ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ปัญหานี้มีทางแก้หรือไม่ ?

เริ่มโดย Pangnap, 22:24 น. 20 ธ.ค 64

Pangnap

ปัญหาลูกไม่ยอมเข้าเต้า เป็นสิ่งที่คุณแม่หลายๆคนอาจได้เจอมา และหาสาเหตุไม่ได้ ทำให้ปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ต้องถอดใจที่จะให้ลูกกินนมจากเต้าแม่โดยตรง ซึ่งอาจจะทำให้พลาดโอกาสดีๆหลายอย่างจากการให้ลูกกินนมจากเต้าโดยตรง และวันนี้เราจะมาหาคำตอบว่าทำไมลูกไม่ยอมเข้าเต้า และวิธีแก้ไขปัญหา

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า แก้ได้ถ้ารู้สาเหตุ

ทำไมลูกไม่ยอมเข้าเต้าและจะแก้ไขอย่างไรดี
การที่ลูกไม่ยอมเข้าเต้า มีสาเหตุอยู่ด้วยกันหลายข้อ เช่น ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า ลูกติดขวด หากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ เราต้องทำความเข้าใจกับปัญหาก่อน เพื่อให้เห็นภาพว่าควรจะเริ่มแก้ไขอย่างไร โดยสาเหตุที่ลูกไม่ยอมเข้าเต้ามี ดังนี้

[attach=1]

สาเหตุที่ 1 : เต้านมของแม่แข็ง

หากเราจะกินอาหารเราก็ย่อมอยากกินอาหารที่กินได้ง่าย และปัจจัยที่ทำให้การกินนมจากเต้าแม่เป็นเรื่องยาก คือ เต้านมของแม่แข็ง หรือ อาการคัดเต้านม จะทำให้น้ำนมออกจากเต้าแม่ได้ยาก เมื่อลูกดูดนมจะเต้าได้ยากขึ้น ก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้าน และลูกจะไม่ยอมเข้าเต้าในที่สุด

วิธีแก้ไข : หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันที่จะทำให้ท่อนมอุดตัน และใช้วิธีการนวดน้ำนมเพื่อให้น้ำนมไหลได้ง่ายยิ่งขึ้น

สาเหตุที่ 2 : ปัจจัยทางกายภาพของลูก

แผลร้อนในๆปาก ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ลูกไม่ยอมเข้าเต้าได้ เพราะขนาดผู้ใหญ่เอง ถ้ามีแผลร้อนในๆปาก ก็คงหลีกเลี่ยงการกินอาหารเช่นกัน เพราะการกินหรือแม้แต่การดูดนมจากเต้า ทำให้ปากต้องขยับ อาจทำให้มีอาการเจ็บเวลากินอาหารได้

วิธีแก้ไข : รีบรักษาแผลร้อนในปากให้เร็วที่สุด

สาเหตุที่ 3 : ลูกรู้สึกถูกขัดจังหวะ

การกินอาหาร ทุกคนยอมอยากกินอาหารอย่างมีความสุข การกินนมแม่ก็เช่นกัน หากมีสิ่งรบกวนเช่น รอบข้างมีเสียงดังรบกวน หรือ ตัวคุณแม่แสดงอาการเจ็บเวลาลูกดูดนม ก็อาจส่งผลต่ออารมณ์อยากกินอาหารของลูก และกลายเป็นลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าทุกครั้ง

วิธีแก้ไข : คุณแม่ควรหาที่เงียบสงบในช่วงให้นมลูก และตัวคนรอบข้างเองก็ต้องให้ความร่วมมือกับไม่ส่งเสียงดังในช่วงเวลานั้น และถึงแม้จะมีเจ็บบ้างตอนให้นมลูก ก็ขอให้คุณแม่อดทนไม่แสดงอาการออกมา

สาเหตุที่ 4 : ตารางเวลาการให้นมไม่แน่นอน

ทารกแรกเกิดมีเวลาการกินนมที่แน่นอน เค้าจะจดจำว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ต้องกินนม ซึ่งถ้าเวลาการให้กินนมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ให้ลูกกินมผิดไปจากเวลาที่เค้าจำได้ ก็อาจทำให้ลูกไม่ยอมเข้าเต้าได้

วิธีแก้ไข : คุณแม่ควรรักษาเวลาในการให้นมอย่างเคร่งครัด หากจำเป็นจริงๆ ก็ให้ปั๊มนมเก็บไว้ และให้ลูกกินนมในเวลาที่ตั้งไว้ แต่ก็ไม่ควรทำบ่อย เพราะอาจส่งผลให้ลูกติดขวดนมได้

สาเหตุที่ 5 : ลูกติดขวดนม

การให้ลูกกินนมจากขวด เป็นวิธีช่วยแก้ปัญหาสำหรับคุณแม่ที่งานยุ่ง จัดตารางการให้นมลูกไม่ค่อยได้ ในสมัยนี้คุณแม่สามารถปั๊มน้ำนมแม่เก็บไว้ให้ลูกกินในภายหลังได้ แต่ก็อาจทำให้ลูกติดขวดนมได้ เพราะการกินนมจากขวดง่ายกว่าการกินจากเต้านมแม่โดยตรง ปริมาณการไหลของนมจากขวดก็ออกมาง่ายและมากกว่าเต้านม จึงไม่แปลกถ้าได้ลูกได้ลองกินนมขวด และติดใจจน ลูกไม่ยอมเข้าเต้าปั๊มอย่างเดียว

วิธีแก้ไข : ลูกไม่ยอมเข้าเต้า อาจเกิดด้วยความจำเป็นของคุณแม่บางคน ที่จะต้องให้ลูกนมทางขวดบ้าง แต่ควรสลับกับการให้ลูกเข้าเต้าบ้าง เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเคยชินกับขวดอย่างเดียว เพื่อแก้ปัญหาลูกติดขวดไม่เข้าเต้า การให้นมลูกทางขวดควรทำสลับกับการให้นมผ่านทางเต้าโดยตรง เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเคยชินกับการกินนมทางขวดอย่างเดียว นอกจานี้การใส่นมในขวด ไม่ขวดใส่ในปริมาณเยอะ เพื่อไม่ให้ลูกเคยชินว่า ถ้ากินนมจากขวดนี้นอกจากกินได้ง่ายแล้วปริมาณยังเยอะอีก

สาเหตุที่ 6 : ปริมาณน้ำนมแม่ที่มีไม่พอ

จากที่กล่าวมา การดูดนมจากเต้าของแม่ถือว่ายากกว่าถ้าเทียบกับการดูดนมจากขวด และทั้งปริมาณน้ำนมที่ออกมาตอนดูดนมจากเต้ายังน้อยอีก ก็อาจเป็นสาเหตุว่าทำให้ลูกไม่ยอมเข้าเต้า เพราะปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอให้อิ่มท้องได้

วิธีแก้ไข : การทานอาหารบำรุงน้ำนม หรือ ทานอาหารเสริมเพิ่มน้ำนม Jessie mom ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนม เพิ่มปริมาณน้ำนมให้เพียงพอ และยังช่วยบำรุงน้ำนมให้มีสรรพคุณบำรุงลูกน้อยอีกหลาย
อย่าง ซึ่งมั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน 100% เพราะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่มน้ำนม Jessie mom ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด

[attach=2]

สรุป

จริงอยู่ที่ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม อาจจะทำให้คุณแม่หลายคนท้อใจกับการให้ลูกน้อยกินนมจากเต้าโดยตรง แต่อย่าพึ่งถอดใจไปเพราะประโยชน์ที่ได้จากการให้ลูกน้อยกินนมจากเต้าโดยตรงนั้นก็มีหลายอย่าง คุณแม่จะมีโอกาสได้เผาผลาญแคลอรี่ และ ลูกน้อยสามารถสัมผัสได้ถึงความรักความอบอุ่นจากผู้เป็นแม่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูกน้อย