ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สงขลา รำลึก

เริ่มโดย เบื่อคนเจ้าเล่ห์, 14:01 น. 26 มิ.ย 51

กิมหยง

จะให้ทีมงานไปถ่ายภาพมาไม่ครับ

ลองบอกพิกัดดีดีได้นะครับ จะตามไปเก็บภาพมาให้ได้ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

ดีใจครับที่ยังมีหลายท่านเห็นความสำคัญของรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา

เอกbpp

ผมเกิดที่หาดใหญ่แต่มาโตที่สงขลาครับเรียนป.เตรียมที่รร.พล ต่อป.1ที่รร.กลับเพชรวัดโรงวาส ตอนเที่ยงบางวันพวกผมจะเอาตะปูไปวางไว้บนรางรถไฟให้รถไฟเหยียบบ่อย ได้ใช้บริการรถไฟสงขลาหาดใหญ่ทั้งหัวไอน้ำและไฟฟ้าเท่าที่จำได้สถานีรถไฟที่สงขลาไม่มีที่กลับรถครับหัวรางติดกลับถนนปละท่าหากเป็นหัวจักรไฟฟ้ามาถึงสงขลาก็จะตัดตู้แล้ววิ่งต่อไปจึงจะสับรางมาอยู่ด้านหน้าขบวนอีกครั้งส่วนหัวไอน้ำเวลามาจะมาคู่โดยหันด้านหลังของหัวจักรจนกันพอมาถึงก็ตัดตู้แล้วสับรางหัวจักรก็จะวิ่งมาอยู่หัวขบวนอีก  ปัจจุบันเวลาไปสถานีหาดใหญ่จะเห็นหัวจักรไฟฟ้าตัวสั้นซึ่งใช้ในเส้นทางสข.-หใ ยังทำหน้าที่ลากจูงสับเปลี่ยนตู้เปล่าอยู่
กลับมาที่สข.ยังมีรางรถไฟอีกสายที่แยกออกจากสายสข.โดยแยกบริเวณด้านหลังวิทยาลัยอาชีวะผ่านปั๊มสามทหาร(ปตท) วัดโพธิ์
บ่อนไก่(สวนเถ้าแก่) ร้านข้าวมันไก่พานเหล็กปลายทางท่าเรืออีกครับ  สำหรับรถไฟสายสข.-หใ มีการหยุดวิ่งไปสักระยะแล้วกลับมาวิ่งใหม่หลังจากนั้นก็หยุดยาวมาจนถึงปัจจุบัน แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งทางการรถไฟได้มีการปรับปรุงเส้นทางโดยการตัดแต่งต้นไม้ตรวจสอบตามสะพานต่างๆซึ่งตอนนั้นมีข่าวว่ารถไฟจะวิ่งอีกครั้งเพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าของท่าเรือน้ำลึกซึ่งกำลังจะเปิด แต่แล้วก็ยกเลิกไป หากข้อมูลผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ.

เอกbpp

ขออนุญาตทักทายน้องหม่องวิน มอไซสักนิดนะครับ  ผมก็เด็กน้ำเงิน-ขาว รุ่น25,28ครับ

เอกbpp

ขอเพิ่มเติมอีกนิดตรงจุดหมายเลข4 เป็นจุดที่อยูหลังรร.กลับเพชร(วัดโรงวาส)พอดี บริเวณดังกล่าวเมื่อก่อนเขาเรียกว่าป่าดอกรักหรือป่าขี้มีคนไปวางกับระเบิดไว้เต็ม จะมีคลองขวางตัดผ่านเพื่อรองรับน้ำที่ไหลมาจากวชิราและเป็นเส้นทางลัดที่เด็กนร.ชายใช้เดินกันโดยจะไปทะลุตรงจุดที่เรียกว่าสวนพระเทศ(ไม่ทราบว่าสะกดถูถหรือเปล่า)แล้วเดินเข้าหลังซอยไปทะลุวชิรา  ซึ่งแนวฝั่งตะวันออกของรางรถไฟจะมีตรงจุดนี้จุดเดียวที่เป็นพื้นที่ว่างไม่มีคลังน้ำมันตั้งอยู่  กลับมาที่บริเวณสถานีอีก  ด้านทิศใต้ของสถานีฝั่งตะวันตกของรางจะเป็นโกดังสินค้า  ทิศเหนือตะวันตกจะเป็นเนินดิน  ฝั่งตะวันออกจะมีทางให้รถวิ่งได้มาชนกับถนนหลังแขวงถ้าจำไม่ผิดถังเติมน้ำหัวรถจักรไอน้ำจะอยู่ทิศเหนือฝั่งตะวันออกด้วย

ผ่านไปเจอมา

พอดีผ่านไปเจอเรื่องราวของรถไฟหาดใหญ่ ที่ทาง NBT นำออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา  เกี่ยวกับรถไฟสงขลา  ลองชมดูครับไม่รู้เกี่ยวกับกระทู้นี้หรือเปล่า  http://www.opg-media.com/video_piset.html

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่เอกbpp ที่เข้ามาคุยเรื่องเก่าๆ เกี่ยวกับรถไฟสงขลาให้ฟัง
ได้ความรู้เพิ่มเติมอีก
อ่านแล้วนึกถึงภาพที่เห็นตอนเป็นเด็กเลยครับ
โดยเฉพาะเรื่องป่าดอกรัก  ;D
แล้วแวะเข้ามาคุยอีกบ่อยๆ นะครับ

ขอบคุณคุณผ่านไปเจอมาด้วยครับ ที่แนะนำเว็บรายการทีวี
ผมว่าจะติดต่อไปที่บริษัท ขอสำเนาเทปรายการครับ
ในเว็บมีเบอร์โทร.บริษัทด้วยครับ  :)


khunaod

ผมก้อเคยนั่งรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลาน่ะ
จำได้ว่านั่งไปบ้านย่าที่สงขลา ที่ได้นั่งเพราะ
บ้านอยู่ตรงแถวๆ ร้านขายข้าวหมูแดงิดหลังสถานีรถไฟหาดใหญ่
แล้วย้ายออกมาตั้งนานแล้ว ยังคิดถึงเหมือนกัน

อยากกลับไปนั่งรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา อีกซักครั้ง

HAADYAI.history

ท่านใดสนใจจะให้รถไฟหาดใหญ่ - สงขลา กลับมาวิ่งอีกครั้งบ้างครับ

ช่วยกันลงชื่อหน่อยครับ

อีกไม่นานจะมีการทำแผนแม่บทเรื่องนี้ (รวมถึงขนส่งมวลชนในหาดใหญ่) ครับ
จะได้เชิญมาร่วมเวทีเสวนา

รบกวนช่วยบอกต่อๆ กันไปด้วยครับ โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางไป-กลับ หาดใหญ่ - สงขลา ทุกวัน สมควรมาร่วมเวทีเสวนา
รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่รางรถไฟสายนี้พาดผ่าน และเจ้าของที่ดินริมทางรถไฟจะได้พัฒนาที่ดินเพื่อรองรับการเดินทางของผู้คนบนเส้นทางสายนี้อีกครั้ง

ราคารถไฟ หาดใหญ่ - สงขลา ชั้น 3 ประมาณ 6 บาท(หาดใหญ่-สงขลา) ในขณะที่
- ค่ารถเมล์..........บาท
- รถตู้..................บาท
- รถ Taxi............บาท
ใครทราบช่วยเติมในช่องว่างทีครับ



โปรดติดตามตอนต่อไปครับ

กิมหยง

ท่านคิดเหมือนผมเลยครับ

คิดว่าจะตั้งชื่อกลุ่ม ชื่อชมรมมาสักชื่อ
จากนั้นก็รวบรวมสมาชิกครับ

จะให้ทางเว็บกิมหยง ช่วยเหลือยังไงไม่ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

HAADYAI.history

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 18:07 น.  04 มี.ค 52
ท่านคิดเหมือนผมเลยครับ

คิดว่าจะตั้งชื่อกลุ่ม ชื่อชมรมมาสักชื่อ
จากนั้นก็รวบรวมสมาชิกครับ

จะให้ทางเว็บกิมหยง ช่วยเหลือยังไงไม่ครับ

ฝากประชาสัมพันธ์ครับ
สำหรับผู้สนใจ ขนส่งมวลชน หาดใหญ่ - สงขลา และขนส่งมวลชนในหาดใหญ่
มาร่วมประชุมหรือเสนอความคิดเห็นกันเข้ามา
และร่วมเกาะติดความคืบหน้าของการทำแผนแม่บทฯ นี้ตลอด 10 เดือนนับจากนี้ไป

เล่าคร่าวๆ คือทีมทำแผนแม่บทฯ เค้ากะจะเอารถเมล์มาวิ่งบนเส้นทางรถไฟเก่าครับ
จากนั้นพอเข้าเขตเมือง ก็วิ่งตระเวนตามถนนรับผู้โดยสาร

แต่ผมคิดว่า
- รถไฟประหยัดกว่า ปลอดภัยกว่า ขนผู้โดยสารได้มากกว่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่า

ที่สำคัญ รถไฟ หาดใหญ่ - สงขลา มีประวัติศาสตร์มายาวนาน
- เรามีรถไฟ ข้ามคาบสมุคร สงขลา - กันตัง
- เรามีสงคราม ที่ข้าศึกมาตามทางรถไฟ แล้วเรารบชนะ
- ถ้าเดาไม่ผิด ร.7 ก็ทรงเสด็จลี้ภัยมาประทับที่สงขลา ทางรถไฟ
  บางท่านว่าพระองค์ท่านเคยมาประทับที่บ้านท่านขุนนิพัทธ์ฯ บริเวณวงเวียนน้ำพุอีกด้วย

ดังนั้นเสาร์อาทิตย์เราสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว (เมืองเก่า หรือ ทะเลสงขลา) ทางรถไฟด้วย
และวันครบรอบสำคัญๆ เราก็อาจจะจัดขบวนรถไฟพิเศษ รถจักรไอน้ำร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ ได้อีกด้วย

ทีนี้ถ้าเอารถบัสมาวิ่งตามทางรถไฟ มันก็หมดกัน
หมดเลยประวัติศาสตร์หาดใหญ่ - สงขลา

เบื่อคนเจ้าเล่ห์

อ้างจาก: HAADYAI.history เมื่อ 10:46 น.  05 มี.ค 52
อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 18:07 น.  04 มี.ค 52
ท่านคิดเหมือนผมเลยครับ

คิดว่าจะตั้งชื่อกลุ่ม ชื่อชมรมมาสักชื่อ
จากนั้นก็รวบรวมสมาชิกครับ

จะให้ทางเว็บกิมหยง ช่วยเหลือยังไงไม่ครับ

ฝากประชาสัมพันธ์ครับ
สำหรับผู้สนใจ ขนส่งมวลชน หาดใหญ่ - สงขลา และขนส่งมวลชนในหาดใหญ่
มาร่วมประชุมหรือเสนอความคิดเห็นกันเข้ามา
และร่วมเกาะติดความคืบหน้าของการทำแผนแม่บทฯ นี้ตลอด 10 เดือนนับจากนี้ไป

เล่าคร่าวๆ คือทีมทำแผนแม่บทฯ เค้ากะจะเอารถเมล์มาวิ่งบนเส้นทางรถไฟเก่าครับ
จากนั้นพอเข้าเขตเมือง ก็วิ่งตระเวนตามถนนรับผู้โดยสาร

แต่ผมคิดว่า
- รถไฟประหยัดกว่า ปลอดภัยกว่า ขนผู้โดยสารได้มากกว่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่า

ที่สำคัญ รถไฟ หาดใหญ่ - สงขลา มีประวัติศาสตร์มายาวนาน
- เรามีรถไฟ ข้ามคาบสมุคร สงขลา - กันตัง
- เรามีสงคราม ที่ข้าศึกมาตามทางรถไฟ แล้วเรารบชนะ
- ถ้าเดาไม่ผิด ร.7 ก็ทรงเสด็จลี้ภัยมาประทับที่สงขลา ทางรถไฟ
  บางท่านว่าพระองค์ท่านเคยมาประทับที่บ้านท่านขุนนิพัทธ์ฯ บริเวณวงเวียนน้ำพุอีกด้วย

ดังนั้นเสาร์อาทิตย์เราสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว (เมืองเก่า หรือ ทะเลสงขลา) ทางรถไฟด้วย
และวันครบรอบสำคัญๆ เราก็อาจจะจัดขบวนรถไฟพิเศษ รถจักรไอน้ำร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ ได้อีกด้วย

ทีนี้ถ้าเอารถบัสมาวิ่งตามทางรถไฟ มันก็หมดกัน
หมดเลยประวัติศาสตร์หาดใหญ่ - สงขลา

ผมว่า สองท่านคือ คุณหม่อง วิน มอไซ กับคุณ HAADYAI.history นี่ จัดเป็นคนที่มีคุณค่าสำหรับเมืองหาดใหญ่จริง ๆ

ทุกวันนี้ เมืองไทยเราขาดคนที่มีจิตสำนึกในเรื่อง คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ค่อนข้างมาก..

ผมคิดว่า ประเด็นเรื่อง การฟื้นกิจการเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่ - สงขลา นั้นมีหลายคนเริ่มพูดถึงกันมากทีเดียว   ประเด็นเรื่อง "เงิน" สำหรับเอามาทำนั้น ผมว่า ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

อุปสรรคที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ เส้นทางเส้นนี้กลับมามีชีวิตชีวาได้นั้นมีหลายกลุ่ม ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความกล้าในการพิจารณา โดยยึดเอาประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด

เส้นทาง หาดใหญ่ - สงขลา นั้น ผมถือว่า เป็นเส้นทางที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง อย่างน้อยก็ น้อง ๆ เส้นทางสายมรณะที่เมืองกาญจน์ละครับ

ที่สงขลา การรถไฟฯ มีท่าเรือเอง   ใช้สำหรับการขนถ่ายอุปกรณ์จำพวก ล้อเลือน ราง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการสร้างรางรถไฟจากสงขลา เข้า อู่ตะเภา และลงไปทางใต้เรื่อย  ๆ

ในยุคสงคราม สะพานน้ำน้อย ก็กลายเป็นตำนานเล่าขานเรื่อง  ผีตายโหงญี่ปุ่น

หลาย ๆ อย่างที่ทำให้ เส้นทางนี้ กลายเป็นเส้นทางที่เชื่อมความเจริญ ร่วมกันระหว่าง สงขลา กับ หาดใหญ่ ในอีกรูปแบบหนึ่ง 

ผมเห็นด้วยและสนับสนุนร้อยเปอร์เซนต์
โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

กิมหยง

งั้น 9 มีนา

รถไฟหาดใหญ่สงขลา จะเป็นหนึ่งในรูปแบบใหม่ของเว็บกิมหยงครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

HAADYAI.history

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 01:03 น.  06 มี.ค 52
งั้น 9 มีนา

รถไฟหาดใหญ่สงขลา จะเป็นหนึ่งในรูปแบบใหม่ของเว็บกิมหยงครับ

ขอบคุณครับ

HAADYAI.history

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 11:12 น.  05 มี.ค 52
ผมว่า สองท่านคือ คุณหม่อง วิน มอไซ กับคุณ HAADYAI.history นี่ จัดเป็นคนที่มีคุณค่าสำหรับเมืองหาดใหญ่จริง ๆ

ทุกวันนี้ เมืองไทยเราขาดคนที่มีจิตสำนึกในเรื่อง คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ค่อนข้างมาก..

มิกล้า ครับ มิกล้า
ผมก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่งซี่งรักประเทศไทยเท่านั้นเองครับ อยากให้ประเทศไทย(ซึ่งมีหาดใหญ่เป็นส่วนเล็กๆ) ดีขึ้น ดีวันดีคืน หรืออย่างน้อยก็อย่าแย่ลงไปกว่าเดิม

ทุกสิ่งล้วนมีที่มาครับ เราไม่อาจละเลยรากเหง้าของเราได้ วันดีคืนดีลูกหลานถาม เราจะตอบไม่ถูก
ดูทีวีหลายๆ รายการโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอดีต เช่นรายการพินิจนคร ของ ทีวีสาธาณะ เค้าก็เชิญประธานชุมชนตรงนั้น มาเล่าถึงอดีตของชุมชนเค้าให้ฟัง เค้าก็เล่าได้ดี
ไม่รู้ว่าประธานชุมชนต่างๆ ในหาดใหญ่ 50 กว่าชุมชน สามารถเล่าอดีตของชุมชนตัวเองได้หรือไม่ สมมติมีรายการอะไรสักอย่างมาทำสารคดีเกี่ยวกับอดีตบ้านเรา

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 11:12 น.  05 มี.ค 52
ผมเห็นด้วยและสนับสนุนร้อยเปอร์เซนต์

ขอบคุณครับ

ตอนนี้ก็ฝากการบ้านทุกท่าน ลองรวบรวมข้อมูลประวัติของเส้นทางสายนี้ เพื่อ
- โน้มน้าวให้ผู้ทำแผน เค้าใช้รถไฟวิ่งบนทางรถไฟ แทนที่จะเป็นรถบัส
- โน้มน้าว ททท ให้ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ ทั้งสงขลา และหาดใหญ่
- หาแนวร่วมรักหาดใหญ่-สงขลา
- ฯลฯ

เบื่อคนเจ้าเล่ห์




ตอนนี้ก็ฝากการบ้านทุกท่าน ลองรวบรวมข้อมูลประวัติของเส้นทางสายนี้ เพื่อ
- โน้มน้าวให้ผู้ทำแผน เค้าใช้รถไฟวิ่งบนทางรถไฟ แทนที่จะเป็นรถบัส
- โน้มน้าว ททท ให้ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ ทั้งสงขลา และหาดใหญ่
- หาแนวร่วมรักหาดใหญ่-สงขลา
- ฯลฯ
[/quote]

ผมไม่แน่ใจว่า แนวทางแผนพัฒนา โดยเฉพาะ ระบบขนส่งมวลชน ที่จะนำเอาเส้นทางรถไฟ มาใช้เป็นทางรถบัส  คนที่คิดเนี่ย.... คิดได้ไง   

น่าประหลาดมาก เพราะ ในประเทศที่เจริญ และมีระบบการขนส่งมวลชนในระดับต้น  ๆอย่าง เยอรมันนี ญี่ปุ่น  ให้ความสำคัญกับ  รถไฟ มาเป็นอันดับแรก

เส้นทาง รถไฟ หาดใหญ่ - สงขลา  ถ้เป็นญี่ปุ่น  เค้าก็ต้องเลือกใช้รถไฟมาเป็นระบบขนส่งมวลชนแน่นอน   เรื่องอะไรจะถอยหลังกลับไปใช้รถบัส แบบพายเรือในอ่าง

ต่อไป  คนทำงานหาดใหญ่ - สงขลา จะไป หรือกลับ ก็ไม่จำเป็นต้องลากเอารถยนต์วิ่งกันให้ควั่ก...เพราะ รถไฟมันมีหลักประกันความปลอดภัย 

คนหาดใหญ่ คนสงขลา ต่างช่วยกันส่งเสริมระบบ park and ride  แบบในยุโรป  เช่นนักเรียน แทนที่จะนั่งรถบัส เก่า ๆ  (แบบพอยางระเบิดตูม ก็ตกลงไปใต้รถ...โดนเหยียบเละ) ก็ขี่จักรยานไปจอดไว้ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ (แบบมีรับฝาก) จากนั้น ก็ขึ้นรถไฟไปเรียนสงขลา ขากลับก็นั่งรถไฟมาลงสถานีรถไฟ...จากนั้นก็ขี่จักรยานกลับบ้าน.....

แบบนี้ ผู้ปกครองก็สบายใจ.... อากาศก็สดใส   ทำกันแบบใช้กึ๋นดี ๆ ...  มันทำได้ 

แต่ถ้ามี  hidden agenda กันมาก....ยังไง ๆ มันคงได้แค่ "พายเรือในอ่าง".............


หมายเหตุ  มีนิดหน่อย ตรงบทความหน้าเวบ http://www.gimyong.com/old_story/rodfai.php   ที่ระบุว่า  เจ้าสูงเนิน 32 เป็นรถจักรไอน้ำคันแรกที่มาหาดใหญ่  ผมว่าน่าจะผิดนะ  อยากให้ลองศึกษาให้ละเอียดอีกถึง

ผมว่า เจ้าสูงเนิน 32 มันใช้สำหรับ ทำภาระกิจชักลากหรือตัดไม้ฟืนในป่าเพื่อออกมาใช้เป็นทรัพยากรให้รถจักรไอน้ำนะ

แล้ว รางที่เจ้า 32 ใช้น่ะ มันรางขนาด 60 เซนติเมตร.....ส่วนรางที่ใช้ในกิจการรถไฟ คือราง 1 เมตร ดังนั้น ผมว่า  เจ้าสูงเนิน น่าจะแค่ รถจักรไอน้าที่เป็นเครื่องมือ มากกว่าจะทำขบวนน่ะ...     แต่ที่น่าสนใจว่า น่าจะอยุ่ในรุ่นแรกสำหรับการทำขบวน  (ที่รอดตัดบัญชี) น่าจะเป็นเจ้าบอลนด์วินน  244 ที่จอดหน้าโรงพักหาดใหญ่

เมื่อวานซืนแวะไปเจอะเพื่อนเก่า เล่าให้ฟังว่า มีคนรถไฟกลุ่มหนึ่ง ที่กำลังมีโครงการตั้งชมรมอนุรักษ์ รถจักรไอน้ำโบราณในท้องถิ่นอยู่  มีข่าวคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบขอรับ   

โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

เบื่อคนเจ้าเล่ห์

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 08:56 น.  09 มี.ค 52



ตอนนี้ก็ฝากการบ้านทุกท่าน ลองรวบรวมข้อมูลประวัติของเส้นทางสายนี้ เพื่อ
- โน้มน้าวให้ผู้ทำแผน เค้าใช้รถไฟวิ่งบนทางรถไฟ แทนที่จะเป็นรถบัส
- โน้มน้าว ททท ให้ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ ทั้งสงขลา และหาดใหญ่
- หาแนวร่วมรักหาดใหญ่-สงขลา
- ฯลฯ

ผมไม่แน่ใจว่า แนวทางแผนพัฒนา โดยเฉพาะ ระบบขนส่งมวลชน ที่จะนำเอาเส้นทางรถไฟ มาใช้เป็นทางรถบัส  คนที่คิดเนี่ย.... คิดได้ไง   

น่าประหลาดมาก เพราะ ในประเทศที่เจริญ และมีระบบการขนส่งมวลชนในระดับต้น  ๆอย่าง เยอรมันนี ญี่ปุ่น  ให้ความสำคัญกับ  รถไฟ มาเป็นอันดับแรก

เส้นทาง รถไฟ หาดใหญ่ - สงขลา  ถ้เป็นญี่ปุ่น  เค้าก็ต้องเลือกใช้รถไฟมาเป็นระบบขนส่งมวลชนแน่นอน   เรื่องอะไรจะถอยหลังกลับไปใช้รถบัส แบบพายเรือในอ่าง

ต่อไป  คนทำงานหาดใหญ่ - สงขลา จะไป หรือกลับ ก็ไม่จำเป็นต้องลากเอารถยนต์วิ่งกันให้ควั่ก...เพราะ รถไฟมันมีหลักประกันความปลอดภัย 

คนหาดใหญ่ คนสงขลา ต่างช่วยกันส่งเสริมระบบ park and ride  แบบในยุโรป  เช่นนักเรียน แทนที่จะนั่งรถบัส เก่า ๆ  (แบบพอยางระเบิดตูม ก็ตกลงไปใต้รถ...โดนเหยียบเละ) ก็ขี่จักรยานไปจอดไว้ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ (แบบมีรับฝาก) จากนั้น ก็ขึ้นรถไฟไปเรียนสงขลา ขากลับก็นั่งรถไฟมาลงสถานีรถไฟ...จากนั้นก็ขี่จักรยานกลับบ้าน.....

แบบนี้ ผู้ปกครองก็สบายใจ.... อากาศก็สดใส   ทำกันแบบใช้กึ๋นดี ๆ ...  มันทำได้ 

แต่ถ้ามี  hidden agenda กันมาก....ยังไง ๆ มันคงได้แค่ "พายเรือในอ่าง".............


หมายเหตุ  มีนิดหน่อย ตรงบทความหน้าเวบ http://www.gimyong.com/old_story/rodfai.php   ที่ระบุว่า  เจ้าสูงเนิน 32 เป็นรถจักรไอน้ำคันแรกที่มาหาดใหญ่  ผมว่าน่าจะผิดนะ  อยากให้ลองศึกษาให้ละเอียดอีกถึง

ผมว่า เจ้าสูงเนิน 32 มันใช้สำหรับ ทำภาระกิจชักลากหรือตัดไม้ฟืนในป่าเพื่อออกมาใช้เป็นทรัพยากรให้รถจักรไอน้ำนะ

แล้ว รางที่เจ้า 32 ใช้น่ะ มันรางขนาด 60 เซนติเมตร.....ส่วนรางที่ใช้ในกิจการรถไฟ คือราง 1 เมตร ดังนั้น ผมว่า  เจ้าสูงเนิน น่าจะแค่ รถจักรไอน้าที่เป็นเครื่องมือ มากกว่าจะทำขบวนน่ะ...     แต่ที่น่าสนใจว่า น่าจะอยุ่ในรุ่นแรกสำหรับการทำขบวน  (ที่รอดตัดบัญชี) น่าจะเป็นเจ้าบอลนด์วินน  244 ที่จอดหน้าโรงพักหาดใหญ่

เมื่อวานซืนแวะไปเจอะเพื่อนเก่า เล่าให้ฟังว่า มีคนรถไฟกลุ่มหนึ่ง ที่กำลังมีโครงการตั้งชมรมอนุรักษ์ รถจักรไอน้ำโบราณในท้องถิ่นอยู่  มีข่าวคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบขอรับ   

โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

HAADYAI.history

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 08:56 น.  09 มี.ค 52
หมายเหตุ  มีนิดหน่อย ตรงบทความหน้าเวบ http://www.gimyong.com/old_story/rodfai.php   ที่ระบุว่า  เจ้าสูงเนิน 32 เป็นรถจักรไอน้ำคันแรกที่มาหาดใหญ่  ผมว่าน่าจะผิดนะ  อยากให้ลองศึกษาให้ละเอียดอีกถึง

ผมว่า เจ้าสูงเนิน 32 มันใช้สำหรับ ทำภาระกิจชักลากหรือตัดไม้ฟืนในป่าเพื่อออกมาใช้เป็นทรัพยากรให้รถจักรไอน้ำนะ

แล้ว รางที่เจ้า 32 ใช้น่ะ มันรางขนาด 60 เซนติเมตร.....ส่วนรางที่ใช้ในกิจการรถไฟ คือราง 1 เมตร ดังนั้น ผมว่า  เจ้าสูงเนิน น่าจะแค่ รถจักรไอน้าที่เป็นเครื่องมือ มากกว่าจะทำขบวนน่ะ...     แต่ที่น่าสนใจว่า น่าจะอยุ่ในรุ่นแรกสำหรับการทำขบวน  (ที่รอดตัดบัญชี) น่าจะเป็นเจ้าบอลนด์วินน  244 ที่จอดหน้าโรงพักหาดใหญ่

สูงเนินวิ่งจากกรุงเทพฯ มาหาดใหญ่ไม่รอดแน่นอนครับ ที่สำคัญคือรางคนละขนาด
เค้าคงไม่มีที่เก็บมั๊งครับ เพราะ Series  นี้คงใช้กันที่อำเภอสูงเนิน

ส่วนรางขนาดเล็กมีใช้กันหลายที่ครับ เช่น วิ่งจากสถานีหัวหินไปยังพระตำหนักของพระพันปีหลวงที่หัวหิน (รายการพินิจนครบอกมา)

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 08:56 น.  09 มี.ค 52
เมื่อวานซืนแวะไปเจอะเพื่อนเก่า เล่าให้ฟังว่า มีคนรถไฟกลุ่มหนึ่ง ที่กำลังมีโครงการตั้งชมรมอนุรักษ์ รถจักรไอน้ำโบราณในท้องถิ่นอยู่  มีข่าวคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบขอรับ   

ดีใจอย่างแรงครับ ขอร่วมก๊วนด้วยคน
แต่ครั้นจะทำให้วิ่งได้น่าจะยากเต็มที สนิมกินจนพรุนไปหมดแล้ว เว้นแต่จะถอดแบบมา copy

เบื่อคนเจ้าเล่ห์



เวลาผมผ่านไปเห็นเจ้า 32 ทีไร นึกขำ ...ขำที่เทศบาลท่านอุตส่าห์ เอาพ่วงมาจากไหนมิทราบ มาพ่วงให้มัน....

จริง ๆ ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของคำว่า "อนุรักษ์" จะต้องเข้าใจว่า มันสะท้อนถึงประวัติศาสตร์  ดังนั้นภายใต้การอนุรักษ์จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดทุกกระเบียดของมันให้เหมือนเดิม

ปกติเจ้า 32 น่ะ มันเป็นรถจักรที่ไม่มีพ่วง เพราะตัวมันมีแท้งค์น้ำ (Tender) ในตัวเองอยุ่แล้ว
การเอาพ่วงมาแปะทำให้ ความหมายของรุ่นมันบิดเบือนไปแยะ...

อีกอย่างที่น่าปรับก็คือ  ตัวอักษร (font) ที่เอามา re-paint ใหม่ มันทำให้ เจ้า 32 กลายเป็นรถไฟการตูนไปซะเปล่า ๆ

สีของรถจักรไอน้ำไทยนั้น มีลักษณะตัวอักษร,ตำแหน่ง และโทนสีที่แน่นอน.....

อยากให้เทศบาลลองหาข้อมุล เจ้า C56 ที่ปลดบัญชีแล้วญี่ปุ่นเค้าซื้อกลับไปบ้านเดิม ...

เค้าลงทุน ทำให้มันกลับมามีชีวิตเหมือนเดิม แถม สีสัน และทุกอย่างเค้าให้เครดิต รถไฟไทย โดยการทำแบบเดิม ๆ ทีมันเคยเป็นทุกกระเบียด....

ผมอยากให้ทุกคนในหาดใหญ่รุ้ว่า......รถไฟ สำหรับ หาดใหญ่ นั้นยิ่งใหญ่ เพียงใด

     บอกได้คำเดียวว่า   เวลาเราพูดถึงหาดใหญ่ เรามักพูดถึง ท่านเจียฯ   แต่ผมสรุปว่า..ถ้าไม่มีรถไฟ...... ก็ไม่มี หาดใหญ่ ครับ
โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

HAADYAI.history

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 19:40 น.  10 มี.ค 52
แต่ผมสรุปว่า..ถ้าไม่มีรถไฟ...... ก็ไม่มี หาดใหญ่ ครับ

เช่นกันครับ ผมก็พูดหลายครั้งแล้วว่า

หาดใหญ่มีวันนี้ได้ เพราะรถไฟ

HAADYAI.history

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 19:40 น.  10 มี.ค 52
เวลาผมผ่านไปเห็นเจ้า 32 ทีไร นึกขำ ...ขำที่เทศบาลท่านอุตส่าห์ เอาพ่วงมาจากไหนมิทราบ มาพ่วงให้มัน....

จริง ๆ ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของคำว่า "อนุรักษ์" จะต้องเข้าใจว่า มันสะท้อนถึงประวัติศาสตร์  ดังนั้นภายใต้การอนุรักษ์จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดทุกกระเบียดของมันให้เหมือนเดิม

ปกติเจ้า 32 น่ะ มันเป็นรถจักรที่ไม่มีพ่วง เพราะตัวมันมีแท้งค์น้ำ (Tender) ในตัวเองอยุ่แล้ว
การเอาพ่วงมาแปะทำให้ ความหมายของรุ่นมันบิดเบือนไปแยะ...

อีกอย่างที่น่าปรับก็คือ  ตัวอักษร (font) ที่เอามา re-paint ใหม่ มันทำให้ เจ้า 32 กลายเป็นรถไฟการตูนไปซะเปล่า ๆ

สีของรถจักรไอน้ำไทยนั้น มีลักษณะตัวอักษร,ตำแหน่ง และโทนสีที่แน่นอน.....

อยากให้เทศบาลลองหาข้อมุล เจ้า C56 ที่ปลดบัญชีแล้วญี่ปุ่นเค้าซื้อกลับไปบ้านเดิม ...

เค้าลงทุน ทำให้มันกลับมามีชีวิตเหมือนเดิม แถม สีสัน และทุกอย่างเค้าให้เครดิต รถไฟไทย โดยการทำแบบเดิม ๆ ทีมันเคยเป็นทุกกระเบียด....

ผมอยากให้ทุกคนในหาดใหญ่รุ้ว่า......รถไฟ สำหรับ หาดใหญ่ นั้นยิ่งใหญ่ เพียงใด

     บอกได้คำเดียวว่า   เวลาเราพูดถึงหาดใหญ่ เรามักพูดถึง ท่านเจียฯ   แต่ผมสรุปว่า..ถ้าไม่มีรถไฟ...... ก็ไม่มี หาดใหญ่ ครับ

อ้างถึงขำที่เทศบาลท่านอุตส่าห์ เอาพ่วงมาจากไหนมิทราบ มาพ่วงให้มัน.
เค้าคงทำเองมั๊งครับ
ดูเหมือนว่าเจตนาจะให้เป็นที่เก็บไม้ฟืน เพราะข้างในกลวง

แต่คนทำไม่ได้คิดเลยว่า ถ้าจะเอาไม้ฟืนข้างล่างจะหยิบยังไง

ใช่ครับ ควรจะต้องทำให้อยู่ในสภาพเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้

อ้างถึงตัวมันมีแท้งค์น้ำ (Tender) ในตัวเองอยุ่แล้ว
นั่นสิครับ ผมเองก็ลืมไปเลย นี่ไงครับ



อ้างถึงตัวอักษร (font) ที่เอามา re-paint ใหม่
โอ..
ผมไม่เคยสังเกตเลยครับ

หาภาพเต็มๆ ที่เห็น Font ชัดๆ ไม่ได้เลยครับ ใครมีบ้างเอ่ย


ดูสิครับ

กลายเป็นที่ทิ้งขยะ กับที่ปัสสาวะไปแล้ว
ถ้ารูปสามารถส่งกลิ่นได้ ผู้อ่านจะได้กลิ่นปัสสาวะอย่างแรง

อ้างถึงอยากให้เทศบาลลองหาข้อมุล เจ้า C56 ที่ปลดบัญชีแล้วญี่ปุ่นเค้าซื้อกลับไปบ้านเดิม ...
เค้าลงทุน ทำให้มันกลับมามีชีวิตเหมือนเดิม แถม สีสัน
และทุกอย่างเค้าให้เครดิต รถไฟไทย โดยการทำแบบเดิม ๆ ทีมันเคยเป็นทุกกระเบียด....

ใช่ครับ ถ้าไม่ดูวิวรอบๆ จะนึกว่าเค้าอยู่ในเมืองไทยเลย
ดูเหมือนจะเคยลงในเดลินิวส์ครับ ใครขยันช่วยค้นจากเว็บเดลินิวส์ ทีครับ

HAADYAI.history



ช่วยดูทีเถิดครับ ว่าหมายเลขอะไร

เค้าอยู่แถวๆ ถนนละม้ายสงเคราะห์ ตัดกับศรีภูวนารถ ครับ