ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ฟิลเลอร์ปลอม ดูอย่างไร

เริ่มโดย Marple, 15:42 น. 11 ธ.ค 64

Marple

หากใครคิดจะฉีดฟิลเลอร์ต้องระวัง! เพราะหากเลือกที่ฉีดไม่ดี แล้วไปเจอเข้ากับฟิลเลอร์ปลอมก่อน อาจเสี่ยงทำหน้าพัง แพ้อักเสบไปจนถึงเสียโฉมได้!

What is ฟิลเลอร์ปลอม?

ฟิลเลอร์คือสารเติมเต็มที่มีส่วนประกอบของสาร Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นสารที่มีความยืดหยุ่นตัวสูงคล้ายกับคอลลาเจนที่ผลิตใต้ชั้นผิวของ ทำให้มีความปลอดภัยที่สูง สามารถสลายออกไปเองได้ โดยไม่ต้องกังว่าจะมีสารแคมีตกค้างหรือไม่ จึงทำให้คนหันเข้ามาฉีดเพื่อฟื้นฟูใบหน้าของตน ที่คอลลาเจนใต้ผิวหนังสลายไปตามกาลเวลา กลับมาเต่งตึง และช่วยทำให้หน้ากลับมากระจ่างใสด้วย

และด้วยประโยชน์ของฟิลเลอร์ที่ดีขนาดนี้ ทำให้ผู้คนหันเข้ามาฉีดกันเยอะ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่โดนหลอกให้ไปฉีดฟิลเลอร์ปลอมแทน ซึ่งฟิลเลอร์ปลอมนั่นก็คือ "ซิลิโคนเหลว" เป็นฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่ได้มาตรฐาน หากฉีดเข้าไปแล้ว จะไม่สามารถสลายออกเองได้เหมือนฟิลเลอร์ของแท้ และยังไหลไปตามส่วนอื่นๆของใบหน้า ทำให้มีอาการอักเสบ บวมแดง ใบหน้าเสียโฉม จนต้องเข้าผ่าตัด เพื่อทำการขูดออก


How to สังเกตฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอมสมัยนี้มีการเลียนแบบที่แนบเนียนขึ้นทุกวัน ทั้งบรรจุภํณฑ์และเนื้อสัมผัส หากหมดไม่มีความเชี่ยวยชาญมากพอ ก็อาจจะถูกหลอกได้ ยิ่งเป็นผู้ที่ต้องการจะฉีดฟิลเลอร์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่รู้ว่าจะได้ฉีดขแงแท้หรือของปลอม เพราะ ขนาดหมอที่ตนคิดว่าเชี่ยวชาญ ก็ยังดูไม่ออก แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่าไม่สามารถแยกออกได้ โดนวิธีแยกก็จะมีดังนี้

ให้สังเกตที่ราคา : เราจะรู้ได้เลยว่าฟิลเลอร์นั้นเป็นของแท้หรือของปลอมก็คือ "ราคา" เพราะฟิลเลอร์แท้นั้นจะมีราคาสูง ซึ่งจะแบ่งความเกรดตามยี่ห้อ แต่ฟิลเลอร์ปลอมมักจะมีราคาที่ถูก จนทำให้ผู้คนหลงไปฉีด ซึ่งผู้ที่จะฉีดฟิลเลอร์ปลอมได้ ก็มีแต่หมอปลอมเท่านั้น ซึ่งในการฉีดฟิลเลอร์นั้นจ้องใช้ความเชี่ยวชาญที่สูงมาก เพราะ หากฉีดเข้าไปโดยไม่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้ผิวหนังนูนบวมอักเสบอย่างร้ายแรง และอาจถึงขั้นใบหน้าเสียโฉม และตาบอดได้เลย

บนฉลากฟิลเลอร์ควรจะเป็นภาษาไทย : เพราะว่าฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจาก อย.ไทย จะต้องมีจะมีฉลากภาษาไทยระบุรายละเอียดต่างๆของฟิลเลอร์ ซึ่งจะระบุทั้งวันผลิตและวันหมดอายุ หากฟิลเลอร์ที่หมอนั้นนำมาฉีด ไม่มีฉลากภาษาไทยติดอยู่ล่ะก็ ให้คิดไว้เลยว่า อาจจะเป็นของปลอมก็เป็นได้

ไม่ควรเชื่อฟิลเลอร์ที่ขายตามอินเทอร์เน็ตเด็ดขาด : เพราะ ฟิลเลอร์เป็นยาชนิดควบคุมพิเศษที่ผู้สั่งต้องประกอบอาชีพแพทย์เท่านั้น ก่อนซื้อก็ต้องส่งหลักฐานไปให้ทางผู้ผลิตตรวจสอบ เช่น ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาล ถึงจะสามารถนำเข้ามาได้ ดังนั้นหากไปพบเจอฟิลเลอร์ชนิดไหนที่ขายตามอินเทอร์เน็ตล่ะก็ ให้คิดไว้เลยว่าเป็นของปลอมแน่นอน