ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พูดคุยเรื่องภิกษุณีในยุคปัจจุบัน

เริ่มโดย คุณหลวง, 11:08 น. 19 มี.ค 55

คุณหลวง

    เถรวาทเราถือว่าภิกษุณีหมดไปแล้ว ที่บวชๆกันอยู่สมัยนี้มิใช่ภิกษุณีตามพระบรมพุทธานุญาต แต่ก็มีภิกษุณีในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ทราบท่านๆมีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

wareerant

อ้างถึงถ้าอยากจะบวช ไหนๆก็ห้ามไม่ได้ ก็ควรมีกฎหมายรองรับ
และงดใช้คำว่า ภิกษุณีและสามเณรี อย่างเด็ดขาด
ควรออกแบบคำอื่นมาใช้ เช่น
พรหมจาริณี  = สตรีผู้ประพฤติพรหมจรรย์
วิสุทธิศีลนารี = นารีผู้มีศีลบริสุทธิ์
นารีบริสุทธิ์ศีล ฯลฯ
ออกระเบียบปฏิบัติ กำหนดศีลจรรยาวัตร ให้ชัดเจน
ควรสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมใหม่ หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "วัด"
ห้ามใช้ธรณีสงฆ์ของเดิมอย่างเด็ดขาด ห้ามแต่งกายคล้ายพระสงฆ์

เขาคงไม่ยอม เป็นการปฏิเสธตัวตนของเขา

ถ้าเขาบอกว่าเขาเป็นภิกษุณี ในนิกายอื่น ก็ทำอะไรเขาไม่ได้
แม้แต่พระเรายังทำอะไรไม่ได้เลย กินเหล้า จับไม่ได้ เสพเมถุน จับไม่ได้ ขับรถ จับไม่ได้ คือตำรวจจับน่ะจับได้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้พระผู้ใหญ่มาจัดการ

เพราะกฏหมายไม่เปิดโอกาศตรงนี้ เนื่องจากกฏหมายถือว่า พระก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง กฏหมายต้องให้ความเท่าเทียมกันในฐานะประชาชนคนหนึ่ง คนกินเหล้า ไม่ผิดกฏหมาย คนมีอะไรกัน ไม่ผิดกฏหมาย คนขับรถ ก็ไม่ผิดกฎหมาย

พระถือศีล 227 ข้อ ปัจจุบันไม่มีพระรูปไหนทำได้แล้ว แค่เหยียบหญ้าก็ผิดศีลแล้ว แต่ก็ยังมีหลายท่านแอบอ้างว่าถือศีลได้ครบ 227 ข้อ พระเดี๋ยวนี้ ศีล 5 ยังถือไม่ได้เลย

ภืกษุณีถือศีล สามร้อยกว่าข้อ เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะถือได้หมด

ควรมีภิกษุณีหรือไม่ คำตอบมีอยู่แล้ว ผู้หญิงเหมือนน้ำตาล ผู้ชายเหมือนมด สมัยก่อนภิกษุณีหมดไปก็สาเหตุนี้

คุณหลวง

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 12:57 น.  19 มี.ค 55


พระถือศีล 227 ข้อ ปัจจุบันไม่มีพระรูปไหนทำได้แล้ว แค่เหยียบหญ้าก็ผิดศีลแล้ว แต่ก็ยังมีหลายท่านแอบอ้างว่าถือศีลได้ครบ 227 ข้อ พระเดี๋ยวนี้ ศีล 5 ยังถือไม่ได้เลย



ขอนอกประเด็นกระทู้นิดหนึ่งครับ

ท่านwareerant  ไม่มีพระวินัยข้อใดห้ามเหยียบหญ้าครับ ถ้าเกี่ยวกับหญ้าและพืชสีเขียว(มีชีวิต)นั้นมีว่า ห้ามภิกษุทำของเขียว(พืชมีชีวิตทุกชนิด)ขาดจากกัน

ห้ามฉี่ ถ่ายหนัก ถ่มเสลดลงบนพืชมีชีวิตทุกชนิด

ห้ามฉันพืชผักที่ยังสามารถปลูกติดได้(ยังมีเชื้อพืชอยู่) ผู้ถวายต้องทำให้หมดเชื้อหรือสืบพันธ์ไม่ได้ด้วยการจี้ด้วยของมีคม เผาด้วยไฟเสียก่อน จึงควรรับครับ(น่าจะเท่านี้นะ??)

พระวินัยหลายข้อก็อาจไม่มีผลในสมัยนี้แล้วครับ เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงบัญญัติในสมัยนั้น ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นได้ในสังคม แต่พระืท่านก็รักษาบัญญัติเหล่านั้นไว้อยู่ครับ ก็รักษาตามข้อที่มีในสมัย
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

wareerant

อ้างถึงท่านwareerant  ไม่มีพระวินัยข้อใดห้ามเหยียบหญ้าครับ ถ้าเกี่ยวกับหญ้าและพืชสีเขียว(มีชีวิต)นั้นมีว่า ห้ามภิกษุทำของเขียว(พืชมีชีวิตทุกชนิด)ขาดจากกัน


เกรงว่าจะมีแต่พระวัดเส้าหลิน ผู้มีวิชาตัวเบาเก่งกล้า เบาดุจขนนกฮัมมิ่งเบิร์ด เหยียบหญ้าแล้วไม่ทำให้หญ้าหัก ขาด ตาย หลุด ออกจากกัน

คุณหลวง

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 17:19 น.  19 มี.ค 55
เกรงว่าจะมีแต่พระวัดเส้าหลิน ผู้มีวิชาตัวเบาเก่งกล้า เบาดุจขนนกฮัมมิ่งเบิร์ด เหยียบหญ้าแล้วไม่ทำให้หญ้าหัก ขาด ตาย หลุด ออกจากกัน

    ครับ คงมีแต่ศิษย์วัดเส้าหลินที่มีวิชาตัวเบาจึงทำเช่นนั้นได้ แต่ท่านโปรดเข้าใจอย่างหนึ่งว่าพระพุทธองค์ทรงประสูติมาเป็นมนุษย์ สั่งสอนมนุษย์(และเทวดา ฯลฯ) ประทานการบวชแก่้มนุษย์ซึ่งเป็นปุถุชน ดังนั้น การบัญญัติข้อปฏิบัตินั้นไม่เป็นสิ่งเกินวิสัยคนธรรมดาจะทำได้ครับ

    แม้จะมีบางอย่างที่เข้มข้นมากจนมนุษย์ธรรมดาทำได้ยากอย่างข้อธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ แต่ท่านก็มิบัญญัติแก่ภิกษุทั่วไป ผู้มีศรัทธา กำลังใจกล้าสามารถสมาทานเอาตามแต่ตนจะทำได้ แม้ใครไม่สมาทานรับปฏิบัติเลยพระองค์ก็มิตำหนิแต่อย่างใดครับ

    และการตัดสินว่าจะอาบัติหรือไม่นั้น ท่านปรารภเจตนาเป็นหลักครับท่าน มิใช่เป็นอาบัติไปทุกอย่าง อย่างเดินไปหญ้ามันขาดเองโดยไม่เจตนานั้นไม่ถือเอาเป็นอาบัติครับ แม้หากเจตนาทำมันขาดแต่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น อนุเคราะห์ผู้อื่นนั้นท่านก็อนุโลมยกเว้นให้ได้ครับท่าน

    รายละเอียดเยอะมากครับ หากท่านได้อ่านข้อวินิจฉัยอาบัติในพระไตรปิฎกแล้วท่านจะเห็นชัดครับว่า ทุกข้อที่พระองค์บัญญัตินั้น อยู่ในฐานของคนธรรมดา(ที่มีความตั้งใจบวช)ทำได้ (ที่บวชโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจอย่างอื่นอาจไม่สนใจทำ)และการตัดสินก็เอาเจตนาเป็นหลัก อย่างพระที่ถือเอาสิ่งของของผู้ที่คุ้นเคยกันด้วยคิดว่าคุ้นเคยกันดีแล้วไม่เป็นไร หากเขาเอาโทษก็ไม่เป็นปาราชิกครับ แต่เพียงทุกกฎในข้อขาดความสำรวมระวังในการหยิบใช้ การทำทุกอย่้างต้องใจบริสุทธิ์ครับ

    ผมรู้สึกแปลกใจเสมอที่ได้ยินวินัยแปลกๆอย่างการปัสสาวะทำดินเป็นรูก็อาบัติอย่างนี้ ค้นพระไตรปิฎกแทบขาดก็ไม่เจอ ไม่รู้เอามาจากไหนกัน อนุมานเอาว่ามาจากข้อหนึ่งที่ว่าการเจตนาทำลายดินเป็นอาบัติ จึงถือกันว่าเยี่ยวทำดินเป็นรูแล้วอาบัติ มันไม่ใช่ครับ เจตนาต้องมาก่อนสิ เจตนาเยี่ยวดินเป็นรูเองก็จะว่าไรได้ แต่หากตั้งใจเยี่ยวจี้ให้ดินเป็นรูด้วยคะนองนั้นอาบัติครับ

    เดี๋ยวนี้ ไอ้วินัยปรุงแต่งให้ภิกษุเป็นเทวดาเกินวิสัยคน เกินพระไตรปิฎกนั้นมีมาหลายข้อครับ ก็น่าเหนื่อยใจอยู่สำหรับผู้ไม่รู้ แล้วยิ่งไม่รู้แล้วจะบวชได้ฟังก็ขยาดไปเลย บวชไปเจอพวกฟังมาพูดต่อไปเลยเถิดยิ่งน่าสงสาร เฮ้อ...ครับ วันหลังคงมีโอกาสคุยกันอีก



สะบายดี...ในวันแห่งความสุขครั่บโผ้มมมมมมมมมมมมมมมม


สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

puiey

ยังมีอีกหรือ ภิกษุณี ไม่เคยเห็นอะ
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

คุนหลวง


ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: puiey เมื่อ 18:32 น.  20 มี.ค 55
ยังมีอีกหรือ ภิกษุณี ไม่เคยเห็นอะ

ภิกษุณีธัมมนันทา
ภิกษุณีธัมมนันทา ชื่อเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (เกิด พ.ศ. 2486) ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นบุตรของนายก่อเกียรติ ษัฏเสน และนางวรมัย กบิลสิงห์ (ต่อมาบรรพชาเป็นภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินีบน และปริญญาตรีสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2543 มีผลงานวิชาการ เขียนบทความธรรมะ และเป็นพิธีกรรายการธรรมะ ถ่ายทอดทางช่อง 3 เป็นผู้แปลหนังสือ ลามะจากลาซา ของทะไลลามะ

ดร.ฉัตรสุมาลย์บรรพชาเป็นสามเณรีโดยคณะภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา ซึ่งใช้สายพระวินัยจากนิกายธรรมคุปต์ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 มีฉายาว่า ธัมมนันทา และอุปสมบทเป็นภิกษุณีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)

นิกายธรรมคุปต์
นิกายธรรมคุปต์ หรือธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะมากกว่านิกายมหีศาสกะ แพร่หลายในเอเชียกลางและจีน พระวินัยของนิกายนี้เป็นต้นแบบของนิกายวินัยในจีน

นักวิชาการถือว่านิกายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที ในคัมภีร์กถาวัตถุปรากฏข้อมูลว่าเถรวาทกับธรรมคุปต์เห็นต่างกันหลายเรื่อง เช่น อานิสงส์ของการทำทาน การบูชาพระเจดีย์ วิมุตติของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก อภิญญาของศาสนาในศาสนาอื่น เป็นต้น

[attach=1]

ขอบคุณ ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

wareerant

อ้างถึงและการตัดสินว่าจะอาบัติหรือไม่นั้น ท่านปรารภเจตนาเป็นหลักครับท่าน มิใช่เป็นอาบัติไปทุกอย่าง อย่างเดินไปหญ้ามันขาดเองโดยไม่เจตนานั้นไม่ถือเอาเป็นอาบัติครับ แม้หากเจตนาทำมันขาดแต่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น อนุเคราะห์ผู้อื่นนั้นท่านก็อนุโลมยกเว้นให้ได้ครับท่าน

ตอนผมบวช ทุกเช้าตอนทำวัตรเช้าต้องปลงอาบัติ แม้จะจำไม่ได้ว่าได้ทำอาบัติหรือไม่ พระอาจารย์บอกว่า ต้องทำเพราะเผื่อเราไปทำอาบัติอะไรไว้

ถ้าไม่เจตนา ก็คงไม่ต้องปลงอาบัติสิครับ

อ้างถึงนิกายธรรมคุปต์
นิกายธรรมคุปต์ หรือธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะมากกว่านิกายมหีศาสกะ แพร่หลายในเอเชียกลางและจีน พระวินัยของนิกายนี้เป็นต้นแบบของนิกายวินัยในจีน

นักวิชาการถือว่านิกายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที ในคัมภีร์กถาวัตถุปรากฏข้อมูลว่าเถรวาทกับธรรมคุปต์เห็นต่างกันหลายเรื่อง เช่น อานิสงส์ของการทำทาน การบูชาพระเจดีย์ วิมุตติของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก อภิญญาของศาสนาในศาสนาอื่น เป็นต้น

คนที่เขาแยกนิกายโน้นนิกายนี้ เขาจะรู้มั้ยว่า การแบ่งแยก (discrimination) ยิ่งทำให้ห่างการหลุดพ้น การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (solidarity) เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ (ใช้คำเท่เลย)

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 00:31 น.  21 มี.ค 55
คนที่เขาแยกนิกายโน้นนิกายนี้ เขาจะรู้มั้ยว่า การแบ่งแยก (discrimination) ยิ่งทำให้ห่างการหลุดพ้น การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (solidarity) เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ (ใช้คำเท่เลย)


ไม่ขอรับท่าน ไม่มีการแบ่งแยกครับ เพียงแค่อ้างอิงว่า ท่านภิกษุณีธัมมนันทา ท่านบวชอยู่ในวงศ์สืบสกุลอะไรแค่นั้นเองครับ
เพราะท่านไปบวชที่ประเทศศรีลังกา ครับผม 

จะได้ไม่มีคำถามต่อไปครับว่า เออ บ้านเรานี้มีนิกายนี้ไหม มันไม่มีครับท่าน มีเพียงนิกายเถรวาท กับ นิกายมหายาน ครับผม
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 08:23 น.  21 มี.ค 55
แล้วสรุปว่าท่าน เถรวาท หรือมหายาน หรือไม่ใช่ทั้งสอง??

ส.อืม ขอโทษครับท่าน ท่านถามใครครับ

ถ้าเป็นท่าน ภิกษุณีธัมมนันทา มีคำตอบอยู่ในเนื้อความแล้วครับ
แต่ถ้าเป็นผม ผมนับถือศาสนาพุทธครับ ศึกษาธรรมะในบางโอกาส ครับท่าน  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 09:23 น.  21 มี.ค 55
เพิ่งจาเคยได้ยินว่ามีนักวิชาการมากล่าวอ้างว่า นิกายที่มีนางภิกษุณีเหลืออยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท นักวิชาการสำนักไหนอยากรู้จักจริงๆ พ่อเจ้าประคุณ

ส.ดุดุขำขำ ท่านครับ ถ้าให้ความยุติธรรมกับนักวิชาการท่านนี้ เขาจะเขียนต่อไปว่า...

แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที

ผมว่าถ้าศึกษาต่อว่า ฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที คืออะไร... ผมว่าน่าจะดีกว่าน่ะครับท่าน

ส่วนตัวผมไม่ทราบ เดีียวให้ท่านผู้รู้ท่านอื่นมาขยายความดีกว่าครับ  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณหลวง

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 00:31 น.  21 มี.ค 55
ตอนผมบวช ทุกเช้าตอนทำวัตรเช้าต้องปลงอาบัติ แม้จะจำไม่ได้ว่าได้ทำอาบัติหรือไม่ พระอาจารย์บอกว่า ต้องทำเพราะเผื่อเราไปทำอาบัติอะไรไว้

ถ้าไม่เจตนา ก็คงไม่ต้องปลงอาบัติสิครับ



    ครับท่าน หากไม่เจตนาไม่เป็นอาบัติ แต่หากทำอาบัติเพราะไม่รู้(ว่าอาบัติ)จัดเป็นอาบัติครับท่าน มันต้องมีการสอบสวนที่มาที่ไปกันก่อน

    การปลงอาบัติที่บ้านเราเรียกกันนั้น ความจริงแล้วต้องเรียกว่าการแสดงอาบัติครับท่าน คือเมื่อรู้ตนว่าผิดแล้วก็ไปสารภาพกับพระภิกษุเพื่อบอกว่ากระผมต้องอาบัติครับ เพื่อนก็ต้องถามว่าแน่ใจหรือ อย่างไร เป็นต้น เมื่อชัดเจนว่าอาบัติและผู้แสดงยอมรับแล้ว ผู้รับรู้(พยาน)ก็บอกว่าให้สำรวมระวังต่อไป แล้วผู้แสดงก็ต้องรับปากว่าจะสำรวมระวังต่อไปทั้งกาย วาจา ใจ

    คือไม่ใช่ปลงแล้วหาย แต่แสดงว่ายอมรับผิดเพื่อจะได้ระมัดระวังต่อไป

    ผมยังไม่เคยเจอว่าในพระไตรปิฎกมีการแสดงอาบัติอย่างไร พบแต่เพียงการไปแสดงกับพระภิกษุรูปอื่นว่าตนต้องอาบัติ รูปแบบที่ใช้ๆกันอยู่นั้นเป็นการรจนาของพระเถระรุ่นหลังครับ และสาเหตุที่พระท่านชอบให้แสดงนั้น ด้วยเหตุผลที่สอนอ้างกันมาว่า "รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี" นี่เองครับ จึงเกิดการยึดถือว่าต้องแสดงทุกวันเพื่อล้างอาบัติ

    ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะเป็นการทำไปอย่างเถรส่องบาตรมากกว่าทำด้วยความรู้ สมัยบวชผมเองแสดงอาบัติตามแบบแผนในวัดที่เขายึดถือเท่านั้นครับ กับสำนักที่ผมอยู่แล้ว ผมจะไปแสดงกับหลวงพี่ท่านด้วยภาษาไทย บอกว่าผิดอย่างนั้นๆ หลวงพี่ท่านก็อนุโมทนามาทุกที

    แต่การใช้แบบแผนอย่างนั้นอาจจะดีสำหรับบางกลุ่มที่ถือพระวินัยเป็นของขลัง ศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ครับ



สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

คุนหลวง

...


ดีใจที่เจอคุณหลวง แล้วที่ว่า ตรัสรู้ คืออะไรครับ แค่รู้ว่า มีเกิด ก้อต้องมีแก่ มีเจ็บ มีตาย เรียกว่า ตรัสรู้แล้วหรือครับ.. ส.โอ้โห ส.หัว

ยางใหญ่

"คณะภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา" เรื่องนี้พอเชื่อได้ว่ายังมีอยู่จริง ว่าแต่ว่า สายลังกาวงศ์ ในไทยไม่มีอยู่แล้ว ทุกวันนี้ถึงได้เละ. อย่างที่เป็นข่าวดังใน TV. พระนักเลงอ้างตัวเก่งพระธรรม แห่งค่ายลูกน้ำหนาว พร้อมขึ้นชิงแช้มป์ทุกเวที
ปรมาจารย์ขั้นเถระพระมีชั้น  หลบกันเงียบ

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 12:12 น.  21 มี.ค 55
สยามนิกายหรือนิกายสยามเท่าที่ปรากฎมาก็ไม่เคยมีนางภิกษุณี ไม่เคยมีการนำลัทธิสยามวงศ์ที่มีภิกษุณีไปเผยแพร่ในลังกา
การกล่าวอ้างว่าภิกษุณีมีในลังกา เรียกว่าสยามนิกาย เท่ากับต้องการบอกว่าเดิมๆภิกษุณีก็มาจากลัทธิของสยามทำให้เข้าใจกันอีกทีว่ามาจากประเทศไทยนั่นเอง
ผมว่าน่ะ มันไร้สาระสิ้นดีพี่น้องเอ๋ย คงแอบอ้างกันตั้งแต่สมัยอยู่ในลังกานู่นแล้ว

ส.โอ้โห โอ้ท่าน แรงไปหรือเปล่าครับท่าน  ส.หัว
ให้เดินทางไปตามลิ้งค์ที่นี่เลยครับท่าน...

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3c68b311fb1ba896

http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=83161&topic_id=83871

นมัสการ ครับ....

[attach=1]
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ยางใหญ่

ขอบคุณ คุณคนข้างพลาซ่า ที่แนะให้ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก ที่คุณ ชบาแก้ว เขียนไว้ใน trekkingthai เพื่อให้มีสะดวก สำหรับผู้มาอ่านที่หลัง ได้รับรู้ข้อมูลเร็วขึ้น จึงขอคัดลอกมาไว้ที่นี้ซะเลย ดังนี้
"ขอให้ข้อมูลการสืบสายภิกษุณีในศรีลังกาอย่างนี้นะคะว่า พระนางสังฆมิตราภิกษุณีเป็น
พระธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชได้บวชเป็นภิกษุณี และได้เดินทางเป็น หัวหน้าคณะ
ภิกษุณีจากอินเดียไปทำการบวชให้น้องสะใภ้ของเจ้าแผ่นดินศรีลังกาในสมัยนั้น
      ในการไปครั้งนั้นได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาไปด้วย ภิกษุณีในศรีลังกา
จึงเกิดขึ้นและมีความเจริญรุ่งเรืองดี จนประเทศจีนส่งฑูตมาของคณะภิกษุณีไปทำการ
บวชให้ผู้หญิงจีนบ้างทำให้เกิดคณะภิกษุณีสงฆ์ในประเทศจีนและมีการสืบทอดการบวช
มาจนถึงปัจจุบัน
        ในขณะที่ประเทศศรีลังกามีปัญหาเรื่องถูกฮินดูยึดครองจนสายการบวชขาดลงทั้ง
ภิกษุ และภิกษุณี ทางฝ่ายภิกษุได้ส่งฑูตมาให้พระไทยไปบวชจนเกิดสยามวงศ์ขึ้น
        ฝ่ายผู้หญิงก็ยังมีการบวชทศศีลมาตา ถือศีล 10 เท่าสามเณรบ้านเรา ใส่ชุดสีเหลือง
หรือส้ม จนเมื่อปี พ.ศ.2535 ได้เชิญภิกษุณีจากจีนมาบวชให้เกิดภิกษุณีสงฆ์ขึ้นใหม่
ในศรีลังกา ( อย่าลืมว่าภิกษุณีจีนได้รับการบวชไปจากภิกษุณีศรีลังกาในยุคแรก )
         ถ้าการสืบทอดแบบนี้ถือว่าขาดแล้ว อย่างนั้นสยามวงศ์ในศรีลังกาล่ะ ก็พระไทยไป
เริ่มการบวชไว้น่ะ"


คุณหลวง

    ต้องกราบขออภัยทุกท่านจริงๆครับ ที่ตั้งกระทู้มาเองเรื่องภิกษุณี แต่ไพล่ไปตอบเรื่องอาบัติกันเสีย ก็ถือว่าไปด้วยกันนะ ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้และความเห็นครับ

    วันนี้ก็ไม่ได้พูดถึงอยู่ดี เพราะเวลาไม่มากนัก ขอตอบเรื่องนี้ก่อนครับ
อ้างจาก: คุนหลวง เมื่อ 10:52 น.  21 มี.ค 55
...


ดีใจที่เจอคุณหลวง แล้วที่ว่า ตรัสรู้ คืออะไรครับ แค่รู้ว่า มีเกิด ก้อต้องมีแก่ มีเจ็บ มีตาย เรียกว่า ตรัสรู้แล้วหรือครับ.. ส.โอ้โห ส.หัว

    คือการรู้ว่าไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตาย ในความมีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย นั่นแหละครับ พูดให้สั้นไปอีกคือ การรู้จักตัวเองครับ (และสั้นไปอีกว่า ผมไม่รู้) ส-เขิน


สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

คุนหลวง

.



...ขอบคุณ คุณหลวง


สรุปแล้ว ผมก็ยังด้อยปัญญา ไม่เข้าใจ

เอาที่อธิบายได้ง่ายกว่านี้ มีใหมครับ... ส.โอ้โห ส.ชิชิ

คุณหลวง

อ้างจาก: คุนหลวง เมื่อ 14:18 น.  22 มี.ค 55
.



...ขอบคุณ คุณหลวง


สรุปแล้ว ผมก็ยังด้อยปัญญา ไม่เข้าใจ

เอาที่อธิบายได้ง่ายกว่านี้ มีใหมครับ... ส.โอ้โห ส.ชิชิ

    ง่ายกว่านี้ มีครับ แต่ยากกว่า เอ๊ะ ยังไง   ส.หัว

    สรรพสิ่งในโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นเกิดมาด้วยเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันมาครับ ทั้งส่วนที่เป็นวัตถุ แลมิใช่วัตถุ เพียงแต่ว่าจิตนั้นเป็นธาตุที่พิเศษสุด สามารถรับอารมณ์ ยึด ผูกพันอารมณ์ จดจำอารมณ์ ปรารถนาอารมณ์ต่างๆได้ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะมาในรูปใด

    เมื่อจิตรับอารมณฺ์แล้วก็เกิดความต้องการ ไม่ต้องการ และสงสัยใคร่รู้ จึงเกิดความยึดถือเป็นตัวเป็นตน เป็นของตัวของตนขึ้นมา เมื่อปรารถนาแล้วได้ก็อยากมากขึ้น เมื่อไม่ได้ก็อยากได้ หรือหดหู่

    เมื่อเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นตัวตนขึ้นมา จิตนั้นจึงทุกข์อยู่ด้วยความปรารถนา ไม่ปรารถนาด้วยประการต่างๆ และพยายามยึดตัวตนที่สร้างขึ้นมานั้นเอาไว้ เช่น ยึดร่างกายนี้ว่าเป็นตัวตนของตน เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงเช่น หน้าเหี่ยว หงอกขึ้นก็ทุกข์ใจ ยึดอารมณ์สุขว่าของตนเมื่ออารมณ์นั้นคลายไปก็เสียใจ เป็นต้น

    เมื่อสรรพสิ่งนั้น เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัย และดับไปด้วยเหตุปัจจัยต่างๆนั้นๆแล้ว การที่อะไรๆก็ตามที่ยังเิกิดมาด้วยเหตุปัจจัย มันก็ต้องเปลี่ยนและดับไปตามเหตุปัจจัยอยู่ดี ไม่มีอะไรขวางกั้นได้ การเข้าไปยึดถือจึงก่อความทุกข์ ความทุกข์คือความเครียด ความเครียดคือความเสียดสี

    ความเสียดสีเกิดจากสรรพสิ่งต้องเกิด เปลี่ยน ดับไป แต่จิตอยากให้คงอยู่ มันสวนทางกัน มันเลยเสียดสีกัน มันเครียด มันทุกข์ ยิ่งยึดถือมากยิ่งทุกข์มาก

    ลองสังเกตุดูเถอะครับ ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลง ร่างกาย อารมณ์ วัตถุต่างๆ

    และเพราะการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมชาติของมันอย่างนี้เอง จึงความจริงไม่ได้มีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แต่อย่างใด มันเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของมัน แต่เมื่อจิตยึดถือในร่างกาย ในวัตถุ เกิดความรู้สึกยึดตัวตนแล้ว จึงยินดีในการเกิด เสียใจต่อการดับ สร้างสมมติการเกิดดับ เป็นเกิด เจ็บ ตาย ขึ้นมา

    การเกิด การตายจึงเป็นเรื่องของจิตที่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนสมมติสร้างขึ้นมาเท่านั้น เมื่อละความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนได้ก็ไม่มีการเกิด การตาย มีเพียงแค่กระแสธรรมชาติที่เป็นไปเท่านั้นครับท่าน


ฟังดูมันยากกว่าเก่านะครับ.....สะบายดี
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

wareerant

นึกถึงการเกิดขึ้น คงอยุ่ ดับไป สักครึ่งเดียว ชีวีก็เป็นสุข

ยางใหญ่

ว่าจะไม่พูดแล้วเชียว เรื่องธรรมะ นี้น่ะ คนที่ไม่ฟัง(คิดพิจารณา)จากภายใน(อารมณ์สงบจากภายใน) จะเข้าใจได้ยาก  การที่จะเข้าใจหรือตีความหมายในคำสอนในพุธศาสนาได้แบบ สุขใจ  สำหรับผู้ทีไม่ใฝ่เรียนรู้ หรือใคร่เรียนรู้ จะเข้าไม่ถึงรสธรรม ที่คนพูดถึงกันบ่อยๆนั่นแหละ ที่นี้ถ้าถามว่าทำอย่างไร ก็ขอตอบว่า ทดลองทำดูก่อนได้เลย หาที่สงบ ได้เงียบจะดี ได้ลมพัดจะดี ได้แอร์ยิ่งดีไม่มีเสียงอื่นมาแทรกทำลายสิ่งที่เราจะ พิเคราะธรรม นั้นยิ่งดี. คนทั้งหลายเคยได้ยินว่า " รสธรรมนั้นเกิดขึ้นในตัวผู้รู้เท่านั้น" เมื่อนั้นท่านจะเข้าใจประโยคนี้ " ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตเท่านั้น"  नमस्ते   ออกเสียงไทย "นมัสเต แปลว่า ขอนมัสการพระเจ้าในตัวคุณ" รู้มาแค่เนี้ยะ แต่อยากเขียนมั่งง่ะ
http://youtu.be/o2_aP9RkBlc