ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อยากทราบวิธีทำสมาธิอย่างง่ายๆ รบกวนผู้รู้ สอนด้วยค่ะ

เริ่มโดย หญิงเล็ก, 10:39 น. 21 เม.ย 55

หญิงเล็ก

เรียน ท่านผู้รู้
ขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยอธิบายหรือสอนวิธีการนั่งหรือทำสมาธิให้กระจ่างหน่อย  รู้สึกว่าจิตใจไม่นิ่ง ทำทุกครั้งต้องหลับทุกครั้ง
รบกวนด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ

คุณหลวง

อย่าเพิ่งเรียกว่าเป็นคำตอบจากผู้รู้นะครับ

ผมเป็นแค่คนรู้มั่งไม่รู้มั่ง เข้ามาอวดรู้  ส-เหอเหอ และก็ลองอ่านกระทู้บุญมา วาสนาไม่ถึง(หน้าสอง) ผมตอบไว้บ้างแล้วเกี่ยวกับจิตของคนเรา (http://gimyong.com/talung/index.php/topic,43224.0.html)

ธรรมดาจิตใจไม่นิ่งหรอกครับ ยิ่งบังคับให้นิ่ง มันก็ยิ่งซนใหญ่ มันซนเพราะกิเลสจรมาชวน ไม่ใช่ซนเพราะตัวมันเอง เรียกว่ามันยังไม่มีความเป็นตัวของตัวเองพอ จึงชอบไปตามเสียงเรียกของเพื่อนๆ

อย่าไปสนใจมันครับ รู้ว่ามันไม่นิ่งก็ดีแล้ว เท่ากับเริ่มรู้จักใจเป็นเบื้องต้นแล้ว เมื่อรู้ว่ามันไม่นิ่งก็ปล่อยมันไป แต่เราก็ทำของเราไปเรื่อยๆ หลับก็ช่างมันครับ หากนั่งแล้วง่วง ทนไม่ไหวก็นอนซะ

แต่อย่านอนเปล่า นอนก็กำหนดลม หรือภาวนาตามรูปแบบที่ชอบ วิธีที่ถนัด ทำๆไปจนหลับไปเองนั่นแหละ อย่าคิดมาก อย่ารีบเอาผล ผลจะออกมาเองเมื่อถึงเวลา

ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นอกเหนือความต้องการของเรา มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน สมาธิก็เช่นกัน มันจะเกิดเมื่อเหตุปัจจัยถึงพร้อม เราเพียงแค่สร้างเหตุปัจจัย(การฝึกลมหายใจ ภาวนา ฯลฯ)ให้มันไปเรื่อยๆ เมื่อเหตุปัจจัยมีกำลังพอ สมาธิก็เกิดเอง

อย่างปลูกต้นผลไม้ เราจะเร่งให้ออกผลตามที่เราหวังไม่ได้ใช่ไหม? เพียงต้องบำรุงดูแลไปเรื่อยๆ ถึงเวลามันก็ออกผลเองตามเหตุปัจจัยที่ถึงพร้อม

บอกคร่าวๆนะครับ หาความรู้เพิ่มเติม จากท่านอื่น แหล่งอื่นบ้าง หาแนวทางที่เหมาะกับตน และจงมีความพอใจที่ได้ทำอยู่ทุกๆวัน แม้จะยังไม่เกิดผลก็ตาม ท่านเรียกว่ามีอุเบกขาในการปฏิบัติ คือ สามารถรอได้ด้วยความสงบครับ

มีความสุขกับความตั้งใจอันดีของคุณครับ ขออนุโมทนา

สะบายดี...

สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

แบ่งปัน

ธีนั่งสมาธิแบบง่ายๆ ในสายอริยะ

        หลายๆ คนที่กำลังแสวงหาเส้นทางของมรรคผล เส้นทางของการหลุดพ้น เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองอยู่ อาจจะท้อแท้ใจและเบื่อหน่ายที่ไม่สามารถหาครูบาอาจารย์ที่ชี้แนะให้ถูกจริตของตัวเองได้

       เมื่อไม่เกิดผลก็เลิกราจากการปฏิบัติไปเสียก็มากมาย โดยเฉพาะความเข้าใจผิดคิดว่าการปฏิบัติของตนไม่เห็นผลอะไรเลย มีแต่ความสงบหรือเฉย เพราะขาดการชี้แนะจากอาจารย์ หรือรับคำชี้แนะแต่อาจไม่ตรงกับจริตเดิมที่เคยปฏิบัติมาในครั้งอดีตชาติ ลองมาเริ่มกันใหม่กับวิธีปฏิบัติแบบง่ายๆ ในสายอริยะ           

      โดยการสูดลมหายใจเข้าให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วให้กลั้นลมหายใจนั้นเอาไว้ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะกลั้นได้แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจนั้นออกมา ค่อยๆ ปล่อยลมหายใจนั้นออกมาทำอย่างนั้นสัก ๓-๔ ครั้ง เพราะการสูดลมหายใจเข้าและออกยาวๆ นั้น คือวิทยาศาสตร์ของการหายใจซึ่งเป็นหัวใจและอุบายตัวหนึ่งตัวแรกของการทำสมาธิที่สามารถจะทำให้จิตใจของเราสงบจากสภาวะภายนอกได้เร็วที่สุด           

      สามารถกำจัดความวุ่นวายสับสนทั้งปวงของจิตที่เคยชินอยู่ในสภาวะของโลกีย์และสามารถปรับปรุงสภาพต่างๆ ของร่างกายได้ทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดความกลมกลืนต่อธรรมชาติของร่างกายและจิตใจ ให้เข้าสู่ความสงบสามารถอยู่ในอารมณ์หนึ่งเพียงอารมณ์เดียว จนจิตนั้นเกิดความสงบขึ้นเมื่อจิตเป็นสมาธิดีแล้ว จิตนั้นก็จะสามารถพินิจพิจารณาแยกแยะแจกแจงได้ถึงความแตกต่างในผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราได้กระทำในสิ่งนั้นลงไปเราเรียกว่า "สติ-ปัญญา"           

         เมื่อเรารู้และเข้าใจถึงวิธีที่จะทำให้จิตเกิดความสงบดีแล้ว อาการต่างๆ ของร่างกายและจิตใจก็จะสงบตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางกาย ในการสำรวมกายในการสำรวมของวาจา ในความแช่มชื่นเบิกบานของจิตใจ ถึงความเข้าใจในการกระทำและผลของการกระทำนั้น โดยผ่านจิตที่เป็นสมาธิมีปัญญาเข้าไปแยกแยะความถูกต้องได้ เมื่อฝึกและปฏิบัติบ่อยๆ จนจิตนั้นเกิดความเคยชินความสงบของสมาธิก็จะส่งผลไปถึงอุปนิสัย บุคลิกลักษณะท่าทาง ก็จะเปลี่ยนแปลงรวมไปถึงสุขภาพของร่างกาย และจิตใจ ตลอดถึงการคิดและการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ที่ยังอาศัยอยู่ในโลกียะ ในการประกอบสัมมาอาชีพ เลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง บุตร และบริวารอย่างมีสติสัมปชัญญะ สามารถยอมรับความเป็นจริงของสัจจะธรรมของการชดใช้วิบากกรรมและเสวยบุญบารมี           

          สามารถมองเห็นการกระทำของตนเองได้อย่างถูกต้องและชัดเจน พิจารณาการกระทำของตนเองอยู่เนืองๆ โดยมิได้ใส่ใจกับการกระทำของผู้อื่นเลย ว่าเขาเหล่านั้นเป็นอย่างไร จนจิตเกิดความอิจฉา ริษยา เกิดทุกข์ขึ้นอีก และมีจิตใจที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะน้อมรับสภาวะต่างๆ ทั้งดีและชั่ว ที่จะเข้ามกระทบได้ ทั้งภายนอกและภายใน จนเกิดสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์พร้อมปัญญาต่างๆก็สามารถพินิจพิจารณาแยกแยะถูกต้อง ชั่วดี ว่าสิ่งใดควร สิ่งใดมิควรกระทำ เกิดความรอบรู้ เกิดความเข้าใจในสัจจะหรือความจริงของธรรมะ หรือธรรมชาติของการเวียนว่าย ตาย เกิดในวัฏสงสารจนจิตใจนั้นปราศจากความยึดมั่น ความถือมั่น ทิฐิ มานะ จนสามรถละวางได้ที่ จิต
วิธีการเดินจงกรมแบบง่ายๆ ในสายอริยะ               

         การเดินจงกรมก็เป็นอุบายตัวหนึ่งที่สามารถจะเข้าไปควบคุมจิตให้เกิดความสงบได้ โดยการสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กันในคราวเดียวกัน โดยมิยอมให้ความคิดต่างๆล่องลอยไปตามอารมณ์ดังเช่นที่เคยเป็นมาในโลกียะ ทำให้มีสมาธิอยู่ในภาวะของปัจจุบันของการเดินจงกรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สามารถรู้เท่าทันอารมณ์ และความทะยานอยากต่างๆ ของจิตได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด     

        อารมณ์ของจิตโดยปกติทั่วไปแล้วจะซัดส่ายไปมายึดมั่นถือมั่น เกาะเกี่ยวอยู่กับเรื่องราวต่างๆ ของอดีตและอนาคต ไม่เคยเลยแม้แต่เพียงชั่วขณะของจิต ที่จะมุ่งคิดถึงสภาวะของปัจจุบันว่า "ตนเองกำลังทำอะไรอยู่" แต่กลับไปสนใจ จดจ่ออยู่กับเรื่องราวของความสุขอันแสนหวานกับความทุกข์อันขมขื่นใจที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วและได้ผ่านไปและที่ยังมาไม่ถึงจนจิตนั้นเกิดความคิดต่างๆมากมายจนฟุ้งซ่านตั้งใจมุ่งมั่นมากเกินไปกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง จนลืมพิจารณาถึงสภาวะปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ก่อนที่จะเริ่มเดินจงกรมให้ทุกคนสูดลมหายใจเข้าให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วให้กลั้นลมหายใจนั้นเอาไว้เท่าที่จะกลั้นได้แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจนั้นออกสัก ๓-๔ ครั้งเป็นการนำอากาศธาตุที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติภายนอกเข้าไปช่วยเผาไหม้พลังงานแห่งกรรม (DNA-RNA) ในระดับชีวโมเลกุลภายในให้ผ่องใสบริสุทธิ์หรือเพื่อกระตุ้นให้จิตนั้นมีสติระลึกรู้และสามารถตัดปัญหาความกังวลใจต่างๆ ที่เกาะติดอยู่กับจิตออกไปให้หมดอย่างรวดเร็วจนเกิดความสงบ               

      การเดินจงกรมก็เหมือนกับการที่เราเดินประคองแก้วที่ใส่น้ำจนเต็มปริ่มด้วยสองมือต้องคอยระวังมิให้น้ำนั้นหกออกไปนอกแก้วได้ด้วยสติและสมาธิ หรืออาจจะเหมือนกับการที่เราจะต้องเดินข้ามสะพานด้วยไม้กระดานเพียงแผ่นเดียวนั้นแหละที่มีพื้นผิวเรียบสามารถเดินด้วยเท้าเปล่าๆได้อย่างสำรวมระวัง โดยการยืนตัวตรงจับมือทั้งสองเอาไว้ด้วยกันจะด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้แล้วแต่ความสะดวก เพื่อมิให้มือทั้งสองแกว่งไกวซัดส่ายไปมาจนเสียสมาธิ เพื่อให้หลังและไหลตั้งตรงเพื่อความสะดวกต่อการพิจารณาและการมีสติเข้าไปรับรู้สภาวะของอารมณ์ที่เกิดขึ้น               

         เมื่อควบคุมสภาวะต่างๆ ของร่างกายได้เรียบร้อยแล้วก็เริ่มก้าวเท้าขวาหรือซ้ายออกไปข้างหน้าอย่างมีสติในทุกย่างก้าวในช่วงสั้นๆ โดยให้ส้นเท้าที่ก้าวออกไปนั้นอยู่หน้าหัวแม่เท้าที่วางอยู่สักเล็กน้อย โดยกำหนดความรู้สึกทั้งหมดของจิตเอาไว้ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ในทำนองเดียวกันเมื่อเท้าแรกที่ก้าวออกไปนั้นมั่นคงดีแล้ว ก็เริ่มก้าวเท้าที่เหลืออยู่ออกไปข้างหน้าโดยวิธีเดียวกันโดยกำหนดความรู้สึกเอาไว้ที่ปลายเท้า และมองออกไปข้างหน้าไม่ควรเกินจาก ๗ ก้าวเพราะการมองเห็นจะส่งผลกระทบต่อจิตได้ทำให้เสียสมาธิได้               

         เมื่อได้ระยะพอสมควรก็หมุนตัวกลับโดยให้หยุดยืนอยู่ชั่วระยะหนึ่งก่อนเพื่อรับรู้สภาวะของการยืนและอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบและเกิดขึ้นต่อจิตแล้ว จึงค่อยๆ หมุนตัวอย่างช้าพร้อมกับกำหนดความรู้สึกในขณะที่กำลังหมุนตัวไปด้วย แล้วก็เริ่มก้าวเดินตามขึ้นตอนต่างๆ เหมือนเดิมนี่คือการเดินจงกรมแบบง่ายๆ ในสายอริยะหลังจากการที่เราได้เริ่มปฏิบัติแล้ว ลองพิจารณาดูว่าเราได้อะไรจากการเดินจงกรมเช่น

     1.เป็นกายภาพบำบัดวิธีหนึ่ง

     2.เกิดความปิติพอใจที่ได้ปฏิบัติ

     3.เกิดความปวดเมื่อยเท้าและร่างกาย

     4.เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

     5.เกิดอาการเบื่อหน่ายอยากเลิกปฏิบัติเสียกลางคัน

     6.อารมณ์เหนื่อยอ่อนอยากจะหยุดพักสักระยะหนึ่ง

     7.เกิดความเข้มแข็งของจิตใจในการปฏิบัติ

     8.เกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อให้ครบกำหนดที่ได้ตั้งเอาไว้

     9. เกิดสติรู้สภาพและสภาวะต่างๆ เมื่อปฏิบัติไปนานๆ ก็สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ปัจจุบันได้

     10.สามารถแยกแยะความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

     11.สามารถมองเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นเมื่ออดีตและปัจจุบันได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงก่อนปฏิบัติและหลังจากได้ลองปฏิบัติ

     12.ได้พบกับความสงบและมีสติของอารมณ์จิตที่เกิดขึ้นใหม่จนเกิดเป็นความชินเมื่อได้ปฏิบัติบ่อยๆ เข้า

wareerant


Gemini

ชอบคำตอบของคุณหลวงค่ะ
และมันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
เวลานั่งสมาธิ จิตจะวิ่งไปวิ่งมา ซนเหมือนลิงเลย  ส-ดีใจ ส-ดีใจ
พอดึงกลับมาให้กำหนดใหม่ โน่นวิ่งไปอีกแล้ว
เราก็กำลังหัดอยู่เหมือนกัน
ส.สู้ๆ ส.สู้ๆ
"ไม่สวย ไม่หล่อ หาหมอศัลยกรรม  ความคิด จิตต่ำ ศัลยกรรมช่วยไม่ได้จริง ๆ"

เณรเทือง

ต้องรักษาศีล (สร้างกุศลกรรมบท ๑๐) ควบคู่ไปด้วยครับจิตจะนิ่งเร็วกว่ามาก
รับประทานอาหารเพียงเพื่อให้อยู่รอดเพื่อการปฏิบัติธรรม (ทีหลับเพราะบางทีอิ่มเกิน)
ลดความอยากต่างๆลงเพื่อสู่ความหยุดนิ่งของกิเลส
จนกระทั่งมันพ้นออกไป
แล้วอย่าให้มันเกิดขึ้นอีก
ขออนุโมทนา

รู้เเจ้ง

.
รู้แจ้ง อยากบอกว่า   สมาธิเป็นเครื่องมือที่ดี ที่ทำให้จิตเราสบงนิ่ง

เครื่องมือทุกชนิด ถ้าไม่มั่นใช้ก็ไม่ชำนาญ  มีดต้องมั่นลับ ถึงจะคม

สมาธิสร้างได้กับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ทุกวินาที ทุกลมหายใจเข้า-ออก ทุกอาชีพ ทุกกกกอย่าง

วิธีสร้างสมาธิไม่ใช่มีวิธีเดียว แต่มีหลายวิธีทั้งหลับตา ลืมตา ทั้งนั่ง ยืน นอน เดิน ทั้งใช้เวลาน้อย ใช้เวลามาก

แต่ละวิธีมีเป้าหมายเดียวกันคือการทำให้จิตสบงนิ่ง ให้เราเลือกใช้ตามความถนัด ลองทำดู สู้ๆๆๆ 

คุณหลวง

    ครับ สมาธิสามารถฝึกได้ทุกขณะแห่งชีวิต แม้ยามกิน นอน เล่น ทำงาน ฯลฯ เพียงการฝึกที่เป็นรูปแบบจะทำให้เรามีความตั้งใจมากกว่า และเกิดผลเร็วกว่า เนื่องจากความตั้งใจให้เวลาส่วนนั้นแก่การฝึกจริงๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องควบคู่กันไป ทั้งการฝึกแบบมีรูปแบบและขณะชีวิตประจำวัน

    และอีกอย่างหนึ่ง ต้องบอกว่า สมาธิที่เกิดขึ้นในระยะที่เรายังไม่หลุดพ้นสิ้นเชิงนั้น ยังเป็นสมาธิที่เกิดจากเหตุปัจจัยครับ ดังนั้น มันจึงสามารถดับได้หากเหตุปัจจัยเอื้ออำนวยให้ดับ ดังนั้น การปฏิบัติที่ไม่ได้ผลดีอย่างทุกวันก็อย่าเสียใจ อย่าใจเสีย เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย

    ฝึกไปเรื่อยๆครับ สาธุ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

nig (นิ)

มีเวลาดูยูทูป ดีมากเข้าใจตรงตามพุทธเจ้าสอนคับ ส.ยกน้ิวให้

ท่านกล่าวว่า การที่พุทธบริษัทศึกษาและปฏิบัติจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงนี้ จะทำให้การภาวนาเจริญก้าวหน้า
และเป็นทางเดียวที่จะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GII9u2OwR2c


nig (นิ)

เพิ่มคับภาคต่อมี 4 ไฟล์คับ เอามาชมภาค 1 อันอื่นคลิกต่อกันเองได้เลยคับ ทูไนท์โชว์ - ธรรมจากพุทธวจนะ
http://www.youtube.com/watch?v=3SIry5d6-bk&feature=related

=ชัย

สมาธิคือความตั้งมั่นแห่งจิต ถ้าเราทำใจ จิตให้นิ่งได้ก็คือสมาธิ เช่น สวดมนตในใจแค่คำแรก
ก็เป็นสมาธิแล้ว ได้บุญมากถึง เท่าตักบาตรสิบ ปีเลย
ถ้าเรา เดิน ทำงาน ก็ บริกรรมในใจ พุทโธ หรืออะไรที่เราชอบก็ได้ ก็เป็นสมาธิเช่น กันสมาธิตื้น
ได้เก็บ กำลังสมาธฺนี้ไว้ เวลาเราทำงานใน ชีวิตประจำวันงาน จะไม่พลาดไม่ผิด หวังเพราะเรามี จิต
เป็นสมาธิเลยทำได้เหนือคนอื่น  ถ้าเรานั่ง รวมความรู้สึกกับจิต กับใจไว้ที่ ไว้ที่เรา คุ้นเคยสบายๆ
เช่นที่ หน้า จมูก ตา เหนือ ท้อง แล้วบริกรรม ลงไปๆ เรื่อยๆ ผ่อนคลายทุกๆส่วนเวลาใจไปนึกอะไรขึ้นมาก็ ดูไว้
เฉยๆ  อย่าไปเอะ ใจกะมันเป็นเพียง สมาธิ ล้างใจเราอญุ่เลยเห็นภาพต่างๆ ให้ตั้งจิตไว้ที่ ฐานที่เราคุ้นเคยบริกรรมๆ
แล้วพอจิตนิ่งดี สว่างให้ทรงไว้เรื่อยๆ  ถ้า หลุด ก็ให้บริกรรมใหม่ตั้งสมาธิใหม่ ทำอย่างนี้ไปๆ จนได้ซักปี
แล้วค่อยมา ขึ้น เรื่อง ฌาน ฌาน คือความจดจ่ออยู่ในความนิ่ง ถ้าคุณนิ่ง สว่างได้ นานๆ ฌาน จะเกิดเอง
แล้วค่อยๆ ขึ้นฌานไล่ไปๆ1ถึง4 5ึถึง8 แล้วถอน ออกมาขึ้นฌาน1ไปถึง4 ให้นิ่งสบายแต่มีความเข้มอัดแน่นของจิต
นานๆไป จึงยกจิต ขึ้น พิจารณา กาย ให้ดูลงไปที่เดียวส่วนนั้นทุกๆวันว่าเห็นกายส่วยนั้น ชัดมัย จากเนื้อหนัง
กลายเป็นเลือด หนองมัย  กลายเป็นกระดูกมัย  กลายเป็นเถ้าถ่านมัย ถ้าไม่เห็นอะไรเลยก็แสดงว่า ฌานฐานไม่พอ
กลับไปทำจิตนิ่งดิ่งลงที่ฐาน นานๆ ให้สบายๆๆสวา่งๆ แล้วค่อยมาลง พิจารณากายใหม่ ถ้าทำได้เห็นความ
เปลี่ยนแปลงอย่างที่ ว่า ญาน จะเกิด ยิ่งพิจารณาหลายๆครั้ง หลายรอบๆ จน ชำนาญ ญาณจะเกิด ขึ้นแต่ละช่วงการ
พิจารณาจากญาณ1ไล่ไปจน ถึง16  กลับไปกลับมาจนชำนาญ แล้วให้นำ ญาน นี้มา พิจารณา ตัด กิเลสแต่ละตัวให้ขาดทีละอัน จาก โลภ โกรธ  หลง   กาม  รูป  อรูป จน ได้ สมุจเฉท ประหาร กิเลส หมด  หลุดพ้น วิมุตจเป็น เสขะอรหันต
ที่ว่ามานี้คล่าวๆ  ให้ตั้งต้นทำ จิตนิ่งๆๆสบาย ๆบริกรรม ๆไปเรื่อยๆที่ฐาน ถ้าเจออะไรติด ตรงไหน มาศอบ อารมณ์ ใหม่
เพื่อความก้าว หน้า เชื่อ ว่า อรหันต ใน หาดใหญ่ ยังมีหลายสิบท่าน รับ สอน ปรึกษา สมาธิ ฌาน ญาณ วิ ปัสสนา
ปัญหาธรรมะ   ครอบครัวๆ ที่ชัย ครับ08973745หนึ่ง สาม  ที่ ทำ นี้สร้าง สม บุญไว้ ก่อนโลกแตก เพื่อเจอ ใครถามว่า
ก่อน ตาย ได้ทำ ดีอะไรบ้างได้ตอบว่า สอนให้คน รู้จัก ทางไป เป็น อรหันต ครับ โทรนัด วันเวลา เรียนก่อนครับ
โมทนาท่านผู้ สนใจ สาธุๆ ส.ยกน้ิวให้

Probass

ถ้าทำง่ายๆ ก็

นั่งท่าขัดสมาธิ ท่านี้ทำให้นั่งได้นาน ไม่ปวดเมื่อย ไม่ล้า
ทำใจให้สงบ หลับตา เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนจากสิ่งรอบข้างที่มองเห็น

หายใจเข้าออกช้าๆ ขณะหลับตา แล้วกำหนดจดจ่อ ลองไล่ไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย  นึกตั้งแต่ปลายเท้าข้างนึง ไล่มาจนต้นขา ปลายเท้าอีกข้าง ไล่มาต้นขา จากนั้นก็ไล่มาตามลำตัว ร่างกาย จดจ่อไปเรื่อยๆ จนทั่วร่างกาย
(นึกไปเรื่อยๆว่า ถ้าอากาศเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว จะไปที่ไหนบ้าง)

ระลึกว่า เรามีสังขารอยู่ ณ วันนี้ ไม่นานก็จากไป เอาแท้ แน่นอนไม่ได้
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

หญิงเล็ก

ขอบพระคุณทุกท่าน ที่ให้ทางสว่าง.....จะพยายาม และจะพยาม ให้ถึงที่สุด
...เมื่อใจเราสงบ  เราก็จะพบ กับความสุข...

บุญรักษาค่ะ

คุณหลวง

    อนุโมทนากับท่านทั้งหลายครับ

    ทีนี้ อยากจะบอกอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติธรรมนั้นอย่าตัดสินอะไรๆเอาเอง เพราะว่าจิตนั้นจะทำงานของมันไปตามเหตุปัจจัย เราไม่อาจกำหนดกะเกณฑ์ให้มันได้ อย่าเวลาปลอดโปร่งใจ สงบสุขแล้วคิดว่าตนเองถึงธรรม บรรลุธรรม ถึงฌาณ ถึงสมาธิ อย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าจะทำให้หลงจากความเป็นจริงได้

    ระลึกรู้กาย จิต(เวทนา ธรรม) อยู่เสมอๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เพื่อความรู้ตัวทั่วพร้อมนั้นสามารถกันหลงได้ อย่างบางคนนั่งสมาธิไปเกิดนิมิตรขึ้นมา เห็นนั้่น เห็นนี้ ก็คิดว่าเป็นของจริง หลงใหลลืมตัวไปกับมันจนขาดสติ(แต่คิดว่าตนวิเศษ เข้าถึง) บางคนเห็นเทวดา เห็นสวรรค์ เห็นพระพุทธเจ้า เห็นสารพัดเห็น จงระลึกเสมอว่ามันไม่ใช่ของจริง กลับมารู้สึกตัวให้ได้ เพราะการหลงเข้าไปในสิ่งเหล่านี้แล้วจะทำจิตให้ออกมายอมรับความจริงได้นั้นยากครับ

    บางคน เกิดเห็นสิ่งน่ากลัว (รวมถึงการได้ยิน) น่าเกลียดรุนแรง จิตที่หลงลืมตัวจะเกิดอาการหวาดกลัว ผงะ บางรายถึงกับเป็นบ้าไปก็มีเพราะว่าจิตแตกด้วยความสะดุ้งกลัวรุนแรง แต่จิตที่ระลึกรู้ตนเสมอนั้นจะรู้ตัวว่าเห็น หรือได้ยิน และเข้าใจว่านั้นเป็นเพียงอาการอย่างหนึ่งของจิต ยึดมั่นไม่ได้ ไม่ใช่ของจริง

    อย่าพยายามกดดันจิตเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนหวัง เพราะว่ามันจะไม่เป็นไปตามนั้น เคยพบเห็นมาบางคนกดดันจิตจนฟั่นเฟือนไปก็มี อย่างเป็นข่าวดังเมื่อสี่ห้าปีก่อนพระที่ตัดองคชาติตัวเองด้วยเหตุว่ามันเกะกะการนั่งสมาธิ  ส.หลกจริง หลังจากนั้นแกก็เที่ยวอวดเขาไปเรื่อยว่าตัวเองตัดมันทิ้งแล้ว คิดว่าตัวเองเลิศ ละได้แล้ว เฮ้อ..เพียงสั่งสมเหตุปัจจัยแห่งสมาธิไปเรื่อยๆแล้วผลจะปรากฏเองครับ

    ในบาทแห่งการปฏิบัตินั้น มีลำดับที่พระท่านอธิบายไว้ว่า จิตเมื่อรู้ตัว มีสติสัมปชัญญะแล้ว มันจะเห็นโทษ แล้วเบื่อหน่ายจางคลาย และสลัดคืนในที่สุด นั่นก็หมายความว่า การละกิเลสนั้นเป็นเรื่องที่จิตจะสลัดออกไปเองเมื่อมันเห็นโทษแล้วนั่นเอง มิใช่เกิดจากการที่เราเข้าไปตัดเอาเอง(เราไม่มีอำนาจเหนือกฏแห่งธรรมชาติ)

    แต่การปฏิบัติในรูปแบบแห่งการเพิ่มพูนสติเรื่อยไปนั้น จะเป็นวิธีป้องกันการหลงผิดได้ครับ แม้ว่าจะเห็นผลช้าและไม่น่าประทับใจเท่ากับการมุ่งสมาธิ เพราะสมาธิที่ไม่มีสติกำกับนั้นเป็นมิจฉาสมาธิที่อาจก่อความฟั่นเฟือนได้ครับ (สติ กับ สมาธิ นั้นเป็นคนละอย่าง สติเป็นเหตุปัจจัยแห่งสมาธิ แต่บ่อยครั้งที่นักปฏิบัติมักจะหลงลืมตัวเมื่อพบเจออะไรๆในสมาธิจนขาดสติและเข้าไปน้อมรับอาการเหล่านั้นว่าเป็นของจริงจนหลงดี บ้าดี หลงสวรรค์ นรก และอื่นๆได้ รวมถึงอาการฟั่นเฟือน)

    ฟังดูน่ากลัวอยู่บ้าง แต่จริงๆไม่น่ากลัวครับ เพียงตั้งใจปฏิบัติด้วยเจตนาที่ถูกต้อง(สัมมาทิฏฐิ) แล้วเจริญสติเรื่อยไป ก็จะไม่มีปัญหาอย่างที่ว่าครับ เพียงบอกๆไว้ เพราะอย่างน้อยเวลาเกิดนิมิตขึ้นมาจะได้ไม่หลงลืมตัวไปกับมัน


ขอจงมีความสุขกับทุกจังหวะชีวิตครับผม
...สะบายดี
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ชอบ ทำ

..



...มาหัดทำสมาธิ กะคุณหลวง และท่านอื่นๆ



เมื่อคืนไปเที่ยวบาร์ มีสมาธิกะสาวๆมากเรย.. ส.โอ้โห ส.หัว

ยางใหญ่

ถ้าจะทำสมาธิเพื่อ แก้ปัญหา ลองทำแบบผมง่ายที่สุด. ก่อนอื่นจะบอกว่าสมาธิไม่ใด้แปลว่า ต้องนั่งแบบมาตรฐานที่คนไทยทำกันอย่างเดียว. อยู่ในอาการไหนก็ได้ คุยกับตัวเองในใจ ถ้าไม่รู้สึกว่า หรือไม่ได้จับใจความเสียงอะไรรอบข้าง นั้นแหละ สมาธิเกิดกับเราแล้ว
1.ถ้าไม่รู้ ก็ ไปค้นคว้าซะ
2.ถ้าหิว ก็ ไปหาอะไรที่หาได้ กินซะ
3.ถ้ากลัว ก็ เลี่ยงห่างซะ
4.ป่วย ก็ รักษาซะ ถ้าคิดว่าไม่หาย ก็ ยอมรับมันซะ พระพุทธเจ้าก็เป็นไปตามนั้น
5.ถ้าค้าขายขาดทุน ก็ ทบทวนซะ ว่า อะไรคือเหตุทำให้เราพลาด ประมาท. ไม่ทันคน หรือ ความรู้ไม่ถึงขั้น
6.เกลียด โกรธ อิจฉา ก็ อย่าให้ความสำคัญกับมันซะ ให้คิดว่า มันไม่มีค่าอะไรกับเรา
7.เลือกทำในสิ่งที่อยากทำ และ เลือกไม่ทำในสิ่งที่ไม่สบายใจ
8.เอาเรื่องตัวเอง เรื่องคนอื่นเขาทำเองได้ ไม่ต้องหวังดีเกินความต้องการของคนอื่น เราต้องเข้าใจในข้อ 7 ของคนอื่น
9.กล้าให้รางวัลตัวเอง กล้าเลือกทางใหม่ และกล้าลงมือทำ
  อาเมน สาธุ จั๋งซี่ หร่อยนิ

คุณหลวง

    อันนี้ยกมาจากกระทู้เดิมของผมครับ (ธรรมะบางส่วนจากหลวงปู่พุทธอิสระ) แต่คัดลอกมาลงในที่นี้เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสมาธิและอาการของจิตครับ เป็นคำสอนบางส่วนที่ยกมาจากประวัติของท่านครับ

    "คนเรา จงทำตัวเองให้มีศรัทธาเถิดอย่าเที่ยวไปวิ่งหาศรัทธาจากที่อื่นเลย จงอย่าเอาใจไปผูกกับคนอื่นเลยจงผูกใจไว้กับตัวเองเถิด การที่คนเราทำดีจนสามารถกราบไหว้ตัวเองได้อย่างสนิทใจนั่นแหละคือสิ่งที่วิเศษสุด"

อีกเรื่องหนึ่งที่ "หลวงปู่" มักจะเตือนเสมอก็คือ

    ครั้งหนึ่งมีเณรรูปหนึ่งจิตใจฟุ้งซ่านเปลี่ยนอาจารย์มาหลายสำนักแล้วก็ไม่ ก้าวหน้าขึ้นเลยเผอิญ ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่จึงมุ่งมาที่นี่แต่ทนอยู่กับหลวงปู่ได้สองวันก็มาลาหลวงปู่ไปต่อ หลวงปู่ทำตาเหลือกใส่ "หา จะไปต่ออีกหรือนี่ เธอยังเร่ร่อนไม่พออีกหรือจ๊ะ"

เณรพูดว่า "ที่นี่ไม่สงบเงียบครับ เณรอยากจะหาที่เงียบ ๆ พิจารณาธรรมไปเรื่อย ๆ "

หลวงปู่จึงเทศนากัณฑ์ใหญ่มีใจความว่า

    "ไม่มี ที่ไหนจะเหมาะกับตัวเราหรอกเพราะเราทำตัวไม่เหมาะสมกับทุกที่เณรเข้าใจคำว่าสมาธิแค่ไหนสมาธินั่งตัวแข็งทื่อหลับตาปี๋หรือ นั่นมันสมาธิตอไม้จ๊ะเพราะสมาธิที่ถูกต้องหมายถึงความแข็งแกร่งของจิตที่พร้อมที่จะทำหน้าที่การงานที่สร้างสรรค์ตลอดเวลาต่างหาก"

    ในคืนหนึ่ง ที่ลานหินโค้ง บริเวณถ้ำไก่หล่น "หลวงปู่"ได้นั่งสนทนาธรรมกับลูกหลานตอนหนึ่งหลวงปู่ได้อธิบายถึงกระบวนการทำงานของจิตโดยสมมติเลข 6 ขึ้นมาแล้วถามว่า

    "ก่อนถึงเลข 6 จะต้องผ่านเลขหนึ่งมาก่อน 1...2...3...4...5...ก่อนใช่ไหม ? อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากผัสสะก็เช่นกันต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนกว่าจะ มาถึงจุดนี้ผู้ ที่รู้ไม่เท่าทันอารมณ์จะไม่รู้ถึงข้อนี้ ทันทีที่ตาเห็นรูปหูได้ยินเสียงจมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส เขาจะเกิดเวทนาทันที ทันใด ยับยั้งอารมณ์ต่าง ๆไม่ได้ผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้นถึงจะรู้ทันมันสามารถยับยั้งอารมณ์ต่าง ๆให้เกิดขึ้นช้าลงน้อยลงและในที่สุดไม่เกิดอารมณ์ปรุง แต่งใด ๆ เลยขึ้น อยู่กับการฝึกฝนสติปัญญาของแต่ละคน......"

    "อยากเป็นคนเก่ง ต้องหมั่นฝึกอบรมสติปัญญาต้องสั่งสมเรื่อยมา
อยากเป็นคนพูดจาไพเราะน่าฟังต้องพูดแต่สิ่งดีมีประโยชน์
อยากสวยต้องรักษาศีล อยากมีบริวารต้องรู้จักศรัทธาฟังผู้อื่น
อยากมีวาสนาต้องเป็นผู้ให้ ทำดีต้องได้ดีจะเป็นชั่วไปไม่ได้"

    เวลาหลวงปู่สวดมนต์ เสียงของท่านไพเราะจับใจมากท่านเคยสอนว่าการจะสวดมนต์ให้ได้ ผลดีเราจะต้องเตรียมตัวดังนี้

    หนึ่งกายสะอาด หมายถึง การวางภาระทางโลกต่าง ๆ ลงเสียฝึกระเบียบทางกาย ที่เรียกว่ามี กายศักดิ์สิทธิ์

    สองวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ คือ การฝึกใจให้สะอาดบริสุทธิ์ สงบปราศจากความโลภ โกรธ หลง เรียกว่า มีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์    เมื่อมีสองศักดิ์สิทธิ์แล้ว

    สามธรรมศักดิ์สิทธิ์ก็จะเกิดขึ้นด้วย และการสาธยายมนต์จะดีไปโดยปริยาย มีผู้ถามหลวงปู่ว่าทำอย่างไรเราถึงจะไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ? หลวงปู่ตอบว่า

    "อารมณ์ทั้งหลายเป็นเพียงอาการของจิต มันเป็นเพียงมายาของจิต เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป โดยธรรมชาติแล้ว จิตของคนเราจะไม่มีว่างถ้าว่างก็เป็นเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจึงเปรียบเสมือนแขกที่มาเยือนเราเป็นครั้งคราวเราเป็นเจ้าของบ้าน เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกต้อนรับแขกในเมื่อเรารู้อยู่ว่าถ้าเราออกไปรับอารมณ์ภายนอกก็เท่ากับ เราไปยืนอยู่นอกบ้าน รับพายุฝนทั้ง เปียก ทั้งหนาว จะเอาไหม เราก็ไม่เอา เราต้องสลัดทิ้งแล้วอะไรล่ะที่จะเป็นตัวควบคุมให้ เกิดการรู้เท่าทันอารมณ์ ก็สติอย่างไรล่ะสติเป็นส่วนหนึ่งของจิต แต่เป็นฝ่ายกุศล......"

อนุโมทนาสาธุครับ
สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

==chai

หายใจเข้าสั้นรู้  หายใจออกสั้นรู้  หายใจเข้ายาวรู้  หายใจออกยาวรู้ชัด
หายใจหนักเบา  เมื่อไรรู้ชัด ละ ดีเยี่ยม
กายเบารู้  กายหนัก รู้ ใจจมก็รู้ ใจเบาก็รู้  สติ หาย ก็รู้ ระลึกมาได้
สติมีอยู่ รู้ทั่วพร้อม เจ็บปวดที่ไหน รู้ เมื่อย เข็ด ตรงไหนรู้ สติตามดูกำ กับไว้
จิต เข้าใจตามจริงรู้ จิตไม่เข้าใจ สับสน รู้ชัด ตั้งใจ ไว้เห็นสิ่งใดเกิด กับ กาย ใจ จิต
ธรรมใดๆ ล้วน เปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงแท้ เกิดแล้ว คงไม่นาน ก็ ดับหาย
หากรู้ได้ชัดเข้า ใจ เห็นจริงตาม ที่นี่  คือ สติปัฎฐาน สี่ มีรุป  นามเป็น อารมณ์ ให้ ดู
รู้
ตามจริง ทำได้ ดังงนี้ วิปัสนาจะไปไหน ซะ สู้ๆไปคับ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรมวิจัยะ
ไม่ช้า เจ็ดปี เจ็ด เดือน ต้องลุ ธรรม ขั้ขใด ขั้นหนึ่ง ตามแต่จิตผู้เข้า ถึงแน่ๆ ฟันธง ส.ยกน้ิวให้