ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สายตาเอียง เกิดจากอะไร มีวิธีทดสอบสายตาเอียงอย่างไรบ้าง?

เริ่มโดย daisydaily, 15:38 น. 02 ก.พ 65

daisydaily

เมื่อพูดถึงสายตาเอียง สำหรับผู้ที่เพิ่งเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก อาจจะเข้าใจว่าสายตาเอียง คือ การที่มองเห็นสิ่งต่างๆเอียงใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วสายตาเอียงไม่ได้ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆเอียงอย่างผิดปกติแต่อย่างใด ถ้าอย่างนั้นแล้วเรามาทำความเข้าใจกันค่ะ ว่าสายตาเอียง คืออะไร เกิดจากอะไร เมื่อมีอาการสายตาเอียงแล้ว จะมีการตรวจสอบและรักษาอย่างไร

[attach=1]

สายตาเอียง (Astigmatism)

สายตาเอียง คือ ภาวะที่สายตามีการมองเห็นอย่างผิดปกติ โดยที่ความโค้งของเลนส์ตาหรือกระจกตาแต่ละแนวไม่เท่ากัน จึงทำให้มีการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดปกติ โดยจะเห็นสิ่งต่างๆเป็นภาพซ้อน ภาพมีเงา เบลอ หรือมองภาพที่มีสีเข้มหรือขนาดเล็กได้ยากนั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดร่วมกันกับสายตาสั้นหรือสายตายาว


สายตาเอียงเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

สายตาเอียง เกิดจากกระจกตามีรูปร่างผิดปกติ หรือความโค้งของกระจกตาแต่ละแนวไม่เท่ากัน ส่งผลให้แสงที่กระทบส่วนตาเกิดการหักเหตกลงบริเวณจอตามากกว่า 1 จุด หมายความว่าตาของเราจะไม่สามารถโฟกัสไปที่จุดเดียวได้ จึงทำให้มีการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดปกติ

[attach=2]

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะสายตาเอียง

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดภาวะสายตาเอียงได้อย่างแน่ชัด แต่โดยส่วนมาก ภาวะสายตาเอียงมักจะเป็นภาวะที่มักเป็นโดยกำเนิด แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น
  • กระจกตาหรือเลนส์ตาเกิดความผิดปกติ
  • ตาเหล่
  • มีบาดแผลที่กระจกตา

อาการของสายตาเอียงเป็นอย่างไร

อาการสายตาเอียงโดยทั่วไป
ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียง จะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะ โดยจะพบอาการทั่วไป มีดังนี้
  • ผู้ที่มีสายตาเอียงเล็กน้อย หากไม่ได้มีการใช้สายตาจ้องหรือเพ่งเป็นระยะเวลานาน ก็จะไม่มีอาการใด ๆ ออกมา
  • ผู้ที่มีสายตาเอียงมาก จะมีอาการตาแห้ง มองเห็นสิ่งต่าง ๆ มัว ไม่ชัด จึงทำให้ต้องหรี่ตาเวลามองสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมองเห็นภาพที่มีสีเข้มหรือมองเห็นในตอนกลางคืนได้ยาก
หมายเหตุ กรณีที่ผู้มีภาวะสายตาเอียงนี้อ่านหนังหรือจ้องหน้าจอคอม จะมีอาการปวดหัวง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะสายตาจะไม่จับภาพต่างๆหรือภาพที่เคลื่อนไหวได้เร็ว

อาการสายตาเอียงที่เกิดกับปัญหาสายตาแบบอื่น
ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนมากจะเจอผู้มีภาวะสายตาเอียงควบคู่กับปัญหาสายตาทางด้านอื่น ๆ โดย สามารถจำแนกประเภทของสายตาเอียงได้ 3 ประเภท ดังนี้
  • สายตาเอียงพร้อมกับสายตาสั้น จะทำให้การมองของดวงตามีอาการของสายตาสั้นเข้าร่วมด้วย โดยมีโอกาสที่เป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
  • สายตาเอียงพร้อมกับสายตายาว จะทำให้การมองของดวงตามีอาการของสายตายาวเข้าร่วมด้วย โดยมีโอกาสที่เป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
  • สายตาเอียงแบบผสม จะทำให้การมองของดวงตามีทั้งอาการของสายตาสั้นและสายตายาวเข้าร่วมด้วย โดยเส้นการมองหนึ่งจะเป็นอาการสายตาสั้น อีกเส้นเป็นอาการสายตายาว

การวินิจฉัยสายตาเอียงโดยแพทย์

[attach=3]

สายตาเอียงเป็นภาวะที่สามารเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยบางคนอาจจะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจค่าสายตาอย่างสม่ำเสมอเพื่อทดสอบว่าร่างกายมีภาวะสายตาเอียงหรือไม่

ในกรณีที่พบว่าร่างกายมีภาวะสายตาเอียง จึงควรรับการรักษาเพื่อรักษาอาการสายตาเอียงอย่างเหมาะสม โดยเมื่อพบแพทย์ จะมีนักตรวจวัดสายตาวินิจฉัยว่าการมองเห็นมีปัญหาหรือมีโรคที่เกี่ยวกับตาหรือไม่ และจะมีจักษุแพทย์ทำการรักษาอาการความผิดปกติของสายตา

1. การวัดค่าระดับการมองเห็น (Visual Acuity Test)
เป็นการวัดความสามารถการมองเห็นว่ามีปัญหาทางด้านการมองเห็นหรือไม่ โดยจะให้อ่านตัวอักษรหรือตัวเลขที่อยู่บนชาร์จ ในการทดสอบ ผู้ทดสอบสายตาจะต้องอ่านว่าตัวอักษรที่ชี้คือตัวอะไร ซึ่งขนาดของตัวอักษรหรือตัวเลขนั้นจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ

2. การวัดค่าความโค้งของกระจกตา (Keratometer Test)
เป็นวัดการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบบนกระจกตาเพื่อวัดว่าความโค้งของกระจกตามีความผิดปกติหรือไม่ โดยทางผู้เชี่ยวชาญจะนำเครื่องเคอราโตมิเตอร์ส่องไปที่กระจกตา

3. การทดสอบความหักเหของแสงที่เข้าสู่ดวงตา
เป็นการวัดความหักเหของแสงที่เข้ามายังดวงตาโดยใช้เครื่องวัดการหักเหของแสง ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญจะทำการทดสอบผู้ที่ตรวจสอบสายตาโดยให้อ่านแผนภูมิผ่านการมองเลนส์ที่มีจุดแข็งแตกต่างกันในเครื่องวัดสายตา


วิธีการทดสอบสายตาเอียงด้วยตัวเอง

ในกรณีที่ไม่สะดวกเข้าพบแพทย์เพื่อทดสอบว่าสายตาของตนเองมีปัญหาหรือไม่ สามารถทดสอบด้วยตนเองแบบเบื้องต้นว่ามีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ โดยจะมีขั้นตอนทดสอบสายตาเอียงดังนี้

  • เตรียมแผ่นทดสอบสายตาเอียง โดยแผ่นทดสอบสายตาเอียงจะมีลักษณะคล้ายกับไม้บรรทัดครึ่งวงกลม ซึ่งจะมีองศาและเส้นขีดชี้ไปยังองศา
  • ยืดแผ่นทดสอบให้อยู่ห่างจากร่างกายสุดแขน ปิดตาข้างขวา และใช้ตาข้างซ้ายองแผ่นทดสอบ โดยในกรณีที่มีภาวะสายตาเอียง จะมองเห็นบางเส้นชัดหรือเข้มกว่าเส้นอื่นๆ
  • เปลี่ยนจากปิดตาข้างซ้ายเป็นปิดตาข้างขวาแล้วใช้ตาข้างซ้ายมองแผ่นทดสอบซ้ำอีกครั้ง
หมายเหตุ การใช้แบบทดสอบสายตาเอียงเบื้องต้น สามารถเช็คได้คร่าว ๆ ว่า มีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ ซึ่งในบางคนที่มีอาการสายตาเอียงน้อยมาก อาจจะมองเห็นเส้นบนแผ่นทดสอบปกติ ดังนั้น ในกรณีที่ต้องการเช็คสายตาอย่างละเอียดควรเข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการทดสอบสายตา


วิธีการรักษาภาวะสายตาเอียง

[attach=4]

สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงน้อยมากจนไม่ส่งผลกระทบกับการมองเห็น อาจไม่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงซึ่งส่งผลกระทบกับการมองเห็น สามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยมีวิธีดังนี้

1. การใส่แว่นสายตาสำหรับสายตาเอียง
การใส่แว่นตา เป็นวิธีแนะนำสำหรับผู้ที่มีสายตาเอียงในระดับปกติ เพราะเป็นวิธีที่มีการรักษาง่ายและมีความปลอดภัยกับดวงตามากที่สุด เนื่องจากการใส่แว่น จะไม่มีส่วนไหนที่เข้าไปสัมผัสกับดวงตาโดยตรง โดยเลนส์แว่นที่ใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเอียง จะเป็นเลนส์ที่คอยช่วยปรับการหักเหของแสงให้ตกกระทบบนจอตา ทำให้สามารถตาของเราสามารถโฟกัสไปที่จุดเดียวเลยมองสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

2. การใส่คอนแทคเลนส์สำหรับสายตาเอียง
การใส่คอนแทคเลนส์ เป็นการนำแผ่นเลนส์ใสใส่เข้าไปบริเวณดวงตา ซึ่งสามารถใส่และถอดออกได้ตามความสะดวก คอนแทคเลนส์จะคอยปรับความโค้งของกระจกตาชั่วคราวซึ่งทำให้แสงเกิดการหักเหตกกระทบบนจอตา เป็นเหตุให้มีการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับการสวมใส่แว่นตา

คอนแทคเลนส์แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ แบบแข็งและแบบนิ่ม
- แบบแข็ง - เลนส์มีความแข็งกว่าแบบนิ่ม มีราคาถูกและมีความคงทนมาก
- แบบนิ่ม - ใช้งานง่าย มีรูปแบบการใช้งานหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใส่แบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี หรือแบบใส่ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์

ทั้งนี้ การใส่คอนแทคเลนส์ ตัวเลนส์จำเป็นต้องสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ดังนั้น เมื่อใส่คอนแทคเลนส์ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาด ไม่ควรใส่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และถ้าหากเกิดอาการผิดปกติกับดวงตาขณะที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน

3. การผ่าตัดรักษาสายตาเอียง
การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะสายตาเอียง เป็นสิ่งที่จักษุแพทย์อาจแนะนำเมื่อสายตามีความผิดปกติอย่างมาก โดยมีวิธีผ่าตัด เช่น
การทำเลสิค เป็นการผ่าตัดเนื้อเยื่อในเลนส์กระจกตาออกมาแล้ว ใช้เลเซอร์ปรับแต่งส่วนโค้งที่เหมาะสมและใส่กลับเข้าตำแหน่งเดิม

  • การทำ PRK เป็นการผ่าตัดด้วยเลเซอร์โดยขูดเนื้อเยื่อกระจกตาออกเพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเจริญเติบโตใหม่
  • การทำ Femto LASIK เป็นการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์เปิดแยกชั้นกระจกตาแทนการใช้ใบมีด
  • การทำ ReLEx SMILE เป็นการใช้เลเซอร์โดยไม่มีการขูดหรือผ่ากระจกตา โดยผ่าแผล 2-4 มิลลิเมตรและนำเลนส์เนื้อกระจกตาออกมา ทำให้แผลมีขนาดเล็ก
  • การทำ ICL เป็นการผ่าตัดนำเลนส์มาใส่ในดวงตาถาวรโดยไม่ได้นำเลนส์แก้วตาธรรมชาติออกมา
การผ่าตัดมีความเสี่ยง หากต้องการรักษาสายตาด้วยการผ่าตัด ควรหาสถานที่รักษาที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา


ข้อสรุป

ภาวะสายตาเอียง เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สำหรับบางคนที่มีภาวะนี้ไม่มากร่างกายอาจจะไม่แสดงความผิดปกติอะไร แต่สำหรับบางคนที่มีอาการส่งผลต่อการมองเห็น หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการปรึกษาจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและรักษาสายตาด้วยวิธีการที่เหมาะสม