ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เริ่มโดย ฅนสองเล, 09:03 น. 24 พ.ค 55

ฅนสองเล

คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ระบุ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศรี ลัดเลีย คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา นักวิชาการด้านการศึกษา ที่ห่วงใยต่อระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากปัญหาผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ เปิดเผยว่า ระบบจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น มีด้วยกัน 4 หน่วยงานหลัก ที่เข้ามามีส่วนร่วมกันในการจัดระบบการศึกษา คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ส่วนท้องถิ่น และสุดท้าย ภาคประชาสังคม หากจะเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ ของประเทศ จะมีภาครัฐเข้าไปมีบทบาทดำเนินการเป็นหลัก แต่สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะมีเอกชน เข้ามาร่วมดำเนินการ ในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น

ขณะเดียวกันมีการสะท้อนภาพของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีเอกชนเป็นผู้จัดระบบการเรียนการสอน เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นภาพที่น่าสนใจ เพราะถ้าสามารถจัดการ จัดคุณภาพทางด้านการศึกษาได้ ก็จะเป็นตัวบอกถึงคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันภาครัฐเอง ก็จะต้องมีการจัดระบบการศึกษาที่ตอบสนองต่อคนในพื้นที่ได้อย่างจริงจัง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศรี ลัดเลีย คณบดี คณะครุศาสตร์ ยังกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามผู้มีส่วนเข้ามาจัดระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องเรียนรู้ หรือ ประสานงานกันเป็นระบบเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ก็จำเป็นจะต้องตอบคำถามของสังคมได้ ทั้งคุณภาพและการจัดการศึกษา ที่ตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ ได้ดีเพียงใด นอกจากนี้ คุณภาพของผู้ได้รับการศึกษาทั้งจากสถานศึกษาของภาครัฐ และเอกชน ก็ย่อมมีความแตกต่างกัน

โดยที่ผ่านมา ผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเอกชน ก็มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปจนถึงสามารถจะสอบเรียนในต่าง ประเทศได้ แต่กระนั้นก็ตามด้วยจำนวนของผู้เรียนที่จบการศึกษาจากสถาบันการ ศึกษาเอกชน ที่มีจำนวนมากและ มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่มีคุณภาพที่ดี แต่อีกส่วนหนึ่งยังรอการพัฒนา จึงทำให้เราจำเป็นต้องมองว่า การจัดระบบการศึกษาของเอกชน มีการจัดระบบได้ดีกว่า

ที่ผ่านมา ภาครัฐมีประสบการณ์มากในด้านของการจัดระบบ การจัดการหลักสูตรต่างๆ แต่บางหลักสูตรก็ยังต้องพึ่งพิงหลักสูตรแกนกลางอยู่มาก จุดอ่อนของระบบการศึกษาภาครัฐ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การจัดหลักสูตรสาระท้องถิ่นที่จะตอบสนองวิถีชีวิต วิธีคิด วัฒนธรรม ที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด ซึ่งภาครัฐยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ส่วนปัญหา "แป๊ะเจี๊ย" ทางด้านการศึกษา เราจะต้องยอมรับว่า มันมีอยู่จริงในสังคม แต่เราละเลยที่จะนำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาถกปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขกันอย่างจริงจัง ซึ่งปัญหาดังกล่าว ก็มาจากคุณภาพการศึกษาที่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนในสถานการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญและเร่งพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
นอกจากนั้น ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษากับเยาวชนในพื้นที่

ซึ่งเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะเป็นตัวชี้วัดแนวทางของผู้ได้รับการศึกษาว่า จะเดินไปทางใด จะศึกษาต่อด้านใด ซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานมีระยะเวลายาวนาน หากผู้ศึกษาได้รับการศึกษาในคุณภาพต่ำ ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้อย่างแน่นอน ซึ่งปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาดัง กล่าวมาโดยตลอด ทั้งนี้ หากข้ามมาพูดถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย แล้ว สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ต้องจับมือกันทำงานเป็นเครือข่าย เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ และกลับมาพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
   


สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

นายไข่นุ้ย

พวกนี้มันเลวจริงๆ ทำทุกอย่าง ขัดขวาง ทั้งยิงครู เผาโรงเรียน ขอให้ลูกหลานมันรับกรรมด้วย เพี้ยง
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)