ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม

เริ่มโดย สายน้ำ, 20:49 น. 24 ก.ค 55

สายน้ำ

ขอเชิญร่วมทำบุญปฏิบัติธรรมเนื่องใน วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา  ระหว่างวันที่ 1-4 สิงหาคม 2555

ณ.สถานปฏิบัติธรรมสวนธรรมสากล  ซ. 41  ถ.เพชรเกษม  ต.ควนลัง  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา

เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แนวหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ  สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่

โทร. 074-255668 ,086-7873052

ตะวัน ตะวัน

 ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน
นั้นใช่ดอกเข้าพรรษาหรือเปล่า สวยดีขอรับ
ส.โขกกำแพง

ฟ้าเปลี่ยนสี

ขอตอบแทนคุณสายน้ำ น่ะครับ  ส.หัว

ใช่ครับ ดอกเข้าพรรษา หรือ หงส์เหิน ครับท่าน  ต่อยอดนิดหนึ่ง มีรายละเอียดดังนี้

ดอกไม้เข้าพรรษา หรือ หงส์เหิน

[attach=1]

[attach=2]

เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษาของแต่ละปี  จะมีดอกไม้ชนิดหนึ่ง  ออกดอกสีขาวเป็นช่อเล็กๆ    ถ้าดอกนั้นอยู่กับต้นก็จะดูธรรมดาไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร
แต่เมื่อมีคนคิดสร้างสรรนำดอกไม้นี้มาจัดรวมกันเป็นชั้นๆ คล้ายบายศรี ก็ดูสวยงามแปลกตา ไถ่ถามกันพึมพำว่า "ดอกอะไร" แปลกดี ดอกไม้ที่ว่านี้  เรียกกัน
ว่า "หงส์เหิน" หรือ ดอกเข้าพรรษา  เพราะจะออกดอกในช่วงเข้าพรรษาพอดี คือ ระหว่าง พฤษภาคม - ตุลาคม  อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก)   กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน)  กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่)   ก้ามปู (พิษณุโลก)   ขมิ้นผี หรือกระทือลิง (ภาคกลาง)   ว่านดอกเหลือง (เลย)
ดอกเข้าพรรษา (สระบุรี)  ที่เรียกว่า "หงส์เหิน" เพราะดอกและเกสรจะมีลักษณะเหมือนตัวหงส์  กำลังจะบิน มีลีลาสง่างาม มีกลีบประดับเรียงตมามช่อดอก

[attach=3]

แหล่งกำเนิด
                หงส์เหิน (Globba  winiti)  เป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่เกิดในป่าร้อนชื้น  ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่  หรือขึ้นอยู่ตามชายป่า    ซึ่งในป่าเมืองไทยมีพืช
สกุล Globba ขึ้นกระจายอยู่ทุกภาค อาจมีมากถึง 40 ชนิด จากการสำรวจพบว่า แถบภาคเหนือและภาคกลาง มีความหลากหลายของพันธุ์สูงกว่าภาคอื่นๆ
แต่ยังไม่มีการศึกษาทบทวนด้านอนุกรมวิธาน  สำหรับพื้นที่บริเวณภาคเหนือรายงานว่าพบ Globba  3 ช นิด  คือ G.nuda,  G.purpurascens  และ
G.reflexa  บริเวณป่าทิศตะวันออกดอยสุเทพ  นอกจากนี้  พบ G. reflexa  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  "ดอกคำน้อย"   ขึ้นตามทุ่งหญ้าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ใน
ภาคเหนือ    ตั้งแต่ระดับความสูง 700 - 1,000 เมตร    สำหรับ G.nuda    พบในป่าผลัดใบ  สำหรับ G.pupurascens.  นี้จะสร้างหัวเล็กๆ (bulbil) ที่โคนกลีบเลี้ยงและราก  จะงอกในขณะที่อยู่บนช่อ  เมื่อหัวเล็กๆ นั้นโตเต็มที่ยังสำรวจพบ  G.clarkel, G.obscura, G.platystachya.  G.purpur-
ascens  และ G.reflexa  ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อีกด้วย สำหรับ G.winitil   หรือหงส์เหิน เป็นพันธุ์ที่มีกลีบประดับขนาดใหญ่สีม่วงเข้ม
และยังมีพันธุ์ที่มีกลีบประดับสีขาว  ซึ่งได้มีการนำไปปลูกประดับแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                หงส์เหินเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์  Zingiberaceae  และอยู่ใน Genus Globba   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ
                ต้น   หงส์เหิน   เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวใต้ดิน  ประเภทเหง้าแบบ Rhizome  มีรากสะสมอาหารลักษณะอวบน้ำคล้ายรากกระชาย  เรียงอยู่โดย
รอบหัว  และส่วนของลำต้นเหนือดิน  คือ  กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น  ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน มักเกิดเป็นกลุ่มกอ  สูงประมาณ 30-70 ซม.
                ใบ   เป็นใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาว รูปใบหอกคล้ายใบกระชาย  แต่มีขนาดเล็กกว่าออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน  ขนาดของ
ใบกว้างประมาณ 10 x 25 ซม.
                ดอก   ดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม  ช่อจะโค้ง  และห้อยตัวลงอย่างอ่อนช้อยสวยงาม     มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบ
ประกอบด้วยดอกจริง 1-3 ดอก   สีเหลือง   สดใสแต่จะมีกลีบประดับ (bract)    ที่แตกต่างกันหลายรูปทรง  และหลายสีจาก globba   ที่รวบรวมไว้มี 2
ชนิด คือ G.winitil และ g.schomburgkil ซึ่งจะมีลักษณะของช่อดอกและกลีบประดับแตกต่างกันคือ
                - G.winitil  จะมีกลีบประดับขนาดใหญ่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบสวยงามตามช่อ โดยรอบจากโคนถึงปลาย  สีของกลีบประดับที่พบมีหลายสี
ได้แก่  สีขาว สีม่วง สีเขียว  และสีแดง  มีก้านดอกย่อยยาวชูดอกออกมาเห็นชัดเจน   ดอกจริงมีสีเหลืองลักษณะคล้ายรูปตัวหงส์ยืน  กำลังจะเหินบิน    มีลีลา
สง่างามทำให้ช่อดอกมีสีสันสวยงามมากขึ้น  ช่อดอกยาวประมาณ 10 - 20 ซม.
               - G.schomburgkil  จะมีใบประดับสีเขียวอ่อนไม่สะดุดตาแต่ให้ช่อดอกที่มีดอกจริงสีเหลืองสดใส จะเรียงตัวถี่ ลักษณะพิเศษของ Globba
ประเภทนี้ คือ ช่อดอกมักมีหัวเล็กๆ  ลักษณะคล้ายเมล็ดมะละกอสีเขียวอยู่ที่โคนกลีบเลี้ยง   และจะงอกราก ในขณะที่อยู่บนช่อเมื่อหัวเล็กๆ  นั้นโตเต็มที่  ซึ่ง
สามารถนำไปขยายพันธุ์เป็นต้นใหม่ได้  หงส์เหิน เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน จากนั้นจะพักตัวในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน ซึ่งต้น
เหนือดินจะยุบแห้งไปเหลือไว้เพียงหัวที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน  และจะงอกใหม่ในช่วงฤดูฝนต่อไป

[attach=4]   [attach=5]

[attach=6]   [attach=7]

แล้วดอกเข้าพรรษา เกี่ยวข้องกับวันเข้าพรรษาอย่างไร

ตามความเชื่อของชาวพุทธ การตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง โดยปรากฏตามพุทธตำนานว่า พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายมาลาการนำดอกมะลิสดมาถวายถึง วันละ 8 กำมือ วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาตร นายมาลาการสังเกตเห็นพรรณรังสีฉายประกายรอบๆ พระวรกาย ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์อย่างยิ่ง นายมาลาการตัดสินใจนำดอกมะลิที่มีไปถวายแด่พระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่าข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแก่พระพุทธองค์ สร้างอานิสงส์ได้ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม ครั้นภรรยานายมาลาทราบความ ก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร ก็หลบหนีออกจากบ้านไป แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก และได้ปูนบำเหน็จรางวัล ความดีความชอบแก่นายมาลาการ นับแต่นั้นมาชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข

[attach=8]

ชาวอำเภอพระพุทธบาทได้ยึดถือประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญที่อยู่คู่กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้านาน และปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี โดยกำหนดเอาวันเข้าพรรษาคือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปีเป็นวันประเพณีตักบาตรดอกไม้ ในวันนั้น หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์เดินรับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชนแล้ว จะนำดอกไม้ไปสักการะ "รอยพระพุทธบาท" พระเจดีย์จุฬามณี อันเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไปสักการะพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ระหว่างที่พระภิกษุเดินลงจากพระมณฑปนั้น พุทธศาสนิกชนก็จะนำเอาน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งถือว่าน้ำที่ได้ชำระล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์นั้นเสมือนหนึ่งได้ชำระล้างบาปของตนด้วย

ระหว่างวันเข้าพรรษาจะมีดอกไม้สีเหลืองชนิดหนึ่งขึ้นตามไหล่เขาโพธิ์ลังกาหรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุใกล้ๆ กับรอยพระพุทธบาท และเป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาจัดเป็นช่อใส่บาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษา นอกจากจะออกดอกในช่วงวันเข้าพรรษาแล้ว ใบประดับที่ทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นกีบดอกจะมีสีขาวตรงกับสีของพุทธศาสนาและดอกที่มีสีเหลืองซึ่งตรงกับสีของพระสงฆ์อีกด้วย ชาวบ้านจึงเรียกชื่อดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเข้าพรรษา"

อนุโมทนา ครับ  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

nig (นิ)

นำภาพ วันอาสาฬหบูชา สวนธรรมสากลมาให้ชมกันค่ะ 2-8-2012

สายน้ำ

อนุโมทนาบุญด้วยน่ะค่ะ