ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เครือข่ายผู้บริโภคเฝ้าระวังเคเบิล-วิทยุชุมชนโฆษณายาเกินจริง

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 09:56 น. 22 มิ.ย 54

ทีมงานบ้านเรา

เครือข่ายผู้บริโภคใต้เฝ้าระวังเคเบิล-วิทยุชุมชนโฆษณา "ยา-อาหารเสริม" เกินจริงระบาด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 มิถุนายน 2554 17:31 น.

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ กระทุ้งสาธารณสุขจังหวัดเร่งจัดการโฆษณายาอาหารเสริมที่อวดอ้างสรรพคุณเกิน จริงระบาดในสื่อวิทยุชุมชน ภายหลังจากที่องค์กรที่เป็นเครือข่ายใน 5 จังหวัด มีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพทางสื่อวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวี ซึ่งผลิตภัณฑ์บางตัวนั้นทำผิดซ้ำซากแต่ถูกปรับเพียงเล็กน้อย
       
       วันนี้ (21 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น.ณ โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้รายงานผลการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารและ สุขภาพทางสื่อวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวี ที่มีการโฆษณาเกินจริง ขณะที่หน่วยงานรัฐรับร้องเรียนแต่ติดปัญหาการกำกับดูแลส่งข้อมูลปัญหาให้ สาธารณสุขจังหวัด แต่ติดขัดไม่มีอำนาจดำเนินการเบ็ดเสร็จต่อสถานีวิทยุและเคเบิลทีวีเนื่องจาก กสทช.ที่ต้องทำหน้าที่หลักยังไม่มีการจัดตั้ง ผู้ประกอบการจึงไม่กลัวบทลงโทษ
       
       นางสาวจุฑา สังขชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ นับวันจะรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากข่าวไก่เน่า ท้องเสียเป็นกลุ่มขายตรง โฆษณาเกินจริง ซึ่งในภาคใต้เคยประสบปัญหาปลากระป๋องเน่า แต่การดำเนินการเป็นได้เพียงส่งเรื่องร้องเรียน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้จึงเกิดอย่างต่อเนื่อง
       
       เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั้งประเทศ 5 ภูมิภาค โดยภาคใต้มีพื้นที่ปฏิบัติการ 5 จังหวัด คือสุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง สตูล พัทลุง ขณะนี้มีเป้าหมายที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และยาผ่านช่องทางวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวี ซึ่งมีการถกเถียงก่อนหน้านี้ในเครือข่ายว่าเป็นปัญหาหนัก เพราะขณะนี้มีความถี่และเข้าถึงชาวบ้านในพื้นที่ผ่านการขายตรงโดยชักชวนคนใน ชุมชนเป็นสมาชิกขายตรง แต่โฆษณานั้นไม่ได้รับอนุญาตและมีเนื้อหาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง
       
       การเฝ้าระวังในพื้นที่ นางสาวสิรินา เพชรรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการบริโภคสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากการเฝ้าฟังวิทยุชุมชน 3 สถานี คือคลื่นเอฟเอ็ม 98.25 MHz, 103.25 MHz, 106 .00 MHz ซึ่งโฆษณาตัวผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนมีทั้งที่เป็นสปอตโฆษณาและการจัดรายการพูด คุยเป็นช่วงๆ ทั้งวัน ผลิตภัณฑ์ยา 15 ตัว มีตัวหนึ่งที่เน้นเรื่องความน่ากลัวของกินทำให้เป็นมะเร็งโดยผลิตภัณฑ์นี้จะ ช่วยถอนพิษได้ ไปจนถึงการโฆษณาว่าเพิ่มแรงจูงใจทางเพศ
       
       สอดรับกับสงขลาโดย นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ สมาคมผู้บริโภคสงขลา เล่าว่า มีการเฝ้าฟัง 2 คลื่น คือ เอฟเอ็ม 87.75 MHz, 91.25 MHz น่าสังเกตว่า เป็นตัวผลิตภัณฑ์เดียวกันกับที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกิดจริงใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีการจัดรายการพูดคุย 2 ช่วงเวลาใช้บุคคลที่อ้างอิงว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องมดลูก และมีสปอตถี่ทั้งวัน ขณะที่จังหวัดตรัง นายสุชานนท์ สินธิทันยา ผู้ประสานงานพื้นที่เฝ้าคลื่นเอฟเอ็ม 105.25 MHz ให้ข้อมูลเป็นทิศทางเดียวกัน
       
       ทั้งนี้ นางอภิญญา แก้วจันทร์ อาสาสมัครในจังหวัดสงขลาให้ข้อมูลเพิ่มเติมปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์ในอำเภอรัตภูมิ โดยว่ามี เซลล์บอกขายตรงกับญาติ ซึ่งมีปัญหาเส้นเลือดขอด กินไป 3 เดือน มีอาการปวดท้องจึงหยุด อีกผลิตภัณฑ์ คือ เจนิฟูด ลูกหลานดูเคเบิลทีวี ซื้อให้ย่าวัย 80 ปี กินมีปัญหาต้องส่งโรงพยาบาล หมอสั่งให้หยุดและนำผลิตภัณฑ์ส่งต่อให้โรงพยาบาลรัตภูมิ ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าสาเหตุของอาการป่วยนั้นมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือ ไม่
       
       จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสาธารณสุขจังหวัด นางชโลม เกตุจินดา ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้บริโภค ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การบังคับใช้กฎหมายของ อย.จะมีความแตกต่างกันตามตัวผลิตภัณฑ์ถ้าเป็นอาหารก็จะเป็น พ.ร.บ.อาหาร เครื่องสำอางจะเป็น พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ซึ่งยาจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้มงวดต้องมีการส่งข้อมูลการโฆษณา เพื่อขออนุญาตก่อนนำไปใช้ในสื่อต่างๆ และมีการดำเนินการจับปรับทั่วประเทศโดยบทลงโทษไม่หนัก ทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัวมีการกระทำซ้ำซาก ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ามีการรับรองโดยสามารถสื่อในสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
       
       "ที่น่าสนใจผลิตภัณฑ์ตัวนี้ชื่อ ซันคาร่า และมีการดำเนินการแพร่หลายทั้งที่ถูกดำเนินการโดยตลอด รวมถึง กสทช.โดยศูนย์เฝ้าฟังยังไม่สามารถดำเนินการใดกับสถานีวิทยุที่ทำการโฆษณา ซึ่งทำได้เพียงส่งเรื่องกลับมาสาธารณสุขจังหวัด" นางชโลมจิต กล่าว
       
       ทั้งนี้ เครือข่ายมีข้อเสนอให้มีมาตรการขั้นเด็ดขาดในการปิดสถานีใช้หลักเกณฑ์วิทยุ กระจายเสียงชุมชน 2552 ข้อ 8(3) (ค) ข้อ 12(4) ข้อ 12(5) และเงื่อนไขตามข้อกฎหมาย (ไม่มีโฆษณา) โดยจะมีการดำเนินการร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด โดยเครือข่ายจะจัดทำข้อมูลส่งต่อเทปเสียงที่บันทึกไว้เพื่อให้สาธารณสุข จังหวัด และ กสทช.(ศูนย์เฝ้าฟังในพื้นที่) ดำเนินการจัดการสถานีที่กระทำผิดชัดเจนเพื่อเตรียมการเมื่อมี กสทช.จริง และระยะจากนี้เครือข่ายจะดำเนินการเฝ้าระวังฉลากอาหาร และอาหาร ขนมหน้าโรงเรียนที่มีความไม่ปลอดภัย และเป็นปัญหาที่ไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาได้เช่นกัน
       
       หลังจากนี้ เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้จะทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่องร่วมกับเครือข่ายผู้ บริโภคทั้งประเทศ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อเตรียมความพร้อมองค์การอิสระผู้บริโภคที่อยู่ ในวาระค้างคาในวุฒิสภาต่อไปเมื่อผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

อาชีพเดียวกัน..เบื่อๆ

นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ กรุณาไปฟังใหม่ว่าในภาคใต้มีกี่สถานีที่โฆษณาขอบอกว่ามีมากเป็นร้อย ที่กล่าวมาแค่เศษมัน

ใม่รู้

เเล้วคุณกินหญ้าอยู่หรือเปล่า ว่าคุณบารืยะได้อย่างใร ก้อ เค้ารับผิดชอบสงขลาเทานั้น ไอ้ตคาย

ผ่านมา

ก็ดี เฝ้าระวังกันไว้ ยังดีกว่าปล่อยปละละเลยเหมือนหน่วยงานของรัฐบางหน่วย ที่ไม่บังคับใช้กฎหมายให้จริงจัง อลุ่มอล่วย อวยชัยให้พร เล่นพรรคเล่นพวก จนทำให้ระบบสาธารณสุขบ้านเราห่วยลงทุกวันทุกวัน

ผู้บริโภคบางท่านก็เหลือเกิน ไม่ฟังเหตุผลที่ถูกต้อง เชื่อแต่โฆษณาโดยคนที่ไม่รู้จริง
บริษัทไหนก็บอกว่าของเขาดีทั้ืงนั้นแหละ ก็เขาจะขายของ
ดีเจที่ไหนก็บอกว่าของที่ตัวรับสปอนเซอร์มาดีทั้งนั้นแหละ เพราะรับเงินเขามาแล้ว
แล้วที่นี่อันไหนดีจริง อันไหนเกินจริง ใครจะเป็นคนตัดสินล่ะ ... บ้านเมืองนี้คนของรัฐน่าจะพึ่งไม่ได้ ...

ที่พอจะพึ่งได้ ... ท่านผู้บริโภคก็ไปเหวี่ยงใส่เขาซะงั้น เพราะเขาพูดจาหักล้างความเชื่อของท่านจนเสียความมั่นใจ ...

ของแบบนี้ก็ต้องแล้วแต่บุญแล้วแต่กรรมแล้วกันนะ เกิดเป็นคนไทย ....
กินไป กินไป แล้วตายผ่อนส่ง ก็ไม่รู้จะไปร้องเรียนใครได้ ก็เชื่อเขาเอง ...
ที่เป็นมะเร็งกันอยูทุกวันนี้ เพราะบริโภคสิ่งเหล่านี้หรือเปล่า .......

pharmacist

ระบบสาธารณสุขของประเทศไม่ได้ขยับเขยื้อนไปไหนเลยคะ...ทั้ง ๆ ที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย
รัฐได้จริงจังกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยระบบและการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ คำตอบง่าย ๆ ที่ผู้บริโภคอาจคิดว่าไม่สำคัญ คือ ไม่เลยคะ ... ถึงแม้จะมีความพยายามอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ สรุป คือ ล้มเหลว ....

กฎหมายได้กำหนดไว้ให้ผู้ส่งมอบยาอันตรายในร้านยาว่าต้องเป็น เภสัชกร
แต่ท่านเคยทราบหรือไม่คะ (บางที่ท่านอาจไม่ใส่ใจ) ว่าคนที่ส่งมอบให้ท่านเป็นเภสัชกรหรือไม่
หรือท่านพอใจแค่เพียงได้รับยามาตามที่ท่านต้องการก็พอ ...

ในขณะนี้ร้านยาที่มีเภสัชกรประจำตลอดเวลาที่เปิดจริง ๆ มีไม่มากมายนักหรอกคะเมื่อเทียบกับร้านที่เปิดแล้วให้ใครก็ไม่รู้มาวินิจฉัยมาหยิบยาให้ท่าน  เภสัชกรคือคนที่ผ่านการเรียนหลักวิชาที่เกี่ยวข้องมาแล้ว  ในขณะที่คนที่ไม่ใช่ม้กจะอ้างแค่ประสบการณ์ ซึ่งไม่มีใครรับรองให้ท่านแน่นอน 

ผู้บริโภคบางท่านก็ฉลาดเหลือล้ำ ไปถามเภสัชกรในร้านยา แต่ไม่ได้อุดหนุนเขา กลับไปซื้อหาด้วย "ราคา" ที่ถูกกว่ากับร้านที่ไม่ใช่เภสัชกร  ไม่เป็นไรคะ ด้วยนิสัยเห็นแก่ตัวของท่านเพียงเล็กน้อยจะส่งผลต่อท่านในวันข้างหน้าแน่นอน ถ้าท่านแบบนี้บ่อย ๆ ร้านที่เป็นเภสัชกรที่ให้ความรู้แก่ท่านด้วยคุณธรรม เมื่อไม่มีใครซื้อ มีแต่คนถาม ก็ต้องปิดตัวลงในวันข้างหน้า ท่านผู้บริโภคทุกคนก็จะไม่เหลือคนที่คอยช่วยเหลือท่านอีก ... ท่านก็เชิญไปผจญกรรมกับร้านที่ไม่ใช่เภสัชกรต่อไปใน "ราคาของชีวิตที่ถูกกว่า" นะคะ ....

ป.ล.ผู้ที่ดูแบบระบบยาในแต่ละจังหวัดตามที่ดิฉันว่านั้น คือ "กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค" สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนะคะ .... ทั้งหมดทั้งสิ้นสะท้อนถึงรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้องคะ ว่าทำงานแบบลูบหน้าปะจมูกหรือไม่ ....อ้อ หัวหน้าใหญ่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด คือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนะคะ ...