ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

วัดหาดใหญ่

เริ่มโดย พี่แอ๊ด, 09:56 น. 11 ต.ค 53

พี่แอ๊ด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วย  พระเจ้าลูกเธอทั้ง 2 พระองค์   เสด็จพระราชดำเนินมา
ประกอบพิธียกพระเกตุมาลาพระพุทธไสยาสน์   และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธไสยาสน์ว่า  "พระพุทธมหัตตมงคล"
และพระองค์ทรงแปลว่า  "พระพุทธเจ้าผู้ทรงบรรลุถึงความเป็นใหญ่
เป็นมงคล"

พี่แอ๊ด

วัดหาดใหญ่ (วัดมหัตตมังคลาราม)   เริ่มก่อตั้งปี  พ.ศ.2479
ลักษณะวัดเป็นรูปห้าเหลี่ยมคล้ายช้างหมอบ
ที่ตั้งวัด    เดิมเป็นที่ดินของนายทอง,  นางฉิ้น  ใจเย็น  ซึ่งอยู่
หมู่บ้านหาดใหญ่   ริมฝั่งตะวันตกของคลองอู่ตะเภา   ลำคลอง
สายนี้มีความสำคัญมากในสมัยนั้น   เป็นที่เดินเรือนำสินค้าต่าง ๆ
มาขายที่หาดใหญ่
                ต่อมา  นายทอง, นางฉิ้นฯ   ซึ่งเป็นผู้ที่มีที่ดินมากเห็นว่า
หมู่บ้านหาดใหญ่   ยังไม่มีป่าช้าเป็นที่เผาศพที่เป็นเอกเทศเวลาที่มี
คนตาย   ต้องนำศพไปเผาที่ป่าช้าในหมู่บ้านอื่น   จึงอุทิศที่ดินส่วนหนึ่ง
เป็นป่าช้าประจำหมู่บ้านหาดใหญ่

พี่แอ๊ด

พ.ศ.2479  นายทอง, นางฉิ้นฯ   พร้อมด้วยชาวบ้านหาดใหญ่   ได้ประชุม
ตกลงกันที่จะพัฒนาป่าช้าแห่งนี้ให้เป็นวัด   จึงได้บริจาคที่ดินของตนเอง
เพิ่มอีก 4 ไร่  และพร้อมใจสร้างศาลาบำเพ็ญบุญขึ้น 1 หลัง,  กุฏิที่พักสงฆ์
อีก 4 หลัง   และได้อาราธนานิมนต์   พระมหาคลิ้ง  จากวัดเลียบ  จ.สงขลา
และพระอนุจรอีกจำนวนหนึ่ง มาอยู่ประจำที่สำนักสงฆ์แห่งนี้
           พระมหาคลิ้ง  เป็นพระที่มีความรู้และเป็นนักเทศน์ที่ประชาชนศรัทธา
เสื่อมใส    พระภิกษุ สามเณร  ติดตามมาอยู่ด้วยเพิ่มทุกปี  จนสำนักสงฆ์เจริญ
ขึ้นตามลำดับ
           ต่อมา   นายจินต์   รักการดี   นายอำเภอหาดใหญ่สมัยนั้น  เห็นว่าสำนักสงฆ์
แห่งนี้มีพระภิกษุ, สามเณร  พอที่จะยกขึ้นเป็นวัดที่ถูกต้อง  จึงได้อนุญาตให้สร้าง
เป็นวัดได้   ตามหนังสืออำเภอที่  2364/2490  ลงวันที่  18  มิถุนายน  2490

พี่แอ๊ด

นายอำเภอหาดใหญ่สมัยนั้น   ได้ปวารณาตนเป็นมัคนายกวัด   และได้นำ
ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดิน  เพื่อขยายเป็นวัดเพิ่มเติมอีก  จึงเป็น
เนื้อที่วัดจำนวน  22  ไร่  1  งาน  86  ตารางวา  และทางการได้ตั้งชื่อวัดว่า
"วัดหาดใหญ่"   เพื่อให้สอดคล้องกับหมู่บ้านหาดใหญ่   พร้อมทั้งแต่งตั้งให้
พระมหาคลิ้ง  (พระครูวิจิตรพรหมวิหาร)   เป็น  เจ้าอาวาสรูปแรก

พี่แอ๊ด

เมื่อวันที่  4  สิงหาคม  2520  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  พร้อมด้วย
พระวรชายา  ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธาน  ในการประกอบพิธี
วางศิลาฤกษ์สร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์
                      และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับวัดหาดใหญ่ไว้ใน
พระราชานุเคราะห์   พร้อมพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดมหัตตมังคลาราม"

พี่แอ๊ด

เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดหาดใหญ่

พี่แอ๊ด

ประวัติของเจ้าอาวาสรูปแรก
        เดิมชื่อ  คลิ้ง   แก้วบุตร   เกิดเมื่อวันที่  22  สิงหาคม  2452
ณ  บ้านท่าเมรุ  หมู่ที่ 5  ตำบลบางกล่ำ  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
ได้อุปสมบท  เมื่อวันที่  15  สิงหาคม  2473   โดยมีพระครูสุคนธศีลาจารย์
วัดคูเต่า   ตำบลแม่ทอม  อำเภอหาดใหญ่   เป็นพระอุปัชฌาย์
        พ.ศ.2486   ศึกษาต่อพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดเลียบ  ตำบล
บ่อยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา   
        และย้ายจากวัดเลียบ  ไปจัดตั้งวัดขึ้นที่เลขที่  134  อำเภอหาดใหญ่
โดยใช้ชื่อว่า  "วัดหาดใหญ่"

หม่องวิน มอไซ

วัดหาดใหญ่ เป็นวัดเดียวกันกับ วัดหาดใหญ่ใน หรือเปล่าครับพี่แอ๊ด

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 11:49 น.  11 ต.ค 53
วัดหาดใหญ่ เป็นวัดเดียวกันกับ วัดหาดใหญ่ใน หรือเปล่าครับพี่แอ๊ด
เป็นวัดเดียวกันคะ

พี่แอ๊ด

ปี พ.ศ.2535  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งเป็น
"พระมงคลพฤฒาจารย์"  และท่านได้ครองบรรพชิตมายาวนาน
ถึง 63 พรรษา   และมรณภาพเมื่อวันที่  15  มีนาคม  2536
ข้อมูลจากหนังสือ  อนุสรณ์พิธีปิดศพ  พระมงคลพฤฒาจารย์

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับพี่แอ๊ด  ;)
ไม่ทราบว่า วัดหาดใหญ่ใน เดิมชื่อวัดหาดใหญ่ (เฉย ๆ )
หรือว่าชื่อวัดหาดใหญ่ใน ตั้งแต่แรกตั้ง พ.ศ. 2479
(เพื่อค้นหาที่มาของคำว่าหาดใหญ่ในครับ ว่าเริ่มต้นในยุคใด)
เพราะผมไม่เคยได้ยินคำว่า วัดหาดใหญ่ มาก่อนเลยครับ
เกิดมาก็ได้ยินเป็น วัดหาดใหญ่ในแล้ว

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 10:19 น.  12 ต.ค 53
ขอบคุณมากครับพี่แอ๊ด  ;)
ไม่ทราบว่า วัดหาดใหญ่ใน เดิมชื่อวัดหาดใหญ่ (เฉย ๆ )
หรือว่าชื่อวัดหาดใหญ่ใน ตั้งแต่แรกตั้ง พ.ศ. 2479
(เพื่อค้นหาที่มาของคำว่าหาดใหญ่ในครับ ว่าเริ่มต้นในยุคใด)
เพราะผมไม่เคยได้ยินคำว่า วัดหาดใหญ่ มาก่อนเลยครับ
เกิดมาก็ได้ยินเป็น วัดหาดใหญ่ในแล้ว
ขอแนบประวัติวัด   จากหนังสืออนุสรณ์งานฉลองและ
งานทำบุญฉลองอายุ 84 ปี   พระมงคลพฤฒาจารย์ (พระครู
วิจิตรพรหมวิหาร    เจ้าอาวาสวัดมหัตตมังคลาราม  อำเภอ
หาดใหญ่  จังหวัดสงขลา    วันจันทร์  21  ธันวาคม 2535

พี่แอ๊ด

ต่อ

พี่แอ๊ด

ต่อ

พี่แอ๊ด

ชีวิตและผลงานเจ้าอาวาส

พี่แอ๊ด

ต่อ

พี่แอ๊ด

ปูชนียวัตถุ

พี่แอ๊ด

สอง

พี่แอ๊ด

ข้อมูลจากหนังสือ

บัญญัติ

คำว่า  "หาดใหญ่ใน"   เป็นคำพูดของชาวบ้าน
เวลาคนอยู่หาดใหญ่ใน พูด  จะเรียกหาดใหญ่
ที่เจริญกว่า ว่า "หาดใหญ่นอก"   ผู้เฒ่าผู้แก่
บางคนเรียกสั้น ๆ ว่า  "บ้านใน"
อุปมาเหมือน  คนในเมืองสงขลา หรือที่เจริญกว่า
จะเรียกคนที่มาจากอีกฝั่งหนึ่งว่า "พวกบก"
          ผมอยู่หน้าวัดหาดใหญ่ (ใน)

หม่องวิน มอไซ

แปลกตรงที่ ตามความรู้สึกแล้ว "ใน" น่าจะหมายถึงในเมือง
"นอก" หมายถึง นอกเมือง รอบนอก

แต่มองอีกแง่ ใน คงหมายถึง เข้าไปข้างในไกลลิบ
อยู่ข้างนอก ลงรถไฟก็ถึงแล้ว ก็เป็นได้นะครับ

พี่แอ๊ด

ขอคัดลอกบทความ จากความทรงจำในวัยเยาว์ของอาจารย์ประณีต สัตยารักษ์
(เจ้าของโรงเรียนในเครืออำนวยวิทย์ หาดใหญ่)   ท่านเกิดและเติบโตในละแวกนี้
กล่าวถึง  หาดใหญ่ใน   หาดใหญ่นอก  ดังนี้
"ในสมัยที่ครูยังเด็กๆ นั้น บริเวณริมคลองอู่ตะเภาที่เรียกกันว่าหาดใหญ่ใน มีหาดทรายที่กว้างใหญ่ น้ำใส เห็นตัวปลาปักเป้า สวยงามมาก เวลาที่ไปเล่นน้ำกับญาติพี่น้อง ก็จะเห็นว่ามีต้นมะหาดต้นใหญ่อยู่แถวๆ นั้นด้วย ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของชื่อเมืองหาดใหญ่ในปัจจุบัน เมืองหาดใหญ่ในอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันมากแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ในสมัยก่อนจะไปไหนก็ต้องเดินกันทั้งนั้น อย่างเวลาจะไปหาดใหญ่นอกที่ตลาดในเมืองเราก็ต้องเดิน เพราะว่าสามล้อยังมีไม่กี่คัน รถยนต์สมัยก่อนนี่แทบจะนับคันได้ ต้องระดับเศรษฐีจริง ๆ ถึงจะมีรถยนต์กัน ครูจำได้ว่าในสมัยที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมนั้นซึ่งครูก็โตแล้วด้วยซ้ำ ที่หาดใหญ่นอกมีบ้านช่องอยู่น้อยมาก จำได้ว่าที่บริเวณสถานีรถไฟยังมีบ้านมุงหลังคาจากอยู่เลย โดยเฉพาะในสมัยที่คุณพ่อและคุณแม่ของครูไปซื้อ โรงเรียนหาดใหญ่อำนวยวิทย์ (เดิมชื่อโรงเรียนสัตย์สงวนวิทยา เป็นของคุณรสสุคนธ์  สัตย์สงวน) ที่หาดใหญ่นอก ตรงนั้นยังไม่มีบ้านคนเลย กว่าจะมีคนเดินผ่านสักรายช่างหายากเต็มที รู้สึกว่าเมืองหาดใหญ่สมัยนั้นเงียบสงัดมาก แต่ที่ไหนได้ ดูสิ ตอนนี้เมืองหาดใหญ่เติบโตจนแทบไม่น่าเชื่อ ทั้งจำนวนพลเมือง การคมนาคม การศึกษา เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจริง ๆ "
จาก  หนังสือ 72 ปี ครูประณีตฯ