ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

คณะวิทย์ฯ มรภ. พาชมปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 15:02 น. 06 มิ.ย 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

วันนี้ (6มิ.ย.55) เวลา 9.30 น. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แห่งศตวรรษ "ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์" ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

นายเฉลิมชนม์  วรรณทอง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดเผยว่า การสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งนี้ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้จัดเตรียมอุปกรณ์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์  ประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์ดูดาวขนาดเลนส์สะท้อนแสง 12 นิ้ว Automatic GPS ระบบแสง Richey Chretien , กล้องดูดาวขนาดเลนส์หักเหแสง 6 นิ้ว Automatic , กล้องดูดาวขนาดเลนส์หักเหแสง 3 นิ้ว , Solar Filter Glass , แว่นดูดวงอาทิตย์ ,   ฉากรับภาพดวงอาทิตย์ , จอรับสัญญาณภาพจากเครือข่ายสังเกตการณ์จากในประเทศและต่างประเทศ

พร้อมทั้งยังแนะนำข้อควรระวัง ในการสังเกตปรากฏการณ์ดังกล่าวผู้สังเกตไม่ควรมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรง หรือไม่ควรมองดวงอาทิตย์ผ่านกล้องดูดาวด้วยตาเปล่าโดยตรง ไม่ควรมองดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นฟิล์มถ่ายรูป กระจกรมควัน แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี รวมทั้งไม่ควรมองผ่านกล้องถ่ายรูปหรือกล้องโทรศัพท์มือถือ เพราะแสงจากดวงอาทิตย์จะทำลายระบบการสายตาของผู้สังเกต ทำให้ตาบอดได้และการสังเกตปรากฏการณ์ที่ปลอดภัยต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่สามารถกรองแสงจากดวงอาทิตย์ ได้ 99.99 เปอร์เซ็นต์ เช่น Solar Filter Glass ประกอบกับกล้องดูดาว หรือใช้เทคนิคการสังเกตทางอ้อม เช่น ฉากรับภาพดวงอาทิตย์ เป็นต้น และถึงแม้จะใช้เทคนิคดังกล่าวแล้ว ผู้สังเกตไม่ควรมองภาพดวงอาทิตย์ต่อเนื่องกันเกินกว่า 5 วินาที ต้องรีบพักสายตาในทันที หรือแม้แต่การอยู่กลางแสงแดด ต้องมีร่มกำบังแสงแดด

ปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นเพียงสองครั้งในรอบ 100 ปี นั่นคือในรอบศตวรรษที่ 20 เกิดปรากฏการณ์นี้สองครั้ง ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นมาแล้วในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2548 และครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2555 และครั้งถัดจากนี้ คือในรอบศตวรรษที่ 21 ทุกท่านต้องรออีก 105 ปี ถึง 113 ปี นั่นคือจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2660 กับ 8 ธันวาคม พ.ศ.2668

การสังเกตการณ์ปรากฏการณ์นี้ในประเทศไทย ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2417 โดยกัปตันอัลเฟรด จอห์น ลอฟท์ตัส (Captain Alfred John Loftus) ซึ่งได้ปฏิบัติตามรับสั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ให้จัดตั้งค่ายและหอดูดาวสังเกตปรากฏการณ์ ที่บ้านบางตะลื้อ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และมีการเผยแพร่ข้อมูลระดับนานาชาติ ในหนังสือพิมพ์ลอนดอน ฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2418

ความสำคัญของปรากฏการณ์นี้ในอดีตนักภูมิศาสตร์ และนักธรณีวิทยา จะใช้ปรากฏการณ์นี้เพื่อกำหนดวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ในการทำแผนที่โลก ยกตัวอย่าง เช่น กัปตันเจมส์ คุก (Captain James Cook) และคณะได้เก็บข้อมูลปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ที่เกาะตาฮิติ (ปัจจุบันคือ ประเทศตาฮิติ) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2312 สำหรับนักดาราศาสตร์จะใช้ปรากฏการณ์นี้ในการคำนวณระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ เช่น โจฮานน์ ฟรานซ์ เอนเก้  (Johann Franz Encke) ได้นำผลการเก็บข้อมูลของปรากฏการณ์นี้ ในรอบศตวรรษที่ 17 คือ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2304 กับ 3 มิถุนายน พ.ศ.2312 มาคำนวณได้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ได้ 153,340,000 กิโลเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับผลจากการวัดในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์และอวกาศก้าวหน้ามากขึ้นนักดาราศาสตร์สามารถวัดระยะทางได้ 149,597,870 กิโลเมตร (เรียกว่าระยะทางหนึ่งหน่วยดาราศาสตร์)

ผ่านมา

เสียดายคุมสอบ ไม่ได้ไป แต่ไม่เห็นประกาศเลยนะ ขนาดเป็นคนในแท้ ๆ ยังไม่รู้เลย

ทีมงานประชาสัมพันธ์


puiey

โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

ซุปเปอร์ฮีโร่


powerphone2522

พิมพ์ข้อความผิดพลาดประการใดขออภัยมาน่ะที่นี้ด้วยครับ