ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

..สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง..

เริ่มโดย ฟานดี้, 15:37 น. 26 ก.ค 55

ฟานดี้

ข้อมูลจาก DATASHEET ของน้ำมันเครื่อง  บอกอะไร? โดยหลักๆ จะดูอยู่ 2 ค่าครับ

- Vicosity Index (VI)  ค่านี้ ยิ่งมาก แสดงว่า ฟิล์มน้ำมันมีความแข็งแรงทนทานเมื่อได้รับภาระมากๆ
- Viscosity @ 100 oC, cSt  เป็นการวัดแรงต้านของน้ำมันเครื่องที่ 100c ซึ่ง

น้ำมันเครื่อง SAE 30 จะมีค่า 9.3 - 12.5
น้ำมันเครื่อง SAE 40 จะมีค่า 12.5  - 16.3
น้ำมันเครื่อง SAE 50 จะมีค่า 16.3  - 21.9

Viscosity @ 100 oC, cSt น้อย มีแรงต้านน้อย โดยทั่วๆไป จะเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องใส
Viscosity @ 100 oC, cSt มาก มีแรงต้านมาก โดยทั่วๆไป จะเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องหนืด

โดยทั่วไป การผลืตน้ำมันเครื่องที่มีแรงต้านต่ำ Viscosity @ 100 oC, cSt น้อยๆ
จะได้น้ำมันเครื่องที่ มี VI ไม่สูงมาก (เนื่องจากต้นทุนในการผลิต)

ในทางกลับกัน น้ำมันเครื่องที่มี VI มากๆ มักจะมีแรงต้าน น้ำมันเครื่องเพิ่มขึ้นมา ซึ่งก้อคือหนืดมากขึ้น
อย่างที่เราเข้าใจกันครับ


ILSAC ย่อมาจาก INTERNATIONAL LUBRICANT STANDARDIZATION
AND APPROVAL COMMITTEE

Jointly developed and approved by
Japan Automobile Manufacturers Association, DaimlerChrysler Corporation,
Ford Motor Company and General Motors Corporation.

กำหนดเงื่อนไขของน้ำมันเครื่องออกมา มีข้อทดสอบมากมาย สรุปสุดท้าย จะเน้นในเรื่องการประหยัดเชื่อเพลิง
โดยประกาศมาตรฐานออกมา ดูง่าย
GF-1,GF-2,GF-3, และ GF-4 เป็นระดับสูงสุดในปัจจุบันครับ

เมื่อเข้าใจแล้ว ลองเปรียบเทียบข้อมูลด้ายล่างได้เลยครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

PTT Performa Super Synthetic SAE 0W-40
Viscosity @ 100 oC, cSt === 12.7 อัตราการไหลของน้ำมันดีที่สุดในกลุ่มน้ำมันเครื่อง เบอร์ 40
ถ้าต่ำกว่า 12.5 จะเป็น น้ำมันเบอร์ 30
Viscosity Index === 183
Cold-cranking Simulator, @ -35 oC, cP === 5,890
Flash Point , (COC) ,oC === 220
Pour Point , oC === -54
Color === -


เปรียบเทียบ
Mobil1 กระป๋องทอง 0W-40
SAE Grade 0W-40
cSt @ 100º C  === 14.3
Viscosity Index, ASTM D 2270 ===187
Pour Point, ºC, ASTM D 97  === -54
Flash Point, ºC, ASTM D 92 === 236
Density @15º C kg/l, ASTM D 4052 === 0.855

เปรียบเทียบ
Castrol EDGE 0W-40 รุ่นใหม่ล่าสุด
SAE Grade 0W-40
cSt @ 100º C  === 13.5
Viscosity Index, ASTM D 2270 ===169
Pour Point, ºC,   === -54
Flash Point, ºC,  === 212

เปรียบเทียบ
Castrol EDGE 5W-30 รุ่นใหม่ล่าสุด
SAE Grade 5W-30
cSt @ 100º C  === 12.0 น้ำมันเบอร์ 30 จะประมาณนี้
Viscosity Index, ASTM D 2270 ===165 ความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมันต่ำกว่าค่อนข้างมาก
Pour Point, ºC  === -38

Total Quartz 9000 SM
SAE GRADE   5W-30
Viscosity at 100°C === 12.01
Viscosity Index === 163
Pour Point ===  -36
Flash Point ===  227

Total Quartz 9000 SM
SAE GRADE 10W-50
Viscosity at 40°C === 115
Viscosity at 100°C === 17.18
Viscosity Index === 163
Pour Point === -36
Flash Point  === 230

Valvoline SynPower
SAE GRADE 5W-30
Viscosity at 40°C === 61.72
Viscosity at 100°C === 10.9
Viscosity Index === 157
Pour Point === -48
Flash Point  === 242

-----------------

ปล. ข้อมูลนี้ต้องนำไปพิสูจน์อีกที เพราะมาจากแหล่งที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
แต่น่าจะพอเป็นแนวทางในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ

....การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์ แต่ละประเภท แต่ละภูมิอากาศ และสภาพของเครื่องยนต์มีปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อดังนี้...
...1.ค่าความหนืด หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่อง
...2.เกรดของน้ำมันเครื่อง
...3.มาตรฐานของน้ำมันเครื่อง

....เบอร์น้ำมันเครื่อง (เบอร์ 0 – 60)...
...การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (Number) เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ

....ค่า W คืออะไร ...
น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

รวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ วรพล สิงห์เขียวพงษ์

น้ำมันเครื่องมีความสำคัญต่อความทนทานและกำลังของเครื่องยนต์ จำเป็นต้องมีการเลือกและใช้อย่างมีหลักการ แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิด
บทความนี้รวบรวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง

-เน้นแค่ยี่ห้อดัง
หลายคนซื้อน้ำมันเครื่องโดยเน้นเลือกยี่ห้อเดียวกับที่มีปั๊มน้ำมัน
เพราะคิดว่าจะมีคุณภาพดี ตามความโด่งดังของยี่ห้อ ทั้งที่ในยี่ห้อเดียวก็มีให้เลือกหลายระดับคุณภาพ
ความจริงแล้วมีน้ำมันเครื่องคุณภาพดีอีกนับสิบยี่ห้อ ที่ไม่มีปั๊ม น้ำมันในไทย และจำหน่ายในราคาไม่แพง
ไม่ควรเห็นแค่ยี่ห้อแล้วเลือกใช้ ต้องดูที่เกรดคุณภาพตามมาตรฐานของ API (www.api.org) ในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุไว้ข้างกระป๋อง จำไม่ยากเลย เครื่องยนต์เบนซิน เกรดคุณภาพสูงสุด API SL รองลงมาคือ SJ SH SG ตามลำดับ
ปัจจุบันนี้ API SL และ SJ น่าใช้ที่สุด   (สงสัยบทความนี่จะเก่าหน่อย ตอนนี้ สูงสุด เป็น SM แล้ว)
ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล เกรดคุณภาพสูงสุด API CI-4 รองลงมาคือ CH-4 CG CF ตามลำดับ ปัจจุบันนี้ API CI-4 และ CH-4 น่าใช้ที่สุด
น้ำมันเครื่องยิ่งมีเกรดคุณภาพต่ำ ก็ยิ่งมีราคาถูก และลดการปกป้องเครื่องยนต์ลงไป ควรเลือกเกรดคุณภาพอย่างน้อยรองจากสูงสุด
นอกจากนั้นยังต้องดูความหนืดตามมาตรฐานของ SAE (www. sae.org) สหรัฐอเมริกา ว่าเลข 2 ตัวท้าย เช่น 30 40 หรือ 50 ตรงตามการแนะนำในคู่มือประจำรถหรือไม่ โดยไม่ต้องสนใจตัวเลขหน้า W เพราะนั่นเป็นค่าที่ได้การวัดความหนืดที่18 องศาเซลเซียสไม่ใช่สภาพของไทย
ชนิดของน้ำมันเครื่องก็ต้องสนใจ ธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์ ดีจากน้อยมามากตามลำดับ
เลือกยี่ห้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องเลือกเกรดคุณภาพ ระดับความหนืด และชนิด ให้ครบครัน

-ดูแค่ข้างกระป๋องว่า เบนซิน/ดีเซล
ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อหลายรุ่น นอกจากจะระบุรายละเอียดอื่นๆ ข้างต้นไว้ครบครันแล้ว ก็อาจจะมีประโยคบอกเพิ่มว่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล หรือเหมาะทั้ง 2 อย่างเลย หลายคนเห็นประโยคนั้นก็เลือกใช้ โดยไม่ได้สนใจดูว่ามีเกรดคุณภาพตาม API เป็นอย่างไร
จริงๆ แล้ว ไม่ต้องระบุเพิ่มก็ได้ เพราะเกรดคุณภาพตามท้ายตัวย่อ API ก็มีระบุไว้อยู่แล้วว่าใช้กับเครื่องยนต์ประเภทใดได้ดีเพียงไร และบางครั้งระบุว่าเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน แต่มีมาตรฐานแค่ API SH ห่างจากมาตรฐานสูงสุดตั้ง 2 ระดับก็ยังมี

-หมดสภาพเพราะดำ หรือนิ้วแตะ
น้ำมันเครื่องที่ดำ อาจเป็นเพราะมีสารชะล้างที่ดี หรือภายในเครื่องยนต์สกปรก และเมื่อดำแล้ว คุณสมบัติอื่นๆ เช่น การหล่อลื่น การลดความร้อน รวมถึงการชะล้างเอง อาจไม่ได้หมดลงตามสีที่เปลี่ยนไป
บางคนใช้นิ้วแตะๆ น้ำมันเครื่องจากก้านวัด แล้วตัดสินว่าหมดอายุ หรือยัง ในความเป็นจริง หากจะทราบว่าน้ำมันเครื่องหมดอายุหรือยัง จะต้องนำน้ำมันเครื่องนั้นเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ไม่งั้นก็ต้องตัดสินจากระยะทางหรืออายุที่ใช้งานตามที่ปฏิบัติกัน จะเดาจากสีหรือความเหนียวหลังจากแตะกับปลายนิ้วไม่ได้

-กลัวปลอม ซื้อในปั๊ม
มีคำถามคาใจว่า ดูน้ำมันเครื่องปลอมได้อย่างไร? คำตอบก็คือ ตัวเนื้อน้ำมันเครื่องต้องส่งเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะชิม ดม แตะไม่ได้
นอกนั้นต้องดูที่ตัวกระป๋องว่ามีสภาพปกติ มีสีสันปกติ รวมถึงฝาปิดมีการซีลตามที่คุ้นเคยหรือไม่
แน่นอนว่ามีน้ำมันเครื่องปลอมอยู่ในตลาดอยู่ไม่น้อย จึงต้องระวัง แต่ถ้าจะซื้อตามปั๊มเท่านั้นก็จะมีราคาแพง เสียโอกาสเลือกน้ำมันเครื่องตาม ร้านทั่วไป ที่มีสารพัดยี่ห้อ และก็ไม่ได้ปลอมไปทั้งหมด

-ต้องเต็มขีดบนเสมอ
หลายคนเน้นว่าเครื่องยนต์ต้องมีน้ำมันเครื่องเต็มขีดบนเสมอ ในความเป็นจริง เครื่องยนต์จะสามารถทำงานได้ปกติ หากระดับน้ำมันเครื่อง อยู่ในช่วงขีดบนและล่าง ไม่จำเป็นต้องเต็มขีดบนเท่านั้น
ถ้าเติมครั้งใหม่ เติมให้เต็มขีดบนก็ดี แต่ถ้าผ่านการใช้งานมาแล้ว อีกไม่นานจะครบกำหนดเปลี่ยน และน้ำมันพร่องลงไปบ้าง หากยังไม่ต่ำกว่าขีดล่างสุด ก็ไม่จำเป็นต้องเติมเพิ่มให้สิ้นเปลือง
ยกเว้นกรณีขึ้นลงทางลาดชันมากบ่อยๆ น้ำมันเครื่องควรเต็มขีดบนอยู่เสมอ เพราะผิวน้ำมันจะเอียงไม่ได้ระดับขนานกับขอบอ่างน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ

-เปลี่ยนบ่อยไว้ก่อน
น้ำมันเครื่องยุคใหม่มีคุณภาพและความทนทานขึ้น แต่หลายคนยังเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดดั้งเดิม 3,000-5,000 กิโลเมตร ด้วยแนวคิดปลอดภัยไว้ก่อน ห่วงเครื่องยนต์ แต่เปลืองเงินไม่สน สบายใจเข้าว่า
ในความเป็นจริง น้ำมันเครื่องทุกชนิด ไม่เฉพาะแต่สังเคราะห์ ถ้าเป็นเกรดคุณภาพตาม API 2-3 ระดับสูงๆ สามารถใช้งานได้เป็นระยะทาง 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าการจราจรติดขัดมาก รวมถึงมีฝุ่นในเส้นทางเยอะ ก็ค่อยลดระยะทางลงมาจากเดิมสัก 1,000-2,000 กิโลเมตร
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเร็วเกินไป นอกจากสิ้นเปลืองเงินแล้วยังเป็น การเพิ่มขยะพิษให้กับโลกอีกด้วย แม้จะมีการนำน้ำมันเครื่องเก่าไปรีไซเคิล กับงานอื่น แต่สำหรับในไทย ต้องถือว่าการป้องกันน้ำมันเครื่องเก่าไม่ให้กระจายสู่ธรรมชาติเป็นไปอย่าง ไม่รัดกุมเลย

-น้ำมันราคาถูก เปลี่ยนเร็ว
หลายคนคิดว่า เสียเงินน้อยซื้อน้ำมันราคาถูก แล้วเปลี่ยนบ่อยๆ จะดีกว่า ในความเป็นจริง การสึกหรอจะเกิดขึ้นได้ทันทีที่เครื่องยนต์ทำงาน เมื่อน้ำมันเครื่องนั้นไหลเวียนในครั้งแรกและตลอดไปจนกว่าจะถ่ายออก ถ้าฝืดก็ฝืดไปตลอด ถ้าลื่นก็ลื่นไปตลอด
ดังนั้นเสียเงินซื้อน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงราคาแพงสักหน่อย แต่ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยให้เสียเวลาจะดีกว่า

-รถไม่แพง ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกหรือคุณภาพต่ำ
ถ้าเครื่องยนต์ปกติดี ไม่กินน้ำมันเครื่อง จะเป็นรถราคาแพงถูก-แพง เก่า-ใหม่ ก็ควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดี และเปลี่ยนตามกำหนดที่เหมาะสม เครื่องยนต์จะได้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและทนทาน
ความเข้าใจผิดถูกลบล้างได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติม และคิดทบทวนด้วยหลักวิทยาศาสตร์


ทิ้งน้ำมันเครื่องเก่าและเก็บน้ำมันเครื่องใหม่อย่างไร?
โดย ผู้จัดการออนไลน์ วรพล สิงห์เขียวพงษ์
น้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมลพิษหรือขยะของโลกเราในหลายด้าน การถ่ายน้ำมันเครื่องออก ทั้งที่น้ำมันเครื่องยังไม่หมดสภาพ ทั้งจากการหวาดระแวงไปเองหรือกลัวเครื่องยนต์โทรม เร็ว เช่น เปลี่ยนที่ 3-5 พันกิโลเมตร ทั้งที่น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ ตามเอพีไอสูงๆ ในปัจจุบันนี้สามารถใช้งานได้ในระดับ 1 หมื่นกิโลเมตรได้อย่างสบาย
น้ำมันเครื่องใช้แล้วในโลกนี้ ไม่ได้ถูกกำจัดอย่างมีระบบที่รัด กุมเสมอไปในประเทศที่เจริญแล้วมักมีการจัดการไม่ให้เป็นพิษแก่โลก แต่ในประเทศเล็กๆ อย่างไทย ไม่ถือว่ามีความรัดกุมในเรื่องนี้ แต่อย่างไร
การกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วที่ถูกต้อง คือ ไม่ทิ้งลงในธรรมชาติ พื้นดิน ท่อระบายน้ำ คูคลองแม่น้ำ เพราะการย่อยสลาย จะเป็นไปอย่างช้ามาก การใส่กระป๋องแล้วปิดแน่นทิ้งในขยะ ก็น่าจะแตกรั่วผสมไปกับขยะอื่น เพราะพนักงานไม่ได้สนใจจะจัดการอย่างถูกต้อง บางคนกลับไปสนใจขยะที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้
ผมไม่ถือว่าไทยมีระบบการจัดการน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้ดี ต่างจากบางประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดเลยว่าภาชนะที่ใส่น้ำมันเครื่องใช้แล้วต้องมีความชัดเจน มีกระป๋องขาย ต้องเสียเงินซื้อกระป๋องมาอีก ใส่ในกระป๋องน้ำมันเครื่องปกติไม่ได้ หรือได้ แต่ก็ต้องเขียนระบุไว้อย่างชัดเจน หากจะให้พนักงานเก็บขยะจัดเก็บไป
การกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วด้วยการนำไปหมุนเวียนใช้ใหม่หลังจากปรับสภาพ แล้วเป็นเรื่องที่ดี คือ นำไปกรองและไปฟอกสี แล้วนำไปใช้กับเครื่องจักรกลเล็กหมุนรอบต่ำ โดยจะมีคนมารับซื้อจากอู่ต่างๆ ในราคาลิตรละไม่กี่บาท อู่ทั่วไปจึงมีการเก็บน้ำมันเครื่องใช้แล้วรวบรวมไว้รอการขายต่อ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องทำลายสิ่งแวดล้อม แต่จะน่ากังวลกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามบ้าน เพราะไม่รู้จะทิ้งที่ไหน และปริมาณก็ไม่มากพอที่จะมีใครมารับซื้อ หากห่วงเรื่องมลพิษก็ให้ใส่กระป๋องไปให้ตามอู่ เขายินดีที่จะรวบรวมให้อยู่แล้ว
ส่วนน้ำมันเครื่องใหม่ที่เติมแล้วเหลือ การจัดเก็บไม่ยาก ให้ปิดฝากระป๋องให้แน่น หากซ้อนด้วยถุงพลาสติกที่ปากกระป๋องก่อน ปิดฝาก็ยิ่งดี เพื่อไม่ให้ความชื้นเล็ดลอดเข้าไปได้ง่าย วางในที่ร่มไม่ร้อนไม่ชื้นไม่โดนน้ำ เก็บไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ในทางที่ดีควรรีบใช้ให้เร็วที่สุด เพราะถึงไม่ได้ใช้งาน น้ำมันเครื่องก็เสื่อมสภาพเองได้ ไม่ใช่เก็บไว้ได้เป็นสิบๆ ปีแต่อย่างไร
ถ้าใช้น้ำมันเครื่องยี่ห้อและรุ่นเดิมตลอด ก็ให้นำส่วนที่เหลือในครั้งก่อนเติมลงไป แล้วค่อยเติมน้ำมันเครื่องใหม่ให้ได้ระดับ ส่วนที่เหลือก็เก็บไว้ตามที่แนะนำ ก็จะมีน้ำมันเครื่องใหม่ๆ เหลือเก็บไว้ไม่นานจนเกินไป




PoPoz

ความรู้แน่นดีจริงๆท่าน มาคล้ายๆวิชา Fluid Mechanics เลยท่านน  ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

แนะนำไม่ได้โฆษณา

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % ของบางจากครับ ขนาดน้ำมันเครื่องเหลืออยู่ในเครื่องยนต์ Turboไม่เยอะเนื่องจากแหวนลูกสูบสึกหร่อ สภาพภายในเครื่องยนต์ยังปกติไม่เสียหาย ยอมรับคุณภาพของน้ำมันเครื่องยนต์บางจากจริงๆ ไม่ได้เป็นเซลส์หรือร้านจำหน่ายและปั๊มนะครับ เป็นแค่คนชอบความแรงกับเครื่องยนต์โมดิฟาย เลยมาบอกต่อของดีมีคุณภาพของคนไทย ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

MadMeng@gurUFOrd

อ่านจบแล้ว เหมือนครูตรวจการบ้านเลย ตอบได้คำเดียว ถูกทุกข้อ

เน้นๆโดยเฉพาะวิธีการกำจัดน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ที่หลายๆคนไม่รู้

ขอบคุณมากๆครับ สำหรับข้อมูลวิชาการดีดี ที่เอามาแชร์กัน ครับ
รับอุดEGR + Ground Wire + Volt stabilizer รถทุกชนิด // ชมผลงานได้ที่ลิ้งค์นี้ครับ

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000851301866

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: ฟานดี้ เมื่อ 15:37 น.  26 ก.ค 55
ข้อมูลจาก DATASHEET ของน้ำมันเครื่อง  บอกอะไร? โดยหลักๆ จะดูอยู่ 2 ค่าครับ

- Vicosity Index (VI)  ค่านี้ ยิ่งมาก แสดงว่า ฟิล์มน้ำมันมีความแข็งแรงทนทานเมื่อได้รับภาระมากๆ
- Viscosity @ 100 oC, cSt  เป็นการวัดแรงต้านของน้ำมันเครื่องที่ 100c ซึ่ง

น้ำมันเครื่อง SAE 30 จะมีค่า 9.3 - 12.5
น้ำมันเครื่อง SAE 40 จะมีค่า 12.5  - 16.3
น้ำมันเครื่อง SAE 50 จะมีค่า 16.3  - 21.9

Viscosity @ 100 oC, cSt น้อย มีแรงต้านน้อย โดยทั่วๆไป จะเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องใส
Viscosity @ 100 oC, cSt มาก มีแรงต้านมาก โดยทั่วๆไป จะเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องหนืด

โดยทั่วไป การผลืตน้ำมันเครื่องที่มีแรงต้านต่ำ Viscosity @ 100 oC, cSt น้อยๆ
จะได้น้ำมันเครื่องที่ มี VI ไม่สูงมาก (เนื่องจากต้นทุนในการผลิต)

ในทางกลับกัน น้ำมันเครื่องที่มี VI มากๆ มักจะมีแรงต้าน น้ำมันเครื่องเพิ่มขึ้นมา ซึ่งก้อคือหนืดมากขึ้น
อย่างที่เราเข้าใจกันครับ


ILSAC ย่อมาจาก INTERNATIONAL LUBRICANT STANDARDIZATION
AND APPROVAL COMMITTEE

Jointly developed and approved by
Japan Automobile Manufacturers Association, DaimlerChrysler Corporation,
Ford Motor Company and General Motors Corporation.

กำหนดเงื่อนไขของน้ำมันเครื่องออกมา มีข้อทดสอบมากมาย สรุปสุดท้าย จะเน้นในเรื่องการประหยัดเชื่อเพลิง
โดยประกาศมาตรฐานออกมา ดูง่าย
GF-1,GF-2,GF-3, และ GF-4 เป็นระดับสูงสุดในปัจจุบันครับ

เมื่อเข้าใจแล้ว ลองเปรียบเทียบข้อมูลด้ายล่างได้เลยครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

PTT Performa Super Synthetic SAE 0W-40
Viscosity @ 100 oC, cSt === 12.7 อัตราการไหลของน้ำมันดีที่สุดในกลุ่มน้ำมันเครื่อง เบอร์ 40
ถ้าต่ำกว่า 12.5 จะเป็น น้ำมันเบอร์ 30
Viscosity Index === 183
Cold-cranking Simulator, @ -35 oC, cP === 5,890
Flash Point , (COC) ,oC === 220
Pour Point , oC === -54
Color === -


เปรียบเทียบ
Mobil1 กระป๋องทอง 0W-40
SAE Grade 0W-40
cSt @ 100º C  === 14.3
Viscosity Index, ASTM D 2270 ===187
Pour Point, ºC, ASTM D 97  === -54
Flash Point, ºC, ASTM D 92 === 236
Density @15º C kg/l, ASTM D 4052 === 0.855

เปรียบเทียบ
Castrol EDGE 0W-40 รุ่นใหม่ล่าสุด
SAE Grade 0W-40
cSt @ 100º C  === 13.5
Viscosity Index, ASTM D 2270 ===169
Pour Point, ºC,   === -54
Flash Point, ºC,  === 212

เปรียบเทียบ
Castrol EDGE 5W-30 รุ่นใหม่ล่าสุด
SAE Grade 5W-30
cSt @ 100º C  === 12.0 น้ำมันเบอร์ 30 จะประมาณนี้
Viscosity Index, ASTM D 2270 ===165 ความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมันต่ำกว่าค่อนข้างมาก
Pour Point, ºC  === -38

Total Quartz 9000 SM
SAE GRADE   5W-30
Viscosity at 100°C === 12.01
Viscosity Index === 163
Pour Point ===  -36
Flash Point ===  227

Total Quartz 9000 SM
SAE GRADE 10W-50
Viscosity at 40°C === 115
Viscosity at 100°C === 17.18
Viscosity Index === 163
Pour Point === -36
Flash Point  === 230

Valvoline SynPower
SAE GRADE 5W-30
Viscosity at 40°C === 61.72
Viscosity at 100°C === 10.9
Viscosity Index === 157
Pour Point === -48
Flash Point  === 242

-----------------

ปล. ข้อมูลนี้ต้องนำไปพิสูจน์อีกที เพราะมาจากแหล่งที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
แต่น่าจะพอเป็นแนวทางในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ

....การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์ แต่ละประเภท แต่ละภูมิอากาศ และสภาพของเครื่องยนต์มีปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อดังนี้...
...1.ค่าความหนืด หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่อง
...2.เกรดของน้ำมันเครื่อง
...3.มาตรฐานของน้ำมันเครื่อง

....เบอร์น้ำมันเครื่อง (เบอร์ 0 – 60)...
...การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (Number) เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ

....ค่า W คืออะไร ...
น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

รวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ วรพล สิงห์เขียวพงษ์

น้ำมันเครื่องมีความสำคัญต่อความทนทานและกำลังของเครื่องยนต์ จำเป็นต้องมีการเลือกและใช้อย่างมีหลักการ แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิด
บทความนี้รวบรวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง

-เน้นแค่ยี่ห้อดัง
หลายคนซื้อน้ำมันเครื่องโดยเน้นเลือกยี่ห้อเดียวกับที่มีปั๊มน้ำมัน
เพราะคิดว่าจะมีคุณภาพดี ตามความโด่งดังของยี่ห้อ ทั้งที่ในยี่ห้อเดียวก็มีให้เลือกหลายระดับคุณภาพ
ความจริงแล้วมีน้ำมันเครื่องคุณภาพดีอีกนับสิบยี่ห้อ ที่ไม่มีปั๊ม น้ำมันในไทย และจำหน่ายในราคาไม่แพง
ไม่ควรเห็นแค่ยี่ห้อแล้วเลือกใช้ ต้องดูที่เกรดคุณภาพตามมาตรฐานของ API (www.api.org) ในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุไว้ข้างกระป๋อง จำไม่ยากเลย เครื่องยนต์เบนซิน เกรดคุณภาพสูงสุด API SL รองลงมาคือ SJ SH SG ตามลำดับ
ปัจจุบันนี้ API SL และ SJ น่าใช้ที่สุด   (สงสัยบทความนี่จะเก่าหน่อย ตอนนี้ สูงสุด เป็น SM แล้ว)
ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล เกรดคุณภาพสูงสุด API CI-4 รองลงมาคือ CH-4 CG CF ตามลำดับ ปัจจุบันนี้ API CI-4 และ CH-4 น่าใช้ที่สุด
น้ำมันเครื่องยิ่งมีเกรดคุณภาพต่ำ ก็ยิ่งมีราคาถูก และลดการปกป้องเครื่องยนต์ลงไป ควรเลือกเกรดคุณภาพอย่างน้อยรองจากสูงสุด
นอกจากนั้นยังต้องดูความหนืดตามมาตรฐานของ SAE (www. sae.org) สหรัฐอเมริกา ว่าเลข 2 ตัวท้าย เช่น 30 40 หรือ 50 ตรงตามการแนะนำในคู่มือประจำรถหรือไม่ โดยไม่ต้องสนใจตัวเลขหน้า W เพราะนั่นเป็นค่าที่ได้การวัดความหนืดที่18 องศาเซลเซียสไม่ใช่สภาพของไทย
ชนิดของน้ำมันเครื่องก็ต้องสนใจ ธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์ ดีจากน้อยมามากตามลำดับ
เลือกยี่ห้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องเลือกเกรดคุณภาพ ระดับความหนืด และชนิด ให้ครบครัน

-ดูแค่ข้างกระป๋องว่า เบนซิน/ดีเซล
ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อหลายรุ่น นอกจากจะระบุรายละเอียดอื่นๆ ข้างต้นไว้ครบครันแล้ว ก็อาจจะมีประโยคบอกเพิ่มว่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล หรือเหมาะทั้ง 2 อย่างเลย หลายคนเห็นประโยคนั้นก็เลือกใช้ โดยไม่ได้สนใจดูว่ามีเกรดคุณภาพตาม API เป็นอย่างไร
จริงๆ แล้ว ไม่ต้องระบุเพิ่มก็ได้ เพราะเกรดคุณภาพตามท้ายตัวย่อ API ก็มีระบุไว้อยู่แล้วว่าใช้กับเครื่องยนต์ประเภทใดได้ดีเพียงไร และบางครั้งระบุว่าเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน แต่มีมาตรฐานแค่ API SH ห่างจากมาตรฐานสูงสุดตั้ง 2 ระดับก็ยังมี

-หมดสภาพเพราะดำ หรือนิ้วแตะ
น้ำมันเครื่องที่ดำ อาจเป็นเพราะมีสารชะล้างที่ดี หรือภายในเครื่องยนต์สกปรก และเมื่อดำแล้ว คุณสมบัติอื่นๆ เช่น การหล่อลื่น การลดความร้อน รวมถึงการชะล้างเอง อาจไม่ได้หมดลงตามสีที่เปลี่ยนไป
บางคนใช้นิ้วแตะๆ น้ำมันเครื่องจากก้านวัด แล้วตัดสินว่าหมดอายุ หรือยัง ในความเป็นจริง หากจะทราบว่าน้ำมันเครื่องหมดอายุหรือยัง จะต้องนำน้ำมันเครื่องนั้นเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ไม่งั้นก็ต้องตัดสินจากระยะทางหรืออายุที่ใช้งานตามที่ปฏิบัติกัน จะเดาจากสีหรือความเหนียวหลังจากแตะกับปลายนิ้วไม่ได้

-กลัวปลอม ซื้อในปั๊ม
มีคำถามคาใจว่า ดูน้ำมันเครื่องปลอมได้อย่างไร? คำตอบก็คือ ตัวเนื้อน้ำมันเครื่องต้องส่งเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะชิม ดม แตะไม่ได้
นอกนั้นต้องดูที่ตัวกระป๋องว่ามีสภาพปกติ มีสีสันปกติ รวมถึงฝาปิดมีการซีลตามที่คุ้นเคยหรือไม่
แน่นอนว่ามีน้ำมันเครื่องปลอมอยู่ในตลาดอยู่ไม่น้อย จึงต้องระวัง แต่ถ้าจะซื้อตามปั๊มเท่านั้นก็จะมีราคาแพง เสียโอกาสเลือกน้ำมันเครื่องตาม ร้านทั่วไป ที่มีสารพัดยี่ห้อ และก็ไม่ได้ปลอมไปทั้งหมด

-ต้องเต็มขีดบนเสมอ
หลายคนเน้นว่าเครื่องยนต์ต้องมีน้ำมันเครื่องเต็มขีดบนเสมอ ในความเป็นจริง เครื่องยนต์จะสามารถทำงานได้ปกติ หากระดับน้ำมันเครื่อง อยู่ในช่วงขีดบนและล่าง ไม่จำเป็นต้องเต็มขีดบนเท่านั้น
ถ้าเติมครั้งใหม่ เติมให้เต็มขีดบนก็ดี แต่ถ้าผ่านการใช้งานมาแล้ว อีกไม่นานจะครบกำหนดเปลี่ยน และน้ำมันพร่องลงไปบ้าง หากยังไม่ต่ำกว่าขีดล่างสุด ก็ไม่จำเป็นต้องเติมเพิ่มให้สิ้นเปลือง
ยกเว้นกรณีขึ้นลงทางลาดชันมากบ่อยๆ น้ำมันเครื่องควรเต็มขีดบนอยู่เสมอ เพราะผิวน้ำมันจะเอียงไม่ได้ระดับขนานกับขอบอ่างน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ

-เปลี่ยนบ่อยไว้ก่อน
น้ำมันเครื่องยุคใหม่มีคุณภาพและความทนทานขึ้น แต่หลายคนยังเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดดั้งเดิม 3,000-5,000 กิโลเมตร ด้วยแนวคิดปลอดภัยไว้ก่อน ห่วงเครื่องยนต์ แต่เปลืองเงินไม่สน สบายใจเข้าว่า
ในความเป็นจริง น้ำมันเครื่องทุกชนิด ไม่เฉพาะแต่สังเคราะห์ ถ้าเป็นเกรดคุณภาพตาม API 2-3 ระดับสูงๆ สามารถใช้งานได้เป็นระยะทาง 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าการจราจรติดขัดมาก รวมถึงมีฝุ่นในเส้นทางเยอะ ก็ค่อยลดระยะทางลงมาจากเดิมสัก 1,000-2,000 กิโลเมตร
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเร็วเกินไป นอกจากสิ้นเปลืองเงินแล้วยังเป็น การเพิ่มขยะพิษให้กับโลกอีกด้วย แม้จะมีการนำน้ำมันเครื่องเก่าไปรีไซเคิล กับงานอื่น แต่สำหรับในไทย ต้องถือว่าการป้องกันน้ำมันเครื่องเก่าไม่ให้กระจายสู่ธรรมชาติเป็นไปอย่าง ไม่รัดกุมเลย

-น้ำมันราคาถูก เปลี่ยนเร็ว
หลายคนคิดว่า เสียเงินน้อยซื้อน้ำมันราคาถูก แล้วเปลี่ยนบ่อยๆ จะดีกว่า ในความเป็นจริง การสึกหรอจะเกิดขึ้นได้ทันทีที่เครื่องยนต์ทำงาน เมื่อน้ำมันเครื่องนั้นไหลเวียนในครั้งแรกและตลอดไปจนกว่าจะถ่ายออก ถ้าฝืดก็ฝืดไปตลอด ถ้าลื่นก็ลื่นไปตลอด
ดังนั้นเสียเงินซื้อน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงราคาแพงสักหน่อย แต่ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยให้เสียเวลาจะดีกว่า

-รถไม่แพง ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกหรือคุณภาพต่ำ
ถ้าเครื่องยนต์ปกติดี ไม่กินน้ำมันเครื่อง จะเป็นรถราคาแพงถูก-แพง เก่า-ใหม่ ก็ควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดี และเปลี่ยนตามกำหนดที่เหมาะสม เครื่องยนต์จะได้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและทนทาน
ความเข้าใจผิดถูกลบล้างได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติม และคิดทบทวนด้วยหลักวิทยาศาสตร์


ทิ้งน้ำมันเครื่องเก่าและเก็บน้ำมันเครื่องใหม่อย่างไร?
โดย ผู้จัดการออนไลน์ วรพล สิงห์เขียวพงษ์
น้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมลพิษหรือขยะของโลกเราในหลายด้าน การถ่ายน้ำมันเครื่องออก ทั้งที่น้ำมันเครื่องยังไม่หมดสภาพ ทั้งจากการหวาดระแวงไปเองหรือกลัวเครื่องยนต์โทรม เร็ว เช่น เปลี่ยนที่ 3-5 พันกิโลเมตร ทั้งที่น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ ตามเอพีไอสูงๆ ในปัจจุบันนี้สามารถใช้งานได้ในระดับ 1 หมื่นกิโลเมตรได้อย่างสบาย
น้ำมันเครื่องใช้แล้วในโลกนี้ ไม่ได้ถูกกำจัดอย่างมีระบบที่รัด กุมเสมอไปในประเทศที่เจริญแล้วมักมีการจัดการไม่ให้เป็นพิษแก่โลก แต่ในประเทศเล็กๆ อย่างไทย ไม่ถือว่ามีความรัดกุมในเรื่องนี้ แต่อย่างไร
การกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วที่ถูกต้อง คือ ไม่ทิ้งลงในธรรมชาติ พื้นดิน ท่อระบายน้ำ คูคลองแม่น้ำ เพราะการย่อยสลาย จะเป็นไปอย่างช้ามาก การใส่กระป๋องแล้วปิดแน่นทิ้งในขยะ ก็น่าจะแตกรั่วผสมไปกับขยะอื่น เพราะพนักงานไม่ได้สนใจจะจัดการอย่างถูกต้อง บางคนกลับไปสนใจขยะที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้
ผมไม่ถือว่าไทยมีระบบการจัดการน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้ดี ต่างจากบางประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดเลยว่าภาชนะที่ใส่น้ำมันเครื่องใช้แล้วต้องมีความชัดเจน มีกระป๋องขาย ต้องเสียเงินซื้อกระป๋องมาอีก ใส่ในกระป๋องน้ำมันเครื่องปกติไม่ได้ หรือได้ แต่ก็ต้องเขียนระบุไว้อย่างชัดเจน หากจะให้พนักงานเก็บขยะจัดเก็บไป
การกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วด้วยการนำไปหมุนเวียนใช้ใหม่หลังจากปรับสภาพ แล้วเป็นเรื่องที่ดี คือ นำไปกรองและไปฟอกสี แล้วนำไปใช้กับเครื่องจักรกลเล็กหมุนรอบต่ำ โดยจะมีคนมารับซื้อจากอู่ต่างๆ ในราคาลิตรละไม่กี่บาท อู่ทั่วไปจึงมีการเก็บน้ำมันเครื่องใช้แล้วรวบรวมไว้รอการขายต่อ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องทำลายสิ่งแวดล้อม แต่จะน่ากังวลกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามบ้าน เพราะไม่รู้จะทิ้งที่ไหน และปริมาณก็ไม่มากพอที่จะมีใครมารับซื้อ หากห่วงเรื่องมลพิษก็ให้ใส่กระป๋องไปให้ตามอู่ เขายินดีที่จะรวบรวมให้อยู่แล้ว
ส่วนน้ำมันเครื่องใหม่ที่เติมแล้วเหลือ การจัดเก็บไม่ยาก ให้ปิดฝากระป๋องให้แน่น หากซ้อนด้วยถุงพลาสติกที่ปากกระป๋องก่อน ปิดฝาก็ยิ่งดี เพื่อไม่ให้ความชื้นเล็ดลอดเข้าไปได้ง่าย วางในที่ร่มไม่ร้อนไม่ชื้นไม่โดนน้ำ เก็บไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ในทางที่ดีควรรีบใช้ให้เร็วที่สุด เพราะถึงไม่ได้ใช้งาน น้ำมันเครื่องก็เสื่อมสภาพเองได้ ไม่ใช่เก็บไว้ได้เป็นสิบๆ ปีแต่อย่างไร
ถ้าใช้น้ำมันเครื่องยี่ห้อและรุ่นเดิมตลอด ก็ให้นำส่วนที่เหลือในครั้งก่อนเติมลงไป แล้วค่อยเติมน้ำมันเครื่องใหม่ให้ได้ระดับ ส่วนที่เหลือก็เก็บไว้ตามที่แนะนำ ก็จะมีน้ำมันเครื่องใหม่ๆ เหลือเก็บไว้ไม่นานจนเกินไป
very good    ส.สู้ๆ
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)