ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เปิดประเด็น Solar Roof Top “สัมฤทธิ์ สิทธิวนานุวงค์” นักธุรกิจแสงอาทิตย์

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 13:36 น. 06 ม.ค 57

ทีมงานประชาสัมพันธ์

เรื่องของพลังงานทดแทน เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ ทั้งในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือแม้แต่ในแง่ธุรกิจ พลังงานทดแทนมีหลายอย่างมากมาย อาทิ พลังงานน้ำ , พลังงานลม , พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น วันนี้จะมาพูดถึง พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานแสงอาทิตย์กันและจะลงลึกเฉพาะในแง่ธุรกิจกันเลยทีเดียว

ทีมงานเว็บกิมหยงได้มีโอกาสสัมภาษณ์ชายหนุ่มเจ้าของธุรกิจโซล่าเซลส์ ที่ใช้ชื่อว่า  solar-d  คุณสัมฤทธิ์ สิทธิวนานุวงค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลาร์ ดี คอร์เปอเรชั่น จำกัด  ได้คุยกันเรื่องของ ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ซึ่งสามารถทำได้จริงและราคาก็ไม่ได้สูงมากแบบในอดีต


มากล่าวกันถึงประวัติของ คุณสัมฤทธิ์ สิทธิวนานุวงค์ กันก่อนครับ  โดยพื้นฐานคุณสัมฤทธิ์ เป็นคนหาดใหญ่ จบจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (ญว.) แล้วไปต่อที่วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ หลังจากจบมาก็ทำงานได้ซัก ปี 2 ปี ก็ได้ทำมาทำธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์พลาสติก หลังจากทำมาได้ซัก 7-8 ปี ก็ได้เริ่มมีความคิดที่จะขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น  ก็เลยเป็นที่มาของการเริ่มต้นธุรกิจติดตั้งแผงโซลาร์เซล บนหลังคาบ้าน

ถ้าจะให้เล่าถึงเรื่องที่คุยกันทั้งหมดคงจะยาว ขอกล่าวโดยย่อที่สำคัญละกันนะครับ โดยย่อของการพูดคุยกัน คุณสัมฤทธิ์ เล่าให้ฟังว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ภาพใหญ่ คือ เจ้าของอาคาร  อาคารโรงงาน อาคารพาณิชย์ อาคารบ้านเดี่ยว โดยโซล่าดี จะเน้นในทางบ้านเดี่ยวเป็นหลัก ซึ่งความคุ้มค่าของการลงทุน ปัจจุบันราคาเทคโนโลยีต่างๆลดราคาลงค่อนข้างมากแล้ว จากเดิมที่การติดตั้งอาจจะต้องใช้เงินในหลักล้าน แต่ในปัจจุบันเริ่มต้นที่เพียงหลักแสนเท่านั้น 

[attach=2]

ในอดีตเรามองว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ เราต้องทำทุกกระบวนการให้ครบวงจรด้วยตนเอง ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก แต่ในปัจจุบันรัฐเข้ามาส่งเสริม เราสามารถขายไฟฟ้าที่เราไม่ได้ใช้เข้าไปในระบบสายส่งได้ ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันจะเรียกเก็บค่าใช้ไฟฟ้าเป็นอัตราก้าวหน้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4- 5 บาท แต่หากเราผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้านแล้วขายเข้าไปในระบบเราจะได้ค่าไฟหน่วยละ ประมาณ 7 บาท ก็คือเราผลิตขายเข้าไปในระบบก่อน แล้วจึงนำออกมาใช้ ส่วนต่างที่ประมาณ 3 บาท รัฐก็จะดำเนินการหักคืนเรา แปรผันตามการใช้ไฟฟ้าของเรา ถือว่ามีส่วนต่างพอสมควร มองว่านโยบายนี้รัฐเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาแต่หากมองในระยะยาวคุ้มแน่นอน

มาดูปัญหาในส่วนของเรื่อง โซล่ารูฟท็อปบนหลังคาบ้านกัน ช่วงนี้ยังเป็นช่วงแรกยังมีปัญหาเรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆของภาครัฐ เช่น พอติดตั้งแล้วบ้านจะกลายเป็นโรงงานหรือไม่ ตามกฎเกณ์ของกรมอุตสาหกรรมคือ เมื่อมีเครื่องจักรผลิตไฟฟ้าก็ต้องกลายเป็นโรงงานเมื่อเป็นโรงงานก็ต้องขออนุญาต ตั้งโรงงานตามมา หรือ แม้กระทั่งการจำกัดระยะเวลา ต้องยื่นภายในวันนั้น วันนี้ ให้เวลา 3 สัปดาห์ หรือ เรื่องของปริมาณอย่างโรงงาน ก็เปิดรับแปบเดียวก็เต็ม หรือบ้าน คนก็ต้องไปรีบยื่นขอโควต้า  เท่าที่ติดตั้งมา ก็มีเรื่องมากมาย ต้องเตรียมเอกสารมาก ต้องขออนุญาต  มีการหมดอายุ เป็นต้น แต่หลังจากนี้ก็เชื่อว่า น่าจะมีนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้นแน่นอน

http://youtu.be/58IUTe3f1d8

นอกจากนี้ คุณสัมฤทธิ์ ได้กล่าวถึงเรื่องของพลังงานได้น่าสนใจว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ไม่มีการกระจายตัวของพลังงานไปยังประชาชนอย่างแท้จริง ในเรื่องของการกระจุกตัวและการกระจายตัวของพลังงาน จึงได้มองเห็นว่าในประเทศไทยยังค่อนข้างมีการกระจุกตัวในเรื่องพลังงานอยู่ เพราะมีเพียงไม่กี่บริษัทในประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้  ต่างกับในต่างประเทศที่มีการกระจายตัวในเรื่องพลังงานค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นการผลิตโดยประชาชน  เป็นของประชาชน ผลิตเพื่อประชาชน จนนำไปสู่ประชาธิปไตยทางพลังงาน

แล้วก็ได้พูดถึงแนวคิด Simply Clean Energy  ที่ทางโซล่าดี ตั้งใจว่าจะทำให้ทุกวันที่แดดออก เป็นทุกวันที่ท่านมีความสุข และเป็นความสุขที่เรียบง่าย การผลิตไฟฟ้าได้อย่างเรียบง่าย (Simplicity) เป็นหัวใจของเรา ดังนั้นการบริการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ solar d ตระหนัก เพื่อที่จะทำให้การผลิตไฟฟ้าของท่าน สามารถมอบความสุขให้กับตัวท่านเอง และสังคมได้อย่างเรียบง่าย

[attach=3]

สุดท้ายเรื่องของธุรกิจ มันก็มี ต้นทุน ที่ทำให้เกิด กำไร หรือ ขาดทุน โดยมีกรอบเรื่องของระยะเวลา  เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ในส่วนของธุรกิจผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้าน มีการลงทุนในครั้งแรกที่สูงพอสมควร แต่ผลตอบแทนที่ได้กลับมา ก็นับว่าคุ้มค่ามาก กับระยะเวลาที่ผ่านไป อันนี้ไม่นับรวมกรณีเกิดภัยธรรมชาติ หรือ อุบัติเหตุ ที่ไม่สามารถคำนวณได้นะครับ

เรื่องของธุรกิจ Solar PV Roof Top ยังมีอะไรอีกมากนักที่จะคุยกันเรื่องวันเดียวหมด หากใครยังสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ก็ติดต่อได้   www. solar-d.co.th  หรือโทรไปที่ 02-908-3992, 08-4559-8881 นอกจากนั้นยังมี ให้เข้าไปศึกษาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ หรือจะพูดคุยผ่านทางเฟซบุ๊คได้ที่ www.facebook.com/solardhome

มองมุมต่าง

'อันนี้ไม่นับรวมกรณีเกิดภัยธรรมชาติ หรือ อุบัติเหตุ ที่ไม่สามารถคำนวณได้นะครับ'

ก็แสดงว่ายังไม่คิดกรณีที่ไม่มีแดดหลายๆวัน ซึ่งแน่นอนบ้านเราไม่ได้มีแดดทั้งปีนะครับ แล้วแสงแดดกับความร้อนนี้มันคนละเรื่อง ไม่ใช่ว่าวันนี้ร้อนแล้วโซล่าร์เซลล์จะทำงานได้เต็มที่ โซล่าร์เซลล์ขึ้่นกับแสงแดด ต่อให้ร้อนถ้าไม่มีแดดก็อด หรือต่อให้หนาวแต่ถ้ามีแดดก็ใช้ได้ ตารางที่ผู้ขายโฆษณาคิดในกรณีที่มีแดดกี่วันต่อปี กี่ชมต่อวัน แล้วค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ล่ะ? ติดครั้งเดียวใช้ไปได้ตลอดชีวิตไหม? ถ้าติดแล้วมีปัญหาไม่ได้ปริมาณไฟฟ้าตามที่ผู้ขายบอก จะรับผิดชอบอย่างไร หรือต้องโทษแดดอย่างเดียว กับการลงทุนหลักแสน

เพราะงั้นผู้ซื้อต้องคิดคำนวณให้ดีก่อนที่จะลงทุน ผมไม่ได้มาค้าน แต่อยากให้มองอีกมุมที่ผู้ขายอาจจะไม่บอกด้วย

ทีมงานประชาสัมพันธ์

จากกรณีที่พูดคุยกันและสัมภาษณ์ ยังมีเรื่องที่ต้องสอบถามอีกมากครับ เพราะเรื่องของพื้นที่การติดตั้งก็สำคัญ  หากสนใจจริงๆ โทรตามเบอร์ที่แจ้งไว้ได้เลยครับ รับรอง ทาง solar-d ยินดีตอบทุกคำถามแน่นอนครับ

ฅ ฅน

.



..ถ้ามีไฟฟ้าใช้ อย่าไปสนใจเลยครับ


แต่ถ้าไฟฟ้าไปไม่ถึง จะลองดูก็ได้ แต่แพงและไม่ทนครับ เท่าที่เห็นมา


หรือว่ารุ่นใหม่จะปรับปรุงดีขึ้นแล้วก็ไม่รู้  ผมบอกเป็นข้อมูลครับ ไม่ได้ว่าอะไร

ผู้ใช้จริง

อ้างจาก: มองมุมต่าง เมื่อ 10:24 น.  07 ม.ค 57
'อันนี้ไม่นับรวมกรณีเกิดภัยธรรมชาติ หรือ อุบัติเหตุ ที่ไม่สามารถคำนวณได้นะครับ'

ก็แสดงว่ายังไม่คิดกรณีที่ไม่มีแดดหลายๆวัน ซึ่งแน่นอนบ้านเราไม่ได้มีแดดทั้งปีนะครับ แล้วแสงแดดกับความร้อนนี้มันคนละเรื่อง ไม่ใช่ว่าวันนี้ร้อนแล้วโซล่าร์เซลล์จะทำงานได้เต็มที่ โซล่าร์เซลล์ขึ้่นกับแสงแดด ต่อให้ร้อนถ้าไม่มีแดดก็อด หรือต่อให้หนาวแต่ถ้ามีแดดก็ใช้ได้ ตารางที่ผู้ขายโฆษณาคิดในกรณีที่มีแดดกี่วันต่อปี กี่ชมต่อวัน แล้วค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ล่ะ? ติดครั้งเดียวใช้ไปได้ตลอดชีวิตไหม? ถ้าติดแล้วมีปัญหาไม่ได้ปริมาณไฟฟ้าตามที่ผู้ขายบอก จะรับผิดชอบอย่างไร หรือต้องโทษแดดอย่างเดียว กับการลงทุนหลักแสน

เพราะงั้นผู้ซื้อต้องคิดคำนวณให้ดีก่อนที่จะลงทุน ผมไม่ได้มาค้าน แต่อยากให้มองอีกมุมที่ผู้ขายอาจจะไม่บอกด้วย
เท่าที่ทราบมา การคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ใน 1 ปี เป็นข้อมูลที่คำนวณมาจากสภาพอากาศทั้งปีนะคะ นั่นหมายถึงว่า คำนึงถึงทุกฤดู รวมถึงวันที่ไม่มีแดดด้วยค่ะ