ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การตรวจสายตาเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่ ทำไมถึงต้องตรวจ?

เริ่มโดย daisydaily, 19:21 น. 24 ก.พ 65

daisydaily

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญเป็นอย่างมากในร่างกาย โดยในชีวิตประจำวันมีความจำเป็นต้องใช้ดวงตาในการมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้นเพื่อให้ดวงตามีการมองเห็นอย่างปกติอยู่เสมอ ควรหมั่นตรวจสายตาว่ามีความผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ในกรณีที่พบความผิดปกติก็จะสามารถเข้ารับการรักษาตามอาการได้อย่างรวดเร็ว โดยในบทความนี้จะอธิบายข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสายตา ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ทำไมถึงต้องเข้ารับการตรวจ รวมถึงสถานที่ที่ควรเข้ารับการตรวจ ฯลฯ ให้กับผู้อ่าน

[attach=1]

การตรวจสายตา

ตรวจสายตา คือ การประเมินสภาพสายตาขั้นพื้นฐานประเภทหนึ่ง ว่าดวงตามีการมองเห็นรายละเอียดหรือสิ่งต่าง ๆ ชัดเจนหรือไม่ รวมถึงประเมินสุขภาพและการทำงานของสายตาว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดปกติหรือเกิดปัญหาทางด้านสายตา เช่น ตรวจสายตาสั้น ตรวจสายตายาว ตรวจสายตาเอียง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเพื่อวินิจฉัยโอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับดวงตาได้อีกด้วย


การตรวจสายตามีจุดประสงค์เพื่ออะไร

ตรวจสายตา มีจุดประสงค์ต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น

- ตรวจสอบสุขภาพและสภาพสายตาเบื้องต้น ว่ามีความสามารถในการมองเห็นรายละเอียดชัดเจนหรือไม่
- ตรวจสอบแนวโน้มความเสี่ยงปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่อาจะเกิดขึ้น เช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก รวมถึงโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับสายตาอื่น ๆ
- ตรวจปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสายตาหรือ่ไม่
- ตรวจสอบว่าดวงตามีปัญหาในการมองเห็นหรือไม่ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา
- เพื่อประเมินสภาพค่าสายตาเบื้องต้นว่ามีความจำเป็นต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์เพื่อช่วยในการมองเห็นหรือไม่ ในกรณีที่ความจำเป็นจะต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีค่าสายตาระดับไหน
- ในการสอบใบขับขี่ หรือการทำงานบางประเภทจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสายตาว่าสามารถขับรถ หรือทำงานนั้น ๆ ได้ไหม

จะเห็นได้ว่าการตรวจสายตานั้นมีความเป็นจำเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินสภาพสายตา ในกรณีที่สายตามีปัญหา จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที


การตรวจสายตา มีการตรวจอะไรบ้าง

[attach=2]

ซักประถามประวัติโดยจักษุแพทย์

โดยทั่วไปแล้ว ในการตรวจสายตาจะเริ่มจากการซักถามประวัติของผู้เข้ารับการตรวจโดยจักษุแพทย์เป็นอย่างแรก โดยจะมีการซักถามเกี่ยวกับอาการและสุขภาพของดวงตาโดยทั่วไป ประวัติการใช้ยา รวมถึงประวัติโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการตรวจและครอบครัวของผู้รับการเข้าตรวจ จากนั้นจึงเข้ารับการตรวจสภาพสายตาประเภทอื่น

ตรวจระดับสายตา ตรวจความสามารถในการมองเห็น

การตรวจระดับสายตา เป็นการตรวจประเมินว่าสายตามีระดับการมองเห็นอย่างไร ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องเข้ารับการทดสอบโดยยืนปิดตา 1 ข้างแล้วอยู่ห่างจากแผ่นวัดในระยะ 6 เมตรเพื่ออ่านป้าย ตัวอักษร ตัวเลข ที่มีขนาดต่างกัน และสลับข้าง

ตรวจวัดค่าสายตา

การตรวจวัดค่าสายตา เป็นการตรวจวัดสายตาว่ามีปัญหาความผิดปกติหรือไม่ เช่น ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง รวมถึงว่ามีค่าสายตาเท่าไหร่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะต้องอ่านป้าย ตัวอักษร ตัวเลข ผ่านเครื่องวัดสายตา Phoropter ซึ่งจะได้ค่าสายตาที่เหมาะสมกับการมองเห็นแล้วนำผลตรวจสายตาไปทำการตัดแว่นสายตาหรือซื้อคอนแทคเลนส์

ตรวจลานสายตา

การตรวจลานสายตา เป็นการตรวจประเมินลานสายตาเบื้องต้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจว่าดวงตามีการสูญเสียการมองเห็นในตำแหน่งไหนหรือเปล่า รวมถึงโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับสายตา เช่น ต้นหิน จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถประเมินได้ว่าลานสายตามีความแคบหรือกว้างอย่างไร โดยจะให้ผู้เข้ารับการตรวจมองผ่านกล้องของเครื่องตรวจวัดลานสายตา แล้วสังเกตแสงไฟและกดปุ่มทุกครั้งที่มองเห็นแสง

วัดความโค้งของกระจกตา

การวัดความโค้งของกระจกตา เป็นการตรวจว่ากระจกตามีความโค้งผิดปกติหรือไม่ ซึ่งหากพบความผิดปกติ จะทำให้มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง โดยจะมีการนำเครื่องวัดกระจกตาส่องแสงไปที่บริเวณกระจกตาเพื่อวัดความโค้งของกระจกตาจากแสงสะท้อน

ตรวจความดันลูกตา

การตรวจความดันลูกตา เป็นการวัดความดันที่อยู่ภายในลูกตาว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ความดันลูกตาอยู่ในระดับที่ผิดปกติ เช่น ความดันลูกตาสูงกว่าปกติจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหิน หรือกรณีที่ความดันลูกตาต่ำกว่าปกติจะมีความเสี่ยงที่จอประสาทตาหลุด เป็นต้น

ตรวจการมองเห็นสี

การตรวจการมองเห็นสี เป็นการวัดประเมินความสามารถการมองสี ว่ามีการมองเห็นสีปกติ รวมถึงสามารถแยกสีต่าง ๆ ได้หรือไม่ ซึ่งการประเมินนี้จะทำให้ทราบว่าดวงตามีภาวะตาบอดสีหรือไม่ โดยแต่ละสถานที่เข้ารับการรักษาก็จะมีวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน เช่น ให้ผู้เข้ารับการตรวจมองแผ่นป้ายที่มีจุดวงกลมที่มีหลายสี และจะถามว่าวงกลมที่ชี้มีสีอะไร โดยจะมีกลุ่มอาชีพบางกลุ่มรวมถึงการขับรถจำเป็นต้องการตรวจการมองเห็นสี

ตรวจการทำงานของม่านตา

การตรวจการทำงานของม่านตา เป็นการประเมินว่าม่านตามีการตอบสนองต่อแสงปกติหรือไม่ มีวิธีการทดสอบโดยแพทย์จะนำไฟมาส่องที่ตาของผู้เข้ารับการตรวจ ถ้าม่านตามีการหดลงขณะที่แสงกระทบแสดงว่ามีการทำงานปกติ แต่ถ้าม่านตาขยายขึ้น หรือไม่มีการตอบสนองหมายถึงม่านตาอาจมีความผิดปกติ

ตรวจลักษณะของดวงตา

การตรวจลักษณะของดวงตา เป็นการตรวจดวงตาทั้งส่วนหน้าและส่วนในว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยการตรวจส่วนหน้าแพทย์จะนำไฟส่องบริเวณดวงตาเพื่อหาความผิดปกติ แต่กรณีที่อยู่ข้างใน แพทย์จะใช้ Direct ophthalmoscope ถือส่องผ่านรูม่านตาเข้าไปเพื่อตรวจ

ตรวจประสาทตา

การตรวจประสาทตา เป็นการประเมินประสาทตาส่วนต่าง ๆ เช่น เส้นประสาทตา จอประสาทตา ขั้วประสาทตา จุดรับภาพ เป็นต้น ซึ่งหากส่วนเหล่านั้นมีความผิดปกติก็จะมีโอกาสทำให้เป็นโรคต้อหิน เส้นเลือดประสาทตาอุดตัน เป็นต้น โดยแพทย์จะนำยาขยายม่านตาหยอดเพื่อประเมินว่าประสาทตา รวมถึงเส้นประสาทตาปกติดีไหม

ตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตา

การตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตา เป็นการประเมินว่ากล้ามเนื้อตามีการเคลื่อนไหวปกติหรือไม่ ถ้ามีการเคลื่อนไหวผิดปกติจะบ่งบอกถึงโรคตาเข ตาส่อน


ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจสายตา

การตรวจสายตาจะทำให้ทราบถึงสุขภาพสายตาในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร โดยผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจสายตามีดังนี้

- กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย ที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจสายตามาก่อน หรือห่างจากการตรวจวัดสายตาอย่างน้อย 1 ปี
- ผู้ที่รู้สึกว่าการมองเห็นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม หรือมีการมองเห็นผิดปกติ
- บุคคลที่ครอบครัวมีพันธุกรรมหรือมีประวัติโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับดวงตาหรือสายตา
- ผู้ที่มีการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลข้างเคียงต่อดวงตา
- ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่อาจมีความเกี่ยวข้องหรือต้นเหตุมาจากสายตา
- ผู้ที่ต้องการตรวจสายตาเพื่อนำไปเป็นหลักฐานยื่นสมัครงานที่มีความจำเป็นต้องมีสายตาปกติ หรือผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่


การตรวจสายตาในเด็ก

การตรวจสายตาในเด็กเป็นสิ่งที่เหล่าผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเด็กน้อยบางคนยังไม่สามารถแยกแยะความผิดปกติที่เกิดขึ้นในดวงตา จึงไม่สามารถถ่ายทอดความผิดปกติที่เกิดขึ้นให้ผู้ปกครองทราบได้ ดังนั้นจึงควรพาลูกไปตรวจสายตาเพื่อกรณีที่สายตามีปัญหาจะได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่ช่วงแรก โดยเด็กที่ควรเข้ารับการตรวจสายตาจะมีเกณฑ์หรือดังนี้

- เด็กที่มีผู้ปกครองมีความผิดปกติที่ตาหรือโรคกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับสายตา
- เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้หรืออยู่ในกลุ่มดาวน์ซินโดรม
- สำหรับเด็กอายุ 3 เดือนเป็นต้นไป ที่ไม่การสบตา มีหนังตาตกซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ รวมถึงมีปัญหาน้ำตาเอ่อล้นหรือไหลเป็นประจำไม่หาย
- สำหรับเด็กช่วงอายุ 2-5 ปี ที่มีอาการตาเข ตาเหล่ เอียงหน้าเวลามอง หรือมีการกระพริบตาบ่อย
- สำหรับเด็กช่วงอายุ 5 ปีขึ้นไป ที่มีอาการหยีตาเวลามองสิ่งของ มองโทรทัศน์หรือโทรศัพท์ใกล้ ๆ
- ตรวจสายตาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[attach=3]


การตรวจสายตาในผู้สูงอายุ

เมื่อร่างกายมีอายุเพิ่มมากขึ้น อวัยวะหลายส่วนในร่างกายรวมถึงดวงตาก็จะเกิดความเสื่อมสภาพลง ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรเข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียด ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุทราบว่าตนเองมีปัญหาสายตาหรือโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับดวงตาอื่น ๆ ไหม โดยโรคเกี่ยวกับดวงตาที่มักพบในผู้สูงอายุมีดังนี้

โรคเกี่ยวกับดวงตาที่มักพบในผู้สูงอายุ

  • โรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย
โรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย เป็นโรคที่พบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยจะมีการมองเห็นภาพอย่างบิดเบี้ยว มัวลง มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นคดหรือเห็นจุดดำกลางภาพ โรคนี้ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงชะลออาการของโรคเท่านั้น แต่ถ้าหากไม่รับการรักษาก็อาจจะทำให้สูญเสียการมองเห็นบริเวณกลางภาพ

  • โรคต้อกระจก
โรคต้อกระจก เป็นโรคที่เกิดขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเลนส์ตาเกิดอาการขุ่นมัว มองเห็นไม่ชัดเจน เห็นภาพซ้อน ซึ่งการปล่อยโรคไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่จะทำให้การมองเห็นแย่ลง

  • โรคต้อหิน
โรคต้อหิน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกายที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยเมื่อความดันในลูกตาสูงจะไปทำลายจอประสาทตารวมถึงเส้นประสาทตาให้เสื่อมลง หากไม่เข้ารับการรักษาก็จะทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

  • โรคต้อเนื้อ โรคต้อลม
โรคต้อลม เป็นโรคที่เกิดจากการที่เยื่อบุตาขาวเสื่อม ทำให้เกิดตุ่มขนาดเล็กสีขาวหรือเหลืองขึ้นบริเวณตาขาวทำให้เกิดอาการเคืองตา ตาแห้ง หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้เกิดอาการลุกลามไปยังกระจกตาดำจนกลายเป็นต้อเนื้อได้ โดยโรคต้อเนื้อถ้าหากปล่อยไว้นานจะทำให้การมองเห็นแย่ลง

  • โรคตาแห้ง
ในความเป็นจริงแล้ว โรคตาแห้งเป็นโรคที่พบได้ในหลายช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานหรือวัยสูงอายุ โดยจะมีอาการเคืองตา แสบตา น้ำตาไหลมาก ทำให้มีการมองเห็นชัดเจนน้อยลง หากไม่รับการรักษาจะทำให้อาการเรื้อรังรวมถึงอาจเกิดอาการติดเชื้อบริเวณดวงตาได้

  • โรคเบาหวานขึ้นตา
โรคเบาหวานขึ้นตา เป็นโรคที่มักพบในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดรวมถึงระบบประสาทเสื่อมลง ทำให้ชั้นจอประสาทตาเสื่อม หากปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่เข้ารับการรักษาจะทำให้ตามัวจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น

[attach=4]


ควรตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน

ตรวจสายตา ควรตรวจตอนไหน ควรตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนมักสงสัย สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าสายตามีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางด้านสายตา ควรเข้ารับการตรวจทันที แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงหรือรู้สึกว่าสายตากำลังมีปัญหา สามารถเข้ารับการตรวจโดยแบ่งเป็นกลุ่มช่วงอายุ ดังนี้

• อายุแรกเกิด - 5 ปี
ควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอทุกปี เพื่อตรวจสอบว่ามีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง รวมถึงภาวะตาเข ตาเหล่ หรือไม่ นอกจากนี้ยังควรตรวจเพื่อป้องกันภาวะตาขี้เกียจ ในกรณีที่เป็นตาขี้เกียจ การรักษาในช่วงยังเล็กจะได้ผลดีมาก

• อายุ 6 - 20 ปี
ในช่วงนี้ควรเข้ารับการตรวจสายตาเป็นประจำ เพื่อเช็คว่าดวงตามีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงหรือไม่

•​ อายุ 21 - 29 ปี
เป็นช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยทำงาน จึงควรเข้ารับการตรวจค่าสายตาเป็นประจำ เมื่อพบปัญหาค่าสายตาในช่วงนี้ จะทำให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี เพราะอายุช่วงนี้จะมีวิธีรักษาค่าสายตาหลากหลายมากขึ้น เช่น การทำเลสิค

•​ อายุ 30 - 40 ปี
ในช่วงอายุนี้จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสายตา อีกทั้งยังมีการทำงาน เช่น จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระนะเวลานาน จึงหมั่นเข้ารับการตรวจสายตาเมื่อรู้สึกว่ามีปัญหา

•​ อายุ 41 - 65 ปี
เป็นช่วงอายุที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ เริ่มเกิดความเสื่อม จึงมีโอกาสทำให้เป็นโรคทางตาเพิ่มขึ้น โดยควรเข้ารับการตรวจสายตา 1-2 ปีต่อครั้ง

•​ อายุ 65 ปีขึ้นไป
เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจหาความผิดปกติของดวงตาและเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ รวมถึงดวงตาจะเกิดการเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น


การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสายตา

• งดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 3 วันกรณีเลนส์นิ่ม และงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างแข็งอย่างน้อย 7 วันก่อนเข้ารับการตรวจ
• กรณีผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติ ควรพกแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ที่ใส่ติดตัวไปด้วย
• งดแต่งหน้าบริเวณดวงตา เช่น กรีดอายไลน์เนอร์ ติดขนตาปลอม
• ควรแจ้งแพทย์ให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่กำลังใช้ รวมถึงประวัติการรักษาโรคและโรคประจำตัวที่มี ก่อนเข้ารับการรักษา เพราะอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสายตาได้
• ในวันตรวจสายตา ไม่ควรขับรถมาเอง และควรมีคนคอยมาดูแล เพราะการตรวจสายตาจะมีการหยอดยาขยายรูม่านตา ทำให้มองเห็นภาพต่าง ๆ เบลอ สู้แสงไม่ได้จึงควรพกแว่นกันแดดและหมวกมีปีกไปด้วย
• พักผ่อนสายตาให้เพียงพอ ไม่ใช้สายตาหนักก่อนเข้ารับการตรวจ


ตรวจสายตาที่ไหนดี

เมื่อทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการตรวจสายตาแล้ว คำถามต่อมาที่ผู้อ่านจะนึกถึงก็คือ ตรวจสายตาโรงพยาบาลไหนดี ตรวจสายตาที่ไหนดี อันที่จริงแล้วสามารถเข้ารับการตรวจสายตาได้หลายที่ไม่ว่าจะเป็นร้านตัดแว่น คลินิคจักษุ รวมถึงสถานพยาบาล โรงพยาบาลต่าง ๆ แต่ใช่ว่าการตรวจสายตาจะเป็นไปได้อย่างแม่นยำทุกที โดยการตรวจสายตาควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น

- สถานที่เข้ารับบริการมีมาตรฐาน ความสะอาด ปลอดภัย
- มีอุปกรณ์การตรวจที่ทันสมัย ครบครัน
- มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การตรวจ และมีใบประกอบวิชาชีพ
- มีพนักงานที่มีใจรักการบริการ คอยให้รายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารับบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน

[attach=5]

ข้อสรุป

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือว่าจะเป็นการใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ก็ล้วนส่งผลทำให้สายตามีปัญหาง่ายขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ตรวจสายตา จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำทุกปี โดยตรวจว่าสภาพสายตาในปัจจุบันเป็นอย่างไร มีปัญหาหรือความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับสายตาหรือไม่