ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีอาการอย่างไร? ป้องกันได้อย่างไร?

เริ่มโดย Achie_Heng, 15:01 น. 28 มี.ค 65

Achie_Heng

"กลั้นปัสสาวะไม่อยู่" เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน แต่ในบางครั้งปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัยได้ไม่ต่างกัน แล้วอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะเป็นการส่งสัญญาณของการเป็นโรคอะไรได้บ้าง

การทำงานของปัสสาวะในร่างกาย

อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างประกอบไปด้วย

1. กระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่เก็บน้ำปัสสาวะ ซึ่งสร้างจากไตไหลผ่านมาทางท่อไต ในปริมาณความจุประมาณ 300 – 500 มิลลิลิตร โดยไม่มีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมา และไม่มีความรู้เจ็บปวดทรมานในขณะเก็บน้ำปัสสาวะ อีกหน้าที่หนึ่งคือการบีบขับน้ำปัสสาวะออกจนหมดเมื่อมีความรู้สึกปวดปัสสาวะ ในสถานการณ์และโอกาสที่เหมาะสม โดยคนปกติสามารถเริ่มมีความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ตั้งแต่มีน้ำในกระเพาะปัสสาวะปริมาณ 150 มิลลิลิตร

2. ท่อปัสสาวะ มีหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย โดยมีหูรูดของท่อปัสสาวะ 2 ชั้น คือ หูรูดชั้นใน และหูรูดชั้นนอก ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดตามจังหวะของการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ กล่าวคือ เมื่อกระเพาะปัสสาวะกำลังทำหน้าเก็บน้ำปัสสาวะ หูรูดของท่อปัสสาวะจะบีบตัว ทำให้ท่อปัสสาวะปิดสนิทไม่ให้มีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมา ในทางตรงกันข้ามเมื่อกระเพาะปัสสาวะกำลังทำหน้าที่ขับปัสสาวะ หูรูดของท่อปัสสาวะจะคลายตัว ทำให้ท่อปัสสาวะเปิดออกและน้ำปัสสาวะผ่านออกมาได้จนหมด โดยทั้งกระเพาะปัสสาวะและหูรูดของท่อปัสสาวะจะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์ จึงจะทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

ไตกรองของเสีย ➞ ท่อไต ➞ เก็บในกระเพาะปัสสาวะ ➞ เมื่อถึงระดับหนึ่ง ➞ ส่งกระแสประสาทไปยังต่อมใต้สมอง ➞ รู้สึกปวดปัสสาวะ

อาการเริ่มต้น "กลั้นปัสสาวะไม่อยู่"

อาการเริ่มต้นของโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกัน สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

1.   การปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน ปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน
2.   การปวดกลั้นมากขณะที่จะไปห้องน้ำอยู่บ่อยครั้ง ปวดปัสสาวะเมื่อไรต้องเข้าห้องน้ำทันที หรือบางครั้งกลั้นไม่อยู่อาจราดออกไปก่อน
3.   สตรีหลังคลอดบุตรที่อาจมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมา
4.   มีอาการปัสสาวะเล็ด เมื่อเป็นหวัด ไอ จาม หัวเราะ หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว แล้วพบว่าปัสสาวะเล็ด เรียกว่า ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการออกแรงเบ่งช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence, SUI)
5.   เกิดปัสสาวะเล็ดเมื่อก้มลงยกของหนักจากพื้นหรือกระโดดออกกำลังกาย หรือแม้แต่ก้าวขึ้นบันไดหลาย ๆ ขั้น

สาเหตุโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

สาเหตุหลักที่สำคัญของอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของสตรีเพศหย่อนลง หรือที่เรียกว่า กระบังลม (เชิงกราน) หย่อน จะมีภาพคล้ายกับเปลญวณที่ผูกขึงไว้หย่อนลงเมื่อมีแรงของน้ำหนักตัวทิ้งลงไป โดยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่หย่อนนี้จะดึงท่อปัสสาวะและช่องคลอดหย่อนลงมาด้วยเป็นมุมที่ทำให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมาได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น

1. ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่ามีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ถึง 15-35%
2. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน เพราะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น
3. การคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติหรือการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดมดลูก และการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การบริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรงจะช่วยให้สามารถป้องกันโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ ด้วยวิธีการดังนี้
1. ฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด ขมิบทำเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ โดยขมิบครั้งละประมาณ 5 วินาที แล้วหยุด 10 วินาที ทำซ้ำแบบนี้ 10 ครั้ง เริ่มต้นอาจจะทำวันละ 3 เวลาในตอนเช้า กลางวัน และเย็น ทุกวัน แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนให้ถี่ขึ้น
2. ฝึกควบคุมการขับถ่าย พยายามกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
3. ก่อนที่จะไปปัสสาวะ ให้ยืดระยะเวลาระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งให้นานขึ้น แต่ไม่ควรกลั้นนานเกินไป
4. ทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ลดความดันในช่องท้อง
5. ไม่ควรเบ่งปัสสาวะอย่างรุนแรงและปัสสาวะให้หมด
6. หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย และงดสูบบุหรี่
7. ไม่ดื่มน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้ไตทำงานหนัก และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด
8. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าปล่อยให้น้ำหนักมากจนเกินไป เพื่อลดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะของหน้าท้อง

หมดห่วงค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยสำหรับผู้สูงวัย ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันที่มีอายุตั้งแต่ 61-65 ปี ให้ความคุ้มครองสุขภาพและอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ 60 ยังฟิต คลายความกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงได้ ให้ความคุ้มครองเมื่อต้องเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน อุ่นใจหากต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/2 หรือ โทร. 1596 Line : @smkinsurance