ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รับฝากขายบ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาฯ ทุกประเภท Good Home Asset

เริ่มโดย wm5398, 21:41 น. 02 ก.ค 64

wm5398

Good Home Asset รับฝากขายบ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาฯ ทุกประเภท



บริการของเรา

  • ให้คำปรึกษาการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ฟรี
  • ทำการวิเคราะห์ทรัพย์ ราคาทรัพย์ ประเมินค่าใช้จ่ายซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์
  • รับฝากขายบ้าน บ้านมือสอง คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท
  • บริการถ่ายรูปทรัพย์ คลิปวีดีโอรีวิว เพื่อโปรโมทช่องทาง Youtube ฟรี
  • ทำการตลาดออนไลน์ ลงประกาศเวปไซด์อสังหาฯ ฟรี เช่น ddproperty.com, livinginsider.com เป็นต้น
  • ทำการตลาดออนไลน์ Social Marketing, Facebook Page
  • ทำการตลาดติดป้ายหน้าทรัพย์ ป้ายประกาศใกล้ทรัพย์ที่ขาย ฟรี
  • ติดต่อลูกค้า สกรีนลูกค้าก่อนนัดหมาย พาเข้าชมทรัพย์ ปิดการขาย
  • บริการรับฝากกุญแจบ้าน กรณีที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เพื่อสะดวกในการพาลูกค้าเข้าชมทรัพย์
  • บริการช่วยจัดหาสินเชื่อ เดินเรื่องเอกสารยื่นกู้สินเชื่อให้กับผู้ซื้อฟรี
  • บริการประสานงานกับธนาคารเพื่อทำการประเมินทรัพย์
  • ทำเอกสารสัญญาซื้อขายอสังหาฯ ประสานงานผู้ซื้อ ผู้ขาย ธนาคาร
  • เดินเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขาย ณ สำนักงานที่ดิน
  • บริการจัดหาบ้าน คอนโดและที่ดิน ให้กับผู้ที่กำลังมองหาเพื่ออยู่อาศัย เพื่อการลงทุน
  • บริการรับฝาก เช่าบ้าน เช่าคอนโดมิเนียม และอสังหาฯ ประเภทอื่น
  • รับจำนอง ขายฝากที่ดิน ขายฝากบ้าน

Our Website : https://goodhomeasset.com
Facebook Page : https://www.facebook.com/goodhome.asset
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCuaNsT-wz6cy6JUNh8elNPQ/videos

Contact Us.  098-095-8998, 098-394-5898
Line id :  @goodhome98

wm5398

ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน?


การขายอสังหาริมทรัพย์ โอนกรรมสิทธิ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
เรื่องสำคัญมากที่ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องรู้  ก่อนตกลงซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้น  มีค่าใช้จ่ายต่างๆ อะไรบ้าง ที่ต้องจ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน โดยสรุปค่าใช้จ่ายออกมาได้ ดังนี้

1. ค่าธรรมเนียมการโอน
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน คิดในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้างหรือราคาซื้อขาย แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า ก็จะใช้ราคานั้นในการคำนวน โดยราคาประเมิน คือ ราคาที่รัฐบาลกำหนดเป็นราคากลางของอสังหาริมทรัพย์แต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าธรรมเนียมและภาษีจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สามารถเช็คราคาประเมินได้จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/index.asp

ค่าธรรมเนียมการโอนตามกฏหมายไม่ได้กำหนดว่าเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อหรือผู้ขาย ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนใหญ่จะแบ่งกันคนละครึ่ง ซึ่งทั้งผู้ซื้อและผู้ขายควรจะตกลงกันให้เรียบร้อยในวันทำสัญญาซื้อจะขาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและความเข้าใจผิดกันในวันที่ไปโอนกรรมสิทธิ์

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การขายอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นรายได้ จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวนเงินที่เสียขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้มากับจำนวนปีที่ถือครอง ถ้าได้มาจากการซื้อและถือครองนาน ภาษีที่ต้องชำระจะมาก  โดยคำนวนจากราคาประเมินของกรมที่ดินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า นำไปหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่ถือครอง (ปี)  และนำไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ตามตารางด้านล่างนี้



3. ค่าอากรแสตมป์
อัตราร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินกรมที่ดิน  บ้านพร้อมที่ดิน คอนโด, ทาวน์เฮ้าส์  ถ้าเจ้าของเป็นชื่อบุคคลธรรมดาคนเดียว ไม่เป็นคณะบุคคล นิติบุคคล  และเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ถือครองครบ 5 ปี (1,825 วัน) หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 ปี จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ละเสียค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% โดยทั่วไปผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาประเมินกรมที่ดิน  ค่าใช้จ่ายนี้จะเสียในกรณีที่เจ้าของถือกรรมสิทธิ์ไม่ครบ 5 ปี หรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ต้องการขาย ค่าส่วนนี้โดยทั่วไปผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ

5. ค่าจดจำนอง
ภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาประเมินกรมที่ดิน  ค่าใช้จ่ายนี้จะเสียในกรณีที่เจ้าของถือกรรมสิทธิ์ไม่ครบ 5 ปี หรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ต้องการขาย ค่าส่วนนี้โดยทั่วไปผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ   ค่าอากรแสตมป์ กับภาษีธุรกิจเฉพาะ นั้นจะเสียอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งต้องดูเงื่อนไขตามที่แจ้งไว้เบื้องต้น

หลังจากทราบประเภทค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ซึ่งค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทนั้น เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเงินจะมียอดมากน้อยขึ้นอยู่กับทรัพย์ที่ทำการโอน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จึงควรมีการตกลงค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าประเภทใดให้เรียบร้อยในวันทำสัญญาซื้อขาย เพื่อให้การซื้อขายเป็นไปได้อย่างราบรื่น ...
https://goodhomeasset.com/blogs/transfer-fee-department-of-lands

wm5398

โฉนดที่ดิน คืออะไร มีกี่แบบ ความหมายของครุฑแต่ละสี


โฉนดที่ดิน คืออะไร มีกี่ประเภท ความหมายของครุฑแต่ละสี
คือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฏหมายที่ดิน รวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฏหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน  ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างสมบูรณ์ เช่น มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดิน  สิทธิการซื้อขายที่ดิน สิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฏหมาย


ประเภทของเอกสารที่ดิน โฉนดที่ดิน มีกี่แบบ ดังนี้
1. โฉนดที่ดิน น.ส.4 / อช.2 (ครุฑแดง) เป็นประเภที่อยู่อาศัยใน กทม และปริมณฑลส่วนใหญ่ แสดงกรรมสิทธิการถือครอง 100% สำหรับบ้านจะเรียกว่า น.ส.4 ส่วนคอนโดจะเรียกว่า อช.2  มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศ รู้ตำแหน่ง เนื้อที่ ขอบเขตอย่างชัดเจน สามารถทำการซื้อขายได้ จดจำนองธนาคารได้ 100% ไม่มีข้อกำหนด  มีการระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ  การเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างชัดเจน
2. เอกสารที่ดิน น.ส.3ก. (ครุฑเขียว) เอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์บนที่ดินผืนนั้น ไม่ใช่เจ้าของ เช่น มีสิทธิในการปลูกบ้าน ทำสวน ฯลฯ  มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศ รู้ตำแหน่ง เนื้อที่ ขอบเขตอย่างชัดเจน  คุณสมบัติใกล้เคียงกับ น.ส.4 หรือ อช.2 สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ จดจำนองได้ และสามารถยื่นรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.ได้ โดยพื้นที่นั้นจะต้องไม่ทับพื้นที่ป่า
3. เอกสารที่ดิน น.ส.3 (ครุฑดำ) เอกสารนี้จะคล้ายกับ น.ส.3ก. เป็นเอกสารสิทธิมีไว้ให้ทำการเกษตรโดยเฉพาะ ไม่มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศ ไม่มีการกำหนดที่ดินชัดเจน สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่งต้องรังวัดที่ดินและรอประกาศจากทางราชการ 30 วัน  โดยทั่วไปที่ดิน น.ส.3 จะมีราคาต่ำกว่า น.ส.3ก. และ น.ส.4
4. เอกสาร สปก 4-01 เป็นที่ดินของทางรัฐที่มอบให้เกษตรกร  เพื่อให้มีแหล่งทำมาหากิน เพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น  ได้สิทธิการใช้ประโยชน์ ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือ และจดจำนองธนาคารได้  แต่สามารถส่งมอบมรดกได้ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นโฉนดประเภทอื่นๆ ได้


ก่อนทำการซื้อขายที่ดิน แนะนำให้ขอสำเนาโฉนดที่ดินจากผู้ขาย และนำไปตรวจสอบกับ กรมที่ดิน ว่าโฉนดที่ดินนี้ มีปัญหาอะไรหรือไม่ เพื่อไม่ให้โดนหลอกและเสียประโยชน์จากการซื้อขาย
https://goodhomeasset.com/blogs/title-deed

wm5398

ภาษีธุรกิจเฉพาะขายบ้าน แบบไหนที่ได้สิทธิยกเว้น...?

ภาษีธุรกิจเฉพาะขายบ้าน
ขายบ้านหรือที่ดินต้องรู้ !! นอกจากค่าโอนกรรมสิทธิ์แล้ว การซื้อขายบ้านมีภาษีที่จะต้องจ่าย เช่น ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย, ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ อากรแสตมป์ ในบทความนี้จะพูดถึง ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ครับ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฏากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ. 2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม หากถือครองไม่ถึง 5 ปี นับตั้งแต่วันที่โอนบ้านนั้น จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้วแต่ว่าราคาใดสูงกว่า

ข้อมูลอ้างอิง : กรมสรรพากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ   กรมที่ดิน หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สิทธิได้รับยกเว้น มีดังนี้
กรณีซื้อขาย

      1.จดทะเบียนขายหรือถือครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มา
      2.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฏหมายเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้มา (กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน จะต้องเกิน 5 ปี ตามระยะเวลาของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง)
      3.การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมรดก
      4.การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฏหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

กรณีโอนกรรมสิทธิ์
      1.การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ บุตรชอบด้วยกฏหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
      2.การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ทางมรดกให้แก่ทายาทโดยชอบธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม
      3.การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล โดยไม่มีค่าตอบแทน
      4.การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล โดยไม่มีค่าตอบแทน


"หลังโฉนดมีกรรมสิทธิ์ 2 ชื่อ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
มีการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านเกิน 1 ปีทั้ง 2 ชื่อ
กรณีนี้จะได้สิทธิยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องถือครองเกิน 5 ปีเท่านั้น"


แนะนำผู้ซื้อบ้านและที่ดิน หลังจากที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเรียบร้อยแล้ว ควรจะย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้าน หากจำเป็นจะต้องขายและมีการย้ายเข้าทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% แต่จะเสียเป็นค่าอากรแสตมป์ 0.5% แทน ซึ่งเป็นยอดค่าใช้จ่ายที่ต่างกันค่อนข้างสูง  ตามตัวอย่างนี้ครับ

ตัวอย่าง ซื้อขายบ้านราคา 5 ล้านบาท คำนวนได้ดังนี้

   - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% = 165,000 บาท
   - อากรแสตมป์ 0.5% = 25,000 บาท
ดังนั้น ถ้าได้สิทธิยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ และเสียเป็นค่าอากรแสตมป์แทน จากตัวอย่างจะเห็นได้ชัดว่า เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโอนกรรมสิทธิ์ส่วนนี้ ได้ถึง 140,000 บาทครับ
https://goodhomeasset.com/blogs/specific-business-tax

wm5398

อยากซื้อบ้าน กู้เงินซื้อบ้าน อย่างไรให้ผ่านฉลุย !!


กู้เงินซื้อบ้าน อย่างไรให้ผ่านฉลุย !!
ทุกคนอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง การตัดสินใจจะซื้อบ้านนั้น จำเป็นจะต้องวางแผนและเตรียมตัวกู้เงินซื้อบ้าน ยื่นเอกสารขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือสถาบันการเงิน โดยมีเทคนิคในการขอกู้ให้ผ่าน ดังนี้

1. ประเมินรายได้ ของผู้กู้และผู้กู้ร่วม
ขั้นตอนแรกก่อนตัดสินใจซื้อบ้านนั้น ควรจะประเมินรายได้ของตนเองและครอบครัว เพื่อให้การขอวงเงินกู้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระ ผู้กู้หรือผู้กู้ร่วม จะต้องคำนึงถึงรายได้ทั้งหมดเท่าไร มีรายจ่ายเท่าไร มีผ่อนหนี้สินอะไรบ้าง และมีความสามารถในการผ่อนชำระได้เท่าไร  ควรจะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในราคาที่เหมาะกับการผ่อนชำระ  ไม่ควรกู้เกินตัว เพราะการผ่อนบ้านนั้น เป็นการผ่อนระยะยาว 10-30 ปี

2. ประวัติรายได้และการเงิน
พนักงานประจำ มีโอกาสในการขออนุมัติได้ง่ายกว่าคนที่มีอาชีพอิสระ เพราะพนักงานประจำมีสลิปเงินเดือน และมีรายได้ที่เข้าบัญชีแน่นอนในทุก ๆ เดือน ซึ่งถือเป็นหลักฐานแสดงรายได้ที่ชัดเจน ส่วนประวัติทางการเงินที่ดี เพื่อให้การยื่นขอกู้สินเชื่อผ่านได้ง่ายนั้น ควรมีการฝากเงินเข้าบัญชีสม่ำเสมอ และมีเงินเก็บคงเหลือไว้ในบัญชีอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ถ้าประวัติการเงินดี การขอกู้สินเชื่อ ยิ่งทำให้ผ่านง่ายแน่นอน !!

สำหรับอาชีพอิสระ หรือธุรกิจส่วนตัว เอกสารสำคัญอีกอย่างที่บ่งบอกรายได้ คือ เอกสารการยื่นเสียภาษีเงินได้ ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินจะนำมาเป็นตัววิเคราะห์รายได้หลักของผู้กู้และผู้กู้ร่วม  และพิจารณาถึงความสามารถในการผ่อนชำระต่อไป

3. กรณีมีประวัติค้างชำระหนี้ (เครดิตบูโร)
ผู้กู้มีหนี้ค้างชำระ สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลตามจริงไปยังเครดิตบูโร กรณีที่ตรวจสอบและมีประวัติค้างชำระหนี้ สถาบันการเงินอาจประเมินว่าผู้กู้ มีโอกาสที่จะขาดความสามารถในการชำระหนี้ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่อาจทำให้การขอกู้นั้นไม่ผ่าน ดังนั้น ผู้กู้ควรจะรีบเคลียร์ชำระหนี้ที่ค้างเนิ่นๆ ก่อนการขอยื่นกู้ เพื่อให้มีโอกาสขอกู้ผ่านได้สูงขึ้น



4. พยายามงดผ่อนสินค้า หรือสร้างหนี้อื่นๆ ก่อนยื่นขอกู้สินเชื่อ
เป็นไปได้ผู้กู้ควรจะลดหรืองดการผ่อนสินค้า หรือเพิ่มหนี้อื่นๆ ก่อนยื่นกู้ขอเสินเชื่อ เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินประเมินความสามารถในการผ่อนชำระได้สูงขึ้น และมีโอกาสได้รับวงเงินกู้ที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน



5. เตรียมเอกสารให้พร้อม ก่อนการยื่นขอกู้สินเชื่อ
ก่อนการทำเรื่องขอยื่นกู้ ถ้าผู้กู้มีการวางแผนการเงินที่ดี และเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ครบ ทั้งเอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน, สลิปเงินเดือน, เอกสารประวัติรายได้, Statement บัญชีธนาคาร ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน และเอกสารเกี่ยวกับผู้กู้  สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารการเปลี่ยนชื่อ เอกสารใบสมรส ฯลฯ ถ้าเอกสารต่างๆ ครบในวันยื่นกู้ ก็จะได้รับผลการอนุมัติที่เร็วขึ้น

การกู้เงินซื้อบ้าน ขอสินเชื่อบ้าน โดยปกติแล้วธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะให้วงเงินสินเชื่อ 80-95% ของราคาประเมินธนาคาร  ซึ่งผู้กู้ควรจะมีเงินเตรียมสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย เช่น เงินดาวน์, ค่าโอน, ค่าจดจำนอง ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นี้ ผู้ซื้ออาจจะตกลงกับผู้ขายได้ ว่าใครจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายนี้  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและนำเงินไปซื้อของตกแต่งบ้านเพิ่มเติม  และกรณีกู้ไม่ผ่าน จะได้รับเงินคืนหรือไม่  ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ซื้อผู้ขาย ในสัญญาซื้อขาย ควรตกลงกันให้ชัดเจนในวันทำสัญญา แต่ดีที่สุดผู้กู้เองควรประเมินตัวเอง ตามหัวข้อที่แนะนำมาก่อนตัดสินใจซื้อบ้านและขอยื่นกู้สินเชื่อด้วย
https://goodhomeasset.com/blogs/prepare-to-homeloan

wm5398

ขายฝากที่ดิน, บ้าน คืออะไร?


ขายฝากที่ดิน คืออะไร?
สำหรับผู้ที่ต้องการมองหาแหล่งเงินทุน และมีทรัพย์สินประเภทที่ดิน, บ้าน ถือกรรมสิทธิอยู่แล้วนั้น สามารถนำโฉนดที่ดิน ใช้ทำนิติกรรมสัญญาการขายฝากอสังหาฯ ได้
ซึ่งวงเงินที่จะได้รับจากการขายฝากนั้น ขึ้นอยู่กับราคาประเมินของทรัพย์ และการตกลงระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก

ขายฝากที่ดิน คือ การทำนิติกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยทั่วไประยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โดยในส่วนของผู้ที่รับซื้อฝากนั้น มีสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการขายฝากสูงสุด 15% ต่อปี และได้รับเงินจากการขายฝากคืนทันทีหากมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น

ขายฝาก อะไรได้บ้าง?
ขายฝากที่ดิน
ขายฝากบ้าน

ข้อดีของการขายฝาก
    1. ผู้ขายฝาก มีโอกาสที่จะได้รับวงเงินจากเงินขายฝากที่สูงกว่าหรือตามที่ตกลงกัน ระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก และยังสามารถไถ่ถอนคืนทรัพย์ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา
    2. ผู้รับซื้อฝาก  กรรมสิทธิ์เป็นของผู้รับซื้อฝากทันที กรณีที่ผู้ขายฝากไม่ชำระหรือไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก ผู้รับซื้อฝาก จะได้รับทรัพย์สินมาโดยตรง ไม่ต้องฟ้องร้องเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้
ค่าใช้จ่ายในการขายฝาก มีอะไรบ้าง
กรณีการขายฝากที่ดิน, บ้าน นั้น ตามกฏหมยคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก ต้องมีการทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นการขายฝากที่สมบูรณ์และถูกต้องตามกฏหมาย  และมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการขายฝาก ซึ่งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก จะต้องมีการตกลงกันว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งมีดังนี้
    - ค่าธรรมเนียมการโอน ร้อยละ 2
    - ค่าอากร ร้อยละ 2.5
    - ภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3
https://goodhomeasset.com/blogs/ขายฝากที่ดิน

wm5398

รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยลด หนี้หมดไว !!


รีไฟแนนซ์บ้าน Refinance Home Loan
รีไฟแนนซ์บ้าน คือ การเปลี่ยนหนี้สินเชื่อธนาคารที่กู้อยู่ปัจจุบัน ไปยังธนาคารใหม่ หรือเรียกอีกอย่างคือ การเปลี่ยนเจ้าหนี้ โดยปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณานั้น ธนาคารใหม่ควรจะให้อัตราดอกเบี้ยบ้านที่ต่ำกว่าธนาคารเดิม ผู้กู้จะต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรีไฟแนนซ์ด้วย เช่น ค่าจดจำนอง, ค่าประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินหลักทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งบางธนาคารที่รับรีไฟแนนซ์อาจจะมีเงื่อนไขฟรีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วย

การรีไฟแนนซ์ดอกเบี้ยบ้าน จะต้องทำการยื่นเอกสารใหม่ หรือยื่นกู้ใหม่นั่นเอง ดังนั้น ผู้กู้จะต้องพิจารณาเรื่องเอกสารรายได้ ,ยอดเงินรายได้ ณ ปัจจุบันด้วย ซึ่งถ้าปัจจุบัน มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น อาจจะทำให้การยื่นของรีไฟแนนซ์นั้นผ่านได้โดยง่าย แต่กลับกันถ้ารายได้ลดลง หรือตอนกู้ครั้งแรกทำงานประจำ แต่ปัจจุบันลาออกมาทำอาชีพอิสระ เอกสารและรายได้ไม่เข้าเกณฑ์ของธนาคาร อาจะทำให้การพิจารณายื่นกู้ใหม่นั้นผ่านได้ยากขึ้นด้วย การรีไฟแนนซ์โดยปกติควรจะทำทุก ๆ 3 ปี เพราะธนาคารส่วนใหญ่ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว  แต่ก็ควรศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียดข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร อย่างรอบคอบด้วย

ขั้นตอนการทำรีไฟแนนซ์บ้าน มีดังนี้
     1. ติดต่อธนาคารเดิม เพื่อขอทราบรายละเอียดยอดหนี้ หรือ รวบรวมใบเสร็จที่ผ่อนชำระหนี้กับธนาคารเดิม
     2. เตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการขอยื่นกู้ เช่น สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, เอกสารแสดงรายได้, เอกสารบัญชีธนาคาร และอื่นๆ
     3. พิจารณาอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านของธนาคารใหม่ ควรเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยปัจจุบัน และพิจารณาเทียบอัตราดอกเบี้ยของหลาย ๆ ธนาคาร
     4. นำเอกสารที่เตรียมไว้ ไปคุยกับธนาคารใหม่ เพื่อทำเรื่องยื่นขอรีไฟแนนซ์
     5. เมื่อธนาคารใหม่พิจารณาและผ่านการอนุมัติเบื้องต้นแล้ว ธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมินทรัพย์สิน
     6. หลังจากประเมินทรัพย์แล้ว ธนาคารใหม่จะแจ้งยอดเงินที่อนุมัติ  ให้นัดธนาคารเดิมและธนาคารใหม่ ไปทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน และจ่ายชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้าน
     1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ถูกกว่า อัตราดอกเบี้ยเดิม
     2. ดอกเบี้ยลด เงินต้นลด ผ่อนหนี้หมดได้เร็วกว่าเดิม
     3. สามารถกำหนดแผนการผ่อนชำระได้ ปรับยอดผ่อนชำระหนี้น้อยลง เพิ่มสภาพคล่อง เพราะยอดหนี้ลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับธนาคารใหม่พิจารณาด้วย
     4. บางกรณีอาจทำรีไฟแนนซ์ และขอยอดเงินกู้เพิ่มได้ ทำให้มีเงินเหลือ เพื่อนำไปจ่ายหนี้ส่วนอื่น

ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้าน
     1. การรีไฟแนนซ์ทำให้เพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น
     2. เสียค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์ใหม่ เช่น ค่าจดจำนอง, ค่าประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินหลักทรัพย์ เป็นต้น
     3. ต้องจัดเตรียมเอกสารที่ใช้พิจารณายื่นกู้ใหม่ หากผู้กู้เปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนงาน หรืออาชีพอิสระ มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร
     4. เสียเวลาในการดำเนินการรีไฟแนนซ์ ตั้งแต่การเตรียมเอกสารยื่นกู้ใหม่ การประเมินทรัพย์ จนถึงการโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน

สุดท้ายนี้ การรีไฟแนนซ์เป็นเทคนิคที่ลูกหนี้สินเชื่อบ้านทั้งหลาย ควรพิจารณาและดำเนินการ เพื่อให้สามารถจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีอื่นให้พิจารณา "การขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม (Retention)"  ซึ่งมีวิธีการที่ง่ายกว่าการทำ Refinance แต่อัตราดอกเบี้ยอาจจะลดลงน้อยกว่า ดังนั้นจะขออธิบายในบทความต่อไปครับ
https://goodhomeasset.com/blogs/รีไฟแนนซ์บ้าน-refinance

wm5398

สินเชื่อบ้าน Home Loan อัตราดอกเบี้ยธนาคาร


สินเชื่อบ้าน Home Loan
สินเชื่อบ้าน หรือ สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หมายถึง เงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้เพื่อการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย โดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะกำหนดวงเงินกู้โดยประเมินวงเงินจากราคาทรัพย์สิน และรายได้ของผู้กู้ ธนาคารกำหนดระยะเวลาให้กู้ระยะยาว ตั้งแต่ 10-40 ปี โดยให้ผู้กู้ผ่อนชำระเป็นงวดๆ ในแต่ละเดือน เป็นเงินต้นรวมกับดอกเบี้ย ซึ่งการกู้ซื้อบ้านนั้น จะมีการทำนิติกรรม "จำนอง" ที่สำนักงานที่ดิน

วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารมี 2 วิธี ได้แก่
     - อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดตัวเลขแน่นอน ส่วนใหญ่จะเป็นดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรกของการผ่อนชำระ เช่น อัตราดอกเบี้ย 2.85% 3 ปีแรก เป็นต้น
     - อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับขึ้นลงตามสถานการณ์ของตลาดการเงิน ไม่สามารถกำหนดได้ โดยทั่วไปดอกเบี้ยเพื่อที่อยู่อาศัยจะใช้อัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นหลัก

MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี สำหรับเงินกู้ทุกประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี สำหรับประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา

https://goodhomeasset.com/blogs/home-loan

wm5398


เครดิตบูโรคืออะไร
บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ  Nation Credit Bureau (NCB) หรือเรียกสั้นๆ ว่า "บูโร" มีหน้าที่ในฐานะคนกลางในการจัดเก็บรวบรวมประวัติเครดิต สถานะการขอสินเชื่อของบุคคลที่ขอสินเชื่อ กับสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก
โดยเก็บข้อมูลสินเชื่อต่าง ๆ บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด, สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น ข้อมูลที่รวบรวมจะเก็บทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นประวัติที่ดีหรือไม่ดี โดยสถาบันการเงินต่าง ๆ จะขอข้อมูลจาก NCB เพื่อประเมินความเสี่ยงทุกครั้งที่มีคนมาขอสินเชื่อ

ข้อมูลเครดิตบูโร เก็บอะไรบ้าง
1. ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ระบุตัวตน เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ วันเกิด สถานะภาพการสมรส อาชีพ
2. ประวัติหนี้สินและการชำระ NCB จะเก็บข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติทุกประเภท ประวัติการชำระ ลักษณะการผ่อนชำระ โดยจะเก็บข้อมูลไว้ 36 เดือน (3 ปี)

รหัสเครดิตบูโร หรือ สถานะเครดิตบูโร มีดังนี้
A0 = บัญชีปกติ
D1 = อยู่ในระหว่างการเจรจรให้ชำระหนี้
D3 = มีการประนอมหนี้ หรือ มีข้อตกลงในการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่
D5 = มียอดค้างชำระ
F0 = กำลังตรวจสอบบัตรเครดิต หรือบัตรประจำตัว เนื่องจากถูกฉ้อฉล
F1 = บัตรเครดิต หรือบัตรประจำตัว เคยถูกใช้ฉ้อฉล
L0 = อยู่ในระหว่างกระบวนการทางกฏหมาย
L3 = ศาลพิพากษายกฟ้อง
S0 = บัตรเครดิต ถูกขโมย / หาย
T1 = ขายหนี้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือ นิติบุคคลอื่น
T3 = โอนหนี้ไปยังบัญชีใหม่ หรือบัญชีอื่น
X0 = ปิดบัญชี
X2 = ลูกค้าเสียชีวิต หรือสาบสูญ
X5 = ปิดบัญชี ภายหลังจากการติตดามทวงถาม
X7 = ปิดบัญชีเนื่องจากหนี้สูญ
10 = สถานะปกติ
11 = สถานะปิดบัญชี
12 = พักชำระหนี้ ตามนโยบายรัฐ
20 = มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน
30 = อยู่ในกระบวนการทางกฏหมาย
31 = อยู่ในระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
32 = ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากขาดอายุความ
33 = ปิดบัญชี เนื่องจากตัดเป็นหนี้สูญ
40 = อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี
41 = เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการ
42 = โอนหรือขายหนี้

อธิบายสถานะเครดิตบูโรเพิ่มเติม ดังนี้
[ 10 = ปกติ ] ผ่อนชำระตรงทุกงวด ไม่เคยมีค้างชำระเกิน 30 วัน อาจมีการชำระล่าช้าบ้าง ไม่ส่งผลต่อเครดิต ลูกค้าสถานะกลุ่มนี้กู้สินเชื่อได้ง่าย
[ 11 = ปิดบัญชี ] เคยมีประวัติค้างชำระเกิน 30 วัน 90 วัน หรือ 1 ปี หลังจากนั้นเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อปิดบัญชี บางธนาคารรับพิจารณา
[ 20 หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน ] ผ่อนบัตรเครดิตและค้างชำระอยู่ ไม่ว่าจะขอสินเชื่อธนาคารใด ไม่ผ่านแน่นอน เพราะยังมียอดค้างชำระอยู่ ทำให้ธนาคารมองเป็นลูกค้าแบล็กลิสต์

ติดบูโรอยู่ ต้องการขอสินเชื่อบ้าน มีวิธีทำอย่างไรได้บ้าง
     1. ซื้อบ้านด้วยเงินสด เนื่องจากมีประวัติค้างชำระในเครดิตบูโร ทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำเสนอสำหรับคนที่ต้องการอยากซื้อบ้านครับ
     2. ติดต่อเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างทั้งหมด ซึ่งธนาคารอาจจะขายหนี้ให้กับบริษัทอื่นไปแล้ว จะต้องติดตามเพื่อเจรจาขอชำระหนี้ ซึ่งอาจจะตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ หรือชำระหนี้ทั้งหมดในครั้งเดียว และจะต้องสอบถามระยะเวลากับทางเจ้าหนี้ด้วย ว่าใช้ระยะเวลาส่งเรื่องเข้าเครดิตบูโรประมาณเมื่อไร ซึ่งหลังจากที่บริษัทส่งเรื่องไปยังเครดิตบูโรแล้ว อาจจะต้องรอระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ในการยื่นขอสินเชื่อใหม่
     3. เคลียร์หนี้กับสถาบันการเงิน และใช้ใบปิดหนี้ ประกอบการยื่นกู้ กับสถาบันการเงิน โดยส่วนใหญ่จะมีธนาคารของรัฐที่พอจะรับเงื่อนไขส่วนหนี้ได้ แนะนำให้ลองติดต่อกับ ธ.อาคารสงเคราะห์, ธ.ออมสิน ถ้าธนาคารยินยอมกับเงื่อนไขได้ ก็มีโอกาสผ่านในการขออนุมัติสินเชื่อ
     4. ตกลงเช่าซื้อบ้านกับผู้ขาย การเช่าซื้อเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการซื้อบ้าน ซึ่งจะต้องตกลงเงื่อนไขการเช่าซื้อกับผู้ขาย ซึ่งมีรายละเอียดที่จะขออธิบายในบทความต่อไปครับ

สำหรับผู้ที่สนใจจะมีบ้านเป็นของตัวเอง แนะนำให้ศึกษาวิธีการยื่นกู้ เงื่อนไขต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมในการขอยื่นกู้ ทั้งในเรื่องของเครดิต รายได้ ภาระหนี้สิน และเอกสารต่าง ๆ เป็นอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อให้การขอยื่นกู้นั้น มีความพร้อมและผ่านการอนุมัติได้ง่ายครับ
https://goodhomeasset.com/blogs/เครดิตบูโรคือ

wm5398

ขั้นตอนซื้อขายบ้าน โอนบ้านใช้เอกสารอะไรบ้าง?



ขั้นตอนซื้อขายบ้าน โอนกรรมสิทธิ์ มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร
เมื่อผู้ซื้อและผู้ขาย ได้ทำการตกลงราคาซื้อขายบ้านและที่ดิน ตกลงค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จำเป็นจะต้องทราบขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ดำเนินการ จนถึงการโอนกรรมสิทธิ์ เปลี่ยนเจ้าของทรัพย์ โดยจะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้โอนกรรมสิทธิ์ดังนี้
เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ กรณีบุคคลทั่วไป
1. โฉนดที่ดิน ฉบับจริง
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ (เตรียมบัตรจริงไปด้วย)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด (เตรียมฉบับจริงไปด้วย)
4. หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) กรณีมอบอำนาจ (ไม่สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไปได้)
5. หนังสือให้ความยินยอมให้ขายที่ดิน (กรณีสมรส)
6. สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (ถ้่้ามี)
7. สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี)
8. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
9. สำเนาทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ กรณีนิติบุคคล
1. โฉนดที่ดินฉบับจริง หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
3. หนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์
4. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
5. รายการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล
6. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ถือหุ้นในบริษัท
7. รายงานการประชุม
8. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล

ขั้นตอนซื้อขายบ้านและที่ดิน
ผู้ซื้อ
1. ทำสัญญาจะซื้อจะขาย วางเงินมัดจำ
2. เตรียมเอกสารและยื่นกู้ธนาคาร
3. ผลอนุมัติเครดิตผู้กู้ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)
4. ธนาคารนัดเข้าประเมินทรัพย์
5. เซ็นต์สัญญาเงินกู้สินเชื่อกับธนาคาร
6. นัดวันโอนกรรมสิทธิ์
7. แจ้งธนาคาร ออกแคชเชียร์เช็ค เพื่อชำระเงินให้กับผู้ขาย
8. เตรียมเงิน คชจ. วันโอนกรรมสิทธิ์, เงินชำระส่วนต่าง (กรณีกู้ได้ไม่เต็มยอด)

ผู้ขาย
1. ทำสัญญาจะซื้อจะขาย รับเงินมัดจำ 
2. ให้สำเนาโฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขายที่ดิน ทด.13 เพื่อยื่นกู้ธนาคาร
3. นัดวันโอนกรรมสิทธิ์
4. ติดต่อธนาคารที่ติดจำนองโฉนด ขอยอดที่ต้องชำระ และนัดวันโอนกรรมสิทธิ์
5. เตรียมเงิน คชจ. วันโอนกรรมสิทธิ์

ขั้นตอนวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน
ตรวจสอบกับสำนักงานที่ดินก่อน อาจจะต้องจองคิวล่วงหน้าผ่านระบบ E-QLands (ช่วงโควิดระบาด)
1. นำเอกสารที่เตรียมไว้ ยื่นเรื่องติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบเอกสาร และรับคิว
2. เจ้าหน้าที่เรียก ผู้โอนและผู้รับโอน เซ็นต์เอกสารต่อเจ้าหน้าที่
3. เจ้าหน้าที่จะประเมินทุนทรัพย์และคำนวณค่าธรรมเนียมโอนต่างๆ เพื่อนำไปชำระที่ฝ่ายการเงิน
4. เมื่อชำระค่าธรรมเนียมโอนเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะสลักหลังโฉนดที่ดิน ตามประเภทของนิติกรรมที่ดำเนินการ (ไถ่ถอน, ขาย, จำนอง) 
5. หลังจากสลักหลังโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้ว ตรวจสอบความถูกต้องของโฉนดที่ดิน
6. กรณีที่ผู้รับโอน ทำการกู้เงินกับธนาคาร หลังโฉนดจะแสดงนิติกรรมจำนองล่าสุด ธนาคารจะเก็บโฉนดฉบับจริงไว้ ผู้รับโอนต้องขอถ่ายเอกสารเก็บไว้
https://goodhomeasset.com/blogs/transfer-of-land-ownership