ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ปวดท้องข้างไหน? บอกอาการของโรคอะไร?

เริ่มโดย Achie_Heng, 14:15 น. 15 ก.พ 65

Achie_Heng

หลายครั้งที่มักเกิดอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ และอาการปวดแต่ละครั้งก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางครั้งอาการปวดท้องที่เจอก็เป็นเพียงแค่อาการป่วยขั้นต้นที่สามารถดูแลรักษาด้วยตัวเองก็สามารถหายเป็นปกติได้ แล้วอาการปวดท้องแบบไหนที่รุนแรงถึงขั้นต้องไปพบแพทย์ อาการร่วมด้วยอื่นๆ มีอะไรบ้างที่ควรกังวล

ปวดท้องข้างไหน? มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคอะไร?

อาการปวดท้องในแต่ละจุด สามารถบ่งชี้อาการของโรคต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. ปวดท้องข้างซ้ายช่วงบน อาจเป็นโรคที่เกิดจากหัวใจ กระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้และไตช้าย ได้แก่

• หัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่น เจ็บหน้าอกหรือแขนคล้ายถูกบีบ และอาการนั้นอาจลามไปยังกราม แผ่นหลังหรือคอได้ด้วย ภาวะนี้ยังส่งผลให้รู้สึกเมื่อยล้า เวียนศีรษะฉับพลัน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก ปวดท้อง หายใจไม่อิ่ม และเหงื่อออกขณะที่ร่างกายเย็น

• โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากการอักเสบและบวมของเยื่อหุ้มที่ล้อมรอบหัวใจ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแปลบที่หน้าอกช่วงกลางหรือข้างซ้าย โดยเฉพาะเมื่อหายใจเข้า รู้สึกเหนื่อย อ่อนแรง ไอ ท้องหรือขาบวมผิดปกติ หายใจไม่อิ่มขณะนอนหรือเอนกาย ใจสั่น และมีไข้ต่ำ ๆ

• โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่เหนื่อยล้า อ่อนแรง มีไข้ ปวดเกร็งหน้าท้อง หรือปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ ไปจนถึงเบื่ออาหารได้

• กรดไหลย้อน เนื่องจากเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและรู้สึกแสบร้อนกลางอก สำรอกกรดออกมา เสียงแหบ เจ็บหน้าอก จุกแน่นในลำคอ ไอ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น อีกทั้งยังประสบปัญหาในการกลืนอาหารด้วย

• ตับอ่อนอักเสบ เกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หากเป็นอาการเฉียบพลันอาจทำให้มีอาการปวดท้องลามไปยังหลัง อาการปวดท้องแย่ลงหลังรับประทานอาหาร มีอาการกดแล้วเจ็บเมื่อสัมผัสหน้าท้อง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน หรือชีพจรเต้นเร็ว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการแบบเรื้อรังอาจจะปวดท้องส่วนบน น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ อุจจาระมีกลิ่นเหม็นหรือมีไขมันมาก

2. ปวดท้องข้างซ้ายช่วงล่าง อาจเป็นโรคที่เกิดจากลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ หรือปีกมดลูกด้านซ้าย เช่น

• โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) เมื่อแรงดันภายในลำไส้ใหญ่ก่อให้เกิดกระเปาะขนาดเล็กขึ้นที่ผนังลำไส้ หากกระเปาะเกิดการฉีกขาด บวม หรือติดเชื้อก็อาจส่งผลให้ถุงผนังลำไส้อักเสบได้ โรคนี้พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งอาจทำให้มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการกดแล้วเจ็บเมื่อสัมผัสหน้าท้อง ท้องผูก และท้องเสีย

• ปัญหาเกี่ยวกับรังไข่และมดลูกของผู้หญิง เช่น การปวดประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ถุงน้ำในรังไข่ ภาวะรังไข่บิดขั้ว การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

• โรคไส้เลื่อนในผู้ชาย เป็นภาวะที่ชั้นไขมันหรือบางส่วนของลำไส้เล็กเคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิมจนมีลักษณะเป็นก้อนตุงอยู่บริเวณช่องท้องหรือขาหนีบ ผู้ป่วยอาจมีก้อนตุงที่ขยายใหญ่ขึ้น ปวดบริเวณที่ไส้เลื่อนมากขึ้น มีอาการปวดเมื่อยกสิ่งของ ปวดตื้อหรือรู้สึกแน่นท้องได้

3. ปวดท้องข้างขวาช่วงบน อาจเป็นโรคที่เกิดจากตับ ถุงน้ำดี หรือลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ รวมทั้งไตข้างขวา ไม่ว่าจะเป็น ตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี กรวยไตขวาอักเสบ หรือนิ่วในไตขวา

4. ปวดท้องข้างขวาช่วงล่าง อาจเป็นโรคที่เกิดจากไส้ติ่ง ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ หรือปีกมดลูกด้านขวา เช่น ไส้ติ่งอักเสบ หรือปีกมดลูกขวาอักเสบ

5. ปวดท้องน้อยเหนือหัวหน่าว อาจเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะ มดลูก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มดลูกอักเสบ หรือเนื้องอกมดลูก

6. ปวดท้องไต้ลิ้นปี่ อาจเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน หรือนิ่วในถุงน้ำดี

7. ปวดท้องใต้สะดือ อาจเป็นโรคที่เกิดจากลำไส้เล็กอักเสบ หรือเป็นอาการเริ่มปวดท้องของไส้ติ่งอักเสบได้ (หากมีแนวโน้มปวดลุกลามไปบริเวณด้านขวาช่วงล่าง)

ปวดท้องรุนแรงแค่ไหนควรไปหาหมอ?

หากมีอาการปวดท้องลักษณะต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่

• ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น
• ปวดจนกินอาหารไม่ได้
• ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง
• ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว
• ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
• ปวดท้องรุนแรง นอนไม่ได้
• ปวดร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด
• ปวดท้องมีไข้ร่วมด้วย

ในช่องท้องของคนเรา ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ มากมาย อาการปวดท้องอาจเกิดจากสาเหตุของโรคได้แตกต่างกันมากมาย จึงจำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากอาการปวดท้องนั้นมีแนวโน้มรุนแรง หรือมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่สุดของความคุ้มครองเรื่องสุขภาพ ให้ความคุ้มครองทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ช่วยให้คุณไม่ยุ่งยากเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คุ้มครองวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายตามจริงสูงสุด 500,000 บาทต่อปี ไม่ต้องสำรองจ่าย สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/7 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance