ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ม.อ.จัดเสวนา ทางออก..ยางพาราไทย เปิดเวทีใหม่ ระดมความคิดหวังแก้ปัญหาระยะยาว

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 16:27 น. 03 ก.ย 56

ทีมงานประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดเสวนา "ทางออก...ยางพาราไทย" เปิดเวทีใหม่ ระดมความคิดเห็นหวังช่วยแก้ปัญหายางพารายระยะยาว

วันนี้(3 กันยายน 2556) เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานเปิดการเสวนา "ทางออก...ยางพาราไทย" โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , รศ.อาซีซัน แกสมาน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ผศ.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


[attach=1]

การเสวนาหาทางออกเรื่องยางพารา ภายใต้ หัวข้อ "ทางออก...ยางพาราไทย" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ และตัวแทนภาคประชาชน

รศ.ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราของประเทศที่ลดต่ำลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศกว่า 60 จังหวัด การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางสามารถทำได้ตั้งแต่การผลิตในระดับต้นและกลางน้ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหายางพารา คือ การนำยางพาราไปใช้ประโยชน์ในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เป็นที่ทราบกันดีว่ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกในรูปวัตถุดิบ คือ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น และรูปแบบอื่นๆ ประมาณ 3.12 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 86 สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 336,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยางพาราใช้มากในอุตสาหกรรมยางล้อ คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา คือ ถุงมือยาง เส้นด้ายยางยืด  ถุงยางอนามัย ยางฟองน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพารามีความสัมพันธ์โดยตรงกับอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่การนำยางพารามาใช้ประโยชน์สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ถนนยางมะตอย , แผ่นยางปูพื้นสำหรับสนามเด็กเล่น , สนามกีฬาฟุตซอล พื้นยางภายในอาคาร ซึ่งหากมีการผลักดันอย่างจริงจังก็จะทำให้เกิดการใช้ยางพาราในประเทศในปริมาณมาก และยังสามารถลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยางฟองน้ำเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์จากยางพารา สามารถนำไปทดแทนฟองน้ำสังเคราะห์ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ได้

รศ.ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข กล่าวเพิ่มเติมว่า การสร้างความยั่งยืนให้กับภาคเกษตรกรรมของประเทศ รัฐบาลจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันยางเป็นระบบ และจะต้องดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ เพื่อการแก้ไขปัญหาราคายางพาราในระยะยาวต่อไป

Imork50

เห็นด้วยอย่างยิ่ง กับการมีมาตรการส่งเสริมการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์  แต่ไม่รู้รัฐบาลหรือบุคลที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปพิจารณาและปฏิบัติได้แค่ใหน

Imork50

อยากวิงวอนไปถึงพี่น้องชาวสวนยาง การเรียกร้องให้รัฐบาลการประกันราคาราคาสูงมาก ๆ ไม่เป็นผลดีเลยในระยะยาว และจะพากันเดือดร้อนไปทั้งระบบ เช่น กิโลละ 100 บาท หรือ ตันละ 100,000 บาท (ข้าวตันละ 15,000 บาท)

เปรียบเทียบกับยางสังเคราะห์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนยางธรรมชาติอาจไม่ 100 % แต่สามารถนำมาผสมได้ ซึ่งปัจจุบัน ราคาลดต่ำมาก  เช่น
SBR     =  50 บาท
NBR     =  75 บาท
EPDM    = 95 บาท

แล้วจะให้รัฐเอาเงินภาษีของประเทศมาซื้อยางราคาแพง แล้วจะเอาไปขายให้ใครล่ะครับ



Imork50

เปรียบเทียบ ราคาขายข้าว เฉลี่ย/ไร่/ปี  600 กก X 15 บาท  =  9000 บาท

ราคาขายยาง เฉลี่ย/ไร่/ปี       290 กก X 70 บาท     =     20300  บาท

เมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วไม่แน่ใจอาชีพอะไรมีรายได้ หรือน่าทำ มากกว่ากัน


หมายเหตุ  : ผลผลิตข้าว, ยาง  ต่อไร่  จากข้อมูลเฉลี่ยโดยประมาณ, ข้าวบางพื้นที่อาจมีผลผลิตสูงกว่านี้ หากมีระบบชลประทานเข้าถึง   





vjk

อ้างจาก: Imork50 เมื่อ 15:48 น.  04 ก.ย 56
เปรียบเทียบ ราคาขายข้าว เฉลี่ย/ไร่/ปี  600 กก X 15 บาท  =  9000 บาท

ราคาขายยาง เฉลี่ย/ไร่/ปี       290 กก X 70 บาท     =     20300  บาท

เมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วไม่แน่ใจอาชีพอะไรมีรายได้ หรือน่าทำ มากกว่ากัน


หมายเหตุ  : ผลผลิตข้าว, ยาง  ต่อไร่  จากข้อมูลเฉลี่ยโดยประมาณ, ข้าวบางพื้นที่อาจมีผลผลิตสูงกว่านี้ หากมีระบบชลประทานเข้าถึง

อย่าเทียบอย่างนั้น ทุกวันนี้กินข้าวจานละ 50 จากราคาเดิมเมื่อปีที่แล้ว 35 มันใช่เหรอ ทางที่ง่ายที่สุดคือไม่ต้องอุ้มอะไรเลย ที่มันเป็นแบบนี้ก็เพราะชาวนาส่วนใหญ่งอมืองอเท้า ำม่คิดจะพัฒนา พวกพวกเกษตรอื่นๆ เดือดร้อนก็เลยอยากให้รัฐอุ้มบ้าง ไม่มีชาวนาประเทศไม่ล่มจมหรอก ที่มันจะล่มจมอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะมีชาวนานี่แหละ