ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร เกิดจากอะไร?

เริ่มโดย Pangnap, 01:57 น. 30 ม.ค 65

Pangnap

ออฟฟิศซินโดรมใกล้ตัวกว่าที่คิด ทำไมถึงเป็น บรรเทารักษาอาการอย่างไร

เมื่อเป็นพนักงานออฟฟิศ คำว่า "ออฟฟิศซินโดรม" นั้นเป็นสิ่งที่มักจะได้ยินอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งออฟฟิศซินโดรมเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วเมื่อเป็นออฟฟิศซินโดรมจะเกิดอาการอะไรขึ้นกับร่างกาย ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และเพื่อรักษาโรคนี้ จะมีวิธีการรักษาหรือวิธีบรรเทาอาการอย่างไร ในบทความนี้จะมีคำตอบให้กับคุณ

ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดได้กับทุกคน
[attach=1]
ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่เกิดจากการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและอยู่ด้วยท่าทางหนึ่งเป็นระยะเวลานาน รวมถึงในปัจจุบัน ผู้คนมักใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ และความเครียดที่สะสมจากการทำงานทำให้ไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ จึงทำให้มีผู้คนที่เป็นโรคนี้มากขึ้น มักพบผู้ป่วยโรคนี้มากในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ โดยอาการก็มีตั้งแต่ปวดเรื้อรังไปจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมา

แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ มาเรียนรู้สัญญาณเตือนของออฟฟิศซินโดรม แล้วถ้าหากร่างกายเกิดอาการของโรคซินโดรมแล้ว จะมีการรักษา เช่น การทำกายภาพบำบัด โรคนี้อย่างไร และในกรณีที่ไม่อยากเป็นโรคนี้จะมีวิธีป้องกันอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร เกิดจากอะไร?

ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่เกิดจากการทำงานด้วยกิริยาท่าทางใดท่าทางหนึ่งอย่างไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งทำงานในออฟฟิศ การยืนขายของตลอดทั้งวัน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการด้วยเช่นกัน เช่นลักษณะและความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่างในตำแหน่งที่นั่งทำงาน เป็นต้น จนร่างกายเกิดอาการปวดตามจุดต่างๆ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
ออฟฟิศซินโดรมมีอาการอย่างไร?

ออฟฟิศซินโดรมอาการเป็นอย่างไร อาการหลักๆที่สังเกตได้มีดังนี้
[attach=2]
1. อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังบริเวณคอ ใหล่ สะบัก สะโพก รวมถึงปวดหัวเรื้อรัง และไมเกรน ซึ่งมีระดับความปวดตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง

2. อาการชา เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง

3. อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงซึ่งเกิดจากการกดทับของเส้นประสาทเป็นระยะเวลานาน

สัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม

เมื่อคุณรู้สึกว่าร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงไป แต่จะรู้ได้อย่างไรว่านั่นเป็นสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่ากำลังจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ได้แก่ ปวดบริเวณหลัง คอ ใหล่ บ่า ศีรษะ มีอาการเหน็บชาที่มือ นิ้วล็อก เป็นต้น   

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

ทำไมปัจจุบันถึงพบผู้ที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นจำนวนมาก สาเหตุหลัก ๆ คือ การใช้ชีวิตประจำวัน นั่นเองค่ะ โดยส่วนใหญ่ผู้คนที่เป็นโรคนี้มักประกอบอาชีพที่มีความเสียง มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรค
เช่น พนักงานออฟฟิศ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะต้องนั่งอยู่ในโต๊ะทำงานเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัวมาก

ผู้ใช้แรงงานที่เน้นการใช้แรงเป็นหลัก เช่น การยกของ มีโอกาสที่จะยกของผิดวิธี ยกไม่ถูกจังหวะ หรือยกของปริมาณมาก

พนักงานเซลล์ เป็นผู้ที่ทำอาชีพในการขายของ จะต้องยืนเป็นระยะเวลานาน

นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้คนในกลุ่มนี้อาจมีการออกกำลังกายหนักเกินไปหรือออกกำลังกายเฉพาะจุดมากเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอาการบาดเจ็บ

ผู้ที่ใช้สายตากับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มากเกินไป เนื่องจากการใช้สายตาจับจ้องหน้าจอมากเกินไปจะทำให้ตาเกิดอาการล้า

วิธีแก้ออฟฟิศซินโดรม
[attach=3]

วิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆเพื่อแก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น ได้แก่
คอยยืดร่างกายและกล้ามเนื้อเป็นระยะ ไม่อยู่ในท่าทางเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและไม่ให้กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นระยะเวลานานเกินไป

ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม โดยสังเกตว่า ท่าทางการนั่งถูกต้องไหม ระดับโต๊ะสูงเกินไปหรือไม่ เก้าอี้เหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือเปล่า

ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป การออกกำลังกายที่แนะนำ คือ การเดิน วิ่ง หรือการโยคะเพื่อเป็นการผ่อนคลายร่างกายจากความเหนื่อยล้า
   
ออฟฟิศซินโดรม รักษาได้อย่างไร
   
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมมีหลายวิธี โดยมีวิธีที่แนะนำดังนี้
      
1. การฝังเข็ม

การฝังเข็ม เป็นวิธีที่ใช้เข็มขนาดเล็กปักตรงจุดกล้ามเนื้อที่มีความหดเกร็ง โดยใช้ปลายเข็มในการสกิดเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและใยกล้ามเนื้อมีการเรียงตัวใหม่ จึงทำให้อาการเจ็บปวดบรรเทาลง   

2.กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม   

กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งการรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดจะมีหลายวิธี โดยจะมีนักกายภาพบำบัดคอยประเมินอาการของโรคเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้
1. การรักษาโดยใช้คลื่นกระแทก
2. การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
3. การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง
4. การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
5. การดึงคอและกระดูกสันหลัง
6. การอัลตราซาวด์

นอกจากนี้ทางนักกายภาพบำบัดยังมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเป็นออฟฟิศซินโดรมด้วย

ท่าบริหารออฟฟิศซินโดรม

ในบางครั้ง บางคนก็มักจะเผลอทำท่าทางซ้ำๆเป็นเวลานานโดยไม่รู้ตัว หรือบางคนก็มีความจำเป็นต้องพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม เพื่อเป็นการวันนี้จะมาแนะนำท่าบริหารง่ายๆเพื่อแก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรม ดังนี้

ท่าที่ 1 - นั่งหลังตรง ประสานมือทั้งสองข้างด้านหลัง แล้วตึงใหล่ค้าง 5-10 วินาที จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะบักหลังผ่อนคลายลง

ท่าที่ 2 - นั่งหลังตรง นำมือข้างขวากดศีรษะแล้วเอียงไปทางซ้ายจนรู้สึกตึก แล้วทำค้าง 5-10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้งแล้วเปลี่ยนข้าง ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อคอและใหล่รู้สึกผ่อนคลาย

ท่าที่ 3 - ไขว้ขาเป็นเลขสี่ โดยพาดขาข้างใดข้างหนึ่งให้คล้ายเลขสี่ และโน้มตัวไปข้างหน้าค้าง 3 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้งแล้วเปลี่ยนข้าง โดยวิธีนี้จะช่วยให้อาการปวดหลัง ก้น รวมถึงเข่าบรรเทาลง

ท่าที่ 4 - ประสานมือทั้งสองข้าง และยืดกล้ามเนื้อแขนไปข้างหน้าค้างไว้ 3 วินาทีและคลายมือออก ทำซ้ำ 5 ครั้ง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ท่าที่ 5 - ชูมือขวาขึ้นแล้วงอข้อศอกไปข้างหลังทางฝั่งซ้าย แล้วนำมือซ้ายจับข้อศอกให้เกิดความรู้สึกตึง ทำค้าง 10-20 วินาที แล้วทำสลับข้าง

การป้องกันออฟฟิศซินโดรม

สามารถทำวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม เช่น
ขยับร่างกายสม่ำเสมอ ไม่อยู่ท่าเดียวกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย เปลี่ยนบริบทท่านั่ง รวมถึงยืดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน เล่นโคยะ เป็นต้น

คอยเช็คสภาพแวดล้อมรอบตัวอยู่เสมอ ว่าเหมาะสมหรือไม่ เช่น ความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ แสงที่อยู่บริเวณโต๊ะทำงาน ระดับการวางหน้าจอคอม เป็นต้น

ในกรณีที่ใช้สายตาในการจ้องหน้าจอหรือจ้องสิ่งต่างๆมากเกินไป ควรพักสายตาทุก ๆ 10 นาทีเพื่อไม่ให้ตาล้าจนเกินไป
ทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง

สรุป
   
ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่พบในกลุ่มพนักงานออฟฟิศเป็นส่วนมาก โดยมีอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งสัญญาณเตือนที่พบก็คือมีการปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ใหล่ ศีรษะ รวมถึงมีอาการตาแห้ง เหน็บชาได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม จึงควรขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกาย หรือ การเล่นโยคะ เป็นต้น และสำหรับผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมก็ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะมีโอกาสที่จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตสภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที