ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

จะสร้างท่าเรือสงขลา 2 ? เพื่อระบบโลจิสติกส์หรือเพื่ออะไร?

เริ่มโดย ืit nance, 15:52 น. 14 ส.ค 55

ืit nance

นอกจากความคิดในการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราแล้ว ทราบว่ากรมการขนส่งทางน้ำฯ กระทรวงคมนาคม ยังมีความคิดที่จะสร้างท่าเรือสงขลา 2 ที่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อีกด้วย


       
       ข้อมูลหรือข่าวการสร้างท่าเรือสงขลา 2 จะจริงหรือไม่ ไม่แน่ใจ แต่ถ้าเป็นความจริง ผมเชื่อว่ากรมการขนส่งทางน้ำฯ ต้องตอบคำถามประชาชนว่า
       
       จะสร้างเพื่ออะไร ในเมื่อท่าเรือสงขลาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังร่อแร่ อยู่ในห้อง ICU
       
       เมื่อปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่ท่าเรือสงขลาสร้างเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์ของการสร้างว่าต้องการเอื้ออำนวยในการส่งออกและนำเข้าสินค้าหลักของภาคใต้ เช่น ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็ง
       
       เมื่อสร้างเสร็จก็ให้เอกชนประมูล
       
       ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพราะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด ชนะการประมูล ได้บริหารท่าเรือสงขลาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา
       
       และนับแต่บริหารท่าเรือสงขลามา 21 ปี บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากลไม่สามารถทำให้ท่าเรือสงขลาเป็นท่าเรือส่งออกที่เทียบเท่าท่าเรือแหลมฉบัง และสู้ไม่ได้แม้กับท่าเรือปีนังของมาเลเซียก็ตาม
       
       สินค้าส่งออกจำนวนมากในภาคใต้ ส่งออกโดยการลากตู้คอนเทนเนอร์ผ่านชายแดนที่สงขลาไปลงเรือที่ท่าเรือปีนัง
       
       ทั้งๆ ที่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าบริการของท่าเรือปีนังกับท่าเรือสงขลาแล้ว ค่าบริการของท่าเรือสงขลาถูกกว่าตู้ละประมาณ 180 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณเกือบ 6,000 บาท
       
       แต่.. การที่สินค้าในภาคใต้ไปส่งออกที่ท่าเรือปีนังมากกว่านั้น เพราะค่าระวางเรือที่ท่าเรือสงขลาสูงกว่าอย่างน้อยตู้ละ 250 ดอลล่าร์สหรัฐ (หรือประมาณ 8,000 บาท)
       
       การที่ค่าระวางเรือที่ท่าเรือสงขลาสูงกว่ามาก เป็นผลมาจากการเก็บค่าระวางของสายเดินเรือ
       
       ทำไมค่าระวางเรือ (หรือหมายถึงค่า Freight) ของท่าเรือสงขลาจึงสูงกว่าท่าเรือปีนัง
       
       เกิดจากสาเหตุหลักสำคัญ 3 ประการ
       
       ประการแรก เรือใหญ่ๆ เข้าท่าเรือสงขลาไม่ได้
       
       เหตุที่เข้าไม่ได้ เพราะร่องน้ำมันลึกแค่ 8 เมตรกว่า
       
       เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ จะต้องมีร่องน้ำลึกไม่ต่ำกว่า 9 เมตร
       
       ประกอบกับสินค้านำเข้ามีน้อย มีเพียง 22% ของสินค้าส่งออก
       
       ตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าจึงมีน้อยกว่าตู้คอนเทนเนอร์ส่งออก ทำให้บริษัทเรือต้องส่งตู้คอนเทนเนอร์เปล่ามารับสินค้าส่งออกที่ท่าเรือสงขลา ค่าระวางเรือจึงแพง ในขณะที่ปริมาณสินค้านำเข้า-ส่งออกของท่าเรือปีนังมีปริมาณใกล้เคียงกัน ทำให้ค่าระวางเรือของปีนังถูกกว่าท่าเรือสงขลา
       
       ทราบมาจากประชาชนในสงขลาว่า ก่อนจะสร้างท่าเรือสงขลา ได้มีเสียงคัดค้านแล้วว่าคลื่นจะพาทรายมาทับถม ทำให้ร่องน้ำตื้นเขิน ต้องขุดร่องน้ำบ่อยๆ
       
       แต่บุคคลและหน่วยงานที่ก่อสร้างท่าเรือก็ยังดันทุรังที่จะสร้าง
       
       ไม่ทราบว่ามีอะไรหรือเป็นเพราะอะไร ที่ปิดหูปิดตาและดลใจผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในยุคนั้นให้สร้างท่าเรือสงขลา
       
       ประการที่สอง ท่าเรือสงขลาก่อสร้างโดยที่หน้าท่าไม่สามารถรองรับเครนเรือขนาดใหญ่ได้
       
       ถามว่า แล้วบุคคลหรือหน่วยงานที่ก่อสร้างไม่รู้หรือว่าการสร้างท่าเรือน้ำลึกนั้น การออกแบบท่าเรือและหน้าท่านั้นต้องรองรับน้ำหนักของเครนยกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ได้
       
       ทุกวันนี้ ท่าเรือสงขลาต้องใช้เครนที่ติดมากับเรือ ยกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้น-ลงจากเรือ ซึ่งเรือประเภทที่มีเครนติดอยู่ด้วยนั้นเป็นเรือโบราณ ซึ่งนับวันจะหมดสภาพไปตามความเก่าและอายุของเรือ
       
       หากเป็นเรือที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ครั้งละ 200-300 ตู้ ต้องไปเช่าเครนจากที่อื่นมายกตู้ ซึ่งเสียเวลามาก ทำให้เรือขนส่งสินค้าไม่กล้าแวะจอด
       
       ประการที่สาม การต่ออายุสัมปทานให้บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด ซึ่งครั้งแรกให้ 20 ปี ต่อมาต่อสัมปทานให้ครั้งละ 5 ปี
       
       การต่ออายุสัมปทานครั้งละ 5 ปีนั้น ใครจะกล้าลงทุน ในเมื่อต้องรื้อและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายอย่างในท่าเรือ ทั้งการเปลี่ยนแปลงหน้าท่าและการติดตั้งเครนขนาดใหญ่ราคาตัวละหลายร้อยล้านบาท
       
       ถามว่า กรมการขนส่งทางน้ำฯ ไม่รู้ปัญหาหรืออย่างไร ?
       
       รู้... แต่กรมการขนส่งทางน้ำฯ ได้ทำอะไรบ้าง นอกจากการขุดร่องน้ำและเรียกเก็บค่าสัมปทาน
       
       ในเมื่อท่าเรือสงขลายังมีปัญหาที่แก้ไม่ได้เช่นนี้ และบริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด ที่บริหารท่าเรือสงขลาหายใจพะงาบๆ จะตายแหล่มิแหล่ แทนที่กรมการขนส่งทางน้ำฯ จะเข้าไปดู หรือแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อให้การส่งออกผ่านท่าเรือสงขลามีปริมาณเพิ่มขึ้น
       
       กลับมีความคิดที่จะสร้างท่าเรือสงขลา 2
       
       ถามว่าอธิบดีและปลัดกระทรวงยังสบายดีอยู่หรือ ?
       
       ทำไมไม่ช่วยเหลือบริษัทที่บริหารท่าเรือสงขลาในปัจจุบัน อาจจะทำโดยวิธีการยืดอายุสัมปทานออกไปให้มากเพียงพอ และลดค่าสัมปทานโดยให้บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด รับภาระในการขุดร่องน้ำแทน
       
       เรื่องทำนองนี้ทำไมไม่คิดกัน แต่กลับไปคิดสร้างท่าเรือสงขลา 2 มันมีอะไรกันนักหนาหรือ ถึงขยันกันจังในการสร้างท่าเรือ
       
       ท่าเรือเชียงแสนสร้างได้ไม่กี่ปี ก็สร้างท่าเรือเชียงแสน 2 อีก
       
       ท่าเรือระนอง สร้างแล้วมีเรือเข้า-ออกกี่ลำ ผลาญงบประมาณของชาติในการก่อสร้างกี่ร้อยล้านบาท
       
       สร้างแล้วได้ใช้หรือไม่ จนมีคนเขาพูดกันว่าท่าเรือระนองเป็นท่าเรือตกปลาที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       
       ผมไม่ทราบว่า ปปช. จะมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการสร้างท่าเรือแต่ละแห่งได้มากน้อยแค่ไหน
       
       ถ้ามีอำนาจตรวจสอบได้ น่าจะตรวจสอบว่าท่าเรือแต่ละแห่งที่สร้างกันไปแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองเท่าที่ควรนั้น ใครที่มีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติให้สร้าง ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือนครสวรรค์ ท่าเรือสงขลา ท่าเรือระนอง ท่าเรือปากบารา และท่าเรือสงขลา 2
       
       ขอให้นำชื่อของบุคคลเหล่านั้นประกาศให้ประชาชนรับรู้ พร้อมกับตอบคำถามที่ยังคาใจประชาชน
       
       ถ้าความคิดในการสร้างท่าเรือสงขลา 2 เป็นความจริง ได้มีการถามประชาชนชาวสงขลาหรือยัง และจุดมุ่งหมายหลักของการสร้างท่าเรือสงขลา 2 ที่แท้จริงคืออะไร เพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์โดยรวมของภาคใต้หรือไม่ รองรับ LAND BRIDGE ที่บริษัท DUBAI WORLD สำรวจไปแล้วหรือไม่ หรือรองรับ SOUTHERN SEABOARD ที่พูดกันมาตั้งแต่พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ หรือเพราะกรมการขนส่งทางน้ำฯ ต้องการหางานทำ หรือเพื่ออะไรกันแน่
       
       ตอบหน่อยครับพี่น้อง !

Probass

ตอนนี้ Supply ต่างๆได้ไปลงที่ อ.จะนะแล้ว ทั้ง Power plant , โรงแยกก๊าซ
ดูแล้วท่าเรือน้ำลึก ก็สมควรย้ายจากหัวเขาแดง ที่มันไม่เหมาะกับท่าเรือสักเท่าไหร่ ไหนจะรถบรรทุกที่ต้องวิ่งไปส่งตู้ - ลากตู้ ผ่านชุมชน

ท่านเอาท่าฯสงขลา ไปเทียบกับท่าฯแหลบฉบัง  เทียบกับ ปีนัง มวยคนละขั้น หนังคนละม้วนครับ

ไม่ทราบว่า ท่านเข้าใจและดูรายละเอียดของแต่ละท่าเรือไหม ว่าเหตุใดเขาจึงสร้างไม่ถูกใจท่าน
เห็นท่านพูดถึงเชียงแสน เดือนที่แล้ว ผมมีภารกิจไปแม่สายและถือโอกาสแวะไปท่าเรือเชียงแสน  ท่านลองดูครับว่า มันเหมาะจะสร้างแห่งที่ 2 ไหม

[attach=1]
[attach=2]
[attach=3]
[attach=4]
เรือสินค้าที่จอดรอ ทั้งขาเข้า ขาออก   รวมทั้งเรือโดยสารข้ามฟาก  ต้องมาออกันอยู่ที่เดียว มันไม่พอหรอกครับ

[attach=5]
สินค้าส่งออกของไทยเรา ....

[attach=6]
ในรูป เป็นช่วงน้ำลงครับ  เห็นเสาโป๊ะเรือของท่าเรือแห่งที่ 2อยู่ไกลๆ


เมื่อก่อน การขนส่งสินค้าบ้านเรายังไม่พัฒนา  เรือสมัยก่อนไม่ได้มีขนาดใหญ่ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก จึงไม่ได้เผื่อสำหรับเรือที่กินน้ำลึกมากๆ

เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยี+เศรษฐกิจที่โตขึ้น ทำให้มีความต้องการขนถ่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ช่วงหนึ่ง(ประมาณปี 2006-2009)บริษัทเดินเรือมีกำไร หลายบริษัทจึงโละขายเรือเก่า และต่อเรือใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ท่านไปหาประวัติค่า BDI ดูเองละกัน)
แม้แต่ท่าฯแหลมฉบัง ยังต้องขยาย เฟส 1 2 และจะมีเฟส 3

สุวรรณภูมิ สร้างไม่กี่ปี ทำไม full capacity ซะแล้ว

ที่ด่านนอก เมื่อก่อนรกร้างไม่มีใครไปอยู่ เดี๋ยวนี้ ราคาแพงกว่าที่ในอ.เมืองบางจังหวัดซะอีก.....

อีกอย่างที่ท่านกล่าวมา พูดวนไปวนมา

"นับแต่บริหารท่าเรือสงขลามา 21 ปี บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากลไม่สามารถทำให้ท่าเรือสงขลาเป็นท่าเรือส่งออกที่เทียบเท่าท่าเรือแหลมฉบัง และสู้ไม่ได้แม้กับท่าเรือปีนังของมาเลเซียก็ตาม"

แต่กลับบอกว่า

"ทำไมไม่ช่วยเหลือบริษัทที่บริหารท่าเรือสงขลาในปัจจุบัน อาจจะทำโดยวิธีการยืดอายุสัมปทานออกไปให้มากเพียงพอ และลดค่าสัมปทานโดยให้บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด รับภาระในการขุดร่องน้ำแทน"

ในเมื่อให้เวลา 21 ปี พิสูจน์แล้ว จะยังมีหน้ามาขอให้ช่วยอีกหรือ


ทุกวันนี้ เรือที่เข้าท่าสงขลา นับวันได้เลย ชิปปิ้งที่จะไปออกของ แทบไม่อยากไปและไม่คุ้ม เิอาเข้าจริงรถที่จะเข้าไปยกเลิกระบบตั๋วสิครับ  สินค้ามาแต่เรือไม่มาก็คิดเงิน เทียบกับพรหมแดนสะเดา มีรถผ่านทุกวันวิ่งไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงท่าเรือมาเลย์ เลือกได้จะลงเรือที่ไหน หรือไปต่อสิงคโปร์
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท