ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ร. ๖ - สงขลาเปนเสมือนรัตนดวงหนึ่งในมหาพิไชยมงกุฎของฉัน

เริ่มโดย พีระ ตันติเศรณี, 01:39 น. 07 ก.ย 53

พีระ ตันติเศรณี

มีเอกสารอื่นหรือราชกิจจานุเบกษายืนยันไหมครับ
สาระจากบทความ "สงขลา เมืองงามตามธรรมชาติ" โดย โผฉ้อง(โกวิท) คติการ ตีพิมพ์ในหนังสือสงขลานุสสรณ์  เมื่อปี ๒๔๘๑ พิมพ์เผยแพร่ซ้ำในหนังสือมหาวชิราวุธ ๑๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (โดยอำนวย ซุ้นสุวรรณ มี เอนก นาวิกมูล บรรณาธิการ)มีความว่า
"เมือคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นเสด็จประพาสเลียบมณฑลภาคใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้มีพระราชดำรัสตอบ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลภาคใต้เรื่องจังหวัดสงขลาตอนหนึ่งว่า "ที่เมืองสงขลาและมณฑลนครศรีธรรมราชนี้ ไม่ใช่มาเปนครั้งแรก ได้มาแต่ก่อนเปนหลายครั้งแล้ว และตั้งใจอยากจะมาอีก ยิ่งมาครั้งไร ก็ยิ่งเพิ่มความรักใคร่มากขึ้นทุกที เพราะเห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งรัตนดวงหนึ่งในพระมหาพิไชยมงกุฎของฉัน"

คิดเรื่องคำขวัญโปรโมทเมืองอยู่ครับ
Phuket - Pearl of Andaman
Penang - Pearl of The Orient

Songkhla City - Jewel of the King's Crown ?

หม่องวิน มอไซ

ยังนึกไม่ออกครับว่าจะไปค้นจากไหนดี เดี๋ยวผมลองหาดูในจดหมายเหตุ. ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้. ของ สักขี ดูก่อนว่ามีประโยคนี้อยู่หรือไม่ครับ

คนเขารูปช้าง

เรื่องค้นเอกสารมายืนยันดิดว่าต้องรอ อจ.หม่องฯ แล้วครับ ส่วนผมขอนำภาพคราวล้นเกล้า ร.๖ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้
ครั้งหนึ่ง มาลงไว้ให้เผื่อว่าบางท่านยังไม่ได้คลิกเข้าไปชมครับ

เชิญเข้าชมได้ใน
http://www.gimyong.com/board53/index.php/topic,2040.0.html

พีระ ตันติเศรณี

รออาจารย์หม่องด้วยใจระทึก
ส่วนที่คุณคนเขารูปช้างแนะนำ ผมโหลดภาพชุดใหญ่ไว้แล้วและไล่ดูกระทู้ในกิมหยงทุกกระทู้รวมทั้งบอร์ดเก่า เล่นเอาโทรมไม่ค่อยได้นอนครับ
ภาพที่มีสวนหมากสุดยอด หาภาพชัดๆอยู่ เห็นการตั้งถิ่นฐานของคนบ่อยางสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
ตอนนี้ รร.มหาฯเป็นรร.ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา พระภคินีเธอ เจอคุณเชื้อพรเลขาฯท่าน และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยอีกท่าน
บนเขาน้อยมีอาคารของเทศบาลทิ้งร้างไว้ ทำเลดีมาก กำลังหาแนวคิดในการพัฒนา ไม่อยากให้เป็นร้านอาหารหรือกิจการเอกชน แต่อยากให้ใช้ในกิจการสาธารณะ ปัจจุบัน มีพระรูปในหลวงรัชกาลที่ ๖ อยู่หน้าหอสมุดรร. บนเขาน้อยมีอนุสาวรีย์กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อาคารที่ว่านี่ควรเป็นพิพิธภัณฑ์หรือสถาบันพระมงกุฎ เป็นศูนย์กิจกรรมด้านลูกเสือและศิลปะวรรณกรรม และใช้บริการสาธารณะ เน้นการพักผ่อนหย่อนใจ
แต่ตอนนี้ทรุดโทรมมาก ขอเคลียร์ที่คั่งค้างแถวแหลมสนอ่อนก่อน แล้วเข้าปรับปรุงเขาน้อย เขาตังกวน
เขาตังกวนก็มีหลายเรื่อง อาคารพิพิธ๓ัณฑ์ที่ยังไม่ได้ใช้งาน เส้นทางที่ร.๔ ร.๕เสด็จขึ้นเขา ก็ทรุดโทรมมาก
คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเขาตังกวน ร้อยเรียงได้ดังนี้ พระเจดีย์หลวง(เขาศักดิ์สิทธิ์ตามคติโบราณ) - ร.๔ (บิดาแห่งวิทยาศาสตร์-หอดูดาว)-ร.๕(ปิยมหาราช บุญญาธิการ ฯลฯ) ส่วนร.๓ เจ้าสัวย่านเมืองเก่า



ผ่านมา

อ้างจาก: พีระ ตันติเศรณี เมื่อ 01:39 น.  07 ก.ย 53
มีเอกสารอื่นหรือราชกิจจานุเบกษายืนยันไหมครับ
สาระจากบทความ "สงขลา เมืองงามตามธรรมชาติ" โดย โผฉ้อง(โกวิท) คติการ ตีพิมพ์ในหนังสือสงขลานุสสรณ์  เมื่อปี ๒๔๘๑ พิมพ์เผยแพร่ซ้ำในหนังสือมหาวชิราวุธ ๑๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (โดยอำนวย ซุ้นสุวรรณ มี เอนก นาวิกมูล บรรณาธิการ)มีความว่า
"เมือคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นเสด็จประพาสเลียบมณฑลภาคใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้มีพระราชดำรัสตอบ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลภาคใต้เรื่องจังหวัดสงขลาตอนหนึ่งว่า "ที่เมืองสงขลาและมณฑลนครศรีธรรมราชนี้ ไม่ใช่มาเปนครั้งแรก ได้มาแต่ก่อนเปนหลายครั้งแล้ว และตั้งใจอยากจะมาอีก ยิ่งมาครั้งไร ก็ยิ่งเพิ่มความรักใคร่มากขึ้นทุกที เพราะเห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งรัตนดวงหนึ่งในพระมหาพิไชยมงกุฎของฉัน"

คิดเรื่องคำขวัญโปรโมทเมืองอยู่ครับ
Phuket - Pearl of Andaman
Penang - Pearl of The Orient

Songkhla City - Jewel of the King's Crown ?


ด้วยความเคารพ
ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเชิญกระแสพระราชดำรัสมาแปลงเป็นคำขวัญประจำเมือง เพราะ
1.   เป็นเรื่องจำเพาะในองค์พระธีรราชเจ้า หากอัญเชิญมาใช้ต้องอ้างอิงให้ทราบชัดเจนว่าเป็นพระกระแสในพระองค์ใด
2.   ยังดูไม่สละสลวย และดูแปลกแยกจากคำขวัญเมืองอื่น ๆ ที่อ้างอิงตามภูมินาม หรือลักษณะของภูมิประเทศ

ศิษย์เก่าอาชีวสงขลา

อ้างจาก: ผ่านมา เมื่อ 18:45 น.  07 ก.ย 53
อ้างจาก: พีระ ตันติเศรณี เมื่อ 01:39 น.  07 ก.ย 53
มีเอกสารอื่นหรือราชกิจจานุเบกษายืนยันไหมครับ
สาระจากบทความ "สงขลา เมืองงามตามธรรมชาติ" โดย โผฉ้อง(โกวิท) คติการ ตีพิมพ์ในหนังสือสงขลานุสสรณ์  เมื่อปี ๒๔๘๑ พิมพ์เผยแพร่ซ้ำในหนังสือมหาวชิราวุธ ๑๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (โดยอำนวย ซุ้นสุวรรณ มี เอนก นาวิกมูล บรรณาธิการ)มีความว่า
"เมือคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นเสด็จประพาสเลียบมณฑลภาคใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้มีพระราชดำรัสตอบ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลภาคใต้เรื่องจังหวัดสงขลาตอนหนึ่งว่า "ที่เมืองสงขลาและมณฑลนครศรีธรรมราชนี้ ไม่ใช่มาเปนครั้งแรก ได้มาแต่ก่อนเปนหลายครั้งแล้ว และตั้งใจอยากจะมาอีก ยิ่งมาครั้งไร ก็ยิ่งเพิ่มความรักใคร่มากขึ้นทุกที เพราะเห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งรัตนดวงหนึ่งในพระมหาพิไชยมงกุฎของฉัน"

คิดเรื่องคำขวัญโปรโมทเมืองอยู่ครับ
Phuket - Pearl of Andaman
Penang - Pearl of The Orient

Songkhla City - Jewel of the King's Crown ?


ด้วยความเคารพ
ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเชิญกระแสพระราชดำรัสมาแปลงเป็นคำขวัญประจำเมือง เพราะ
1.   เป็นเรื่องจำเพาะในองค์พระธีรราชเจ้า หากอัญเชิญมาใช้ต้องอ้างอิงให้ทราบชัดเจนว่าเป็นพระกระแสในพระองค์ใด
2.   ยังดูไม่สละสลวย และดูแปลกแยกจากคำขวัญเมืองอื่น ๆ ที่อ้างอิงตามภูมินาม หรือลักษณะของภูมิประเทศ

เห็นด้วยคะ   ไม่สมควรอย่างยิ่ง  ที่จะใช้คำขวัญเมืองดังกล่าวข้างต้น
เพราะประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์     

หม่องวิน มอไซ

ผมหาเอกสารชั้นต้นพบแล้วครับ
อยู่ในหนังสือ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ ของสักขี ครับ ดังภาพ


พี่แอ๊ด

เมืองสงขลา   พระเจ้าแผ่นดินและเชื้อพระวงศ์  เสด็จหลายครั้งด้วยกัน
แต่คนรุ่นหลังหรือปัจจุบันแทบจะไม่ทราบเลย    จึงอยากให้จังหวัดจัด
งานใต้รอยพระบาท   อย่างเช่นจังหวัดตรัง    จะมีงานใต้รอยพระบาท
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าฯ   
         และเมื่อปีที่แล้วจังหวัดพังงา   ได้พบพลับพลาที่ประทับ ร.6
เมื่อครั้งเสด็จประพาสในหัวเมืองปักษ์ใต้   ซึ่งมีอายุเกือบ 100 ปี
บริเวณเขาพระเหนอ   อ.ตะกั่วป่า    ยังคิดเล่น ๆ ว่า  เมืองสงขลา
ทำไมไม่พบร่องรอยประวัติศาสตร์เช่นนี้บ้าง 

พีระ ตันติเศรณี

ขอบคุณอาจารย์หม่องมากครับ
และความเห็นของคุณผ่านมากับคุณศิษย์เก่าอาชีวะสงขลาเรื่องคำขวัญโปรโมทเมืองด้วยครับ
ดีอย่างนี้เองครับจะได้ไม่ถลำไปก่อน ขอบคุณครับที่ช่วยติง

หม่องวิน มอไซ

ยินดีมากครับท่านพีระ

การจัดงานอย่างที่พี่แอ๊ดแนะนำนั้นน่าสนใจมากครับ อาจเป็นโครงการลักษณะเดียวกับงานสงขลาแต่แรก
นอกเหนือจากนี้ ผมเองยังอยากเห็นป้ายถาวร แนะนำสถานที่ว่า ณ ที่แห่งนี้ ร.5 หรือ ร.6 ท่านเคยเสด็จมาประทับ
เช่น ที่หาดสมิหลา สถานีรถไฟสงขลา เป็นต้นครับ

ทั้ง 2 แห่ง มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานสำคัญ แม้ไม่มีร่องรอยเหลือเป็นวัตถุในปัจจุบันก็ตาม

อาจจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ชาวสงขลาเห็นความสำคัญของชายหาดและที่สำคัญสถานีรถไฟ อันเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติด้วยครับ

พีระ ตันติเศรณี

ขอรับไปดำเนินการทั้งข้อเสนอของพี่แอ๊ดและอาจารย์หม่องครับ
เรื่องตลาดรถไฟกำลังให้ทีมงานประสานการรถไฟอยู่ อยากให้เทศบาลไปขอเช่าแทนเอกชน จะได้เข้าไปปรับปรุงตลาด โดยเฉพาะการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟเก่า ผมแวะไปดูเป็นระยะๆเป็นห่วงมากครับ
ตลาดวันอาทิตย์ทำให้ในเมืองคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆครับ เป็นเสน่ห์ท่ามกลางความโกลาหล เป็นตลาดนัดบ้านเราที่ใหญ่มาก

Big Beach


"เพราะเห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งรัตนดวงหนึ่งในพระมหาพิไชยมงกุฎของฉัน"

เนื่องจากพระเจ้าน้องยาเธอเป็นอุปราช (และประทับอยู่ที่สงขลา)
ร.๖ คงจะทรงมีพระราชดำรัสนี้เพื่อให้ท่านชื่นใจครับ


- อ.หม่อง สุดยอดจริงๆ ครับ
- เห็นด้วยกับพี่แอ๊ด เป็นอย่างยิ่งครับ
- อย่าลืมร.๔ กับพระราชวังแหลมทรายนะครับ
- ฝากคุณพีระ ถึงงานสมโภชศาลหลักเมือง
      น่าจะจัดในวันครบรอบตั้งศาลหลักเมือง (ที่ร.๓ พระราชทานไม้ชัยพฤกษ์มาให้)

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: Big Beach เมื่อ 10:11 น.  09 ก.ย 53
"เพราะเห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งรัตนดวงหนึ่งในพระมหาพิไชยมงกุฎของฉัน"

เนื่องจากพระเจ้าน้องยาเธอเป็นอุปราช (และประทับอยู่ที่สงขลา)
ร.๖ คงจะทรงมีพระราชดำรัสนี้เพื่อให้ท่านชื่นใจครับ


- อ.หม่อง สุดยอดจริงๆ ครับ
- เห็นด้วยกับพี่แอ๊ด เป็นอย่างยิ่งครับ
- อย่าลืมร.๔ กับพระราชวังแหลมทรายนะครับ
- ฝากคุณพีระ ถึงงานสมโภชศาลหลักเมือง
     น่าจะจัดในวันครบรอบตั้งศาลหลักเมือง (ที่ร.๓ พระราชทานไม้ชัยพฤกษ์มาให้)

ใช่คะ  ไม้ชัยพฤกษ์ที่นำมาตั้งศาลหลักเมืองสงขลา  
แทบจะไม่มีใครพูดถึงเลย

เวลาไปเที่ยวงาน แสง สี เสียง ที่  จังหวัดกาญจนบุรี
ยังคิดเลยว่า   เป็นไปได้ไหมว่าจังหวัดสงขลา  ซึ่งเป็นเมือง
หนึ่งที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น   หากจัดเช่นงาน
จังหวัดกาญจนบุรี   แต่พอคิดอีกทีคงเป็นไปไม่ได้
เพราะสงขลาที่บ้านพักอาศัย  
ว่าง ๆ จะนำภาพแสง สี เสียง ของจังหวัดกาญจนบุรี
มาสแกนให้ดู

พีระ ตันติเศรณี

หลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ยังอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองครับประดิษฐานอยู่ข้างโต๊ะบูชา หลักเมืองที่แทนบูชาหล่อใหม่ด้วยปูน
งานสมโภชที่จัดกันอยู่ เป็นงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งยึดเอาวันประสูติตามปฏิทินจีนของเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาเป็นช่วงจัดงานราวเดือนมิถุนาของทุกปี แต่งานหลักเมืองสงขลาน่าจะจัดในวันที่ร.๓พระราชทานเหมือนงานสมโภชครั้งแรก รู้สึกจะตรงกับวันที่ ๑๐ มีนาคม ใครมีข้อมูลส่งมาหน่อยครับ
ผมเห็นด้วยครับว่า ควรจัดงานหลักเมืองสงขลาในวันนั้น จำลองการสมโภชสมัยพระยาเถี้ยนเส้ง จะลองหารือกับสมาคมจีนดู อีกงานคืองานสมโภชปู่ทวดเขาแดง ซึ่งตอนหลังไปพ่วงกับเทศกาลอาหารสองทะเล ทำให้กร่อยไปเยอะ

พระราชวังแหลมทราย ไม่เหลืออะไรไว้เลย เห็นว่าสร้างด้วยไม้ เลยผุพัง ตำแหน่งที่ตั้งไม่ชัดเจน แผนที่เทศบาล ๒๔๗๘ มีจุดที่ระบุว่เป็นา พลับพลาที่เชิงเขาตังกวน จะว่าเป็นพลับพลารับร.๖ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสมัยร.๖ เสด็จน่าจะเป็นพลับพลาชั่วคราวไกล้ชายหาด แต่สมัยร.๔เสด็จขึ้นเขาตังกวนมีรายละเอียด สงสัยต้องพึ่งอาจารย์หม่อง ให้สันนิษฐานประมวลจากเอกสาร
ส่วนสงขลากับญี่ปุ่นบุก เรื่องราวเยอะแยะ เฉพาะข้อเขียนของขุนศิลปกรรมพิเศษในวารสารรูสะมิแล ทำเอาอดนอนไปเลย
เห็นด้วยครับ ว่าเราควรทำอะไรกันบ้าง
แค่เข้ากิมหยง ก็ได้การบ้านตรึมเลยครับ

Big Beach

อ้างจาก: พีระ ตันติเศรณี เมื่อ 12:51 น.  09 ก.ย 53
หลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ยังอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองครับประดิษฐานอยู่ข้างโต๊ะบูชา หลักเมืองที่แทนบูชาหล่อใหม่ด้วยปูน
งานสมโภชที่จัดกันอยู่ เป็นงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งยึดเอาวันประสูติตามปฏิทินจีนของเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาเป็นช่วงจัดงานราวเดือนมิถุนาของทุกปี แต่งานหลักเมืองสงขลาน่าจะจัดในวันที่ร.๓พระราชทานเหมือนงานสมโภชครั้งแรก รู้สึกจะตรงกับวันที่ ๑๐ มีนาคม ใครมีข้อมูลส่งมาหน่อยครับ
ผมเห็นด้วยครับว่า ควรจัดงานหลักเมืองสงขลาในวันนั้น จำลองการสมโภชสมัยพระยาเถี้ยนเส้ง จะลองหารือกับสมาคมจีนดู อีกงานคืองานสมโภชปู่ทวดเขาแดง ซึ่งตอนหลังไปพ่วงกับเทศกาลอาหารสองทะเล ทำให้กร่อยไปเยอะ

พระราชวังแหลมทราย ไม่เหลืออะไรไว้เลย เห็นว่าสร้างด้วยไม้ เลยผุพัง ตำแหน่งที่ตั้งไม่ชัดเจน แผนที่เทศบาล ๒๔๗๘ มีจุดที่ระบุว่เป็นา พลับพลาที่เชิงเขาตังกวน จะว่าเป็นพลับพลารับร.๖ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสมัยร.๖ เสด็จน่าจะเป็นพลับพลาชั่วคราวไกล้ชายหาด แต่สมัยร.๔เสด็จขึ้นเขาตังกวนมีรายละเอียด สงสัยต้องพึ่งอาจารย์หม่อง ให้สันนิษฐานประมวลจากเอกสาร
ส่วนสงขลากับญี่ปุ่นบุก เรื่องราวเยอะแยะ เฉพาะข้อเขียนของขุนศิลปกรรมพิเศษในวารสารรูสะมิแล ทำเอาอดนอนไปเลย
เห็นด้วยครับ ว่าเราควรทำอะไรกันบ้าง
แค่เข้ากิมหยง ก็ได้การบ้านตรึมเลยครับ

ขอเวลานิดหนึ่งครับ
ผมเว้นวรรคไปหลายเดือน ขอเวลาปัดฝุ่นหน่อยครับ

Big Beach

ครั้น ณ ปีขาล จัตวาศก ศักราช ๑๒๐๔
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝังหลักไชยเมืองสงขลา พระราชทานไม้ไชยฤกษ์หลักไชยต้นหนึ่ง กับเทียนไชยหนึ่งเล่ม
พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่าง ๆ แลโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระอุดมปิฎกเปนประธานสงฆ์ถานานุกรมเปรียญ ๘ รูปออกมาเปนประธาน กับพระราชครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ กับพราหมณ์แปดนายออกมาเปนประธานในการฝังหลักไชย พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้กะเกณฑ์กรมการแลไพร่จัดการทำเปนโรงพิธีใหญ่ขึ้นในกลางเมือง คือที่น่าศาลเจ้าหลักเมืองเดี๋ยวนี้ แลตั้งโรงพิธีสี่ทิศ คือที่ป้อมเสร็จแล้ว

ครั้นเดือนสี่ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก
พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ให้จัดการตั้งกระบวนแห่หลักไม้ไชยพฤษ์กับเทียนไชยเปนการใหญ่ คือจัดกระบวนแห่ทั้งพวกจีนแลพวกไทยเปนที่ครึกครื้นเอิกเกริกมาก ตั้งกระบวนแห่หลักไม้ไชยพฤกษ์กับเทียนไชยไปเข้าโรงพิธี แล้วพระสงฆ์ราชาคณะถานานุกรมเจริญพระปริต พระครูพราหมณ์ก็สวดตามไสยเวท

ครั้น ณ วันเดือนสี่ขึ้นสิบค่ำเวลาเช้าโมงหนึ่งกับสิบนาทีได้อุดมฤกษ์
พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์เชิญหลักไม้ไชยพฤกษ์ลงฝังไว้ที่กลางเมืองสงขลา มีปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ แล้วพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้จัดการสมโภชหลักเมืองเปนการเอิกเกริกอิก ๕ วัน ๕ คืน คือลครหรือโขนร้อง ๑ โรง หุ่น ๑ โรง งิ้ว ๑ โรง ลครชาตรี ๔ โรง แลพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ ๒๒ รูป กับเครื่องบริขารภัณฑ์ต่าง ๆ แก่พระราชาคณะถานานุกรมเปรียญ แลพระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์เปนอันมากเสร็จแล้ว ครั้นเสร็จการฝังหลักเมือง พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดเรือสำเภาลำหนึ่งส่งพระราชาคณะกับพระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์เข้าไป ณ กรุงเทพ ฯ แล้วพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้ให้ช่างก่อตึกคร่อมหลักเมืองไว้สามหลักเปนตึกจีน กับศาลเจ้าเสื้อเมืองไว้หลังหนึ่งด้วย

Big Beach

"ปีขาล จัตวาศก ศักราช ๑๒๐๔" = ๒๓๘๕

ขึ้น ๑๕ ค่ำ คือวันที่ ๒๖ มีนา ๒๓๘๕

ดังนั้น "ขึ้นสิบค่ำ" ก็คือ ๒๑ มีนา ๒๓๘๕ ครับ

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: พีระ ตันติเศรณี เมื่อ 12:51 น.  09 ก.ย 53
พระราชวังแหลมทราย ไม่เหลืออะไรไว้เลย เห็นว่าสร้างด้วยไม้ เลยผุพัง ตำแหน่งที่ตั้งไม่ชัดเจน แผนที่เทศบาล ๒๔๗๘ มีจุดที่ระบุว่เป็นา พลับพลาที่เชิงเขาตังกวน จะว่าเป็นพลับพลารับร.๖ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสมัยร.๖ เสด็จน่าจะเป็นพลับพลาชั่วคราวไกล้ชายหาด แต่สมัยร.๔เสด็จขึ้นเขาตังกวนมีรายละเอียด สงสัยต้องพึ่งอาจารย์หม่อง ให้สันนิษฐานประมวลจากเอกสาร
ส่วนสงขลากับญี่ปุ่นบุก เรื่องราวเยอะแยะ เฉพาะข้อเขียนของขุนศิลปกรรมพิเศษในวารสารรูสะมิแล ทำเอาอดนอนไปเลย
เห็นด้วยครับ ว่าเราควรทำอะไรกันบ้าง
แค่เข้ากิมหยง ก็ได้การบ้านตรึมเลยครับ
เฉพาะพลับพลาเชิงเขาตังกวนที่ปรากฏในแผนที่ปี ๒๔๗๘ อ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ
http://www.gimyong.com/board53/index.php/topic,4205.0.html


คนเขารูปช้าง

ขอนำรายละเอียดเรื่องหลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ ที่ผมมีอยู่มาให้ชมกันดังนี้ครับ

Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 20:09 น.  09 ก.ย 53
อ้างจาก: พีระ ตันติเศรณี เมื่อ 12:51 น.  09 ก.ย 53
พระราชวังแหลมทราย ไม่เหลืออะไรไว้เลย เห็นว่าสร้างด้วยไม้ เลยผุพัง ตำแหน่งที่ตั้งไม่ชัดเจน แผนที่เทศบาล ๒๔๗๘ มีจุดที่ระบุว่เป็นา พลับพลาที่เชิงเขาตังกวน จะว่าเป็นพลับพลารับร.๖ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสมัยร.๖ เสด็จน่าจะเป็นพลับพลาชั่วคราวไกล้ชายหาด แต่สมัยร.๔เสด็จขึ้นเขาตังกวนมีรายละเอียด สงสัยต้องพึ่งอาจารย์หม่อง ให้สันนิษฐานประมวลจากเอกสาร
ส่วนสงขลากับญี่ปุ่นบุก เรื่องราวเยอะแยะ เฉพาะข้อเขียนของขุนศิลปกรรมพิเศษในวารสารรูสะมิแล ทำเอาอดนอนไปเลย
เห็นด้วยครับ ว่าเราควรทำอะไรกันบ้าง
แค่เข้ากิมหยง ก็ได้การบ้านตรึมเลยครับ
เฉพาะพลับพลาเชิงเขาตังกวนที่ปรากฏในแผนที่ปี ๒๔๗๘ อ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ
http://www.gimyong.com/board53/index.php/topic,4205.0.html



ร. ๔ เสด็จประพาสสงขลา เมื่อ ๒๔๐๒ กับ ๒๔๐๖ นะครับ

หม่องวิน มอไซ

ครับ พี่ Big Beach
ภาพนี้หมายถึง พลับพลาที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ปี ๒๔๗๘ ครับ  ;)

Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 21:07 น.  09 ก.ย 53
ครับ พี่ Big Beach
ภาพนี้หมายถึง พลับพลาที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ปี ๒๔๗๘ ครับ  ;)

สมัย ร.๘
แต่ อาจจะสร้างในรัชกาลก่อนๆ