ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสสงขลา มากกว่าเมืองใดๆในสยาม...

เริ่มโดย หมัดเส้งชู, 22:41 น. 19 ก.ย 53

หมัดเส้งชู

ครั้งที่ ๕
เสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)
เหตุที่เสด็จประพาสคราวนี้ เพื่อตรวจตราราชการแผ่นดิน ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ว่า " ความประสงค์ที่จะมาเที่ยวครั้งนี้ ได้ปรารภมาแต่เมื่อออกมาเที่ยวปีกลายนี้ ด้วยได้ไปเที่ยวหัวเมืองตามฝั่งข้างตะวันออกแหลมทั่วแล้ว ยังไม่ทั่วแต่ข้างตะวันตกอย่าง ๑ ฟากโน้น เป็นที่ราบจะขุดคลองได้จึงอยากเห็นปากลาวแห่ง ๑ เมื่อไปถึงสงขลาพระยาไทรข้ามมาหาทางบก ได้ถามถึงทางได้ความว่าตอนสงขลาชำรุดมาก จึงสั่งให้ซ่อมทางไว้ ถ้าทางเรียบร้อยก็เป็นอันเดินทางได้อีกอย่าง ๑ ครั้นขึ้นมาหลังสวนพระยาระนองมาพรรณนาถึงระยะทางที่ข้ามไปมาได้ใกล้ และทางโทรเลขที่ชุมพรตัดมาแล้ว จะไม่ต้องตัดทางใหม่อีกอย่าง ๑ จึงได้ออกปากว่าถ้าปีหน้าว่างจะออกไป พวกหัวเมืองทั้งปวงได้ยินคำปรารภของเราเช่นนี้ ก็ต่างคนต่างถือเป็นแน่ เพราะเขาเคยเห็นฤทธิ์เราในการเที่ยว... .... แต่เรายังไม่ตกลงใจว่าจะไปหรือไม่... ....จึงคิดว่าจะเลิกเสีย แต่ออกห่วงกลัวเขาจะพากันฉิบหายเปล่าจึงได้พูดปรึกษากันในที่ประชุมเสนาบดี เห็นว่าจะเลิกไม่ได้ จำจะต้องไปตามกำหนด... ... และจะเอาประโยชน์ในการที่จะได้ตรวจทางสิงคโปร์ขึ้นไปตลอดปีนังด้วยจะเป็นประโยชน์มากกว่า...."
การเสด็จประพาสแหลมมลายูใน ร.ศ. ๑๐๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรารภไว้ มีคำชี้แจงของราชบัณฑิตยสภา ในพระราชหัตถเลขาและหนังสือระยะทางเสด็จฯ เมื่อคราวประพาส ร.ศ. ๑๐๙ไว้ด้วยว่า
"เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายูใน ร.ศ. ๑๐๙ ( พ.ศ. ๒๔๓๓) ได้มีหนังสือ คือ

จดหมายเหตุทางราชการ (โดยมากกรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงพระนิพนธ์) เคยพิมพ์เป็นเล่มพระราชทานแจกในงานพระราชกุศล วารบรรจบ ๕๐ วันแต่วันทิวงคตของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ( พ.ศ. ๒๔๖๗) อย่าง ๑

พระราชหัตถเลขา มีพระราชทานมายังกรรมการผู้รักษาพระนครในคราวนั้น เคยพิมพ์เป็นเล่มพระราชทานแจกในงานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศรีสัชนาลัย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ( พ.ศ. ๒๔๖๘) อย่าง ๑

ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู นี้ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นส่วนที่มิได้พระราชทานไปถึงใคร และพึ่งจะได้พบคราวนี้อย่าง ๑
พระราชนิพนธ์ "ระยะทางฯ" นี้ ทรงไว้ในสมุดเล่มเล็กๆ ๖ เล่ม แต่ละเล่มเป็นลายพระราชหัตถ์ล้วน แม้แต่แผนที่พลับพลาและเรือนซึ่งนำมาพิมพ์ในสมุดนี้ ก็เห็นได้ว่าเป็นลายพระราชหัตถ์เหมือนกัน
สมุดชุดเดียวกันยังมีอีกเล่มหนึ่ง (เป็นเล่มที่ ๗) ปิดข่าวภาษาอังกฤษในเรื่องเสด็จพระราชดำเนินคราวนั้น ซึ่งตัดจากหนังสือข่าวที่ออกในเมืองสิงคโปร์และปีนังเป็นต้น ลายพระราชหัตถ์ในสมุดทั้ง ๖ เล่มนั้นเป็นตัวดินสอทั้งหมด เป็นหนังสือหวัดงามมาก ดังจะเห็นได้จากรูปถ่ายที่นำมาลงไว้ในหน้าต้นๆแห่งสมุดนี้"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู, รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๙ เล่ม ๑, (พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, ศึกษาภัณฑ์พานิชย์, ๒๕๐๙), หน้าคำนำ.


เสด็จจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๓๓ โดยเรือพระที่นั่งสุริยมณฑลเป็นเรือพระที่นั่ง โปรดให้เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศไปคอยรับอยู่เมืองระนอง เส้นทางเสด็จจาก สมุทรปราการ – ชุมพร – กระบุรี- มลิวัน – ระนอง – ภูเก็ต – พังงา – ตรัง -เกาะตรูเตา(แขวงเมืองไทรบุรี) - ลังกาวี- เกาะปีนัง –มะละกา –สิงคโปร์- ปาหัง – ตรังกานู –กลันตัน- สงขลา – หมู่เกาะช่องอ่างทอง – เกาะสมุย –เกาะพงัน –ชุมพร –สามร้อยยอด – ปากน้ำ กลับถึงกรุงเทพฯ  วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๓๓


http://valuablebook.tkpark.or.th/pdf/malayuu.pdf
http://valuablebook.tkpark.or.th/pdf/annals.pdf

อันที่จริงการเสด็จฯเมืองสงขลาในครั้งนี้ พระองค์ท่านใช้เวลาเสด็จเพียงวันเดียว แต่เป็นวันเดียวที่มีปริศนาเกือบทั้งหมด
เริ่มตั้งแต่ในสารคดีตามรอยเสด็จประพาส ได้ระบุไว้ว่าการเสด็จเมืองสงขลาในครั้งนี้ ได้มีการจัดแสดงวิธีการผสมพันธุ์ช้างให้ทอดพระเนตร มีการระบุสถานที่ แหลมสมีรา เสด็จทอดพระเนตรเขาวงก์ เพื่อ...? เขาวงก์อยู่ที่ไหน เสด็จไปอย่างไร

แหลมสมีรา ก่อนหน้านี้เคยมีปรากฎชื่อหรือไม่
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,36016.0.html

แถมท้ายยังมีรูปๆหนึ่งที่ระบุว่าคราวเสด็จประพาสเมืองสงขลา ๒๔๓๙  แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็น รูปของการเสด็จในครั้งนี้
เรียนถามท่านคนเขารูปช้าง หรือใครที่มีสมุดภาพช่วยดูให้ผมหน่อยว่า ได้มีการระบุปีที่ถ่ายไว้หรือเปล่าครับ รูปนี้มาจากโปสเตอร์เก่าในงานสงขลาแต่แรก ถ้าเป็นปี ๒๔๓๙ ผมจะเอาหลักฐานมาค้าน

อาจารย์หม่องฯ กินข้าวแกงไก่ทอดแล้วยังครับ  ไม่รู้ใครเบิ้ล ๒ กระทงผมยังหาตัวไม่ได้


หม่องวิน มอไซ

ต้องหาโอกาสไปกินข้าวแกงไก่ทอดที่เทพาให้ได้อีกครับ  :)


ภาพถ่ายโดยคุณ heerchai จากรถไฟไทยดอทคอม

หมัดเส้งชู

รูปที่ถ่ายแล้วบอกกว่า เสด็จฯเมืองสงขลา เมื่อปี ๒๔๓๙ ในวารสารสงขลา ของ อบจ. ปีที่๘ ฉบับที่ ๖ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ในคอลัมน์ สงขลา_สารคดี ของอาจารย์ก้อย ก็มีรูปภาพนี้ปรากฏอยู่ โดยระบุว่า ร.๕ เสด็จฯ ศาลหลักเมืองสงขลา ๒๔๓๙ ซึ่งผมเข้าใจว่าภาพพร้อมคำอธิบายนี้เอามาจากในสมุดภาพสงขลา ของคุณอเนก นาวิกมูล  แต่ปีที่ระบุ ผมยังยืนยันว่าไม่ใช่ปี ๒๔๓๙ ครับเรามาดูเหตุผลกัน

ทรงบันทึกผู้ที่ตามเสด็จไว้ในระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู รัตนโกสินทร์ศก๒๒ ๑๐๙ ดังนี้
คนที่มาคราวนี้ ข้างใน
แม่กลาง ๑ แม่เล็ก ๑ เจ้าสาย ๑ หญิงใหญ่ ๑นางแส ๑ นางชุ่ม ๑ นางเอี่ยม ๑
ลูกชายใหญ่ ๑ ลูกโต ๑ ลูกชายเล็ก ๑ ลูกชายยุคล ๑ เจ้าผอบ ๑ เจ้าถนอม ๑ เจ้าหวง ๑ เจ้าจริตอับษร ๑ เจ้าไชศรี ๑
โขลน ๓ ชวาลา ๓ บ่าวหมดด้วยกัน ๑๕ รวม ๓๗ คน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินฯ เล่ม ๑, หน้า ๑๑ – ๑๒.

แม่กลาง แม่เล็ก คือ สมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า ขณะนั้นทรงดำรงพระยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะนั้นทรงดำรงพระยศ พระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวี พระมเหสีลำดับที่ ๒
           เจ้าสาย คือ พระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ เวลานั้นทรงดำรงพระยศ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระมเหสีชั้นหลานหลวง ตำแหน่งพระอัครชายาเธอนั้นเป็นพระมเหสีลำดับที่ ๔
           พระมเหสีเทวี ในขณะนั้น มี ๔ ชั้น ตามลำดับ คือ
      ๑. พระบรมราชเทวี
      ๒. พระอัครราชเทวี
      ๓. พระราชเทวี
      ๔. พระอัครชายาเธอ มี ๓ พระองค์
           หญิงใหญ่ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร (ต่อมาทรงกรมเป็นกรมขุนพิจิตรเจษจันทร์) เป็นพระราชธิดาประสูติแต่พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ พระอัครชายาเธอพระองค์กลาง เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้า จึงตรัสเรียกว่า 'หญิงใหญ่' ชาววังออกพระนามกันว่า 'สมเด็จหญิงใหญ่' เวลานั้นพระชนม์ ๑๗ พระอัครชายาเธอพระองค์กลางสิ้นพระชนม์แล้วเมื่อ ๓ ปีก่อน จึงทรงอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ซึ่งทรงอุปถัมภ์พระอัครชายาเธอ พระองค์กลางมาก่อน
            บรรดาหม่อมเจ้าทั้งหลายนั้น ไม่ว่าองค์หญิงองค์ชาย ที่มีอาวุโส พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงมีรับสั่งเรียกว่า 'เจ้า' (ตัดจากหม่อมเจ้า) เช่น เจ้าสาย เจ้าบัว เจ้าเพิ่ม เจ้าก๋ง ฯลฯ แต่เจ้านายอื่นและคนอื่นมักออกพระนามว่า 'ท่าน' เช่น ท่านไขศรี หรือ ท่านหญิงไขศรี ท่านคำรบ หรือ ท่านชายคำรบ
            แต่ 'ก๊ก' หม่อมเจ้าที่เป็นเจ้าพี่เจ้าน้องของพระอัครชายาเธอทั้ง ๓ พระองค์นั้น ชาววังออกพระนามกันเป็นพิเศษ คือเติมคำว่า 'องค์' เข้าไปด้วย เช่น ท่านองค์เพิ่ม ท่านองค์สารภี ท่านองค์หวง (พิศวง)
           ชาววังนั้น มักมีคำออกพระนามเจ้านาย เฉพาะภายในราชสำนัก และเฉพาะภายในวังแต่ละรั้ววัง ซึ่งบางทีก็มิได้ทราบกันแพร่หลายนัก
           เจ้าจอมมารดา ๓ ท่านที่โปรดฯให้ตามเสด็จ ตรัสเรียกว่า นางแส นางชุ่ม นางเอี่ยม นั้น เวลานั้นเจ้าจอมมารดาแส (สกุล โรจนดิศ) และเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุล ไกรฤกษ์) เป็นพระสนมเอกที่โปรดปราน ส่วนเจ้าจอมมารดาเอี่ยม (สกุลบุนนาค) นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดปรานฝีมือถวายอยู่งานนวดอย่างยิ่ง มักโปรดฯให้ตามเสด็จเสมอ ส่วนบรรดา หม่อมเจ้า (เจ้า) ทั้งหลายนั้น เป็นหม่อมเจ้าซึ่งต่าง 'ขึ้น' กับพระมเหสีเทวีแต่ละพระองค์ มีหน้าที่ต่างๆกัน เช่น หม่อมเจ้าถนอม ดูแลเรื่องพระโอสถ คอยถวายพระโอสถต่างๆ หม่อมเจ้าหวง (พิศวง) คอยดูแลเรื่องเครื่องเสวย เป็นต้น ชวาลา คือผู้มีหน้าที่จุดตะเกียงตามไฟ
           พระราชโอรสที่ตามเสด็จ ๔ พระองค์
           สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (ลูกชายใหญ่) พระราชโอรสประสูติแต่พระบรมราชเทวี พระชนม์ ๑๒ พรรษา
           สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ลูกโต) พระราชโอรสประสูติแต่ พระนางเจ้าฯ พระอัครราชเทวี พระชนม์ ๑๐ พรรษา
           สมเด็จเจ้าฟ้า จักรพงศภูวนาถ (ลูกชายเล็ก) ประสูติแต่ พระนางเจ้าฯ พระอัครราชเทวี พระชนม์ ๘ พรรษา
           สมเด็จเจ้าฟ้า ยุคลทิฆัมพร (ลูกชายยุคล) ประสติแต่ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระชนม์ ๘ พรรษา เท่ากับ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศฯ

จากรูป ที่ประทับยืนอยู่ด้านพระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธเจ้าหลวง จะเห็นพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม ๔ พระองค์ รูปที่ปรากฏก็คือ พระราชโอรส ๓ พระองค์ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ประทับยืนอยู่ด้านหลัง ที่อยู่ด้านหน้าสมเด็จเจ้าฟ้า จักรพงศภูวนาถ ถัดไปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และสุดท้ายพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร

หมัดเส้งชู

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ประชวรและ
ทิวงคตเมื่อวันที่ ๔ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓  (พ.ศ. ๒๔๓๗)

สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ปี พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ เมือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้สวรรคตเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทน  หลังจากนั้น ได้ทรงย้ายที่ประทับไปยังบ้านใหม่ชื่อเกรตนี (G raiteny) ตำบลแคมเบอลีย์ (Camberley) ใกล้ออลเดอร์ชอต (Aldershot) เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๙   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ (Sandhurst)
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในด้านการทหาร แล้ว ได้เสด็จฯ ไปทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ และกฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์ เชิร์ช ( Christ Church) มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒ ถึง พ.ศ.๒๔๔๔ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้นได้ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระอันตะ(ไส้ติ่ง) อักเสบ มีพระอาการมาก ต้องทรงรับการผ่าตัดทันที่ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ประวัติศาสตร์เรื่อง The War of the Polish Cuccession เสนอมหาวิทยาลัย

หมัดเส้งชู

รูปข้างบน ฉาย ณ เกย พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระบรมมหาราชวังในการพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยามประเทศ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2433

หมัดเส้งชู

ผมยังติดใจ...สารคดีตามรอยเสด็จประพาส ที่ได้ระบุไว้ว่าการเสด็จเมืองสงขลาในครั้งนี้ ได้มีการจัดแสดงวิธีการผสมพันธุ์ช้างให้ทอดพระเนตร ผมก็พยายามที่จะตามหาดู...ในจดหมายเหตุประพาสคราวแหลมมลายู ร.ศ.๑๐๙  ไม่ได้มีรายละเอียดบอกไว้  คงจะต้องไปดูพระราชนิพนธ์ "ระยะทางฯ" ไม่ทราบว่าจะหาได้หรือไม่  แต่ในชั้นต้นผมตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้คือ...
จากหนังสือชีวิวัฒน์ที่สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รายงาน ระยะทางหัวเมืองแหลมมลายูฝั่งตะวันออก...ตั้งแต่เมืองปราณบุรีไปจนถึงเมืองกลันตัน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๒๘ ก่อนหน้าการเสด็จในครั้ง ๕ ปี ในบทที่กล่าวถึงผลประโยชน์การหากิน

- อนึ่งในเมืองสงขลานี้ มีช้างใช้สำหรับเมือง ๔๐๐ ช้าง เป็นช้างอยู่ในเจ้าเมืองกรมการ
- ในเมืองนครมีช้างเป็นของหลวงสำหรับเมืองอยู่ ประมาณ ๑๐๐ เศษ
- เมืองไชยา...ช้างสำหรับเมืองนั้นน้อย ประมาณ ๒๐ ตัว
- พระหลังสวนมีช้างสำหรับเมือง ประมาณ ๑๑-๑๒ ช้าง

หมัดเส้งชู

เอาเป็นว่า...เรื่องช้าง...ผมของพักเอาไว้ก่อน  ดูๆไปแล้วงานนี้คงเป็นงาน...ช้าง(งานใหญ่)
ครับมาต่อ เสด็จประพาสเมืองสงขลา ครั้งที่ ๕
เสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

หมัดเส้งชู

วันที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ.๑๐๙ ทรงพระที่นั่งม้า พร้อมด้วยเจ้านายและขุนนางบางคน ส่วน ที่เหลือไปโดยช้าง ฝ่ายในไปโดยวอ ในระหว่างที่เดินทางนั้น ก็มีการตัดต้นไม้ไปถึงบริเวณที่เรียกว่ากรอบธรณี เป็นนาของพระยาชุมพร เป็นที่ลุ่ม ระยะทางจากกรอบธรณีเสด็จถึงบ้านถ้ำสนุก ทอดพระเนตรนา ซึ่งไม่ค่อยได้ผลดี ห้าโมงเช้าจึงเสด็จออกจากบ้านถ้ำสนุก ผ่านห้วยตลิ่งสองแห่ง คือห้วยฟรึง กับห้วยแพะ ย่านสาวร้องไห้ เสด็จถึงบกแพะ ทรงประทับพักร้อนที่พลับพลา ทรงผ่านคลองชุมพรสองแห่ง คือ ท่าแซะ และหาดพม่าตาย บ่ายสี่โมงถึงท่าไม้ลาย พระทับแรม พระยาอัษฎงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี๘ มาคอยรับเสด็จ เพื่อที่จะนำทางต่อ พลับพลานั้นตั้งอยู่ซอกเขาด้านข้าง มีลำคลองชุมพร อยู่ใกล้ๆ ด้านหนึ่ง
วันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๙ เสด็จออกจากพลับพลาท่าไม้ลาย ต้องข้ามลำคลองชุมพร สองแห่ง คือ ย่านเสือเต้น และบกกลาง เส้นทางนี้เป็นพรหมแดนเมืองกระบุรีกับเมืองชุมพรต่อกัน เรียกว่าท่าสารทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยช้างพระที่นั่ง เป็นช้างของพระยานครศรีธรรมราช ชื่อ พังเล็บดำ ซึ่งมีฝีเท้าเร็ว ในระหว่างทางจากท่าสารพรหมแดนถึงเมืองกระบุรีนั้น มีการตัดต้นไม้เพื่อทำทางปักเสาไว้ เพื่อทำทางตามแบบทางสายโทรเลข จนถึงที่เรียกว่า ตร่อน้ำเแบ่ง บริเวณน้ำตกไปทางชุมพร กับลำธารน้ำตกไปลงคลองชุมพร กับลำธารอีกข้างหนึ่งไปลงคลองปากกะลี้ หรือปากฉลีก เมืองกระบุรี ทรงจารึกอักษร จปร. และศักราช ๑๐๙ เสด็จพระราชดำเนินต่อ ผ่านหินซอง ซึ่งเป็นระหว่างเขาติดต่อกันเหมือนกำแพงคดเคี้ยว เสด็จไปประทับร้อนที่พลับพลาบกอินทนิล ซึ่งตั้งอยู่ ริมธารน้ำต้นคลองกระลี้ หรือฉลีก เสด็จจากบกอินทนิลโดยม้าทรง ถึงตำบลช้างกลิ้ง มีโปลิศรับเสด็จสองข้าง แต่งตัวเป็นแขกกับโปลิศไทย เสด็จถึงลำคลองปากจั่น ซึ่งฝั่งตรงข้ามเป็นของอังกฤษ เสด็จถึงพลับพลาริมลำน้ำปากจั่น พระยารัตนเศรษฐีคอยรับเสด็จ ทรงทอดพระนครภูมิประเทศซึ่งเป็นบริเวณของเมืองกระบุรี แบ่งออกเป็น อำเภอคือ อำเภอปากจั่น อำเภอคลองวัน อำเภอน้ำจืด อำเภอลำเลียง

เหตุที่คัดจดหมายเสด็จประพาสในตอนนี้มาให้ดูเนื่องเพราะ... เป็นเส้นทางสด็จฯจากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกสู่ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย อันถือเป็นเส้นทางผ่านคาบสมุทรตอนบน หลังจากที่พระองค์เคยเสด็จฯผ่านเส้นทางคาบสมุทรตอนล่างจากไทรบุรีถึงท่าหาดใหญ่ เมื่อปี ๒๔๑๕ หรือเมื่อเกือบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา
คำปรารภในตอบกระทู้ ๒๓...

หมัดเส้งชู

วันที่ ๒๒ เมษายน ร.ศ.๑๐๙ เสด็จลงเรืออุบลบุรทิศ ที่คลองลำเลียง ระนองประพาส หัวเมืองและตำบลชายทะเลต่อไป...


วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ร.ศ.๑๐๙ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่ ปีนังนั้น มิสเตอร์สกินเนอร์ ผู้สำเร็จราชการเมืองปีนังของอังกฤษได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงพิจารณาในเรื่อง ที่ทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้เสนอต่อกรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศขอสัมปทานให้บริษัทอังกฤษและชาวอังกฤษสร้างทางรถไฟ สองสาย สายแรก สร้างจากไปร ผ่านตำบลกุหลิม ถึงคลองสเลมา เขตแดนเมืองเปรัค สายที่สอง มิสเตอร์ ชาลส์ ดันลอป (Mr. Charles Dunlop) ขอสร้างทางรถไฟจากเมืองสงขลาถึงเมืองไทรบุรีในการนี้ได้กราบบังคมทูลชี้แจง รายละเอียดแนวทางในแผนที่เพื่อทรงพิจารณาด้วย

        ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ถึงปีนังนั้น ทรงมีพระราชดำรัสหารือกับพระยาไทรบุรีในเรื่องที่ มิสเตอร์ ชารล์ ดันลอป ขอสัมปทานสร้างทางรถไฟสายสงขลา - ไทรบุรี นี้อยู่ก่อนแล้ว และทรงมีพระราชดำริในความเห็นของพระยาไทรบุรีที่ว่า ทางรถไฟสายนี้จะเป็นประโยชน์แก่ไทยในการดึงความเจริญจากสิงค์โปร์มาให้แก่ เมืองไทรบุรีและสงขลาแต่ก็ทรงโต้แย้งไว้ว่า ไม่ใช่จะนำความเจริญมาให้เมืองไทรบุรีและสงขลาของไทยเท่านั้น แต่จะนำความเจริญมาสู่ปีนังของอังกฤษด้วย ดังนั้น เมื่อมิสเตอร์สกินเนอร์ กราบบังคมทูลพระกรุณาในเรื่องนี้ขึ้น จึงทรงมีพระราชดำรัสตอบว่าถ้าอังกฤษจะยอมรับเงื่อนไขให้ไทยมีสิทธิบอกเลิก สัมปทานและชื้อกิจการรถไฟคืนได้เมื่อต้องการเช่นเดียวกับที่รัฐบาลอังกฤษ ตั้งเงื่อนไขไว้กับบริษัทรถไฟเอกชนในดินแดนอังกฤษแล้ว ไทยก็อาจตกลงด้วยได้แต่ทั้งนี้ จะได้ปรึกษาหารือพระยาไทรบุรีก่อน

        วันที่ 25 พฤษภาคม ร.ศ.๑๐๙ เสด็จโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งที่รัฐบาลมาลายูของอังกฤษจัดถวายจากปอร์ทเวลด์ ถึงไท้เผง ระยะทาง 8 ไมล์ และวันที่ 28 พฤษภาคม ร.ศ.๑๐๙ เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งจากกลังไปกัวลาลัมเปอร์ ระยะทาง 22 ไมล์ หยุดทอดพระเนตรการก่อสร้างสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำกวาลากลัง นับเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร กิจการรถไฟสหรัฐมลายูของอังกฤษ

หมัดเส้งชู

ข้อความในตอบกระทู้ที่ ๓๐ สัมปทานเส้นทางรถไฟจากสงขลาถึงเมืองไทรบุร... อันที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานบรมราชานุญาต ตั้งแต่ก่อนการเสด็จประพาสในครั้งนี้  แต่สัมปทานในเส้นทางสายนี้ก็ได้ถูกยกเลิกในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ร.ศ.๑๒๓  ถัดมาอีก ๔ ปี ไทยก็เสียกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิศให้กับอังกฤษ :'( :'( :'(

หมัดเส้งชู


หมัดเส้งชู

ดูท่าทางผมคงจะสับสนอีกแล้ว...เรื่องของปี (ศก) คงจะต้องขอแก้ไข...หลังจากเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประพาสในครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุมัติสัมปทานให้แก่มิสเตอร์ชาลส์ดันลอป ชาวอังกฤษ สร้างทางรถไฟจากสงขลาถึงไทรบุรีได้ตามที่เสนอขอพระราชทานมา โดยพระราชทานบรมราชานุญาตให้ทำสัญญาเมื่อ วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ.๑๐๙(พ.ศ.๒๔๓๔)

หมัดเส้งชู

การอัปปางของเรือเวสาตรี (เรือพระที่นั่งรอง)
พระชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ เรือที่ตามเสด็จ คือ เรือเวสาตรี พระยาวิสูตรสาครดิฐ (จอห์น บุช JOHN BUSH) เป็นผู้บังคับ การเรือ เรือที่ตามเสด็จอื่น ๆ คือ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ (ลำที่ ๑) "กัปตันลิงการ์ด (J.LINGARD) เป็นผู้บังคับการเรือบางกอก เรือเคพเคลียร์ (เป็นเรือสินค้าในบริษัทของพระองค์เจ้าสาย สนิทวงศ์)
        ในสมัยนั้น ไม่มีผู้บัญชาการกระบวนเรือ หรือผู้บังคับบัญชาหน่วยเรือต่างลำต่างมีผู้บังคับ การ ต่างเดินเรือ "โดยลำพัง" ตามกำลังเครื่องจักรของตนที่หมายที่จะเดินทางไปต้องนัดหมาย ก่อนออกเดินทาง การสื่อสารระหว่างลำต้องใช้เรือเล็กนำสาส์น (เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เพิ่งฝึกทัศนสัญญาณเมื่อพระองค์เสด็จกลับจากต่างประเทศ ใน พ.ศ.๒๔๔๓ หรืออีก ๑๐ ปีต่อมา)        เรือเวสาตรี ได้ไปเกยหินอัปางในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๓ ระหว่างเดินทางไปเข้า แม่น้ำกลัง
     
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เหตุการณ์สำคัญนี้ไว้ในเรื่อง "ระยะทางเสด็จประพาสทางบก ทางเรือรอบแหลมมลายู ร.ศ.๑๐๙" เล่ม ๒ ดังนี้
        "ออกเรือ (อุบลบุรทิศ-ผู้เขียน) จากเกาะดินดิง เวลาเช้า ๒ โมง กินข้าวเช้าแล้วนอน กลางวัน พอบ่ายตื่นขึ้นเขียนหนังสือตลอดทาง เวลาที่กะแต่เดิมว่าจะมาถึงแต่เย็น แต่เป็นการ ไปอย่างบาลูน เข้าช่องกังซาไปจนถึงข้างใน ทอดสมอระหว่างทางเวลายามเศษ"
        "ในค่ำวันนี้ เรือเวสาตรีก็ตามมาถึงที่ไลต์เฮาส์ แล่นหนีไลต์เฮาส์ไปเกยหินที่ริมนั้น ทุ่นเขา ก็มี เดินบุ่มบ่ามเอง แต่ซัดกันป่นไปว่า นำร่องบอกให้ไปทางโน้นเห็นว่าอย่างไร ก็เป็น ความผิดของพระยาวิสูตรทั้งนั้น"

        รายงานของพระยาวิสูตรสาครดิฐ เกี่ยวกับการอับปาง และการกู้เรือเวสาตรี
        เอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติแฟ้ม ต.๔๒/๑๖ มีรายงานของพระยาวิสูตรสาครดิฐ (จอห์น บุช) กล่าวถึง การแล่นไปเกยหินและความพยายามกู้เรือเวสตรี โดยละเอียด ซึ่งผู้เขียน ขอคัดลอกและแปลสรุปมาบางตอน ดังนี้ (รายงานเป็นภาษาอังกฤษทั้งฉบับ)
        "วันที่ ๒๖ พฤษภาคม เวลาเช้านำร่องชาวมาเลย์ชื่อ AHMET ซึ่งมาจากแม่น้ำกลัง พร้อมกับคนอื่น มาขึ้นเรือเพื่อนำเรือผ่านช่อง ถอนสมอจากเกาะดินดัง เดินเข็มต่าง ๆ ตามเรือ ที่แล่นไปข้างหน้า เวลา ๒๑๐๐ ไฟเกาะปูโลอังซา อยู่ตรงกราบเรือเรือเดินเข็ม ซอ. นำร่องสั่ง เปลี่ยนเข็มไปทางตะวันออกมากขึ้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ถาม ถึงความรู้และความชำนาญ เกี่ยวกับร่องนำร่องยืนยันว่า รู้ร่องน้ำและที่เรือดี น้ำทางด้านใต้ของร่องตื้นและมีโป๊ะมาก ระหว่างนี้ได้หยั่งน้ำด้วยดิ่งตลอดเวลา ความลึกของน้ำ ๖,๕,๗ ฟาธอม นำร่องจึงเปลี่ยนเข็มเป็น เซาท์บายเวสท์ พอเปลี่ยนเข็มเรือก็เกยหินด้วยความเร็ว ๖ นอตครึ่ง ก่อนเกยหินหยั่งน้ำได้ ๕ วา ๒ ศอก (เรือเวสาตรี กินน้ำลึกหัว ๘ ฟุต ท้าย ๑๑ ฟุต แสดงว่าได้แล่นขึ้นไปบนกองหิน เต็มลำ - ผู้เขียน) ได้ชักโคม ๓ ดวง ระหว่างเสา จุดไฟสีน้ำเงินยิงปืนใหญ่ทุก ๗ นาที หย่อน เรือโบตลงน้ำนำสมอกะไปยึดเรือและดึงสายสมอตึง"
        "กัปตันลิงการ์ด นำเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์เข้ามาใกล้ส่งเรือเล็กและเรือกลไฟผูกท้าย และจูง เรือหะเบสสมอกะช่วย แต่เรือเวสาตรีไม่เคลื่อนที่ น้ำยังไม่เข้าเรือ"...
http://www.navy.mi.th/navic/document/831001a.html

การเสด็จในครั้งนี้มีบันทึกด้วยว่าพระองค์...เสด็จประพาสต้น ราตรี แหลมมลายู
http://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.php?news_id=60694

Kungd4d


หมัดเส้งชู

เอาอะไรมาฝาก ยุคภาษาไทยวิบัติ ??? ??? ???

หมัดเส้งชู

วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๓ เวลาเช้าโมงเศษตรงปากน้ำสงขลาทอดเรือพระที่นั่ง เวลาเช้า ๕ โมงครึ่ง เสด็จพระราชดำเนิรลงเรือพระที่นั่งกรรเชียงไปประทับเสด็จขึ้นที่แหลมสะมีรา ทอดพระเนตรเขาวงก์ ซึ่งพระยาสุนทรานุรักษ์ พระอนันตสมบัติจัดทำขึ้นไว้เป็นที่ประพาสแห่งหนึ่ง แล้วเสด็จลงเรือพระที่นั่งไปประทับพลับพลาที่หน้าเมือง พระยาอภับบริรักษ์ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง แลกรมการมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกีบพระรัตนมนตรี พระสุรินทรวังศา ผู้ช่วยราชการเมืองสายก็มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย ประทับอยู่ที่พลับพลาจนเวลาบ่าย เสด็จพระราชดำเนิรตามทางตลาด แล้วเสด็จประทับวัดมัชฌิมาวาส แล้วเสด็จมาประทับพลับพลาครู่หนึ่ง แล้วเสด็จกลับลงเรือพระที่นั่งเวลาบ่าย ๔ โมงเศษ อนึ่งพระยาไทรบุรีแลพระยายุทธการโกศลได้ตามเสด็จพระราชดำเนิรมาถึงที่นี่ กราบถวายบังคมลากลับไปเมือง เดินทางบกจากเมืองสงขลาไปไทรบุรี เวลาทุ่มหนึ่งออกเรือพระที่นั่งอุบลบุรพทิศจากเมืองสงขลาฯฯ

ครับแล้วพรุ่งนี้เรามาดูไขปริศนา แหลมสมีร้า เขาวง และการผสมพันธุ์ช้าง...จากพระราชนิพนธ์ "ระยะทางเสด็จ"กัน

หมัดเส้งชู

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ร่วมรำลึก ๑ศตวรรษ สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง

หมัดเส้งชู

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ร่วมรำลึก ๑ ศตวรรษ สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง

หมัดเส้งชู

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ร่วมรำลึก ๑ ศตวรรษ สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง

หมัดเส้งชู

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ร่วมรำลึก ๑ ศตวรรษ สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง

ย่ำค่ำวันที่ ๒๓ ตุลาคม กระบวนแห่พระบรมศพซึ่งทรงพระยานมาศสามลำคาน เริ่มเคลื่อนจากหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยมีทหารบกยิงปืนใหญ่นาทีละนัด จนกระบวนถึงพระบรมมหาราชวัง ระหว่างอัญเชิญพระบรมศพนั้นฝนตกลงมาตลอด พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงพระนิพนธ์บรรยายพระราชพิธีครานี้ไว้ว่า


"....... แห่พระบรมศพเจ้า...จอมจักร

หวนระลึกนึกตระหนัก........เนตรแสร้ว

ฉนำฉนำภาพจำหลัก.........จารึก

สามสิบสี่ปีแล้ว................จิรไร้ใจลืมฯ ......



สามคานยานมาศเรื้อง.......จำรัส

นพปฎลเสวตรฉัตร...........เชิดกั้ง

พระโกษฐโรจนรัตน์.........ไรแอร่ม

ยังบ่เคยมีครั้ง.................อื่นให้ใครเห็นฯ



เสร็จเชิญพระศพไท้.........เถลิงอาศน์

ดุสิตมหาปราสาท............สุดเศร้า

จึ่งพระพิรุณสาด..............ฝนส่ง

ทึกท่วมถึงข้อเท้า............ท่องน้ำดำเนินฯ



ฝนดั่งฝนสั่งฟ้า...............ส่งรัชกาลที่ห้า

เสด็จเมื้อเมืองสวรรค์ฯ"



ในการพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีคณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพตลอดมา  กระทั่งถึงปลายปี ๒๔๕๓ คือ ในวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ก็มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง

(จากหนังสือ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" โดย นิกร ทัสสโร, ๒๕๔๙)


พระนิพนธ์ของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล จาก "ชุมนุมเรื่องน่ารู้" มาฝากกันอีกครับ ซึ่งอ่านดูแล้วบรรยากาศคล้ายคลึงกับที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้บรรยายไว้ในนวนิยายสี่แผ่นดิน ผิดกันแต่ว่า ในเรื่องนั้นเป็นแม่พลอย แต่ในเหตุการณ์นี้คือท่านหญิงพูนพิศมัยครับ

"... พวกราษฎรเอาเสื่อไปปูนั่งกินเป็นแถวตลอดสองข้างทาง จะหาหน้าใครที่มีแม้แต่ยิ้มก็ไม่มีสักผู้เดียว ทุกคนมีแต่เค้าน้ำตาไหลอย่างตกอกตกใจด้วยไม่เคยรู้รส อากาศมืดครึ้ม มีหมอกขาวลงจัดเกือบถึงหัวคนเดินทั่วไป ผู้ใหญ่เขาบอกว่า นี่แหละคือหมอกชุมเกตุ ที่ในตำราเขากล่าวถึงว่า มักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ่ๆ เกิดขึ้น ไม่ช้าก้ได้ยินเสียงปี่ในกระบวน เสียงเย็นใสจับใจมาแต่ไกลๆ แล้วได้ยินเสียงกลองรับเป็นจังหวะใกล้เข้ามาๆ ในความมืดเงียบสงัด ที่มืดเพราะต้องตัดสายไฟฟ้าบางตอนให้พระบรมโกศผ่านได้ และที่เงียบก็เพราะไม่มีใครพูดจากันว่ากระไร ...... เหลียวไปดูทางอื่นเห็นแต่แสงไฟจากเทียนที่จุดถวานสักการะอยู่ข้างถนนแว้บๆ ไปตลอด ในแสงเทียนนั้น มีแต่หน้าเศร้าๆ หรือปิดหน้าอยู่ เราหมอบลงกราบกับพื้นปฐพี พอเงยหน้าก็เห็นทหารที่ยืนถือปืนเอาปลายลงดิน ก้มหน้าลงบนปืนอยู่ข้างหน้าเราเป็นระยะทางไปตลอด ๒ ข้างถนนนั้น น้ำตาของเขากำลังหยดลงแปะๆ อยู่บนหลังมือของเขาเอง ทหารผู้อยู่ในยูนิฟอร์มอันแสดงว่ากล้าหาญ ยังร้องไห้เพราะเสียดายประมุขอันเลิศของเขา เสด็จพ่อตรัสเล่าว่า ได้โทรเลขไปตามหัวเมืองให้ระวังเหตุการณ์ในตอนเปลี่ยนแผ่นดิน ได้ตอบมาทุกทางว่า ภายใน ๗ วันแต่วันสวรรคตนั้น ไม่มีเหตุการณ์โจรผู้ร้ายเกิดขึ้นเลยสักแห่งเดียวในพระราชอาณาจักร ฉะนั้นจึงจะต้องเข้าใจว่า แม้แต่โจรก็ยังเสียใจหรือตกใจในการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวง พระปิยมหาราชของเรา....."


(คัดลอกจาก "สมเด็จพระปิยมหาราช (ร.๕)" โดย โพธิ์ ท่าขุนนาง อำนวยสาส์น ๒๕๓๒)

ขอขอบคุณสำหรับเจ้าของกระทู้
ประวัติช่วงสวรรคตของรัชกาลที่ ๕ : จากบันทึกต่างๆ
http://www.vcharkarn.com/vcafe/59535

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

หมัดเส้งชู

ครั้งที่ ๖
เสด็จสิงคโปร์และชวาอย่างเป็นทางการ รวมระยะเวลา ๓๘ วัน ระหว่างวันที่ ๙ มีนาคม ถึง ๑๕ เมษายน ร.ศ. ๑๑๕ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๙
การเสด็จในครั้งนี้มีพระราชนิพนธ์ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสิมา ปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ ครั้งหนึ่ง  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลปัจจุบัน) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าเหมวดีปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งการเสด็จในครั้งนี้ผมยังหาพระราชนิพนธ์อ่านยังไม่ได้เลย  มีปริศนาการเสด็จสงขลาที่เกี่ยวเนื่องกับรูปของการเสด็จเมืองสงขลาเมื่อครั้งที่แล้วในตอบกระทู้ที่ ๒๒ และ๒๔
ซึ่งผมระบุไว้ว่าน่าจะถ่ายในคราวนั้น(ปี พ.ศ.๒๕๓๓) แต่เมื่อดูในพระราชนิพนธ์ในครั้งนั้นแล้วไม่มีรายละเอียด...มีเพียงว่า...ขุนฉายาไปดูอีก ถ่ายรูปได้(รูปช้างผสมพันธุ์-ยังหารูปไม่เจอ)  พระราชดำเนินไปมัชฌิมาวาส และซื้อของจากหัวตลาดถึงท้ายตลาด จำนวนร้าน ๑๑๘ ร้าน

และเผอิญผมได้ตั้งกระทู้   สงขลา....มณฑลนครศรีธรรมราช...เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)
http://www.gimyong.com/board53/index.php?topic=22877.0
มีรูปพระวิจิตรวรสาสน์เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจการ ในคราวที่พระองค์เสด็จสงขลาก่อนที่จะมีการจัดตั้งมณฑล

ขอบคุณท่านกิมที่มาเก็บความรู้...ผมเองก็พลาดบ่อยหลายเรื่องที่เดียวต้องขออภัยด้วย :( :( :(