตีบหรือหลอดเลือดมีการอุดตัน รวมถึงหลอดเลือดเกิดการเปราะแตก จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณสมองถูกทำลาย สมองจึงเกิดหยุดการทำงานและทำให้เป็นอัมพฤกษ์ - อัมพาตในที่สุด
โดยปกติแล้วความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
•   หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ถือเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้จะพบได้ร้อยละ 80 ของผู้ป่วย โดยการอุดตันของหลอดเลือดในสมองนั้นมักจะเกิดจากลิ่มเลือดในส่วนอื่นของร่างกายไหลมาอุดตันอยู่ที่บริเวณหลอดเลือดสมองหรือเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมองขยายส่วนใหญ่ขึ้นทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดสมองได้ สำหรับกรณีหลอดเลือดตีบนั้นเกิดจากการมีไขมันในหลอดเลือดมากจนสะสมทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบแคบลง ส่งผลให้การลำเลียงเลือดมีประสิทธิภาพลดน้อยลง
•   หลอดเลือดสมองแตก พบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วย  โดยมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองมีความเปราะบางอยู่แล้ว และเมื่อเกิดภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดสมองที่เปราะบางเกิดโปร่งพองจนแตกออกได้ หรือเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดสมองเป็นจำนวนมากส่งผลให้หลอดเลือดสมองขาดความยืดหยุ่นจึงทำให้ปริแตกออกง่าย และเมื่อหลอดเลือดสมองแตกแล้วจะทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงแบบฉับพลันและยังเกิดเลือดออกภายในสมองอีกด้วย หากส่งตัวผู้ป่วยไปทำการรักษาช้าอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จึงถือเป็นภาวะที่มีความอันตรายสูง
อย่างไรก็ตามภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดสมองนั้นจะมีสัญญาณนำมาก่อน ซึ่งสามารถสังเกตได้ไม่ยากในผู้ป่วยบางรายและถือเป็นอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ที่ผู้ป่วยและคนรอบข้างควรหมั่นสังเกตก่อนที่จะไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาโรค ได้แก่
•   เกิดอาการชา รวมถึงอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า บริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
•   มีอาการปากเบี้ยว มุมปากตก ควบคุมการไหลของน้ำลายไม่ได้ กลืนอาหารลำบากและพูดไม่ชัด
•   มีอาการปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะอย่างฉับพลัน
•   เกิดอาการตาพร่ามัว มองเห็นเป็นภาพซ้อนหรือเห็นเพียงครึ่งซีก ในบางรายอาจมีอาการตาบอดมองไม่เห็นข้างเดียวแบบฉับพลัน
•   มีอาการเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่
อาการเหล่านี้อาจถือได้ว่าเป็น "ภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว" ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนแล้วหายไปได้เองหรืออาจเกิดขึ้นหลายครั้งก่อนจะมีอาการถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นผู้ป่วยไม่ควรชะล่าใจต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะหากไม่สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีจะนำไปสู่การมีโรคแทรกซ้อน  และเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โดยควรเข้ารับการตรวจร่างกายในโรงพยาบาลที่สะดวกทุกแห่งทั่วประเทศ ( thailand hospital ) ในกรณีที่มีอาการไม่มากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยก่อนให้การรักษา ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งและบริเวณของหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติรวมถึงสาเหตุที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ เช่น การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือด ตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตรวจดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือมีเลือดออกในสมองหรือไม่ บางครั้งแพทย์จะใช้การตรวจอัลตร้าซาวด์ตรวจหลอดเลือดบริเวณคอ เพื่อเช็กขนาดและการไหลเวียนของเลือดที่หลอดเลือดแดงบริเวณคอซึ่งจะมีการไหลเวียนไปเลี้ยงสมองด้วย นอกจากนี้ยังอาจใช้วิธีการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดที่สมอง หลอดเลือดที่คอด้วยก็ได้ ซึ่งวิธีการนี้ถือว่าไม่สร้างความเจ็บปวดทั้งยังมีประสิทธิภาพอีกด้วย
อย่างไรก็ตามต้องถือว่า Stroke หรือความผิดปกติของหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะการเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รวมทั้งควรต้อง ตรวจ สุขภาพ ประจำปีอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาความเสี่ยงเพื่อจะได้ป้องกันอย่างทันท่วงทีด้วย