ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อึ้ง!พบผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพุ่ง

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 09:28 น. 15 พ.ค 56

ทีมงานประชาสัมพันธ์

อึ้ง! สธ.พบอัตราผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพิ่มสูงขึ้น เผยปัจจัยเสี่ยงมาจากโรคความดัน-เบาหวาน-อ้วน-สูบบุหรี่

14 พ.ค.56 พญ.สุวรรณี ตั้งวีระพรพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2555 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษากว่า 200 คน จากปี 2554 ที่มีประมาณ 100 คน เกิดจากประชาชนมีโรคความดัน เบาหวาน โรคอ้วน สูบบุหรี่มากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเดิมอัตราการเสียชีวิตจากโรคระบบหลอดเลือดสมองหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 17 แต่ปัจจุบันสามารถลดลงด้วยวิธีต่างๆ ทั้งป้องกัน รักษาอย่างรวดเร็วทำให้มีอัตราเหลือประมาณร้อยละ 9.8 เท่านั้น


พญ.สุวรรณี กล่าวอีกว่า ระบบการให้บริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Fast Track MI) ซึ่งสถาบันฯดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 พบว่า ระบบ Fast Track MI สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้จากร้อยละ 6 เหลือเพียงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับในต่างประเทศพบว่าอัตราการตายอยู่ที่ร้อยละ 4 โดยสถาบันโรคทรวงอก ได้สร้างเครือข่ายเพื่อรับส่งต่อผู้ป่วยปัจจุบันมีการส่งต่อถึงร้อยละ 90 โดยมีการอบรมโรงพยาบาลเครือข่าย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน จ.นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ในเรื่องของการวินิจฉัย การรักษา การเคลื่อนย้าย การส่งต่อให้ดียิ่งขึ้น การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เพราะโรคนี้ยิ่งรักษาได้เร็วจะยิ่งลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

"ระบบนี้จะดำเนินการโดยเมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลในเครือข่ายจะต้องทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (อีเคจี) ภายใน 10 นาที หากทำการสวนหัวใจเองไม่ได้จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด แล้วส่งผลตรวจอีเคจีมายังสถาบันโรคทรวงอก จะมีแพทย์และพยาบาลอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง รวมเวลาที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาไม่เกิน 90 นาที จะลดขั้นตอนต่างๆลงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน ซึ่งการรวมเครือข่ายและพัฒนาศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากกว่าการทำให้ทุกโรงพยาบาลมีเครื่องมือ MRI ซึ่งต้องพัฒนาเครือข่ายไปพร้อมๆกัน ในปัจจุบัน สธ.ก็มีการจัดทำเขตบริการสุขภาพแล้วว่า โรงพยาบาลแห่งใดควรรับผิดชอบหรือเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาใดบ้าง" พญ.สุวรรณี กล่าว